ข้ามไปเนื้อหา

การป้องกันโรคมะเร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การป้องกันมะเร็ง)
อัตราการตายที่ปรับอายุแล้ว (age-adjusted) ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004[1]

การป้องกันโรคมะเร็ง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดความชุกโรคมะเร็งและอัตราการตาย[2][3] ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนพฤติกรรมและการไปตรวจคัดกรองโรคของบุคคล ตลอดจนนโยบายป้องกันโรคมะเร็งของรัฐ[4] การป้องกันมะเร็งทั่วโลกถือว่าสำคัญยิ่งเพราะมีผลต่อประชากรเป็นจำนวนมาก ช่วยโปรโหมตพฤติกรรมเพื่อสุขภาพซึ่งลดผลระยะยาวของมะเร็ง มีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าและทำได้ในคนทุกชนชั้น[3] กรณีคนไข้มะเร็งโดยมากเนื่องกับปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนพฤติกรรมจะคุมปัจจัยเช่นนี้ได้หลายอย่าง[5] กรณีการตายเกินกว่า 75% สามารถป้องกันได้โดยเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งยาสูบ น้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ขาดสารอาหาร ไม่ออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมลภาวะอากาศ[6][7] แต่ก็ไม่สามารถคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทุกอย่างได้ เช่น รังสีภูมิหลัง และก็ยังมีเหตุของมะเร็งอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบทอดได้ เทคนิกการตัดต่อยีนที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันอาจช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ในอนาคต[8] การตรวจคัดโรคปัจจุบันอาจปรับปรุงได้โดยลดการทำให้เจ็บ (invasiveness) และเพิ่มความจำเพาะ (specificity) โดยพิจารณาลักษณะทางชีวภาพของบุคคลเป็นราย ๆ (population-based personalized cancer screening)[3]

วิธีการ

[แก้]
โฆษณาให้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็ง

ทุกคนสามารถเกิดมะเร็งได้[9] อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด คือ มะเร็งอัตราร้อยละ 75 เกิดในผู้มีอายุ 55 ปีและยิ่งกว่านั้น

อาหาร

[แก้]

มีการเสนอแนะนำอาหารหลายอย่างเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็ง แต่หลักฐานสนับสนุนก็ไม่ชัดเจน[10][11] ปัจจัยหลักเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงรวมทั้งโรคอ้วนและการดื่มแอลกอฮอล์ แม้อาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากจะโทษว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่ก็ยังไม่ได้ยืนยัน[12][13] งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผักผลไม้กับโรคมะเร็ง[14] การทานกาแฟสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งตับที่ลดลง[15] งานศึกษาหลายงานเชื่อมการทานเนื้อบางอย่างเป็นจำนวนมาก คือเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับอ่อนที่สูงขึ้น เพราะเนื้อที่หุงด้วยอุณหภูมิสูงมีสารก่อมะเร็ง[16][17] ข้อแนะนำอาหารเพื่อป้องกันมะเร็งปกติจะเน้นการให้ทานผักผลไม้ ข้าวกล้อง และปลา โดยหลีกเลี่ยงเนื้อสีแดง (รวมเนื้อวัว หมู และแกะ) และเนื้อแปรรูป ไขมันสัตว์ และคาร์โบไฮเดรตขัดสี (เช่น น้ำตาลทราย)[10][11]

การออกกำลังกาย

[แก้]

งานวิจัยแสดงว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งหลายอย่างถึง 30%[18][19] รวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุมดลูก[20][21] แม้กลไกทางชีวภาพของความสัมพันธ์เช่นนี้จะยังไม่ชัดเจน[21] แต่งานวิจัยก็ได้แสดงว่า การออกกำลังกายอาจลดความเสี่ยงโดยคุมน้ำหนัก ลดระดับฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนและอินซูลิน ลดการอักเสบ และทำระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง[21][22]

ยา

[แก้]

แนวคิดว่ายาสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้น่าสนใจ และมีหลักฐานในบางกรณี ในกลุ่มประชากรทั่วไป ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่มีผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดและหัวใจตลอดจนทางเดินอาหาร จึงมีผลลบมากกว่าผลบวก[23] แอสไพรินลดความเสี่ยงตายจากมะเร็งประมาณ 7%[24] ยากลุ่ม COX-2 inhibitor อาจลดอัตราการเกิดติ่งเนื้อเมือกในผู้มีโรค familial adenomatous polyposis[A] แต่ก็มีผลที่ไม่ต้องการเช่นเดียวกันกับ NSAID[25]

