ข้ามไปเนื้อหา

การลอกเลียนวรรณกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การโจรกรรมทางวรรณกรรม)

การลอกเลียนวรรณกรรม การลักลอกผลงาน หรือ โจรกรรมทางวรรณกรรม (อังกฤษ: plagiarism) คือ การยักยอกหรือขโมย "โวหาร ความคิด แนวคิด หรือถ้อยคำ" ของผู้อื่น แล้วนำเสนอหรือเผยแพร่เหมือนเป็นผลงานแท้ ๆ ของตน[1][2]

การลอกเลียนวรรณกรรมถือเป็นความไม่สุจริตทางวิชาการ เป็นการละเมิดจริยธรรมทางวารสารศาสตร์ และจะถูกมาตรการบังคับ เช่น ด้วยการลงโทษ การพักงาน การไล่ออกจากสถานศึกษา[3] หรือจากที่ทำงาน[4] การปรับเงิน[5][6] หรือแม้แต่การกักขัง[7][8] ในยุคปัจจุบัน เกิด "การลอกเลียนวรรณกรรมอย่างสุดขีด" (extreme plagiarism) ในวงวิชาการ[9] แต่แนวคิดสมัยใหม่ที่ถือว่าการลอกเลียนวรรณกรรมเป็นเรื่องผิดศีลธรรม และการยึดถือความดั้งเดิมแท้จริงของวรรณกรรมเป็นอุดมคตินั้น อุบัติขึ้นในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 และเมื่อว่าโดยเจาะจงแล้ว อุบัติขึ้นพร้อมกับขบวนการจินตนิยม (Romantic movement)

การลอกเลียนวรรณกรรมมิได้เป็นความผิดทางอาญาโดยสภาพ แต่อาจเกิดเป็นคดีความในโรงศาลได้ เช่น เมื่อมีการปลอมแปลงเอกสาร[10][11] หรือเกิดการเสื่อมเสียสิทธิอันเนื่องมาจากการละเมิดลิขสิทธิ์[12][13] หรือมีการละเมิดสิทธิทางศีลธรรม[14] หรือก่อให้เกิดการละเมิดทางแพ่ง ส่วนในวงวิชาการและอุตสาหกรรมนั้น การลอกเลียนวรรณกรรมเป็นความผิดร้ายแรงต่อจริยธรรม[15] อย่างไรก็ดี แม้แนวคิดเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมและการละเมิดลิขสิทธิ์อาจเหลื่อมซ้อนกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน[16] และการลอกเลียนวรรณกรรมในบางแง่ก็ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่อาจให้ศาลชำระตัดสิน

แนวคิดเรื่องการลอกเลียนวรรณกรรมยังแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เช่น อินเดียและโปแลนด์มองว่า การลอกเลียนวรรณกรรมเป็นความผิดอาญา และมีผู้ถูกจำคุกเพราะลอกเลียนวรรณกรรมมาแล้ว[17] แต่บางท้องที่เห็นว่า การลอกเลียนวรรณกรรมกับความไม่สุจริตทางวิชาการเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง และถือว่า ถูกลอกเลียนวรรณกรรมก็เหมือนได้รับการเยินยอ เพราะเหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่งานที่ลอกเลียน[18] ด้วยเหตุนี้ จึงมีกรณีที่นักเรียนนักศึกษาซึ่งย้ายเข้าอาศัยในสหรัฐจากท้องที่ที่ไม่จริงจังกับการลอกเลียนวรรณกรรมประสบความยากลำบากในการเปลี่ยนผ่านทางแนวคิด[19]

วิธีการบังคับ

[แก้]

ทางวิชาการ

[แก้]

ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนักศึกษาถือเป็นการกระทำความผิดขั้นร้ายแรงมากและมีผลให้ได้รับการลงโทษ เช่นปรับตกในงานที่นำส่ง (ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) หรือปรับให้ตกในรายวิชานั้น ๆ (ระดับอุดมศึกษา) ในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ หรือกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (เช่น นำบทความหรืองานทางวิชาการทั้งหมดของผู้อื่นมาส่งโดยอ้างว่าเป็นของตนเอง) นักศึกษาผู้นั้นอาจถูกพักการศึกษาหรือถูกไล่ออก มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกถูกกดดันให้ทำรายงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่จำกัดและต้องมีคุณภาพดีมักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตลอกหรือทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยวิธี “คัดลอก-แปะ” ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ มาเป็นของตนเอง ในกรณีเช่นนี้อาจารย์มักจับได้โดยไม่ยากด้วยเหตุผลหลายประการ

  • ประการแรกแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาเลือกลอกมามักไม่ใช่เป็นแหล่งต้นตออาจารย์จึงมักจับได้เนื่องจากมักมีข้อความเหมือนกับข้อมูลที่นักศึกษาคนอื่น ๆ คัดลอกมาที่มีทั้งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและไม่ยอมอ้างอิง ซึ่งส่วนมากมักคัดมาจากแหล่งข้อมูลวิชาการที่เป็นที่แพร่หลาย (เช่นวิกิพีเดีย)
  • ประการที่สอง เป็นการไม่ยากที่อาจารย์จะทราบได้จากสำนวนการเขียนที่มักแตกต่างกับสำนวนตอนอื่นของรายงานที่นักศึกษาเขียนเอง
  • ประการที่สาม นักศึกษาอาจเลือกแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ออกนอกประเด็น หรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามหัวเรื่อง
  • ประการที่สี่ อาจารย์อาจบังคับให้นักศึกษาส่งไฟล์รายงานของตนผ่านการตรวจสอบการโจรกรรมด้วยโปรแกรมตรวจสอบออนไลน์เสียก่อน[20]

มีหลายมหาวิทยาลัยที่มีบทลงโทษด้วยการถอนหรือเรียกปริญญาคืนหากพบภายหลังจากนักศึกษาประกอบอาชญากรรมทางวิชาการ

ปัจจุบันยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรมในโรงเรียนน้อยมาก ที่มีส่วนมากมักเป็นการวิจัยหลังระดับชั้นมัธยมไปแล้ว[21] ในการฉ้อโกงแบบต่าง ๆ (เช่นการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่น การปลอมข้อมูลขึ้นมาเองและการทุจริตในการสอบ) นักเรียนและนักศึกษายอมรับว่า ที่ทำมากที่สุดคือการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่นมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (ได้แก่การลอกรายงานของผู้อื่นมาทั้งหมด หรือจ้างผู้อื่นทำรายงานทั้งหมดให้ทางเว็บไซต์) ตัวเลขจะลดลงมาก การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการตรวจจับการลอกงานผู้อื่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ (ดูข้างล่าง) ได้ช่วยทำให้เห็นภาพของลักษณะโจรกรรมทางวรรณกรรมชัดเจนมากขึ้น

สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย การลงโทษการโจรกรรมทางวิชาการมีหลายรูปแบบ มีตั้งแต่การพักงานไปถึงขั้นไล่ออกหรือเลิกจ้าง ซึ่งผู้กระทำการดังกล่าวยังต้องเสียชื่อเสียงหมดความเชื่อถือ การกล่าวโทษนักศึกษาหรืออาจารย์มักได้ยินมาจากกรรมการสอบวินัยภายในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาและอาจารย์

