สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ Office of Police Forensic Science | |
---|---|
อักษรย่อ | สพฐ.ตร. |
คำขวัญ | “พิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชนรักและศรัทธา งานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ” |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
ลักษณะทั่วไป | |
สำนักงานใหญ่ | อาคาร 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
หน่วยงานลูก |
|
เว็บไซต์ | |
http://www.forensic.police.go.th/ |
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (Office of Police Forensic Science) หน่วยงานระดับกองบัญชาการ ส่วนงานสนับสนุนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ กองพิสูจน์หลักฐาน , สำนักงานวิทยาการตำรวจ มีภารกิจในการสนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่ในการตรวจหาและเพิ่มน้ำหนักพยานหลักฐานในทางคดีให้มีประสิทธิภาพ
ประวัติหน่วยงาน
[แก้]ยุคก่อนก่อตั้งกองวิทยาการ
[แก้]งานวิทยาการตำรวจ เริ่มมีความเป็นมาตั้งแต่ปี 2475 โดยมีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดวางโครงสร้างตำรวจขึ้นใหม่โดยเปลี่ยนชื่อจาก กรมตำรวจภูธร เป็น กรมตำรวจ และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจัดแบ่งแผนงานโดยย่อยออกไปตามสมควรแก่รูปการ และในปีเดียวกัน พระยาจ่าเสนาบดีศรีบริบาล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้จัดแบ่งแผนงานในกรมตำรวจสำหรับตำรวจสันติบาลโดยให้รวบรวมกรมตำรวจภูธร ตำรวจกองพิเศษ กับตำรวจภูธรกลางเป็นตำรวจสันติบาล มีหัวหน้าเป็นผู้บังคับการ 1 นาย แบ่งเป็นกองที่ 1 ,กองที่ 2, กองที่ 3 และกองตำรวจแผนกสรรพากร สำหรับกองที่ 3 มีระเบียนงานดังนี้ กองนี้เป็นกองวิทยาการตำรวจซึ่งต้องให้ผู้มีความรู้พิเศษ เช่น การตรวจพิสูจน์ลายมือของผู้ต้องหาหรือผู้ที่สมัครเข้ารับราชการว่าเคยต้อง โทษมาแล้วหรือไม่ บันทึกประวัติของผู้กระทำความผิด การตรวจของกลางต่างๆออกรูปพรรณของหายและออกประกาศสืบจับผู้ร้ายซึ่งหลบคดี อาญา จึงสรุปได้ว่ากองที่ 3 ของตำรวจสันติบาลในสมัยนั้น คือ จุดกำเนิดของ กองทะเบียนประวัติอาชญากรและกองพิสูจน์หลักฐาน
ในกาลต่อมา พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมต่างๆ ในกระทรวงมหาดไทยกำหนดงานของกรมตำรวจขึ้นใหม่ ซึ่งสำหรับกองตำรวจสันติบาลได้กำหนดไว้ดังนี้
- กองกำกับการ 1 สืบสวนปราบปรามโจรผู้ร้าย
- กองกำกับการ 2 สืบสวนราชการพิเศษ
- กองกำกับการ 3 เทคนิคตำรวจ แบ่งเป็น 5 แผนกคือ แผนกทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือ , แผนกบันทึกแผนประทุษกรรม , แผนกพิสูจน์หลักฐาน , แผนกบัญชีโจรผู้ร้าย , แผนกเนรเทศ และในปี พ.ศ. 2480 เพิ่มแผนกที่ 6 ทะเบียนต่างด้าว และไปอยู่ในสังกัดอื่น เมื่อ พ.ศ. 2484
- กองกำกับการ 4 ทะเบียนตำรวจ
ในปี พ.ศ. 2484 จึงได้มีการปรับปรุงและขยายงานของกรมตำรวจโดยจัดตั้ง กองสอบสวนกลาง พร้อมทั้งแยกงานทางด้านวิทยาการจากกองตำรวจสันติบาลมาขึ้นตรงต่อกองสอบสวน กลาง ในปี พ.ศ. 2489 เปลี่ยนชื่อจากกองสอบสวนกลางเป็น กองตำรวจสอบสวนกลาง และในปี พ.ศ. 2491 กิจการของกองตำรวจสอบสวนกลางได้เจริญรุดหน้า จึงยกฐานะขึ้นเป็นกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางนั้น มีกองกำกับการหรือเรียกว่า "กองพิเศษ" [1]
กองวิทยาการ
[แก้]ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองวิทยาการได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย [2] โดยมีฐานะเป็นกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการยุบ "กองพิเศษ" ไปรวมกับ "กองวิทยาการ" ที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อต้องการให้ดำเนินงานทางด้าน พิสูจน์วัตถุพยาน ซึ่งเป็นงานของกองพิสูจน์หลักฐาน และการตรวจพิสูจน์ค้นคว้าตัวบุคคล ซึ่งเป็นงานของกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองวิทยาการ แบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ คือ
- กองกำกับการ 1 ประกอบด้วยแผนกถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ แผนกเอกสารและวัตถุ แผนกหอทดลอง และแผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดี
- กองกำกับการ 2 ประกอบด้วยแผนกตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ แผนกตรวจเก็บลายพิมพ์นิ้วมือ แผนกการต้องโทษ และแผนกบันทึกแผนประทุษกรรม
- กองกำกับการ 3 ประกอบด้วยแผนกสถิติคดีอาชญากร แผนกสถานดูตัว แผนกสืบจับและของหายได้คืน
กองวิทยาการ ได้ถูกยุบเลิก [3] หลังจากดำเนินงานมา 7 ปี 4 เดือน 16 วัน โดยปรับปรุงใหม่และจัดตั้งเป็น กองพิสูจน์หลักฐาน และยกระดับ กองกำกับการ 3 ในกองวิทยาการ ขึ้นเป็นระดับกองบังคับการ โดยใช้ชื่อว่า กองทะเบียนประวัติอาชญากร
กองพิสูจน์หลักฐานและกองทะเบียนประวัติอาชญากร
[แก้]กองพิสูจน์หลักฐาน และ กองทะเบียนประวัติอาชญากร เกิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503 [3] โดยยุบเลิกกองวิทยาการ และแยกงานด้านการพิสูจน์วัตถุพยาน และงานตรวจสอบพิสูจน์ค้นคว้าในด้านดัวบุคคลออกจากกัน และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานทั้งสองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยยังคงสังกัดอยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเช่นเดิม
ในปี พ.ศ. 2500 สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย โดยมองเห็นถึงความสำคัญของงานวิทยาการตำรวจ กรมตำรวจ จึงได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาในสัญญาที่เรียกว่า The Civil Police Administration Project (C.P.A.) ในสมัย เทรซี่ ปาร์ค เป็นผู้อำนวยการ การช่วยเหลือเน้นหนักทางด้านวิทยาการตำรวจ และได้มีการลงนามในสัญญากับประเทศสหรัฐอเมริการะหว่าง พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น กับ องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2500 และการปรับปรุงการบริหารงานตำรวจในส่วนภูมิภาคก็เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกา ได้หยุดให้ความช่วยเหลือการปรับปรุงวิทยาการในส่วนภูมิภาค จึงทำให้งานปรับปรุงวิทยาการในส่วนภูมิภาคหยุดชะงักลง [1]
สำนักงานวิทยาการตำรวจ
[แก้]ในปีพ.ศ. 2523 ในสมัยของ พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ไปตรวจราชการในส่วนภูมิภาค ได้พบว่างานด้านวิทยาการขาดประสิทธิภาพ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงวิทยาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานวิทยาการในส่วนภูมิภาคให้สามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากลักษณะงานของวิทยาการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย วิทยาการตำรวจในส่วนกลาง คือ กองทะเบียนประวัติอาชญากร และกองพิสูจน์หลักฐาน มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจภูธร อันเป็นปัญหาทั้งทางด้านการสรรหาคนเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน เนื่องมาจากการขาดขวัญและกำลังใจ ความก้าวหน้าในชีวิตราชการต่ำอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานบุคคล และองค์การโดยตรง จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยรวมเอาหน่วยงานวิทยาการตำรวจในส่วนกลางและภูมิภาคไว้ด้วยกัน จัดตั้งเป็น "สำนักงานวิทยาการตำรวจ" ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 [4] [5] โดยแบ่งส่วนราชการเป็น 7 กองบังคับการ ดังนี้ [1]
- กองบังคับการอำนวยการ
- กองพิสูจน์หลักฐาน
- กองทะเบียนประวัติอาชญากร
- กองวิทยาการภาค 1
- กองวิทยาการภาค 2
- กองวิทยาการภาค 3
- กองวิทยาการภาค 4
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
[แก้]สำนักงานวิทยาการตำรวจได้รับการปรับปรุงหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อรองรับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยเปลี่ยนชื่อจาก สำนักงานวิทยาการตำรวจ เป็น สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ในช่วงแรก ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [6] โดยยังคงการแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการไว้เช่นเดิม จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 [7] และแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการในส่วนกลางดังต่อไปนี้
- กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก. สพฐ.ตร.)