การใช้ยา tamoxifen หรือ raloxifene ทุกวันพบว่า ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงผู้เสี่ยงสูง[26] ส่วนยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนคือ 5-alpha-reductase inhibitor เช่น finasteride มีผลลบเทียบกับผลบวกที่ไม่ชัดเจน[27]

วิตามินไม่มีประสิทธิภาพป้องกันมะเร็ง[28] แต่วิตามินดีในเลือดต่ำก็มีสหสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งที่สูงขึ้น[29][30] แต่จะเป็นความสัมพันธ์แบบเหตุหรือไม่ หรือว่ามีฤทธิ์ป้องกันจริง ๆ หรือไม่ ก็ยังไม่ได้ระบุ[31]

อาหารเสริมคือ บีตา-แคโรทีน พบว่าเพิ่มอัตรามะเร็งปอดในผู้เสี่ยงสูง[32] กรดโฟลิกไม่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และอาจเพิ่มติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่[33] งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2018 สรุปว่า หลักฐานคุณสภาพสูงแสดงว่า ซีลีเนียมไม่มีผลลดความเสี่ยงมะเร็ง[34]

วัคซีน

[แก้]

วัคซีนต้านมะเร็งสามารถใช้ป้องกันหรือรักษาโรค[3] วัคซีนเหล่านี้ทั้งหมดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยช่วยให้ลิมโฟไซต์ คือ cytotoxic T lymphocyte (CTL) รู้จักและต่อต้านแอนติเจนของเนื้องอก (ทั้ง tumor-associated antigen และ tumor-specific antigen)

ยังมีวัคซีนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ก่อมะเร็ง[35] วัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส เช่น Gardasil และ Cervarix ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก[35] วัคซีนตับอักเสบ บีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จึงลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ[35] การฉีดวัคซีนเหล่านี้แนะนำในประเทศทั้งหมดถ้ามีงบประมาณพอ[36]

วัคซีนมะเร็งบางอย่างทำงานอาศัยสารภูมิต้านทาน คือ immunoglobulin และเจาะจงแอนติเจนของมะเร็งหรือเซลล์ที่ผิดปกติโดยเฉพาะ[3][37] ซึ่งแพทย์อาจให้เมื่อรักษาโรคที่เป็นแล้วเพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันรู้จักและเข้าทำลายเนื้องอกที่มีแอนติเจนของมะเร็งในฐานะเป็นสิ่งแปลกปลอม สารภูมิต้านทานที่ใช้เป็นวัคซีนเช่นนี้อาจมาจากคนไข้เอง (autologous vaccine) หรืออาจมาจากคนไข้อื่น ๆ (allogeneic vaccine)[35] มีวัคซีนจากคนไข้เองหลายอย่าง เช่น Oncophage สำหรับมะเร็งไต และ Vitespen สำหรับมะเร็งหลายอย่าง ที่ได้วางตลาดขายแล้วหรือว่ากำลังทดสอบทางคลินิกอยู่ วัคซีนที่องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติแล้ว เช่น Sipuleucel-T สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายแล้ว หรือ Nivolumab สำหรับเมลาโนมาและมะเร็งปอด อาจออกฤทธิ์ต่อต้านโปรตีนที่แสดงออกเกินหรือที่กลายพันธุ์ไป หรือออกฤทธิ์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไวขึ้น (inhibiting immune checkpoints)[3][38]

การตรวจคัดโรค

[แก้]

วิธีการตรวจคัดโรคมะเร็งที่แพร่หลาย เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในระยะ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาเพราะสามารถระบุและตรวจจับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ได้ดีขึ้น[3]

มะเร็งปากมดลูก

[แก้]