การหนังสือพิมพ์

[แก้]

เนื่องจากหัวใจของวิชาการหนังสือพิมพ์คือการได้รับความเชื่อจากสาธารณชน ดังนั้นการบิดเบือนข่าวหรือแหล่งข่าวของผู้สื่อข่าวจึงมีส่วนทำให้สาธารณชนมองเห็นถึงความไม่สุจริตและลดความเชื่อถือไว้วางใจในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นหรือโทรทัศน์สถานีนั้นลงได้มาก นักหนังสือพิมพ์ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมส่วนใหญ่จะถูกพักงานจากงานสื่อข่าวในระหว่างการสอบสวนโดยผู้บริหารหนังสือพิมพ์หรือสถานีโทรทัศน์นั้น ๆ

ความง่ายของในการเรียกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีข้อความอีเลกทรอนิก (electronic text) ออนไลน์ ล่อใจให้ผู้ส่อข่าวกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมากขึ้น มีนักหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อยที่ถูกจับไว้ว่าทำข่าวหรือบทความด้วยการ “คัดลอก-แปะ” จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวนมาก

โจรกรรมทางวรรณกรรมออนไลน์

[แก้]

เนื่องจากความง่ายในการขโมยเนื้อความจากเว็บด้วยวิธีคัดลอก-แปะดังกล่าว โจรกรรมทางวรรณกรรมออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “เนื้อความจากขยะ” (content scraping) ซึ่งมีผลกระทบ โดยเฉพาะกับเว็บไซต์จำนวนมากที่ตั้งตัวแล้ว [22] และบล็อก [23] แรงจูงใจให้กระทำการดังกล่าวเกิดจากการดึงเว็บแทรฟฟิกส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของโปรแกรมค้นหาของเว็บไซต์หรือบลอกนั้นแล้วขโมยหรือโยกย้ายผู้เข้าชมเว็บไซต์/บลอกนั้นไปใช้หาเงินผ่านการโฆษณาออนไลน์

ปัจจุบันมีโปรแกรมเครื่องมือฟรีออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้ตรวจกับโจรกรรมทางวรรณกรรมอออนไลน์ได้ทำให้การป้องกันทำได้ง่ายขึ้น[24] และยังมีโปรแกรมเครื่องมือแบบอื่นที่จะช่วยจำกัดการลอกงานออนไลน์ เช่น disabling right clicking ซึ่งใช้วิธีใช้เมาส์เน้นข้อความขอเว็บเพจที่ต้องการตรวจจับแล้วคลิกขวาที่โปรแกรม หากเป็นโจรกรรมก็จะมีป้ายหรือแบนเนอร์ปรากฏขึ้นที่เว็บเพจนั้น และจะมีข้อความตัวอย่างของจริงหร้อมทั้งข้อความประกาศ DMCA ของเจ้าของงานตัวจริงแจ้งให้ผู้ละเมิดหรือ ISP ของเว็บไซต์นั้นลบออก

การกระทำในรูปแบบอื่น

[แก้]

โดยทั่วไป แม้จะมีการกล่าวถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมอย่างหลวม ๆ ว่าเป็นการลักลอบหรือการขโมย แต่ก็ไม่ได้กำหนดไว้ให้เป็นอาชญากรรมในศาลยุติธรรม[25] โจรกรรมทางวรรณกรรมจึงไม่มีสถานะเป็นคดีอาญาในกฎหมายจารีตด้วยเช่นกัน แต่การฟ้องร้องโจรกรรมทางวรรณกรรมสามารถทำได้ทางแพ่ง โดยเจ้าทุกข์สามารถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายจากถูกโจรกรรมทางวรรณกรรมได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมก็ได้

กรณีปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่ามากว่าจะนับให้เป็นคดีอาญาได้หรือไม่

โจรกรรมทางวรรณกรรมผลงานของตนเอง

[แก้]

“โจรกรรมทางวรรณกรรมของตนเอง” หมายถึงการนำเอางานส่วนใหญ่ หรืองานทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดของตนเองมาทำเป็นงานใหม่โดยไม่ได้แจ้งให้ชัดเจน บทความประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเป็นบทความตีพิมพ์ซ้ำ (multiple publication) แต่อย่างไรก็ดี บทความประเภทนี้ที่กำลังแพร่หลายและเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจสาธารณชนไม่นับว่าเข้าข่ายการโจรกรรมผลงานตนเอง แต่ก็ควรระวังเรื่องลิขสิทธิ์หากมี เช่นเป็นบทความที่มีสำนักพิมพ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นต้น “ข้อเขียนที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน” ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางสังคม วิชาชีพและความเห็นทางวัฒนธรรมซึ่งปกติจะตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่าง ๆ

ในสาขาวิชาการ การโจรกรรมผลงานของตนเองจะเป็นปัญหาเมื่อผู้เขียนนำส่วนหนึ่งของงานของตนเองที่ตีพิมพ์และสงวนลิขสิทธิ์ไปแล้วมาตีพิมพ์ซ้ำโดยไม่แจ้งหรือแถลงให้ทราบในงานตีพิมพ์ครั้งใหม่[26] การที่จะบ่งชี้ให้ชัดเจนว่างานใดเป็นการโจรกรรมผลงานของตนเองเป็นเรื่องลำบากเนื่องจากกฎหมายได้กล่าวถึงประเด็น “การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม” ไว้ด้วย[27] บางองค์การวิชาชีพ เช่นสมาคมเครื่องคอมพิวเตอร์ (ACM) ได้จัดทำนโยบายของตนเองเกี่ยวกับการโจรกรรมผลงานตนเองขึ้น[28] เมื่อเทียบกับโจรกรรมทางวรรณกรรม นับว่าการโจรกรรมผลงานของตนเองยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ดีพอ บางมหาวิทยาลัยและคณะบรรณาธิการบางคณะเลือกที่จะไม่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย หลายคนที่คิดว่าผู้กล่าวหาเรื่องการโจรกรรมผลงานตนเองเป็นพวกขัดแย้งในตัวเองเนื่องจากไม่มีใครที่จะกล่าวว่าตนเองลอกงานตนเองได้

สำหรับผู้เขียนที่ประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหานี้เมื่อจะเขียนงานใหม่ ควรอย่างยิ่งที่จะพยายามปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุดต่อไปนี้

  1. แสดงข้อเท็จจริงทั้งหมด - อ้างไว้ในบทนำว่างานใหม่หรือส่วนของงานใหม่ได้รวมงานเดิมไว้ด้วยอย่างไร
  2. ต้องให้แน่ใจว่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด (เช่น งานเดิมของตนอาจเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ ฯลฯ)
  3. อ้างอิงงานเดิมไว้ในอ้างอิงหรือบรรณานุกรมท้ายงานใหม่

งานตีพิมพ์ขององค์กร

[แก้]

