ข้ามไปเนื้อหา

การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน
ศิลปินคาราวัจโจ
ปีค.ศ. 1601
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโล

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน (อังกฤษ: Crucifixion of St. Peter) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ[1] จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันอยู่ที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลี

ภาพ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” เป็นภาพที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1601 เป็นภาพที่เขียนสำหรับชาเปลเซราซิ (Cerasi Chapel) ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ตรงกันข้ามเป็นภาพ “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ซึ่งเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของคาราวัจโจ ตรงกลางบนแท่นบูชาระหว่างสองภาพนี้เป็นภาพ “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยอันนิบาเล คารัคชี

ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงการพลีชีพโดยการถูกตรึงกางเขนของนักบุญปีเตอร์—ก่อนจะถูกตรึงกางเขนนักบุญปีเตอร์ขอให้เป็นกางเขนที่กลับกับกางเขนที่ใช้ในการตรึงพระเยซูเพื่อที่จะไม่เป็นการเลียนแบบพระองค์ นักบุญปีเตอร์จึงถูกตรึงกางเขนโดยการห้อยหัวลงมา นอกจากนักบุญปีเตอร์แล้วก็มีชาวโรมันที่เราไม่เห็นหน้าพยายามที่จะตั้งกางเขนของนักบุญผู้สูงอายุแต่ก็ยังมีกล้ามเนื้อ นักบุญปีเตอร์ดูจะมีน้ำหนักมากกว่าที่ร่างกายบ่งไว้ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการพยายามยกกางเขนขึ้นราวกับว่าบาปในสิ่งที่กำลังทำถ่วงตัวบุคคลทั้งสาม

ภาพสองภาพนี้และฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยอันนิบาเล คารัคชีได้รับการจ้างให้เขียนโดยมอนซิยอร์ทิแบริโอ เซราซิผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ภาพเขียนแรกทั้งสองภาพได้รับการปฏิเสธ และผ่านมือไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคลของคาร์ดินัลซันเนซซิโอ นักวิชาการหลายคนที่รวมทั้งจอห์น แกช, เฮเลน แลกดอน และปีเตอร์ รอบบ์ สันนิษฐานว่าคาร์ดินัลซันเนซซิโอฉวยโอกาสเมื่อเซราซิเสียชีวิตโดยไม่คาดในการเป็นเจ้าของภาพหลายภาพของคาราวัจโจ แต่ภาพแรกของ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” สูญหายไป นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ภาพที่สองจึงได้รับการยอมรับในปี ค.ศ. 1601

นักบุญสององค์--ปีเตอร์และพอล—เป็นนักบุญที่เป็นผู้วางรากฐานของสถาบันคาทอลิก ปีเตอร์ผู้เป็น “หลักหิน” ที่พระเยซูประกาศให้เป็นผู้สร้างวัด (พระวรสารนักบุญแม็ทธิว 16:18) และนักบุญพอลผู้ก่อตั้งสถาบันคริสต์ศาสนาในโรม ภาพเขียนของคาราวัจโจจึงเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศให้แก่ประมุขแห่งอัครสาวกของโรม ภายในวัดที่ตั้งเด่นอยู่กลางจตุรัสที่ต้อนรับนักแสวงบุญผู้มาสักการะเมื่อเข้ามาในกรุงโรมจากทางด้านเหนือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหัวข้อของการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกในการเปลี่ยนแปลงและการเสียสละซึ่งเป็นการต่อต้านการขยายตัวของโปรเตสแตนต์

คาราวัจโจหรือผู้อุปถัมภ์ดูเหมือนจะคิดถึงจิตรกรรมฝาผนังของไมเคิล แอนเจโลในชาเปลเพาลินาในนครรัฐวาติกัน เมื่อเลือกเขียนภาพนี้ แต่งงานเขียนของคาราวัจโจไม่มีรายละเอียดที่ยุ่งเหยิงเช่นในงานจิตรกรรมฝาผนังแบบแมนเนอริสต์ของไมเคิล แอนเจโล[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Gash, John (2004). Caravaggio. ISBN 1-904449-22-0.
  • Langdon, Helen (1998). Caravaggio: A Life. ISBN 0-374-11894-9.
  • Robb, Peter (1998). M. ISBN 0-312-27474-2, ISBN 0-7475-4858-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  • Boston College page เก็บถาวร 2007-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Crucifixion of St. Peter

ดูเพิ่ม

[แก้]