มะเร็งปากมดลูกปกติจะตรวจคัดด้วยการตรวจเซลล์ปากมดลูก (คือ Pap smear) การส่องตรวจช่องคลอด การตรวจระบบสืบพันธุ์โดยตรง หรือการตรวจหาดีเอ็นเอของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสซึ่งจัดเป็นไวรัสก่อมะเร็ง[39] แนะนำให้เริ่มตรวจคัดโรคเมื่อมีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยให้ตรวจด้วย Pap smear ทุก ๆ 3 ปีสำหรับหญิงอายุระหว่าง 21-29 ปี และทุก ๆ 5 ปีเมื่ออายุมากกว่านั้น[3] ส่วนหญิงอายุเกิน 65 ปีที่ไม่มีประวัติมะเร็งปากมดลูกหรือความผิดปกติที่ปากมดลูก โดยได้ผลลบเมื่อตรวจด้วย Pap smear มาก่อน ก็สามารถหยุดตรวจคัดโรคได้[40]

อย่างไรก็ดี แม้การแนะนำให้ตรวจคัดโรคจะขึ้นกับอายุ แต่ก็อาจสัมพันธ์กับ "ระดับการศึกษา วัฒนธรรม ปัญหาทางจิต-สังคม และสถานะการแต่งงาน" ซึ่งแสดงความสำคัญของการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพิ่มขึ้นในการตรวจคัดโรค[3]

มะเร็งลำไส้ใหญ่

[แก้]

การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT) ใช้ตรวจคัดมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยที่สุด รูปแบบการตรวจเลือดในอุจจาระแฝงอื่น ๆ รวมทั้ง guaiac-based FOBT (gFOBT), fecal immunochemical test (FIT) และการตรวจดีเอ็นเอในอุจจาระ (sDNA)[41] ถ้าพบเลือดในอุจจาระ อาจตรวจเพิ่มขึ้นด้วยการส่องตรวจไส้ใหญ่ส่วนคด (FS) การส่องตรวจไส้ใหญ่ทั้งหมด (TC) และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT) การตรวจคัดโรคแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปี แต่ก็ยังขึ้นกับประวัติคนไข้และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ โปรแกรมการตรวจคัดโรคที่มีประสิทธิผลพบว่า ลดความชุกโรคได้ 33% และอัตราการตายเพราะโรคได้ 43%[3]

มะเร็งเต้านม

[แก้]

ในปี 2018 สหรัฐจะมีคนไข้มะเร็งเต้านมใหม่ประมาณ 1.7 ล้านคน (จากประชากร 324 ล้านคนโดยมีหญิงผู้ใหญ่ 128 ล้านคน) และมีคนตายเพราะโรค 600,000 คน[42] ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งขนาดเต้านม การออกกำลังกายไม่เพียงพอ โรคอ้วน น้ำหนักเกิน ความเป็นหมันหรือไม่เคยมีลูก การรักษาทดแทนฮอร์โมน (HRT) และพันธุกรรม[3] การถ่ายภาพเอ็กซเรย์แบบ mammograms ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อตรวจคัดโรค และองค์กร USPSTF ก็แนะนำสำหรับหญิงอายุ 50-74 ปี แต่แนะนำไม่ให้ทำสำหรับหญิงอายุ 40-49 ปีเพราะอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกิน[3][43]

เหตุมะเร็งที่ป้องกันได้

[แก้]

รายงานปี 2017 ระบุว่า การเปลี่ยนพฤติกรรม การไปตรวจคัดโรค และการฉีดวัคซีนเป็นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งหลัก ๆ ที่เนื่องกับปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งยาสูบ อาหาร การออกกำลังกาย โรคอ้วน/น้ำหนักเกิน การติดเชื้อ และสารก่อมะเร็ง[44] ปัจจัยเสี่ยงเช่นนี้กระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งที่สามัญหลายอย่าง

ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีประวัติหูดอวัยวะเพศ (genital wart) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีภูมิคุ้มกันทำงานอ่อนแอ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน อายุยังน้อยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรกหรือเมื่อตั้งครรภ์ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ส่วนโรคอ้วน การทานเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป การใช้ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีประวัติโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel diseases) ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CRC) ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายและการทานผักผลไม้อาจลดความเสี่ยงต่อโรค[3]