โจรกรรมทางวรรณกรรมไม่เป็นประเด็นปัญหาเมื่อองค์กรตีพิมพ์ผลงานร่วมหลายคนที่ไม่มีการใส่ชื่อผู้เขียนว่าเป็นเจ้าของงานแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ตัวอย่างเช่น “ประกาศว่าด้วยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ” (พ.ศ. 2548) ของสมาคมประวัติศาสตร์อเมริกันว่าด้วยหนังสือตำราและหนังสืออ้างอิงว่าไม่เป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม เนื่องจากตำราหรือสารานุกรมเป็นเพียงการสรุปเนื้อหาสาระมาจากผลงานวิชาการของผู้อื่น ไม่ได้ลอกต้นฉบับงานวิจัยดั้งเดิมมาใช้ทั้งหมดจึงไม่ตกอยู่ในสถานะเดียวกันกับมาตรฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม แต่อย่างไรก็ตาม งานตีพิมพ์นั้นจะต้องไม่นำข้อความ คำ หรือย่อหน้าจากหนังสืออื่นมาใช้โดยชัดเจนหรือทำรูปแบบการจัดเล่มเหมือนหนังสืออื่นมากเกินไป

ภายขององค์กรเอง แม้มาตรฐานงานจะหลวมกว่างานทางวิจัยหรือวิชาการ แต่ก็ยังคงต้องมีมาตรฐานเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรมอยู่ หากมีผู้ช่วยด้านการเขียนรายงาน ผู้นั้นควรได้รับเครดิต (ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน) และหากบทย่อหน้าได้มาจากรายงานทางกฎหมายก็จะต้องจะต้องมีการประกาศกิตติคุณให้เสมอ หนังสือคู่มือทางเทคนิคจำนวนมากที่คัดลอกข้อเท็จจริงที่เป็นข้อความหรือตัวเลขมาโดยไม่ลอกรูปแบบจากหนังสืออื่นถือเป็นปกติ เนื่องจากผู้ผลิตงานมีจิตวิญญาณความมุ่งมั่นทางวิทยาศาสตร์ร่วมกัน (จะเห็นได้จากงานในโครงการต่าง ๆ เช่น “ฟรีซอฟต์แวร์” และ “ซอฟต์แวร์เสรี”) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มีความเต็มใจที่แบ่งปันงานซึ่งกันและกัน

หนังสือ “คู่มือสไตล์ว่าด้วยการตีพิมพ์งานเทคนิคของไมโครซอฟท์” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2546) โดยไมโครซอฟท์ไม่การกล่าวถึงการสงวนลิขสิทธิ์หรือโจรกรรมทางวรรณกรรมไว้แต่อย่างใด รวมทั้งหนังสือ “การเขียนงานทางวิทยาศาสตร์และงานเทคนิค: คู่มือว่าด้วยรูปแบบการเขียน” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2543) โดยฟิลิปส์ รูเบนส์ ก็เช่นกัน เส้นแบ่งระหว่างจรรยาของโจรกรรมทางวรรณกรรมว่าด้วยการยอมให้ได้กับการยอมให้ไม่ได้ทางวรรณกรรมนั้นค่อนข้างบาง เช่นเดียวกับที่สาขาทางเทคนิคอื่น ๆ เช่นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ทั่วไปที่คนอื่นคิดค้นขึ้น

นับเป็นเรื่องปกติที่นักวิจัยตามมหาวิทยาลัยที่จะอ้างงานของตนเองหรือนำงานตนเองมาพิมพ์ซ้ำ หรือดัดแปลงปรับปรุงเพื่อใช้ในบทความเพื่อลงในวารสารวิชาการหรือในหนังสือพิมพ์ เพื่อเผยแพร่งานของตนที่เกี่ยวกับความรู้ที่สาธารณชนกำลังให้ความสนใจได้ แต่นักวิจัยเหล่านี้จะต้องระลึกอยู่เสมอว่ามีขีดจำกัด ถ้าเมื่อใดเนื้อหาของบทความชื่อใหม่ที่มากกว่ากึ่งหนึ่งยังเหมือนบทความเดิมที่ตีพิมพ์ไปแล้วมักได้รับการปฏิเสธ ซึ่งกลไกหนึ่งในกระบวนการที่เรียกว่า “การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน” (peer-review) ที่ใช้ในวงการวิชาการเพื่อการรักษาคุณภาพและเพื่อป้องกันการเสนอบทความประเภท “แปรใช้ใหม่” หรือ recycle ดังกล่าว

นักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะมักใช้ผู้เขียนสุนทรพจน์ที่ไม่เปิดเผยนาม ถ้ามีโจรกรรมทางวรรณกรรมเกิดขึ้น ผู้ได้รับผลเสียย่อมเป็นตัวบุคคลสาธารณะนั้น ๆ เองไม่ใช่ผู้เขียนจริง ดังเช่นกรณีของโจ ไบเดน วุฒิสมาชิกจากรัฐเดลาแวร์ของสหรัฐที่ถูกบังคับให้ถอนตัวจากการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อ พ.ศ. 2531 (แต่ยังคงอยู่ในตำแหน่งวุฒิสมาชิกต่อไปได้) ที่หลายส่วนของสุนทรพจน์ลอกมาจากสุนทรพจน์ของ นีล คินนอก หัวหน้าพรรคแรงงานอังกฤษ และจากสุนทรพจน์ของโรเบิร์ต เคเนดี

ตัวอย่างงานที่เป็นหรืออาจเป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม

[แก้]

