การวิจัยโรคมะเร็ง
การวิจัยโรคมะเร็ง (อังกฤษ: Cancer research) เป็นการวิจัยพื้นฐานด้านมะเร็งเพื่อหาสาเหตุและพัฒนากลยุทธ์สำหรับการป้องกัน, การวินิจฉัย, การรักษา และการฟื้นฟู
การวิจัยโรคมะเร็งในด้านต้นกำเนิดและการพัฒนาของเชื้อโรค, ชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลเพื่อการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพในการประเมินและเปรียบเทียบประยุกต์การรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ การดำเนินเหล่านี้ประกอบด้วยศัลยศาสตร์, รังสีบำบัด, เคมีบำบัด, ฮอร์โมนบำบัด, ภูมิคุ้มกันบำบัด และรังสีบำบัดร่วม เช่น การให้เคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง โดยได้มีการเริ่มขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยมุ่งเน้นในการวิจัยโรคมะเร็งทางคลินิกขยับสู่การรักษาที่ได้มาจากการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ ดังเช่น ภูมิคุ้มกันบำบัด และยีนบำบัด
เขตการวิจัย
[แก้]สาเหตุ
[แก้]ประเภทของการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งประกอบด้วย พันธุศาสตร์, อาหาร, ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (นั่นคือ สารก่อมะเร็งทางเคมี) ในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสาเหตุและเป้าหมายที่มีศักยภาพสำหรับการบำบัด แนวทางที่ใช้เริ่มต้นด้วยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตทางคลินิก, เข้าสู่การวิจัยพื้นฐาน และเมื่อผลที่น่าเชื่อถือและได้รับการยืนยันอย่างเป็นกลางประสบผลสำเร็จ สิ่งที่ได้จากการวิจัยทางคลินิก ก็จะใช้เพื่อจุดมุ่งหมายสำหรับทดสอบการป้องกันและวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการวิจัยพื้นฐาน คือ ลักษณะของการทำงานที่มีศักยภาพถึงกลไกการเกิดมะเร็ง ในเรื่องที่เกี่ยวกับชนิดของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของโรคมะเร็ง หนูมักจะใช้เป็นเครื่องทดลองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนสำหรับการทดลองการทำงานของยีนที่มีบทบาทในการก่อตัวของเนื้องอก ในขณะที่ด้านพื้นฐานการก่อตัวของเนื้องอก ดังเช่น กระบวนการที่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ ได้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเพาะเชื้อแบคทีเรียและเซลล์ของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เซลล์ชนิดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมะเร็ง
[แก้]มีเซลล์ต่าง ๆ หลายประเภทที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ซึ่งเป็นเซลล์หลักที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้องอกในเส้นเลือด การค้นพบนี้ได้มีการแสดงให้เห็นทางวารสารที่มีอิทธิพลสูงอย่าง ไซน์ (ค.ศ. 2008) และ ยีนแอนด์ดีเวลลอปเมนต์ (ค.ศ. 2007) ซึ่งยังพบว่าเซลล์เอนโดธีเลียมโปรเจนนิเตอร์ต่างมีส่วนในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และการเพิ่มจำนวนของเครือข่ายของเส้นเลือดที่แทรกซึมเข้าไปในการเจริญเติบโตของมะเร็ง[1][2] ส่วนหลักของเซลล์เอนโดธีเลียมโปรเจนนิเตอร์ในการเจริญเติบโตของเนื้องอกและการเพิ่มจำนวนของเครือข่ายของเส้นเลือดที่แทรกซึมเข้าไปในการเจริญเติบโตของมะเร็งได้รับการยืนยันจากสื่อสิ่งพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้อย่าง แคนเซอร์รีเซิร์ช (สิงหาคม ค.ศ. 2010) รายงานที่น่าเชื่อถือนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเซลล์เอนโดธีเลียมโปรเจนนิเตอร์สามารถโดดเด่นได้โดยใช้อินฮิบิเตอร์ออฟดีเอ็นเอไบน์ดิง 1 (ไอดี 1) การค้นพบใหม่นี้หมายความว่านักวิจัยมีความสามารถในการติดตามเซลล์เอนโดธีเลียมโปรเจนนิเตอร์จากไขกระดูกจนถึงโลหิตสู่เนื้องอกของสโตรมาและแม้กระทั่งเนื้องอกของหลอดเลือด การค้นพบเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ได้รวมเข้าด้วยกันในเนื้องอกของหลอดเลือด โดยได้แสดงให้เห็นว่าเป็นส่วนหลักของเซลล์ชนิดนี้ในพัฒนาการทางเส้นโลหิตที่บริเวณของเนื้องอก นอกจากนี้ การตัดเอาออกของเซลล์โปรเจนนิเตอร์ในไขกระดูกได้นำไปสู่การลดอย่างมีนัยสำคัญในการเจริญเติบโตของเนื้องอกและการพัฒนาของเส้นเลือด ด้วยเหตุนี้ เซลล์เอนโดธีเลียมโปรเจนนิเตอร์จึงมีความสำคัญอย่างมากในชีววิทยาเนื้องอกและเป็นเป้าหมายใหม่ของการรักษาแผนปัจจุบัน[3]
องค์กร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gao D; และคณะ (2008). "Endothelial Progenitor Cells Control the Angiogenic Switch in Mouse Lung Metastasis". Science. 319 (5860): 195–198. doi:10.1126/science.1150224. PMID 18187653.
- ↑ Nolan DJ; และคณะ (2007). "Bone marrow-derived endothelial progenitor cells are a major determinant of nascent tumor neovascularization". Genes & Development. 21 (12): 1546–1558. doi:10.1101/gad.436307. PMC 1891431. PMID 17575055.
- ↑ Mellick As, Plummer PN; และคณะ (2010). "Using the Transcription Factor Inhibitor of DNA Binding 1 to Selectively Target Endothelial Progenitor Cells Offers Novel Strategies to Inhibit Tumor Angiogenesis and Growth". Cancer Research. 70 (18): 7273–7282. doi:10.1158/0008-5472.CAN-10-1142. PMC 3058751. PMID 20807818.