งานวิจัยเด่นปี 1981 เน้นเหตุที่ป้องกันได้หลายอย่าง[45] และประเมินว่า การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง 11 อย่างสามารถป้องกันมะเร็ง 75-80% ได้ในสหรัฐ งานทบทวนวรรณกรรมปี 2013 เรื่องการป้องกันมะเร็ง[46] ซึ่งสรุปความงานศึกษาระหว่างปี 2000-2010 ก็แสดงปัจจัยเดียวกันโดยมากกับงานปี 1981 ด้วย แต่พิจารณาปัจจัยเสี่ยงเป็นจำนวนน้อยกว่า (เช่น ไม่พิจารณาอาหาร) แล้วบ่งว่า การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง (ที่มีจำนวนน้อยกว่า) เช่นนี้จะป้องกันการตายเพราะมะเร็งได้ถึง 60%

ตารางต่อไปนี้ระบุสัดส่วนของการตายเพราะมะเร็งที่โทษปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งสรุปมาจากข้อมูลของงานทั้งสอง และจากงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งแสดงอิทธิพลของพฤติกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง เช่น การใช้ยาสูบ อาหารที่ไม่ถูกสุขภาพ โรคอ้วนและการติดเชื้อ[47]

อัตราการตายเพราะมะเร็งในสหรัฐเนื่องกับปัจจัยต่าง ๆ
ปัจจัย งานปี 1981[48] งานปี 2013[49] งานอื่น ๆ
การสูบบุหรี่ 30% 30% ชาย 38% หญิง 23%[50] 30%[51] 25-30%[52]
อาหารไม่ดี 35% - 32%[53] 10%[54] 30-35%[52]
โรคอ้วน * 10% หญิง 14% ชาย 20% สำหรับผู้ไม่สูบบุหรี่[55] 10-20%[52] 19-20% สหรัฐ, 16-18% บริเตนใหญ่, 13% บราซิล, 11-12% จีน[56]
การติดเชื้อ 10% 5-8% 7-10%[57] ประเทศพัฒนาแล้ว 8% ประเทศกำลังพัฒนา 26%[51] ประเทศรายได้สูง 10% แอฟริกา 25%[52]
การดื่มแอลกอฮอล์ 3% 3-4% 3.6%[51] สหรัฐ 8% ฝรั่งเศส 20%[58]
ปัจจัยทางอาชีพ 4% 3-5% 2-10% โดยชายอาจถึง 15-20%[59]
การถูกรังสีพระอาทิตย์
หรือรังสีที่แยกอิเล็กตรอนได้
3% 3-4% อาจมากถึง 10%[52]
การไม่ออกกำลังกาย * <5% 7%[60]
พฤติกรรมทางเพศ 1-13% - -
มลภาวะ 2% - -
ยาและหัตถการทางแพทย์ 1% - -
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม <1% - -
สารเติมแต่งอาหาร <1% - -

*รวมในเรื่องอาหาร
†การติดเชื้อที่ก่อมะเร็ง - ปากมดลูก (HPV), ตับ (ไวรัสตับอักเสบบี [HBV], ไวรัสตับอักเสบซี [HCV]), กระเพาะอาหาร (Helicobacter pylori), เนื้อเยื่อน้ำเหลือง/lymphoid tissues (ไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ [EBV]), คอหอยส่วนจมูก (EBV), กระเพาะปัสสาวะ (Schistosoma hematobium) และท่อน้ำดี (Opisthorchis viverrini, Clonorchis sinensis)

ประวัติ

[แก้]

มะเร็งเชื่อว่าเป็นโรคที่ป้องกันได้ตั้งแต่สมัยโรมัน แพทย์ชาวกรีกคือเกเลนได้สังเกตว่า อาหารที่ไม่ถูกสุขภาพสัมพันธ์กับการเกิดโรค ในปี 1713 แพทย์ชาวอิตาลี (Ramazzini) ได้สันนิษฐานว่า แม่ชีเกิดมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่าเพราะงดเว้นเพศสัมพันธ์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงพบว่า สารบางอย่าง เช่น ยาสูบ เขม่า และน้ำมันดิน (ทำให้ผู้ทำความสะอาดปล่องไฟเป็นมะเร็งลูกอัณฑะ ตามรายงานของแพทย์ชาวอังกฤษปี 1775) อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ แม้แพทย์จะได้เสนอวิธีป้องกันเมื่อทำความสะอาดปล่องไฟ (คือให้ใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันการถูกต้องกับเขม่า) แต่ก็ได้นำไปใช้เพียงในประเทศฮอลแลนด์ซึ่งได้ลดการเกิดมะเร็งลูกอัณฑะสำหรับผู้ทำความสะอาดปล่องไฟ

เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 จึงได้เริ่มจัดหมวดหมู่สารเคมีก่อมะเร็ง[61] แล้วในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มระบุปัจจัยก่อมะเร็งทั้งแบบทางกายภาพและทางชีวภาพ เช่น รังสีเอกซ์ และ Rous Sarcoma Virus (ค้นพบในปี 1911) แม้จะได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและเคมีกับการเกิดมะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อป้องกันโรค และการเปลี่ยนพฤติกรรม/วิถีชีวิตเพื่อป้องกันโรคก็ยังทำไม่ได้ในช่วงเวลานี้[61]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. familial adenomatous polyposis (FAP) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดมี adenomatous polyp (ติ่งเนื้อเมือกแบบต่อม) จำนวนมากโดยหลักในลำไส้ใหญ่ แม้ติ่งเนื้อเมือกเบื้องต้นจะไม่ร้าย แต่ก็อาจกลายเป็นมะเร็งเมื่อไม่รักษา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "WHO Disease and injury country estimates". World Health Organization. 2009. สืบค้นเมื่อ 11 November 2009.
  2. "Cancer prevention: 7 steps to reduce your risk". Mayo Clinic. 27 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 Valle, I; Tramalloni, D; Bragazzi, NL (June 2015). "Cancer prevention: state of the art and future prospects". Journal of Preventive Medicine and Hygiene. 56 (1): E21-7. PMC 4718348. PMID 26789828.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "Cancer Prevention & Early Detection Facts & Figures 2017-18" (PDF). Cancer.org. 1 April 2017.
  5. Danaei, G; S, Vander Hoorn; Lopez, AD; Murray, CJ; Ezzati, M (2005). "Causes of cancer in the world: comparative risk assessment of nine behavioural and environmental risk factors". Lancet. 366 (9499): 1784–93. doi:10.1016/S0140-6736(05)67725-2. PMID 16298215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Anand, P; Kunnumakkara, AB; Kunnumakara, AB; Sundaram, C; Harikumar, KB; Tharakan, ST; Lai, OS; Sung, B; Aggarwal, BB (2008). "Cancer is a preventable disease that requires major lifestyle changes". Pharm. Res. 25 (9): 2097–116. doi:10.1007/s11095-008-9661-9. PMC 2515569. PMID 18626751.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. "CRISPR Gene-Editing Tool May Help Improve Cancer Immunotherapy". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  9. "Cancer Prevention". Rogel Cancer Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2018. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
  10. 10.0 10.1 Kushi, LH; Doyle, C; McCullough, M; และคณะ (2012). "American Cancer Society Guidelines on nutrition and physical activity for cancer prevention: reducing the risk of cancer with healthy food choices and physical activity". CA Cancer J Clin. 62 (1): 30–67. doi:10.3322/caac.20140. PMID 22237782.
  11. 11.0 11.1 Wicki, A; Hagmann, J (Sep 2011). "Diet and cancer". Swiss Medical Weekly. 141: w13250. doi:10.4414/smw.2011.13250. PMID 21904992.
  12. Cappellani, A; Di Vita, M; Zanghi, A; Cavallaro, A; Piccolo, G; Veroux, M; Berretta, M; Malaguarnera, M; Canzonieri, V; E, Lo Menzo (2012). "Diet, obesity and breast cancer: an update". Front Biosci. 4: 90–108. doi:10.2741/253. PMID 22202045.
  13. Key, TJ (Jan 2011). "Fruit and vegetables and cancer risk". Br. J. Cancer. 104 (1): 6–11. doi:10.1038/sj.bjc.6606032. PMC 3039795. PMID 21119663.
  14. Wang, X; Ouyang, Y;; Liu, J; Zhu, M; Zhao, G; Bao, W; Hu, FB (July 2014). "Fruit and vegetable consumption and mortality from all causes, cardiovascular disease, and cancer: systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies". BMJ. 349: g4490. doi:10.1136/bmj.g4490. PMC 4115152. PMID 25073782.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Larsson, SC; Wolk, A (May 2007). "Coffee consumption and risk of liver cancer: a meta-analysis". Gastroenterology. 132 (5): 1740–5. doi:10.1053/j.gastro.2007.03.044. PMID 17484871.
  16. Zheng, W; Lee, SA (2009). "Well-done meat intake, heterocyclic amine exposure, and cancer risk". Nutr Cancer. 61 (4): 437–46. doi:10.1080/01635580802710741. PMC 2769029. PMID 19838915.