ในวงวิชาการ

[แก้]
  • ตัวอย่างแรกสุดของการกล่าวหาการส่อโจรกรรมทางวรรณกรรมเกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ประมาณ พ.ศ. 1545พ.ศ. 1645) เมื่ออัลกาหลิบ อัลแบกห์ดาดี (al-Khatib al-Baghdadi) กล่าวหาว่าหนังสือ “บุคออฟแอนิมอลส์” (Book of Animals) ของ อัลจาห์อิซ ( al-Jahiz) ส่วนหนึ่งถูกขโมยมาจากผลงานของอริสโตเติล ชื่อ Kitāb al-Hayawān, [29] แต่ต่อมานักปราชญ์ในสมัยหลังให้ข้อสังเกตว่ามีเพียงอิทธิพลผลงานอริสโตเติลเท่านั้นที่ปรากฏในงานของอัลจาห์อิซดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากอัลแบกห์ดาดีอาจมีความคุ้นต่องานของอริสโตเติล[30]
  • เจมส์ เอ. แมกเคย์ (James A. Mackay) นักประวัติศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ถูกบังคับให้ถอนหนังสือชีวประวัติของอเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ทั้งหมดออกจากตลาดเมื่อ พ.ศ. 2541 เนื่องจากการโจรกรรมผลงานของผู้อื่นที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 รวมทั้งการลอกหนังสือชีวประวัติของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ (Mary Queen of Scots) แอนดรู คาร์เนกี (Andrew Carnegie) และเซอร์วิลเลียม วอลเลซ นอกจากนี้แมกเคย์ยังถูกบังคับให้ถอนงานรุ่นต่อมาคือเรื่อง จอห์น ปอล โจนส์ (John Paul Jones) ออกจากตลาดอีกด้วยเมื่อ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลเดียวกัน[31][32]
  • มาร์ก ชาเบดี ศาตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิทวอเตอส์รานด์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมาใช้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตน โดยใช้งานที่เขียนโดยคิมเบอร์ลีย์ เลเนแกรนแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาที่ลอกมาคำต่อคำ เมื่อเลเนแกรนพบเข้า เธอได้ขอให้มีการสอบสวนชาเบดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ชาเบดีถูกไล่ออกและถอนตำแหน่งศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเดิมก็ได้ถอนปริญญาเอกของเขาด้วย[33] (หมายเลข OCLC วิทยานิพนธ์ดังกล่าวคือ AAG9801108 และAAI9980001.)
  • นักประวัติศาสตร์ชื่อ สตีเฟน แอมโบรส (Stephen Ambrose) ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้ใช้งานส่วนหนึ่งของผู้อื่นมาใช้ในหนังสือหลายเล่มของตน แอมโบรสถูกกล่าวหาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยนักเขียน 2 คน ว่าได้ลอกข้อความเกี่ยวกับนักบินทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากหนังสือเรื่อง The Wings of Morning ของโทมัส ชิลเดอร์ (Thomas Childers) ไปใช้ในหนังสือเรื่อง The Wild Blue ของตน[34] หลังจากที่แอมโบรสยอมรับถึงความเผอเรอของตน หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ก็ได้ค้นพบโจรกรรมทางวรรณกรรมของแอมโบรสอีก ซึ่งนิวยอร์กไทม์ได้ลงข่าวว่า “แอมโบรสก็ได้ยอมรับถึงความเผอเรออีกครั้งหนึ่งและสัญญาว่าจะแก้ไขให้ในการพิมพ์ครั้งต่อไป” [35]
  • ผู้เขียนหนังสือชื่อดอริส คีนส์ กู๊ดวิน ได้ทำการสัมภาษณ์ลีนน์ แมกแทกการ์ท ผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Fitzgeralds and the Kennedys" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2530 และได้ใช้ประโยคถ้อยคำจากหนังสือของแมกแทกการ์ทเกี่ยวกับแคเทอรีน เคเนดี ในปี พ.ศ. 2545 เมื่อความเหมือนกันระหว่างหนังสือของกู๊ดวินและแมกแทกการ์ทปรากฏขึ้นต่อสาธารณชน กู๊ดวินได้แถลงว่าเธอเข้าใจว่าการประกาศกิตติกรรมไม่จำเป็นสำหรับทุก ๆ การอ้างอิงเนื่องจากได้มีเชิงอรรถเป็นจำนวนมากไว้ให้ครบแล้ว แต่หลายคนก็ยังคงมีความสงสัยในคำอ้างและเธอถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นคณะกรรมการรางวัลพูลิตเซอร์ในที่สุด [36][37]
  • นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อดานุท มาร์คู (Dănuţ Marcu) ที่อ้างว่าตนได้ตีพิมพ์บทความวิชาการดั้งเดิมมากกว่า 383 บทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับ ภายหลังปรากฏว่ามีบทความหลายเรื่องของมาร์คูที่ไปเหมือนกับบทความที่มีผู้อื่นตีพิมพ์ไปแล้วก่อนหน้านั้น[38]
  • คณะกรรมการสอบสวนคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยโคโลราโดพบว่าศาสตราจารย์ด้านชาติพันธุ์ศึกษา (Ethnic Studies) ชื่อวอร์ด เชอร์ชิล มีความผิดหลายกระทงในการโจรกรรมทางวรรณกรรม ปลอมแปลงงานและอ้างสิ่งที่เป็นความเท็จ หลังจากอธิการบดีนำเรื่องเสนอสภามหาวิทยาลัย เชอร์ชิลก็ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [39][40]
  • ศาสตราจารย์ บี. เอส. ราชบุต นักฟิสิกส์และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยคูมาโอน ประเทศอินเดียลาออกจากมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2546 เนื่องจากถูกพบว่าได้ทำการโจรกรรมผลงานจากบทความทางวิชาการชิ้นหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา) [41][42]
  • ในปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแอนนา เชนไน ( Anna University Chenna) ในมาดราสได้ตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวัสดุศาสตร์ [43] ซึ่งเหมือนกับบทความจากมหาวิทยาลัยลินโคปิง (University of Linköping) ที่ตีพิมพ์มาแล้วในวารสาร PNAS [44] [45]

ธุรกิจ

[แก้]

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550 วารสาร Financial Times ได้ตีพิมพ์บทความในหน้า 1 ชื่อ "'Pipeliners All!’ Shell’s memo to Sakhalin" [46]

บทความอ้างถึงการรั่วอย่างจงใจของบันทึกช่วยจำในรูปอีเมลจากเดวิด เกรียร์ รองประธานบริหารของบริษัทพลังงานสักขาลิน (Sakhalin Energy) แจกจ่ายแก่พนักงานบริษัท มีบางคนที่ตาแหลมคมได้สังเกตว่าข้อความให้ความบันดาลหลายข้อความในนั้นเอามาจากสุนทรพจน์อันมีชื่อเสียงของนายพลอเมริกันผู้มีตำนานโด่งดังคือนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) ที่แสดงไว้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ก่อนวันดีเดย์ (D-Day) หนึ่งวัน ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์และเว็บไซต์ FT.com ก็ได้มีตีพิมพ์สุนทรพจน์ดังกล่าวของเกรียร์ ใต้พาดหัวว่า “บันทึกช่วยจำสักขาลินลอกจากสุนทรพจน์เกือบทั้งหมดของแพตตัน” [47]

ในวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไฟแนนเชียลไทม์ได้ตีพิมพ์อีกบทความหนึ่ง [48] เกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรม คราวนี้พาดหัวว่า “บักทึกสร้างแรงบันดาลใจนี้จะต้องทำความชัดเจนให้ปรากฏ” และในเนื้อข่าวเขียนว่าบันทึกของเกรียร์ซึ่งเป็นรองประธานบริษัทหยาบ เว้นวรรคตอนผิด ๆ ถูก ๆ และไม่ได้เขียนเองไปลอกของแพตตันมาเกือบทั้งหมดแล้วนำมาใช้เป็นของตนเองในการใช้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรเดินท่อน้ำมัน ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์มอสโคไทม์ก็ลงข่าวโจมตีในทำนองเดียวกันfront page story เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในวันที่ 22 มิถุนายนก็รายงานข่าวว่าเกรียร์ซึ่งทำงานกับบริษัทนี้มา 27 ปีได้ขอลาออกจากบริษัทเพื่อไปประกอบอาชีพอื่นและว่าการลาออกโดยกะทันหันเนื่องมากจากทนแรงกดดันไม่ไหว

เกมคอมพิวเตอร์

[แก้]
  • วิดีโอเกมส์ ชื่อ “ปอง” (Pong) ของอาตาริ (Atari) ถูกกล่าวหาโดยแมกนาวอกซ์ (Magnavox) ว่าลอกเลียนแบบมาจากเกมส์เทนนิสออดิซีของตน โดยโนลาน บุชเนล (Nolan Bushnell) ได้ไปเห็นงานของราฟ แบร์ (Ralph Baer) ที่งานแสดงทางอีเลกทรอนิกส์ในเบอร์ลิงเกมส์ แคลิฟอร์เนียเมื่อปี พ.ศ. 2515 จากนั้นบุชเนลได้ก่อตั้งอาตาริและสร้าง “ปอง” ขึ้นเป็นสินค้าเกมส์นำร่อง แบร์และแมกนาวอกซ์ได้ฟ้องร้องบุชเนลและอาตาริต่อศาลเมื่อ พ.ศ. 2516 ซึ่งในที่สุดสามารถตกลงยอมความกันนอกศาลได้เมื่อ พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นจุดจบของออดิซีและการเริ่มยุคของอาตาริ [49][50]