- สถาบันฝึกอบรมและวิจัยนิติวิทยาศาสตร์ (สฝจ. สพฐ.ตร.)
- กองทะเบียนประวัติอาชญากร (ทว.)
- กองพิสูจน์หลักฐานกลาง (พฐก.)
ในส่วนภูมิภาคได้ยุบเลิกกองวิทยาการภาคทั้งหมด และยกฐานะกองกำกับการวิทยาการเขตต่าง ๆ ให้ขึ้นมาเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ และเรียกชื่อใหม่ว่า ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ได้แก่
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 (ศพฐ.๑)
- สำนักงานกลาง จังหวัดปทุมธานี
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดปทุมธานี, นนทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท และสมุทรปราการ
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 (ศพฐ.๒)
- สำนักงานกลาง จังหวัดชลบุรี
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครนายก และฉะเชิงเทรา
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 (ศพฐ.๓)
- สำนักงานกลาง จังหวัดนครราชสีมา
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ และยโสธร
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 (ศพฐ.๔)
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5 (ศพฐ.๕)
- สำนักงานกลาง จังหวัดลำปาง
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, น่าน และแพร่
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 (ศพฐ.๖)
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 (ศพฐ.๗)
- สำนักงานกลาง จังหวัดนครปฐม
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8 (ศพฐ.๘)
- สำนักงานกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่ และนครศรีธรรมราช
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 (ศพฐ.๙)
- สำนักงานกลาง จังหวัดสงขลา
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสงขลา, สตูล, ตรัง และพัทลุง
- ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 (ศพฐ.๑๐)
- สำนักงานกลาง จังหวัดยะลา
- พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดยะลา, นราธิวาส และปัตตานี
รายนามผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
[แก้]สำนักงานวิทยาการตำรวจ | |
---|---|
รายนาม | ระยะการดำรงตำแหน่ง |
1. พลตำรวจโท สุพาสน์ จีระพันธุ์ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533 |
2. พลตำรวจโท ประชุม สถาปิตานนท์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2535 |
3. พลตำรวจโท ประสาน วงศ์ใหญ่ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 22 มกราคม พ.ศ. 2537 |
4. พลตำรวจโท ชำนาญ สุวรรณรักษ์ | 23 มกราคม พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538 |
5. พลตำรวจโท สมบัติ สุนทรวร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539 |
6. พลตำรวจโท โสภณ สะวิคามิน | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540 |
7. พลตำรวจโท อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 |
8. พลตำรวจโท โสภณ ปันกาญจนโต | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 |
9. พลตำรวจโท บุญฤทธิ์ รัตนะพร | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545 |
10. พลตำรวจโท ประกาศ ศาตะมาน | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546 |
11. พลตำรวจโท ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 4 เมษายน พ.ศ. 2548 |
สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ | |
11. พลตำรวจโท ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี | 4 เมษายน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 |
12. พลตำรวจโท อัมรินทร์ เนียมสกุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 |
13. พลตำรวจโท เอก อังสนานนท์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 29 เมษายน พ.ศ. 2550 |
14. พลตำรวจโท อัมพร จารุจินดา | 30 เมษายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551 |
15. พลตำรวจโท ดนัยธร วงศ์ไทย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 7 กันยายน พ.ศ. 2552 |
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ | |
15. พลตำรวจโท ดนัยธร วงศ์ไทย | 7 กันยายน พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 |
16. พลตำรวจโท จรัมพร สุระมณี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 |
17. พลตำรวจโท พีระพงศ์ ดามาพงศ์ | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 |
18. พลตำรวจโท ปัญญา มาเม่น | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
19. พลตำรวจโท คำรบ ปัญญาแก้ว | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 |
20. พลตำรวจโท มนู เมฆหมอก | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
21. พลตำรวจโท กิตติพงษ์ เงามุข | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 |
22. พลตำรวจโท พงษ์วุฒิ พงษ์ศรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 |
23. พลตำรวจโท พนมพร อิทธิประเสริฐ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562 |
24. พลตำรวจโท วิเชียร ตันตะวิริยะ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 |
25. พลตำรวจโท วีระ จิรวีระ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
26. พลตำรวจโท อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 |
27. พลตำรวจโท ไตรรงค์ ผิวพรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ประวัติสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2498
- ↑ 3.0 3.1 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548
- ↑ พระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ - Official Site เก็บถาวร 2014-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เฟสบุ้คสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