  17. Ferguson, LR (Feb 2010). "Meat and cancer". Meat Sci. 84 (2): 308–13. doi:10.1016/j.meatsci.2009.06.032. PMID 20374790.
  18. Moore, SC; Lee, IM; Weiderpass, E; Campbell, PT; Sampson, JN; Kitahara, CM; Keadle, SK; Arem, H; de Gonzalez A, Berrington; Hartge, P; Adami, HO; Blair, CK; Borch, KB; Boyd, E; Check, DP; Fournier, A; Freedman, ND; Gunter, M; Johannson, M; Khaw, KT; Linet, MS; Orsini, N; Park, Y; Riboli, E; Robien, K; Schairer, C; Sesso, H; Spriggs, M; Van Dusen, R; Wolk, A; Matthews, CE; Patel, AV และคณะ (June 2016). "Association of Leisure-Time Physical Activity With Risk of 26 Types of Cancer in 1.44 Million Adults". JAMA Internal Medicine. 176 (6): 816–25. doi:10.1001/jamainternmed.2016.1548. PMC 5812009. PMID 27183032.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Kruk, J; Czerniak, U (2013). "Physical activity and its relation to cancer risk: updating the evidence". Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 14 (7): 3993–4003. PMID 23991944.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. "Exercise Linked With Lower Risk of 13 Types of Cancer". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  21. 21.0 21.1 21.2 "Physical Activity and Cancer". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  22. Winzer, BM; Whiteman, DC; Reeves, MM; Paratz, JD (June 2011). "Physical activity and cancer prevention: a systematic review of clinical trials". Cancer Causes & Control. 22 (6): 811–26. doi:10.1007/s10552-011-9761-4. PMID 21461921.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. Rostom, A; Dubé, C; Lewin, G; Tsertsvadze, A; Barrowman, N; Code, C; Sampson, M; Moher, D (March 2007). "Nonsteroidal anti-inflammatory drugs and cyclooxygenase-2 inhibitors for primary prevention of colorectal cancer: a systematic review prepared for the U.S. Preventive Services Task Force". Annals of Internal Medicine. 146 (5): 376–89. doi:10.7326/0003-4819-146-5-200703060-00010. PMID 17339623.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Rothwell, PM; Fowkes, FG; Belch, JF; Ogawa, H; Warlow, CP; Meade, TW (January 2011). "Effect of daily aspirin on long-term risk of death due to cancer: analysis of individual patient data from randomised trials". Lancet. 377 (9759): 31–41. doi:10.1016/S0140-6736(10)62110-1. PMID 21144578.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Cooper, K; Squires, H; Carroll, C; Papaioannou, D; Booth, A; Logan, RF; Maguire, C; Hind, D; Tappenden, P (June 2010). "Chemoprevention of colorectal cancer: systematic review and economic evaluation". Health Technol Assess. 14 (32): 1–206. doi:10.3310/hta14320. PMID 20594533.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Thomsen, A; Kolesar, JM (December 2008). "Chemoprevention of breast cancer". Am J Health Syst Pharm. 65 (23): 2221–8. doi:10.2146/ajhp070663. PMID 19020189.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Wilt, TJ; MacDonald, R; Hagerty, K; Schellhammer, P; Kramer, BS (2008). Wilt, Timothy J (บ.ก.). "Five-alpha-reductase Inhibitors for prostate cancer prevention". Cochrane Database Syst Rev (2): CD007091. doi:10.1002/14651858.CD007091. PMID 18425978.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. "Vitamins and minerals: not for cancer or cardiovascular prevention". Prescrire Int. 19 (108): 182. August 2010. PMID 20939459.
  29. Giovannucci, E; Liu, Y; Rimm, EB; Hollis, BW; Fuchs, CS; Stampfer, MJ; Willett, WC (April 2006). "Prospective study of predictors of vitamin D status and cancer incidence and mortality in men". J. Natl. Cancer Inst. 98 (7): 451–9. doi:10.1093/jnci/djj101. PMID 16595781.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. "Vitamin D Has Role in Colon Cancer Prevention". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2006. สืบค้นเมื่อ 27 July 2007.