ภาพยนตร์

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu เมื่อ พ.ศ. 2465 เป็นการดัดแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาตมาจากนวนิยายเรื่อง “แดรกคิวลา” ของแบรม สโตเกอร์ (Bram Stoker) ภรรยาหม้ายของสโตเกอร์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อำนวยการสร้าง และภาพยนตร์เรื่องนี้หลายสำเนาถูกนำไปทำลาย (มีบางสำเนาที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง) [51]
  • ในปี พ.ศ. 2533 ภาพยนตร์เรื่อง Hardware ถูกพบว่ามีหลายบทตอนที่ไปเหมือนกับการ์ตูนชุดเรื่อง "SHOK!" หลังจากสิ้นคดีฟ้องร้องผู้ผลิตได้ตกลงยินยอมที่จะแก้ไขโดยการเพิ่มข้อความกิตติกรรมประกาศลงไปในภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้วาดการ์ตูนชุดเรื่องดังกล่าว[52]

การหนังสือพิมพ์

[แก้]
  • เมื่อปี พ.ศ. 2542 นักเขียนและนักวิเคราะห์ข่าวชื่อมอนิกา โครว์เลย์ (Monica Crowley) ถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในส่วนหนึ่งของบทความที่เธอเขียนลงในวารสารวอลล์สตรีทฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ที่มีชื่อบทความว่า “วันที่นิกสันกล่าวอำลา” (The Day Nixon Said Goodbye) และวารสารวอลล์สตรีทก็ได้รีบประกาศคำขอโทษในสัปดาห์นั้น ต่อมา ทิโมนี โนอาห์ (Timothy Noah) แห่งนิตยสารสเลท (Slate Magazine) ก็ได้เขียนบทความของเธอที่ไปเหมือนเป็นอย่างมากกับบางตอนในบทความที่พอล จอห์นสัน (Paul Johnson) เขียนในบทวิจารณ์ของเขาที่ชื่อ “สดุดีนิกสัน” (Praise of Richard Nixon) [53]
  • เจสัน แบลร์ Jayson Blair ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ "นิวยอร์กไทม์" ได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในบทความหลายเรื่อง และแต่งอัญพจน์ (คำในเครื่องหมายคำพูด) เอาเอง รวมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเจสสิกา ลินช์ (Jessica Lynch) และเรื่อง Beltway sniper attacks เจสัน แบลร์และบรรณาธิการอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องต้องลาออกจากนิวยอร์กไทม์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 [54]
  • แบลร์ ฮอร์นสไตน์ (Blair Hornstine) นักเรียนมัธยมมูส์ทาวน์ชิพ ในนิวเจอร์ซีย์ถูกเพิกถอนจากการได้รับเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากถูกจับได้ว่าเธอทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยการใช้สุนทรพจน์และข้อเขียนของบุคคลสำคัญหลายคนรวมทั้งบิล คลินตันไปใส่ในบทความของเธอในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในฐานะของ “นักเรียนนักหนังสือพิมพ์” [55]
  • มิเชล โอเลสเกอร์ (Michael Olesker) นักเขียนคอลัมน์เก่าแก่ประจำหนังสือพิมพ์บัลติมอร์ซัน ( Baltimore Sun) ได้ลาออกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 หลังจากถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมลอกบทความของนักเขียนคอลัมน์ประจำของหนังสือพิมพ์อื่นมาใส่ในบทความของตน [56]
  • ไม่นานหลังจากได้รับการว่าจ้างเป็นผู้เขียน “บล็อก” ประจำให้แก่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อ พ.ศ. 2549 เบน โดเมเนช (Ben Domenech) ก็ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมจากการลอกคอลัมน์และบทความที่ตนเองเคยเขียนในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยและใน “เนชันแนลรีวิวออนไลน์” (National Review Online) รวมทั้งจากหยิบเอาข้อความจากหลาย ๆ แหล่งมาจากทั้งของนักเขียนวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงไปจนถึงของนักวิจารณ์ภาพยนตร์สมัครเล่น โดเมเนชได้กล่าวขอโทษและขอลาออกจากวอชิงตันโพสต์[57]
  • นักเขียนคอลัมน์ประจำของหนังสือพิมพ์บอสตันโกลบชื่อไมค์ บาร์นิเคิล (Mike Barnicle) ถูกบังคับให้ลาออกเมื่อถูกกล่าวหาและพบว่าในคอลัมน์ของตนในหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีข้อความ 10 ข้อความที่ลอกมาจากหนังสือเรื่อง Brain Droppings (พ.ศ. 2540) ของจอร์จ คาร์ลิน (George Carlin) [58]
  • วารสารเอไซน์ (ezine)[59], ของปากีสถานถูกพบว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในบทความในสารสารฉบับประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 จำนวน 11 บทความที่มีเนื้อหาที่ลอกมาจากแหล่งต่าง ๆ ในเว็บ มีหลายบทความที่ลอกมาคำต่อคำ รวมทั้งจากเว็บ Hindustan Times, Rediff, Blogcritics, นิตยสาร "Vis-a-Vis" และนิตยสาร Slate [60] ฝ่ายบริหารของวารสารเอไซน์ได้ถอดเว็บไซต์ออกและกล่าวขอโทษ และว่าโจรกรรมทางวรรณกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้งานที่ผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการของวารสาร และสัญญาว่าจะดูแลเรื่องโจรกรรมทางวรรณกรรมตามสมควร แต่จะไม่ลงโทษนักเขียนคนอื่น ผู้บริหารและผู้จัดการที่ไม่ได้ตั้งใจในการกระทำครั้งนี้ [61]
  • เดวิด โคช (David Koch) พรีเซนเตอร์โทรทัศน์ออสเตรเลียได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยลอกแบบคำต่อคำ 3 บรรทัดจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ The Sunday Telegraph มาใช้ในคอลัมน์สำหรับหนังสือพิมพ์ The Sun-Herald ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ของตน โคชแถลงต่อกลุ่มผู้เฝ้ามองสื่อ (Media Watch) ของออสเตรเลียว่า “....ตั้งแต่ผมถูกชี้ให้เห็นว่า 3 ประโยคนี้ดูเหมือนว่าจะเอามาจากเรื่องที่คล้ายกันในหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น แม้ว่ามันจะไม่ชัดเจนนัก แต่ผมก็ขอรับผิดชอบต่อความผิดทั้งหมดนั้น” [62]

