ข้ามไปเนื้อหา

เทนนิสออสเตรเลียนโอเพน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออสเตรเลียนโอเพน
เว็บไซต์ทางการ
ผู้ก่อตั้ง1905; 119 ปีที่แล้ว (1905)
ครั้งที่จัด112 (2024)
ที่ตั้งเมลเบิร์น (ตั้งแต่ 1972)
ประเทศออสเตรเลีย
สนามเมลเบิร์น พาร์ก (ตั้งแต่ 1988)
พื้นสนามพื้นแข็ง – กลางแจ้ง[a][b] (ตั้งแต่ 1988)
พื้นหญ้า – กลางแจ้ง (1905–1987)
เงินรางวัล86,500,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (2024)
ชาย
จับฉลาก128S (128Q) / 64D (16Q)[c]
ผู้ชนะเลิศปัจจุบันยานนิค ซินเนอร์ (เดี่ยว)
โรฮัน โบพันนา
แมทธิว เอ็บเดน (คู่)
ชนะเลิศเดี่ยวสูงสุดนอวาก จอกอวิช (10)
ชนะเลิศคู่สูงสุดเอเดรียน ควิสต์ (10)
หญิง
จับฉลาก128S (128Q) / 64D (16Q)
ผู้ชนะเลิศปัจจุบันอารีนา ซาบาเลนกา (เดี่ยว)
เซียะ ซู เหว่ย
เอลิเซ เมอร์เทนส์ (คู่)
ชนะเลิศเดี่ยวสูงสุดมาร์กาเร็ต คอร์ต (11)
ชนะเลิศคู่สูงสุดเธลมา คอยน์ ลอง (12)
คู่ผสม
จับฉลาก32
ผู้ชนะเลิศปัจจุบันเซียะ ซู เหว่ย
ยาน ซีลินสกี
ชนะเลิศสูงสุด (ชาย)4
แฮร์รี่ ฮอปแมน
ชนะเลิศสูงสุด (หญิง)4
เธลมา คอยน์ ลอง
แกรนด์สแลม
รายการล่าสุด
ออสเตรเลียนโอเพน 2024

การแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน (อังกฤษ: Australian Open) เป็นการแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมรายการแรกของปี จัดขึ้นที่เมลเบิร์น พาร์ค ในนครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเดือนมกราคม ทำการแข่งขันบนฮาร์ดคอร์ท จัดการแข่งขันเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1905

ลักษณะเด่นของการแข่งขันออสเตรเลียนโอเพน คือเป็นการแข่งขันในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว เนื่องจากในเดือนมกราคมเป็นฤดูร้อนของประเทศแถบซีกโลกใต้ เสมือนเป็นการทดสอบสภาพร่างกายของนักเทนนิสที่กลับจากการพักผ่อนในช่วงปิดฤดูกาล

พื้นผิวคอร์ทที่ใช้แข่งขันในตอนเริ่มต้นใช้พื้นผิวหญ้า ต่อมาเมื่อย้ายสถานที่มาที่เมลเบิร์น พาร์คในปี 1988 จึงเปลี่ยนมาใช้พื้นผิว Rebound Ace Hardcourt ที่สร้างขึ้นจากส่วนผสมของชั้นยางและไฟเบอร์กลาส บนผิวยางมะตอยหรือคอนกรีต แมทส์ วิแลนเดอร์ เป็นนักเทนนิสคนเดียวที่ชนะเลิศได้บนสองพื้นผิวคอร์ท ในปี 2008 จะมีการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวที่ใช้แข่งขันเป็น Plexicushion ที่ถูกวิจารณ์ว่ามีความคล้ายคลึงกับพื้นผิวที่ใช้แข่ง ยูเอสโอเพน [1]

ออสเตรเลียนโอเพน เคยถูกย้ายไปจัดการแข่งขันในเดือนธันวาคมระหว่าง ค.ศ. 1977-1985 ก่อนจะย้ายกลับไปจัดในเดือนมกราคมในปี 1987 ทำให้ไม่มีการแข่งขันในปี 1986

ทำเนียบผู้ชนะเลิศในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวตั้งแต่ ค.ศ. 2000

[แก้]
ปี ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว
2000 สหรัฐอเมริกา อังเดร อากัสซี สหรัฐอเมริกา ลินเซย์ ดาเวนพอร์ต
2001 สหรัฐอเมริกา อังเดร อากัสซี สหรัฐอเมริกา เจนนิเฟอร์ คาปริอาที
2002 สวีเดน โธมัส โจฮันส์สัน สหรัฐอเมริกา เจนนิเฟอร์ คาปริอาที
2003 สหรัฐอเมริกา อังเดร อากัสซี สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2004 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ เบลเยียม จัสติน เอแนง
2005 รัสเซีย มารัต ซาฟิน สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2006 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ฝรั่งเศส อเมลี โมเรสโม
2007 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2008 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา
2009 สเปน ราฟาเอล นาดาล สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2010 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2011 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เบลเยียม คิม ไคลจ์สเตอร์
2012 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เบลารุส วิคตอเรีย อซาเรนก้า
2013 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เบลารุส วิคตอเรีย อซาเรนก้า
2014 สวิตเซอร์แลนด์ สตานิสลาส วาวรินกา จีน หลี่ น่า
2015 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2016 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เยอรมนี อันเจลีค แคร์เบอร์
2017 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียม
2018 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ เดนมาร์ก คาโรไลน์ วอซเนียคกี
2019 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช ญี่ปุ่น นาโอมิ โอซากะ
2020 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช สหรัฐอเมริกา โซเฟีย เคนิน
2021 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช ญี่ปุ่น นาโอมิ โอซากะ
2022 สเปน ราฟาเอล นาดาล ออสเตรเลีย แอชลีห์ บาร์ตี
2023 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เบลารุส อารีนา ซาบาเลนกา
2024 อิตาลี ยานนิค ซินเนอร์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Rebound Ace was used from 1988 to 2007, Plexicushion since 2008.
  2. Except for Rod Laver Arena, Margaret Court Arena, and John Cain Arena during rain delays.
  3. In the main draws, there are 128 singles players (S) and 64 doubles teams (D), and there are 128 and 16 entrants in the respective qualifying (Q) draws.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fears of second-rate US Openข่าวจากดิออสเตรเลียน เก็บถาวร 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]