  31. Schwartz, GG; Blot, WJ (April 2006). "Vitamin D status and cancer incidence and mortality: something new under the sun". J. Natl. Cancer Inst. 98 (7): 428–30. doi:10.1093/jnci/djj127. PMID 16595770.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Fritz, H; Kennedy, D; Fergusson, D; Fernandes, R; Doucette, S; Cooley, K; Seely, A; Sagar, S; Wong, R; Seely, D (2011). Minna, John D (บ.ก.). "Vitamin A and retinoid derivatives for lung cancer: a systematic review and meta analysis". PLoS ONE. 6 (6): e21107. Bibcode:2011PLoSO...6E1107F. doi:10.1371/journal.pone.0021107. PMC 3124481. PMID 21738614.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Cole, BF; Baron, JA; Sandler, RS; Haile, RW; Ahnen, DJ; Bresalier, RS; McKeown-Eyssen, G; Summers, RW; Rothstein, RI; Burke, CA; Snover, DC; Church, TR; Allen, JI; Robertson, DJ; Beck, GJ; Bond, JH; Byers, T; Mandel, JS; Mott, LA; Pearson, LH; Barry, EL; Rees, JR; Marcon, N; Saibil, F; Ueland, PM; Greenberg, ER (June 2007). "Folic acid for the prevention of colorectal adenomas: a randomized clinical trial". JAMA. 297 (21): 2351–9. doi:10.1001/jama.297.21.2351. PMID 17551129.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Vinceti, Marco; Filippini, Tommaso; Del Giovane, Cinzia; Dennert, Gabriele; Zwahlen, Marcel; Brinkman, Maree; Zeegers, Maurice Pa; Horneber, Markus; D'Amico, Roberto (January 2018). "Selenium for preventing cancer". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1: CD005195. doi:10.1002/14651858.CD005195.pub4. ISSN 1469-493X. PMID 29376219.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 "Cancer Vaccine Fact Sheet". NCI. 8 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2008. สืบค้นเมื่อ 15 November 2008.
  36. Lertkhachonsuk, AA; Yip, CH; Khuhaprema, T; Chen, DS; Plummer, M; Jee, SH; Toi, M; Wilailak, S (2013). "Cancer prevention in Asia: resource-stratified guidelines from the Asian Oncology Summit 2013". Lancet Oncology. 14 (12): e497-507. doi:10.1016/S1470-2045(13)70350-4. PMID 24176569.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. "What's new in cancer immunotherapy research?". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  38. Pardoll, DM (March 2012). "The blockade of immune checkpoints in cancer immunotherapy". Nature Reviews. Cancer. 12 (4): 252–64. doi:10.1038/nrc3239. PMC 4856023. PMID 22437870.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. "Cancer Vaccine Fact Sheet". NCI. 8 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2008. สืบค้นเมื่อ 15 November 2008.
  40. "Ages 65 Years and Older: Exams and Screening Tests - ACOG". www.acog.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  41. Janz, T; Lu, K; Povlow, MR; Urso, B (December 2016). "A Review of Colorectal Cancer Detection Modalities, Stool DNA, and Fecal Immunochemistry Testing in Adults Over the Age of 50". Cureus. 8 (12): e931. doi:10.7759/cureus.931. PMC 5235652. PMID 28097082.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. "Cancer Facts & Figures 2018" (PDF).
  43. "Final Update Summary: Breast Cancer: Screening - US Preventive Services Task Force". www.uspreventiveservicestaskforce.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  44. "Cancer Prevention & Early Detection Facts & Figures 2017-18" (PDF). Cancer.org. 1 April 2017.
  45. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  46. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, JL; Buffler, PA; Omenn, GS (2013). "Current perspective on the global and United States cancer burden attributable to lifestyle and environmental risk factors". Annu Rev Public Health. 34: 97–117. doi:10.1146/annurev-publhealth-031912-114350. PMID 23514316.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. "Cancer prevention". Wikipedia (ภาษาอังกฤษ). 10 April 2018.
