ข้ามไปเนื้อหา

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
(Flexor carpi radialis muscle)
กล้ามเนื้อในชั้นตื้นในด้านหน้าของปลายแขนข้างซ้าย (กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส และเอ็นกล้ามเนื้อนี้ แสดงด้วยสีน้ำเงิน)
ด้านหน้าของรยางค์บนข้างขวา (กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสอยู่ด้านบนซ้าย)
รายละเอียด
จุดยึดปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of humerus) (เอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์ (common flexor tendon))
จุดเกาะฐานของกระดูกฝ่ามือ (metacarpal bone) ชิ้นที่ 2 และ 3
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)
ประสาทเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve)
การกระทำงอ (Flexion) และกางออก (Abduction) ที่ข้อมือ
ตัวต้านกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) , กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus)
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus flexor carpi radialis
TA98A04.6.02.028
TA22481
FMA38459
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (อังกฤษ: Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก

จุดเกาะต้นและจุดเกาะปลาย

[แก้]

กล้ามเนื้อนี้เริ่มจากปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of humerus) (เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส) และเกาะกับด้านหน้าของฐานกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal)

กล้ามเนื้อนี้วิ่งในแนวด้านข้างของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (flexor digitorum superficialis) และเอ็นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสสามารถเห็นได้จากด้านหน้าของปลายแขนตอนปลายๆ ใกล้ข้อมือ

ที่บริเวณปลายแขนบริเวณปลายๆ ใกล้ข้อมือ ทางขวาก่อนถึงข้อมือ จะเห็นเอ็นกล้ามเนื้อ 2-3 อัน ได้แก่ เอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสอยู่ทางด้านข้างมากที่สุด (ใกล้กับนิ้วโป้งมากที่สุด) (ส่วนเอ็นที่อยู่ใกล้กลางที่สุดคือเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส ส่วนอันตรงกลาง (ถ้ามี) คือเอ็นกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส)

เส้นประสาทและหลอดเลือดแดง

[แก้]

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสเลี้ยงโดยเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในกลุ่มกล้ามเนื้องอของมือส่วนใหญ่ และได้รับเลือดมาเลี้ยงจากหลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)

การออกกำลังกาย

[แก้]

เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อกลุ่มงออื่นๆ ในปลายแขน กล้ามเนื้อนี้สามารถฝึกความแข็งแรงได้จากการออกกำลังการต้านการงอ โดยใช้ wrist roller และ wrist curls ร่วมกับดัมบ์เบลล์ (dumbbell)

ดูเพิ่ม

[แก้]

ภาพอื่นๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]