การดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)
การดลใจนักบุญมัทธิว | |
---|---|
ศิลปิน | คาราวัจโจ |
ปี | ค.ศ. 1602 |
ประเภท | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
สถานที่ | ชาเปลคอนทราเรลลิ, ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี, โรม |
การดลใจนักบุญมัทธิว (อังกฤษ: The Inspiration of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในโบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ=มัทธิว)
ภาพ “การดลใจนักบุญมัทธิว” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1602 เป็นภาพเขียนภาพที่สามที่การาวัจโจเขียนให้กับโบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีและเป็นภาพสำหรับฉากแท่นบูชาภายในชาเปล อีกสองภาพก็ได้แก่ “พระเยซูทรงเรียกนักบุญมัทธิว” และ “การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว”
สัญญาจ้าง (ซึ่งตามตัวหนังสือแล้วมาจากคาร์ดินัลฟรันเชสโก มาเรีย เดล มอนเตผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ของการาวัจโจเองไม่ใช่จากโบสถ์) การเขียนภาพนี้ไม่ใช่สิ่งที่ทำง่ายสำหรับการาวัจโจและอย่างน้อยสองในสามภาพก็ต้องเขียนใหม่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับโดยคาร์ดินัลเดล มอนเตผู้จ้าง แต่ภาพแรกที่เขียนถูกทำลายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฉะนั้นจึงเหลือแต่เพียงภาพขาวดำเท่านั้นที่ใช้ในการเปรียบเทียบกับภาพอื่นได้[1] การเขียนครั้งแรกทูตสวรรค์ข้ามาในช่องว่างของภาพเดียวกับช่องว่างของนักบุญมัทธิว และดูเหมือนจะพัวพันด้วยท่าทางที่ยั่วยวนอารมณ์มากกว่าจะเป็นการแสดงการดลใจจากทูตสวรรค์ ภาพที่ถูกปฏิเสธนี้อาจจะเปรียบได้กับภาพ “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” ที่คาราวัจโจเขียนก่อนหน้านั้น
ภาพ “การดลใจนักบุญมัทธิว” เป็นภาพที่เขียนสำหรับเป็นฉากแท่นบูชาของชาเปลส่วนตัว ทูตสวรรค์ในภาพห่อตัวด้วยผ้าผืนที่เป็นริ้วลอยตัวม้วนลงมา นักบุญมัทธิวเอนตัวไปข้างหน้าแสดงความรู้สึกบนไบหน้าถึงความฉงนและความไม่แน่ใจขณะที่ทูตสวรรค์มาดลใจถึงงานที่นักบุญจะเขียนเป็นพระวรสารอันสำคัญ การาวัจโจใช้สีมืดทั้งภาพยกเว้นตัวแบบสองตัวที่สำคัญในภาพ นักบุญมัทธิวดูเหมือนจะรีบวิ่งไปยังโต๊ะเขียนหนังสือจนทำให้ม้านั่งเอียงเกือบล้มออกไปนอกกรอบมายังบริเวณของผู้ชมภาพ
ลักษณะการเขียนของคาราวัจโจแตกต่างจากจิตรกรร่วมสมัยเช่นอันนิบาเล คารัคชีเป็นอันมากจนไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ ฉะนั้นถ้าจะเปรียบเทียบภาพเขียนนี้ก็จะต้องเปรียบเทียบกับภาพเขียนของจิโอวานนี ลานฟรังโก (Giovanni Lanfranco) ผู้เป็นลูกศิษย์[2] ที่ปัจจุบันอยู่ที่ปิอาเช็นซาและภาพเขียนหัวข้อที่คล้ายคลึงกันโดยแรมบรังด์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Web Gallery of Art
- ↑ "Musei di Palazzo Farnese". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-16. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
ดูเพิ่ม
[แก้]