ข้ามไปเนื้อหา

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2
กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
ค่ายเพชรโยธิน
เครื่องหมายราชการ
ประเทศ ไทย
เหล่า กองอาสารักษาดินแดน
รูปแบบกองร้อยปฏิบัติการการฝึก
ขึ้นกับกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน กองอาสารักษาดินแดน
กองบัญชาการค่ายเพชรโยธิน ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
สมญาร้อย ปฝ.2 บก.อส.
คำขวัญชาติ เกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน สามัคคี
วันสถาปนา29 เมษายน พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-04-29)
เครื่องหมายสังกัด
ตราหน้าหมวก
ค่ายเพชรโยธิน
ส่วนหนึ่งของกองอาสารักษาดินแดน
ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
แผนที่
พิกัด12°53′01″N 100°00′42″E / 12.883537°N 100.011804°E / 12.883537; 100.011804 (ค่ายเพชรโยธิน)
ประเภทค่ายฝึก
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (อังกฤษ: 2nd Training Operation Company, Volunteer Defense Corps) หรือ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ส่วนแยกชะอำ) เป็นกองร้อยสำหรับการฝึกของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ตั้งอยู่ที่ ค่ายเพชรโยธิน (อังกฤษ: Phetyothin Camp) ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[1] ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ค่ายฝึกหลักของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

ประวัติ

[แก้]

ค่ายเพชรโยธิน

[แก้]

ค่ายเพชรโยธิน ได้รับการก่อตั้งขึ้นสำหรับการฝึกอบรมให้กับกองกำลังประจำถิ่น (หรือกองอาสารักษาดินแดน) กองกำลังประชาชน (หรือชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน) และฝ่ายปกครอง (หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ) รวมถึงให้บริการฝึกกับการรักษาความมั่นคงภายใน[2]

กองร้อยบังคับการและบริการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]

กองร้อยบังคับการและบริการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายเพชรโยธิน ก่อนจะโดนยกเลิกโครงสร้างและถ่ายโอนสังกัดไปเป็นกองร้อยปฏิบัติการฝึกที่ 2[2]

กองร้อยปฏิบัติการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 โดยโอนกำลังจากกองร้อยบังคับการและบริการ กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ประกอบด้วยกำลังจาก 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก กำลังประจำค่ายเพชรโยธิน ประกอบด้วย กองบังคับการกองร้อย หมวดป้องกัน และหมวดปฏิบัติการฝึกที่ 1 และส่วนที่สอง กำลัประจำศูนย์ฝึกอบรมมวลชน คือหมวดปฏิบัติการฝึกที่ 2[2]

โครงสร้าง

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน มีโครงสร้าง[2] ดังนี้

อัตรากำลัง

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน มีการจัดอัตรากำลัง[2] ดังนี้

  • ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ – จำนวน 10 นาย
  • สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.) – จำนวน 114 นาย

ภารกิจ

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน มีภารกิจหน้าที่ตามมาตรา 16 ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 สนับสนุนการปฏิบัติการฝึกอบรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด[3] การฝึกอบรมตามกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดนมอบหมาย[1] การฝึกให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธและยุทโธปกรณ์ของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน[4] การรักษาความสงบเรียบร้อย[5] รักษาความมั่นคงภายใน[6][1] สร้างและพัฒนามวลชนและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย[2]

หลักสูตร

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน เป็นหน่วยหลักในการฝึกกองกำลังจากกองร้อยต่าง ๆ ของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดนหน่วยอื่น ๆ ในหลักสูตรต่าง ๆ รวมถึงหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อาทิ

  • การฝึกอบรมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ได้รับการบรรจุใหม่
  • การฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
  • การฝึกทบทวนชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
  • การฝึกทบทวนยุทธวิธีการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยกระบองกัทส์บาตอง
  • การฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
  • การฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ฝ่ายปกครองในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชน
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
  • การพัฒนาศักยภาพสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนด้านการปราบปรามยาเสพติด[3]
  • การฝึกอบรมชุดปฎิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • การฝึกอบรมการยกระดับศักยภาพในภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย การปราบปรามการค้ามนุษย์และอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง[7]

นอกจากนี้ กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ยังมีภารกิจในการดูแลศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมีหน้าที่ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ติดยาเสพติด ระยะเวลาการฟื้นฟูประมาณ 120 วัน[8]

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

กองร้อยปฏิบัติการการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกภายใน ดังนี้

สถานีฝึก

[แก้]
  • สถานีดึงข้อ
  • สถานีสามเหลี่ยมอกไก่
  • สถานีลอดลวดหนาม
  • สถานีชิงช้าข้ามคู
  • สถานีไต่บันได
  • สถานีไต่เชือกข้ามลำน้ำ
  • สถานีฝึกโรยตัว
  • สถานีเลื่อนข้ามลำน้ำ
  • สนามยิงปืน ค่ายเพชรโยธิน[4]

อาคาร

[แก้]
  • ห้องประชุมอำนวยการ ขนาดความจุ 40 คน
  • หอประชุม ขนาดความจุ 150 คน
  • อาคาร 2 เรือนพัก ขนาดความจุ 70 คน
  • อาคาร 3 เรือนพัก ขนาดความจุ 100 คน
  • เรือนรับรอง จำนวน 10 ห้อง ขนาดความจุ 40 คน
  • โรงอาหาร จำนวน 3 โรง ขนาดความจุ 150 คน
  • คลังอาวุธและยุทโธปกรณ์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "นายหมวดตรี วินัย น่วมอ่อน : อส. ด่านหน้าสู้โควิด 28 ปี แห่งการปิดทองหลังพระ". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 บันทึกกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสกลนคร ที่ สน 0018.4/276 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 เรื่อง การจัดตั้งกองร้อยอาสารักษาดินแดนและแก้ไขปรับปรุงการจัดตั้งส่วนราชการในกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (PDF). กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสกลนคร.
  3. 3.0 3.1 "กรมการปกครอง ฝึกเข้มพัฒนาศักยภาพ อส. ปราบปรามยาเสพติด". www.dopa.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 "อธิบดีกรมการปกครองลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจการทำงาน "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" พร้อมกำชับเคร่งครัดในด้านความปลอดภัย ในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-08-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เสริมเขี้ยวเล็บปฎิบัติการพิเศษกรมการปกครอง". springnews. 2018-11-20.
  6. "เพิ่มความปลอดภัย ประตูสู่ภาคใต้และกรุงเทพฯ อ.ชะอำเข้ม เฝ้าระวังป้องกันเหตุ - 77 ข่าวเด็ด". 2019-08-03.
  7. "NBT CONNEXT". thainews.prd.go.thnull (ภาษาอังกฤษ).
  8. "นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-08.