ข้ามไปเนื้อหา

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
(Supinator muscle)
กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ มุมมองทางด้านหลัง
รายละเอียด
จุดยึดปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน, สันสุพิเนเตอร์ของกระดูกอัลนา, เอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (ข้อศอก), เอ็นแอนนูลาร์
จุดเกาะส่วนต้นด้านข้างของตัวกระดูกเรเดียส
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงเรเดียลรีเคอร์เรนท์
ประสาทเส้นประสาทโพสทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส แขนงของเส้นประสาทเรเดียล
การกระทำหงายปลายแขน
ตัวต้านกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus supinator
TA98A04.6.02.048
TA22512
FMA38512
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (อังกฤษ: Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดียส

จุดเกาะต้นและจุดเกาะปลาย

[แก้]

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ประกอบด้วยระนาบเส้นใย 2 ระนาบ ซึ่งระหว่างนี้มีแขนงลึกของเส้นประสาทเรเดียลผ่าน (deep branch of the radial nerve) ระนาบทั้งสองมาจากจุดเกาะร่วม ระนาบที่อยู่ชั้นตื้นมีจุดเกาะเป็นเอ็นกล้ามเนื้อ ส่วนชั้นลึกเป็นใยกล้ามเนื้อ เกาะจากปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (lateral epicondyle of the humerus) , จากเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อศอก และเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament) , จากสันบนกระดูกอัลนา ซึ่งวิ่งลงมาเป็นแนวเฉียงจากปลายด้านหลังของรอยเว้าเรเดียส (radial notch) , จากรอยกดรูปสามเหลี่ยมด้านล่างรอยเว้าเรเดียส, และจากเอ็นแผ่ (tendinous expansion) ซึ่งคลุมด้านบนของกล้ามเนื้อ

ใยกล้ามเนื้อชั้นผิว (superficial fibers) ล้อมรอบส่วนบนของกระดูกเรเดียส และเกาะปลายที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนเรเดียส (radial tuberosity) และแนวเฉียงของกระดูกเรเดียส (oblique line of the radius) ซึ่งด้านล่างเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres)

ใยกล้ามเนื้อด้านบน (upper fibers) ของระนาบลึกเป็นมัดกล้ามเนื้อคล้ายห่วงเชือก (sling-like fasciculus) ซึ่งโอบรอบคอกระดูกเรเดียสเหนือต่อปุ่มนูนเรเดียส และเกาะกับส่วนหลังของพื้นผิวแนวใกล้กลาง (medial surface) ส่วนใหญ่ของใยนี้เกาะปลายที่พื้นผิวด้านหลังและด้านข้างของตัวกระดูกเรเดียส กึ่งกลางระหว่างแนวเฉียงของกระดูกเรเดียสและหัวกระดูก

หน้าที่

[แก้]

หน้าที่ของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์คือช่วยกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอในการหงายมือ

ชื่อเรียกกล้ามเนื้อ

[แก้]

คำว่า "สุพิเนเตอร์" (Supinator) อาจหมายถึงกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หงาย (Supine) ส่วนของร่างกาย ในตำราเก่าๆ อาจมีคำว่า สุพิเนเตอร์ ลองกัส (supinator longus) หมายถึงกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) และ สุพิเนเตอร์ เบรวิส (supinator brevis) ที่หมายถึงกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ในปัจจุบัน

ภาพอื่นๆ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]