ข้ามไปเนื้อหา

กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
เครื่องหมายกองเรือยามฝั่ง
ประจำการ1 เมษายน พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-04-01)
ประเทศ ไทย
เหล่าNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
รูปแบบกองเรือ
บทบาทหน่วยยามฝั่ง
บังคับใช้กฎหมาย
ขึ้นกับกองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย
กองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
สมญากยฝ.กร.
วันสถาปนา1 เมษายน
เว็บไซต์www.coastguard.navy.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่งพลเรือตรี ณัฐพล พรหมขุนทอง
เครื่องหมายสังกัด
ธงราชนาวี

กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ (อังกฤษ: Coast Guard Squadron, Royal Thai Fleet)[1] คือกองเรือสำหรับการปฏิบัติการยามฝั่งในบริเวณใกล้ฝั่งและชายฝั่ง ตั้งอยู่ที่ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ประวัติ

[แก้]

หน่วยยามฝั่งในอดีต

[แก้]

ประเทศไทยเริ่มต้นมีการใช้งานเรือยามฝั่งครั้งแรกในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้จัดหาเรือยามฝั่งลำแรกมาใช้งานชื่อว่า "เรือยามฝั่งหาญหักศัตรู" เป็นเรือยนต์ตอร์ปิโดที่สั่งมาใช้งานจากประเทศอังกฤษ ต่อมา พ.ศ. 2468 มีการปรับโครงสร้างเป็นรูปแบบกรมทหารเรือในสมัยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการก่อตั้งหมวดเรือยามฝั่งพร้อมทั้งจัดหาเรือยามฝั่งลำที่ 2–5 มาใช้งาน จากนั้นในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการต่อเรือยามฝั่งลำที่ 7–12 มาประจำการเพิ่มเติม รวมถึงมีการเริ่มต้นแบบเรือตรวจฝั่งชุดแรก คือชุดเรือ ต.1 ประกอบไปด้วยเรือ ต.1–6[2]

ใน พ.ศ. 2489 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยต้นสังกัดของหมวดเรือยามฝั่งเป็น กองเรือยุทธการ และมีการควบรวมหมวดเรือปืนและหมวดเรือใช้ตอร์ปิโดเข้าด้วยกันและใช้ชื่อว่า กองเรือตรวจอ่าว ในเวลานั้นกองทัพเรือได้รับมอบเรือรบมาจากสหรัฐ เป็นเรือประเภทตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ซึ่งกองทัพเรือไทยได้เปลี่ยนประเภทมาใช้งานเป็นเรือยนต์ปืนตรวจฝั่ง ชุดเรือ ต.81–84 และรับเรือตรวจการใกล้ฝั่งอีกชุดจากสหรัฐตามข้อตกลงทางทหารในเวลานั้น กำหนดให้เป็นชุดเรือ ต.11–110 จำนวน 10 ลำ และเรือชุดสุดท้ายคือเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง กำหนดให้เป็นชุดเรือ ต.21–212 จำนวน 12 ลำ[2]

ใน พ.ศ. 2511 กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการต่อเรือใขึ้นใช้งานเอง จึงมีการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91–99 จำนวน 9 ลำโดยกองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยเรือชุดนี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "เรือของพ่อ"[2]

ก่อตั้งกองเรือยามฝั่ง

[แก้]

กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกองทัพเรือในการปรับโครงสร้างหน่วยจากส่วนกำลังพลจากกองบัญชาการกองเรือยุทธการ และอัตราทางเรือของกองเรือตรวจอ่าว หมวดเรือที่ 2 และหมวดเรือที่ 3 บางส่วน คือเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.) และเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) ก่อตั้งขึ้นเป็นกองเรือยามฝั่ง และปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยยามฝั่งของไทย[2]

ภารกิจ

[แก้]

กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจหลักในการจัดกำลังสำหรับปฏิบัติงานด้านยามฝั่ง การรักษากฎหมายทางทะเลตามเขตอำนาจของทหารเรือ รักษาความมั่นคงทางทะเลในพื้นที่ใกล้ฝั่งและชายฝั่ง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ปกป้องแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญทางทะเล และการควบคุมดูแลเรือพาณิชย์ในภาวะวิกฤตต่าง ๆ[3]

โดยปกติ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ จะส่งเรือไปประจำการตามทัพเรือภาคต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ ภายใต้ขั้นตอนปฏิบัติหลัก 4 ข้อ คือ การเตรียมการ การเฝ้าตรวจและตรวจการ การพิสูจน์ฝ่ายและตรวจค้น และการสกัดกั้นทำลาย[3]

กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ยามฝั่งของกองเรือยามฝั่ง ทำให้มีกฎหมายและพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ทหารเรือในการปฏิบัติหน้าที่จำนวน 28 ฉบับ[4] ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล พ.ศ. 2490
  2. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นๆในภาวะคับขัน พ.ศ. 2488
  3. พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว
  4. พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในพระราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
  5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
  6. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
  7. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534
  8. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
  9. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535
  10. พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
  11. พระราชบัญญัติกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
  12. พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พุทธศักราช 2482
  13. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
  14. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2540
  15. พระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2540
  16. พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
  17. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
  18. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
  19. พระราชบัญญัติจัดหางาน และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
  20. ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515
  21. พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521
  22. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
  23. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม
  24. พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481
  25. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. 2524
  26. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตปิโตรเลียมในทะเล พ.ศ. 2430
  27. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด พ.ศ. 2534
  28. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457

โครงสร้าง

[แก้]

กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีโครงสร้าง[1] ดังนี้

ส่วนบัญชาการ

[แก้]
  • กองบัญชาการ
  • แผนกธุรการ
  • แผนกำลังพล
  • แผนกยุทธการและข่าว
  • แผนกส่งกำลังบำรุง
  • แผนกสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • แผนกพลาธิการ
  • แผนกการเงิน
  • กองช่าง
  • กองร้อยกองบัญชาการ

ส่วนกำลังรบ

[แก้]
  • หมวดเรือที่ 1
  • หมวดเรือที่ 2
  • หมวดเรือที่ 3

เรือในประจำการ

[แก้]

กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ มีเรือในประจำการสำหรับปฏฺบัติการต่าง ๆ ในลำน้ำ ดังนี้

ชุดเรือ ผู้ผลิต ภาพ หมายเลขตัวเรือ จำนวน / ประจำการ หมายเหตุ
หมวดเรือที่ 1
ชุดเรือ ต.991  ไทย ต.991–993 3 / 2550 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)
ชุดเรือ ต.994  ไทย ต.994–996 3 / 2554 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)
ชุดเรือ ต.997  ไทย ต.997–998 2 / 2566 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)[5][6]
ชุดเรือ ต.111  ไทย ต.111–113 3 / 2557 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)[7]
ชุดเรือ ต.114  ไทย ต.114–115 2 / 2564 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)[8]
หมวดเรือที่ 2
ชุดเรือ ต.81  ไทย ต.81–83 3 / 2542 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ตกฝ.)[9]
หมวดเรือที่ 3
ชุดเรือ ต.227  ไทย ต.277 1 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)
ชุดเรือ ต.228  ไทย ต.228–230 3 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)
ชุดเรือ ต.232  ไทย ต.232–237 6 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)[10]
ชุดเรือ ต.261  ไทย ต.261–264 4 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)[11]
ชุดเรือ ต.265  ไทย ต.265–269 5 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)[12]
ชุดเรือ ต.270  ไทย ต.270–274 5 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.)[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 บันทึกที่ กห 0504/659 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดชื่อภาษาอังกฤษให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของ ทร (PDF). กรมข่าวทหารเรือ กองทัพเรือ. 2558.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "กองเรือยามฝั่ง - Detail History". www.coastguard.navy.mi.th.
  3. 3.0 3.1 การจัดการองค์ความรู้ กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ: วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ การปฏิบัติในการป้องกันฝั่งระยะใกล้ (PDF). กองการฝึก กองเรือยุทธการ. 2561.
  4. "กองเรือยามฝั่ง". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  5. "MARSUN PUBLIC COMPANY LIMITED". 2023-09-21.
  6. "ทร.รับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง". thaitv5hd.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "ผบ.ทร.ส่งมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ประจำการกองเรือยุทธการ". mgronline.com. 2014-03-28.
  8. "กองทัพเรือรับมอบเรือ ต.2 ลำ เขี้ยวเล็บใหม่ฝีมือคนไทย". Thai PBS.
  9. "เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.81 – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
  10. "ทร. เตรียมรับเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง 6 ลำ เสริมเขี้ยวเล็บ". www.thairath.co.th. 2016-11-28.
  11. "ผบ.ทร.รับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งใหม่อีก 4 ลำ". www.benarnews.org. สืบค้นเมื่อ 2024-09-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "กองทัพเรือรับมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดใหม่ 5 ลำ ภายใต้งบประมาณกว่า 600 ล้านบาท". mgronline.com. 2018-05-09.
  13. ""บิ๊กลือ" รับมอบ 5 เรือตรวจการณ์ชายฝั่งเข้าประจำการหน่วยรบ สนองภารกิจชาติ". mgronline.com. 2018-11-22.