วรรณกรรม

[แก้]
  • เฮเลน เคลเลอร์ ซึ่งตอนนั้นมีอายุไม่มาก ถูกกล่าวหาเมื่อ พ.ศ. 2435 ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยการลอกงานบางส่วนของจากหนังสือมากาเรต ที แคนบี ชื่อ The Frost Fairies มาใส่ในเรื่องสั้นของเธอชื่อ The Frost King เคลลเลอร์ถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสถาบันคนตาบอดเพอร์กิน (Perkins Institute for the Blind) ซึ่งเธอชนะด้วยคะแนนเสียงเดียวและถูกยกฟ้อง เคลเลอร์อ้างในกรณีนี้ว่าเธออาจเคยอ่านเรื่อง The Frost Fairies แต่ได้ลืมไป ซึ่งเป็นเหตุให้เคลเลอร์เกิดความหวาดระแวงโจรกรรมทางวรรณกรรมมาโดยตลอดชีวิต [63][64] รวมทั้งเป็นเหตุให้เคลเลอร์เขียนหนังสืออัตชีวประวัติด้วยการสำนึกตลอดเวลาว่าจะต้องมีความดั้งเดิมทั้งหมด
  • อเลกซ์ ฮาเลย์ (Alex Haley) ได้ตกลงยอมความคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากฮาโรล คูแลนเดอร์ (Harold Courlander) เนื่องจากการยกเอาข้อความมากกว่า 80 แห่งมาจากนวนิยายเรื่อง “ดิแอฟริกัน” ของคูแลนเดอร์มาใช้ในหนังสือเรื่อง “รูทส์” (Roots: The Saga of an American Family) ของตน การถูกกล่าวหาและฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้ฮาเลย์วุ่นวายใจไปตลอดและเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในการยอมความนอกศาล ฮาเลย์ต้องจ่ายเงินให้แก่คูแลนเดอร์เป็นเงิน 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 21 ล้านบาท [65] ฮาเลย์อ้างว่าตนได้ข้อความมาจากใครบางคนและจำไม่ได้ว่าใครให้มา ....ซึ่งสุดท้ายก็ได้มาปรากฏในหนังสือของตน[66]
  • แดน บราวน์ ผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง “รหัสลับดาวินชี” ถูกกล่าวหาทางโจรกรรมทางวรรณกรรมถึงสองครั้งที่เรียกกันว่า “การวิพากษ์วิจารณ์ดา วินชี โค้ด” ( Criticisms of The Da Vinci Code) ถึงขั้นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย แต่ในที่สุดก็ได้รับการยกฟ้องทั้งสองครั้ง[67][68][69][70][71]
    • บราวน์ถูกกล่าวหาว่าใช้โครงร่างหนังสือของมิเชล ไบเจนและริชาร์ด เลห์ เรื่อง The Holy Blood and the Holy Grail (พ.ศ. 2525) ผู้พิพากษาอังกฤษตัดสินยกฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อ พ.ศ. 2549
    • นอกจากนี้ บราวน์ยังถูกกล่าวหาโดยนักประพันธ์นวนิยายชื่อลูอิส เพอร์ดิว ( Lewis Perdue) ว่าบราวน์ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมงานของตนจากหนังสือเรื่อง “มรดกดา วินซี” (The Da Vinci Legacy) และเรื่อง “ลูกสาวพระเจ้า” (Daughter of God) ผู้พิพากษาสหรัฐฯ ตัดสินยกฟ้องในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548
  • นวนิยายเรื่องแรกของแคแอฟยา วิศวานาธาน (Kaavya Viswanathan) เรื่อง "How Opal Mehta Got Kissed, Got Wild and Got a Life" ถูกกล่าวหาว่ามีข้อความหลายตอนในหนังสือที่โจรกรรมทางวรรณกรรมมาจากนวนิยายเรื่องอื่น ๆ ก่อนหน้านี้อย่างน้อย 5 เล่ม เป็นเหตุให้หนังสือนวนิยายเรื่องดังกล่าวทุกฉบับพิมพ์ถูกเก็บออกจากตลาด สัญญาที่เกี่ยวข้องที่ทำไว้กับสำนักพิมพ์ลิตเติล บราวน์ถูกยกเลิก การต่อรองที่กำลังทำกับบริษัทภาพยนตร์ดรีมเวิร์ค เอสเคจีต้องยุติลงไปด้วย[72][73][74]
  • ปี พ.ศ. 2543 เจ. เค. โรว์ลิง ผู้แต่งนวนิยายชุดแฮรี พอตเตอร์ มีคดีข้อขัดแย้งทางกฎหมายที่ฟ้องร้องโดย แนนซี สตูฟเฟอร์ ที่อ้างว่าโรว์ลิงได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยการใช้เรื่องราวจากงานเขียนของเธอในอาชีพนักเขียนอันสั้นของเธอ สตูฟเฟอร์แพ้คดีหลังจากศาลตัดสินว่าเป็นการปั้นเรื่องขึ้น

วิกิพีเดีย

[แก้]
  • เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สำนักข่าว เอ.พี. รายงานว่านักเคลื่อนไหวชื่อ แดเนียล บรานท์ อ้างว่าได้พบว่ามีบทความจำนวน 142 บทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจาก 12,000 บทความที่เขาเลือกตรวจจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้บริหารวิกิพีเดียโต้ตอบว่า รายชื่อบทความจำนวนดังกล่าวถูกตรวจจับอย่างผิด ๆ เพราะมีบทความที่อ้างว่าวิกิพีเดียไปทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมานั้น แท้จริงได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมไปจากบทความดั้งเดิมของวิกิพีเดียก่อนหน้านั้นโดยได้ดำเนินการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้วด้วย [75] He "called on Wikipedia to conduct a thorough review of all its articles."[76]
  • จอร์จ ออร์เวล (George Orwel) (คนละคนกับ จอร์จ ออร์เวลล์ - George Orwell) ถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมจากวิกิพีเดียในหนังสือชื่อ Black Gold: The New Frontier in Oil for Investors โดยสำนักพิมพ์จอห์น ไวเลย์แอนซัน ( John Wiley & Sons) ได้ให้คำยืนยันว่าหนังสือเล่มดังกล่าวใช้ข้อความจากวิกิพีเดียจำนวนประมาณ 5 ย่อหน้าจริง[77] จากบทความปี พ.ศ. 2548 เรื่อง "Khobar Towers Bombing ในซาอุดีอาระเบีย" มีหน้าอภิปรายของผู้ใช้หน้าหนึ่งที่อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้[78] ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม (รวมข้อความเดิม) และความเห็นต่าง ๆ หาดูได้ในเว็บมีเดีย

[79][80]

กรณีวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นที่รู้จัก

[แก้]

ศุภชัย หล่อโลหการ

[แก้]

ในปี 2551 มีการวิพากษ์วิจารณ์ และฟ้องร้อง ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกรณีโจรกรรมทางวรรณกรรมบทความทางวิชาการที่นายศุภชัยได้ส่งในส่วนของดุษฎีนิพนธ์ และเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานของ นายวิลเลี่ยม วีล เอลลิตส์ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่ามีความเป็นจริงหรือไม่ในปี 2553 โดยในขณะเดียวกันนายศุภชัยได้มีการแจ้งฟ้องกลับ นายวิลเลี่ยม วีล เอลลิตส์ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติในข้อหาหมิ่นประมาท[81] ในปี 2555 ทาง ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ได้สอบถามไปทางมหาวิทยาลัยและทางนายศุภชัย แต่ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด โดยทางบรรณาธิการวารสารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ตีพิมพ์ผลงานนี้ให้คำตอบว่าจะไม่มีการถอนการตีพิมพ์หากไม่มีคำสั่งศาลออกมา[82] และในเดือนมิถุนายน 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศถอดปริญญา[83]