  48. Doll, R; Peto, R (1981). "The causes of cancer: quantitative estimates of avoidable risks of cancer in the United States today". J. Natl. Cancer Inst. 66 (6): 1191–308. doi:10.1093/jnci/66.6.1192. PMID 7017215.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  49. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, JL; Buffler, PA; Omenn, GS (2013). "Current perspective on the global and United States cancer burden attributable to lifestyle and environmental risk factors". Annu Rev Public Health. 34: 97–117. doi:10.1146/annurev-publhealth-031912-114350. PMID 23514316.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Shopland, DR (1995). "Tobacco use and its contribution to early cancer mortality with a special emphasis on cigarette smoking". Environ. Health Perspect. 103 Suppl 8: 131–42. doi:10.1289/ehp.95103s8131. PMC 1518977. PMID 8741773.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. 51.0 51.1 51.2 Parsa, N (2012). "Environmental factors inducing human cancers". Iran. J. Public Health. 41 (11): 1–9. PMC 3521879. PMID 23304670.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  52. 52.0 52.1 52.2 52.3 52.4 Anand, P; Kunnumakkara, AB; Kunnumakara, AB; Sundaram, C; Harikumar, KB; Tharakan, ST; Lai, OS; Sung, B; Aggarwal, BB (2008). "Cancer is a preventable disease that requires major lifestyle changes". Pharm. Res. 25 (9): 2097–116. doi:10.1007/s11095-008-9661-9. PMC 2515569. PMID 18626751.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  53. Willett, WC (1995). "Diet, nutrition, and avoidable cancer". Environ. Health Perspect. 103 Suppl 8: 165–70. doi:10.1289/ehp.95103s8165. PMC 1518978. PMID 8741778.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  54. Trichopoulou, A; Lagiou, P; Kuper, H; Trichopoulos, D (2000). "Cancer and Mediterranean dietary traditions". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 9 (9): 869–73. PMID 11008902.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. Song, M; Giovannucci, E (2016). "Estimating the Influence of Obesity on Cancer Risk: Stratification by Smoking Is Critical". J. Clin. Oncol. 34 (27): 3237–9. doi:10.1200/JCO.2016.67.6916. PMID 27458311.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  56. World Cancer Research Fund/American Institute for Cancer Research (2009). Policy and Action for Cancer Prevention. Food, Nutrition, and Physical Activity: a Global Perspective. Washington DC, USA: AICR. 2.7.1 Body fatness and foods and drinks that promote weight gain, p. 22. ISBN 978-0-9722522-4-9.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. Schottenfeld, D; Beebe-Dimmer, J (2006). "Chronic inflammation: a common and important factor in the pathogenesis of neoplasia". CA Cancer J Clin. 56 (2): 69–83. doi:10.3322/canjclin.56.2.69. PMID 16514135.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. Tuyns, AJ (1979). "Epidemiology of alcohol and cancer". Cancer Res. 39 (7 Pt 2): 2840–3. PMID 445490.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  59. Irigaray, P; Newby, JA; Clapp, R; Hardell, L; Howard, V; Montagnier, L; Epstein, S; Belpomme, D (2007). "Lifestyle-related factors and environmental agents causing cancer: an overview". Biomed. Pharmacother. 61 (10): 640–58. doi:10.1016/j.biopha.2007.10.006. PMID 18055160.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  60. Moore, SC; Lee, IM; Weiderpass, E; Campbell, PT; Sampson, JN; Kitahara, CM; Keadle, SK; Arem, H; de Gonzalez A, Berrington; Hartge, P; Adami, HO; Blair, CK; Borch, KB; Boyd, E; Check, DP; Fournier, A; Freedman, ND; Gunter, M; Johannson, M; Khaw, KT; Linet, MS; Orsini, N; Park, Y; Riboli, E; Robien, K; Schairer, C; Sesso, H; Spriggs, M; Van Dusen, R; Wolk, A; Matthews, CE; Patel, AV (2016). "Association of Leisure-Time Physical Activity With Risk of 26 Types of Cancer in 1.44 Million Adults". JAMA Intern Med. 176 (6): 816–25. doi:10.1001/jamainternmed.2016.1548. PMID 27183032.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  61. 61.0 61.1 Bode, AM; Dong, Z (July 2009). "Cancer prevention research - then and now". Nature Reviews. Cancer. 9 (7): 508–16. doi:10.1038/nrc2646. PMC 2838238. PMID 19536108.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]