แคแอฟยา วิศวานาธาน

[แก้]

แคแอฟยา วิศวานาธาน (Kaavya Viswanathan) นักศึกษาหญิงฮาร์วาร์ดผู้กระทำโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้แต่งหนังสือเรื่อง How Opal Mehta Got Kissed, Got Wild, and Got a Life ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้แต่งหนังสือภายหลังที่เธอจบการศึกษาจากมัธยมศึกษา และได้เป็นที่นิยมเป็นหนังสือขายดีในขณะที่เธอกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ภายหลังหนังสือเล่มนี้ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากมีการถูกกล่าวถึงว่าได้มีการโจรกรรมทางวรรณกรรมจากหลายแหล่ง[84][85] วิศวานาธานได้ขอโทษผ่านทางสื่อมวลชน และได้กล่าวว่า "เป็นความไม่เป็นตั้งใจที่เกิดขึ้น"[86] หนังสือทั้งหมดที่ยังถูกวางขายได้ถูกเรียกคืนและทำลายทิ้งทั้งหมดจากทางสำนักพิมพ์ และสัญญาการเขียนหนังสือเล่มที่สองของเธอได้ถูกยกเลิกทันที[87]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. From the 1995 Random House Compact Unabridged Dictionary:

    use or close imitation of the language and thoughts of another author and the representation of them as one's own original work

    qtd. in Stepchyshyn, Vera; Nelson, Robert S. (2007). Library plagiarism policies. Assoc. of College & Resrch Libraries. p. 65. ISBN 978-0-8389-8416-1.
  2. From the Oxford English Dictionary:

    The action or practice of taking someone else's work, idea, etc., and passing it off as one's own; literary theft.

  3. "University bosses call for ban on essay-writing companies". 27 September 2018. Students caught submitting work that is not their own face serious penalties, which can include being thrown off their university course.
  4. "Daily News fires editor after Shaun King accused of plagiarism". 19 April 2016.
  5. "Jeff Koons found guilty of plagiarism over multi-million-pound sculpture". 8 November 2018. The court ordered Mr Koons, his business, and the Pompidou museum - which had exhibited the work in 2014 - to pay Mr Davidovici a total of €135,000 (£118,000) in compensation.
  6. "Fashion designer Galliano fined for copying imagery". 19 April 2007. Fashion designer John Galliano’s company was ordered to pay 200,000 euros ($271,800) in damages to renowned U.S. photographer William Klein
  7. "Polish professor could face three-year sentence for plagiarism". 5 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
  8. "Ex-VC of DU sent to jail for 'plagiarism', released". 26 November 2014.
  9. O'Connor, Z (2015) Extreme plagiarism: The rise of the e-Idiot?, International Journal of Learning in Higher Education, 20 (1), pp1-11. ISSN 2327-7955 [1]
  10. "Why Belgium's plagiarism verdict on Luc Tuymans is beyond parody". 21 January 2015.
  11. "Jeff Koons plagiarised French photographer for Naked sculpture". 9 March 2017.
  12. Osterberg, Eric C. (2003). Substantial similarity in copyright law. Practising Law Institute. p. §1:1, 1–2. ISBN 1-4024-0341-0. With respect to the copying of individual elements, a defendant need not copy the entirety of the plaintiff's copyrighted work to infringe, and he need not copy verbatim.
  13. Court of Appeals for the Second Circuit (1936-01-17). "Sheldon v. Metro-Goldwyn Pictures Corporation, 81 F.2d 49 (2d Cir. 1936)". No plagiarist can excuse the wrong by showing how much of his work he did not pirate.
  14. Court of Appeals for the Second Circuit (1992-04-02). "Art Rogers, Plaintiff-Appellee-Cross-Appellant v. Jeff Koons Sonnabend Gallery, Inc., Defendants-Appellants-Cross-Appellees, 960 F.2d 301 (2d Cir. 1992)". 960 F.2d 301 Nos. 234, 388 and 235, Dockets 91-7396, 91-7442 and 91-7540. “the copies they produced bettered the price of the copied work by a thousand to one, their piracy of a less well-known artist's work would escape being sullied by an accusation of plagiarism.”.
  15. Lynch, Jack (2002). "The Perfectly Acceptable Practice of Literary Theft: Plagiarism, Copyright, and the Eighteenth Century". Colonial Williamsburg Journal. 24 (4): 51–54. Republished as: Lynch, Jack (2006). "The Perfectly Acceptable Practice of Literary Theft: Plagiarism, Copyright, and the Eighteenth Century". Writing-World.com.
  16. "The Difference Between Copyright Infringement and Plagiarism". 7 October 2013.
  17. "Is Plagiarism Illegal?". www.plagiarism.org. October 27, 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  18. Introna, Dr. Lucas (2003). Cultural Attitudes Towards Plaigarism. Lancashire England: Lancaster University.
  19. Liu, Xiaojing; Liu, Shijuan; Lee, Seung-hee; Magjuka, Richard J. (2010). "Cultural Differences in Online Learning: International Student Perceptions". Journal of Educational Technology & Society. 13 (3): 177–188. ISSN 1176-3647.
  20. Alexander Klein (June 8, 2007). "Opinion: Why Do They Do It?". The New York Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  21. Hart, Mike; Friesner, Tim (December 15, 2004), Plagiarism and Poor Academic Practice – A Threat to the Extension of e-Learning in Higher Education?, Electronic Journal of E-Learning, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19, สืบค้นเมื่อ 2007-12-11
  22. Del Jones (1 สิงหาคม 2006). "Authorship gets lost on Web". USA Today.
  23. Maura Welch (8 พฤษภาคม 2006). "Online plagiarism strikes blog world". Boston Globe Media.
  24. Chris Richardson (30 สิงหาคม 2005). "Copyscape Searches For Scraped Content". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007.
  25. Stuart P. Green (พฤศจิกายน 2002). "Plagiarism, Norms, and the Limits of Theft Law: Some Observations on the Use of Criminal Sanctions in Enforcing Intellectual Property Rights" (PDF). Hastings Law Journal. 54: 167–242. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มิถุนายน 2008.
  26. Hexham, Irving (2005). "The Plague of Plagiarism: Academic Plagiarism Defined". UCalgary.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-30.
  27. Samuelson, Pamela (August 1994). "Self-plagiarism or fair use?" (PDF). Communications of the ACM. 37 (8): 21–5. doi:10.1145/179606.179731. S2CID 38941150.
  28. "ACM Policy and Procedures on Plagiarism". June 2010.
  29. Peters, F. E., Aristotle and the Arabs: The Aristotelian Tradition in Islam, New York University Press, NY, 1968.
  30. J. N. Mattock (1971). "Aristotle and the Arabs: The Aristotelian Tradition in Islam by F. E. Peters", Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London 34 (1) , p. 147-148.
  31. Ralph Blumenthal (September 21, 1999). "Repeat Accusations of Plagiarism Taint Prolific Biographer". The New York Times.
  32. Ralph Blumenthal (September 26, 1999). "Familiarity Stops the Presses". The New York Times.
  33. Kim Lanegran (July 2, 2004). "Fending Off a Plagiarist". The Chronicle of Higher Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  34. David D. Kirkpatrick (January 5, 2002). "2 Say Stephen Ambrose, Popular Historian, Copied Passages". The New York Times.
  35. David D. Kirkpatrick (January 11, 2002). "As Historian's Fame Grows, So Do Questions on Methods". The New York Times.
  36. Noah, Timothy (January 22, 2002). "Doris Kearns Goodwin, Liar". Slate Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  37. "How the Goodwin Story Developed". George Mason University's History News Network. 2005-10-06. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  38. Denis Bouyssou; Silvano Martello; Frank Plastria (บ.ก.). "A case of plagiarism: Dănuţ Marcu" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  39. Wesson, Marianne; Clinton, Robert; Limón, José; McIntosh, Marjorie; Radelet, Michael (May 9, 2006), Report of the Investigative Committee of the Standing Committee on Research Misconduct at the University of Colorado at Boulder concerning Allegations of Academic Misconduct against Professor Ward Churchill (PDF), University of Colorado at Boulder, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-01-05, สืบค้นเมื่อ 2008-05-01
  40. "Ward Churchill The Research Misconduct Inquiry". colorado.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-29. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  41. "Physics Plagiarism Alert". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-11-23. สืบค้นเมื่อ 2002-11-23.
  42. "The Hindu : Kumaon University V-C resigns". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  43. Determination of dopant of ceria system by density functional theory K. Muthukkumaran1, Roshan Bokalawela, Tom Mathews and S. Selladurai Journal of Materials Science Volume 42, Number 17 / September, 2007 7461-7466 doi:10.1007/s10853-006-1486-5
  44. Optimization of ionic conductivity in doped ceria David A. Andersson, Sergei I. Simak, Natalia V. Skorodumova, Igor A. Abrikosov, and Börje Johansson PNAS March 7, 2006 vol. 103 no. 10 3518-3521 doi:10.1073/pnas.0509537103
  45. "Linköping University: News and Events". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  46. "Pipeliners All!' Shell's memo to Sakhalin". The Financial Times. 5 มิถุนายน 2007.
  47. Ed Crooks (7 มิถุนายน 2007). "Sakhalin motivational memo borrows heavily from Patton". The Financial Times.
  48. Lucy Kellaway (11 มิถุนายน 2007). "Motivational memos must make their message clear". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008.
  49. "A 30 Year Odyssey for Home Video Games, " Chicago Sun-Times, 16 กุมภาพันธ์ 2003
  50. "Magnavox Odyssey". www.pong-story.com.
  51. Grayling, Christopher (January 21, 2001). "The Vampfather". UK Independent.
  52. "2000AD Online "spinoff" archive". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  53. Nixon's Monica Stonewalls About Plagiarism! - Timothy Noah - Slate Magazine
  54. Kristina Nwazota (December 10, 2004). "Jayson Blair: A Case Study of What Went Wrong at The New York Times". PBS Online News Hour.
  55. Hornstine, Blair (3 มิถุนายน 2003). "Stories, essays lacked attribution". The Courier Post.
  56. Associated Press (January 13, 2015). "Baltimore Sun Columnist Quits Amid Plagiarism Charges". Fox News.
  57. Howard Kurtz (25 มีนาคม 2006). "Post.com Blogger Quits Amid Furor". The Washington Post.
  58. Former Boston Globe Columnist Is Returning, but to a Rival The New York Times.
  59. "Wecite". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2017.
  60. "The Ugly Face Of Internet Plagiarism - WeCite Busted!" เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "Desicritics" 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550
  61. ""Message from WeCite Management"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-12.
  62. "Media Watch: Koch-y Kat (15/10/2007)". สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.
  63. Walter Kendrick (August 30, 1998). "Her Hands Were a Bridge to the World". The New York Times.
  64. Helen Keller (1903). "The Story of My Life". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  65. Esther B. Fein (March 3, 1993). "Book Notes". The New York Times.
  66. Anne S. Crowley (24 ตุลาคม 1985). "Research Help Supplies Backbone for Haley's Book". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2013.
  67. "Da Vinci author is hit by fresh plagiarism claim". The Scotsman. 12 มกราคม 2005.
  68. Maev Kennedy (28 กุมภาพันธ์ 2006). "In a packed high court, a new twist in The Da Vinci Code begins to unfold". The Guardian.
  69. Publish and be damned if you don't sell more, The Birmingham Post, 10 March, 2006
  70. "Da Vinci trial pits history against art". The Observer. 26 กุมภาพันธ์ 2006.
  71. Court rejects Da Vinci copy claim, BBC News, 7 April 2006
  72. "Student’s Novel Faces Plagiarism Controversy", David Zhou, , The Harvard Crimson, 23 เมษายน 2006
  73. "For new author, a difficult opening chapter", Vicki Hyman, The Star-Ledger, 25 เมษายน 2006
  74. "Author McCafferty talks shop with Brick's Lit Chicks" เก็บถาวร 6 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Colleen Lutolf, Brick Township Bulletin, 18 พฤษภาคม 2006
  75. Jesdanun, Anick (November 3, 2006). "Wikipedia Critic Finds Copied Passages". Associated Press.
  76. "Wikipedia Critic Finds Copied Passages". The Sydney Morning Herald. 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-24.
  77. Noam Cohen (19 พฤศจิกายน 2007). "Part of an Oil Book Relied on Wikipedia New York times". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007.
  78. "User:Ydorb/khobar-copyvio". 21 พฤศจิกายน 2007.
  79. Leon Neyfakh (November 19, 2007). "Wikipedia Plagiarist's Name Appears to Contain Similarities to George Orwell's". The New York Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 2007-11-24.
  80. Jason Lee Miller (November 16, 2007). "Does Open License Mean Open Season". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-24.
  81. มติชนออนไลน์, จุฬาฯหารือกฤษฎีกาถอนปริญญา "ดอกเตอร์"ศุภชัย หล่อโลหการ ผอ.สนช.หลังสรุปคดีกล่าวหาลอกวิทยานินพธ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  82. THE, Innovation boss in duplication row
  83. "จุฬาฯถอดป.ดุษฎีบัณฑิต'ผอ.สนช.'". คมชัดลึก. 21 มิถุนายน 2012.
  84. Zhou, David (April 23, 2006). "Student's Novel Faces Plagiarism Controversy". The Harvard Crimson. TheCrimson.com. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009.
  85. Zhou, David; Paras D. Bhayani (May 2, 2006). "Opal Similar to More Books". The Harvard Crimson. TheCrimson.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009.
  86. Smith, Dinitia (April 25, 2006). "Harvard Novelist Says Copying Was Unintentional". The New York Times. NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ May 31, 2006.
  87. Crimson Staff (May 2, 2006). "Opal Mehta Gone for Good; Contract Cancelled". The Harvard Crimson. TheCrimson.com. สืบค้นเมื่อ May 31, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]