วิทยา คุณปลื้ม
วิทยา คุณปลื้ม | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (16 ปี 280 วัน) | |
ก่อนหน้า | ภิญโญ ตั๊นวิเศษ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (13 ปี 164 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2508 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2535–2538) ชาติไทย (2538–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) |
คู่สมรส | สิริลดา คุณปลื้ม |
บุตร | 2 คน |
ชื่อเล่น | ป๊อก |
วิทยา คุณปลื้ม (เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น ป๊อก อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี[1][2] เป็นประธานสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี[3] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีตนายกสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี
ประวัติ
[แก้]วิทยาเกิดวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้ง 5 คน ของนายสมชาย คุณปลื้ม กับนางสติล คุณปลื้ม การศึกษาชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัฒนดรุณวิทย์ จังหวัดชลบุรี ย้ายไปศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จากนั้นย้ายไปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทสาขา (Public Administration) จาก Southern California, USA มหาวิทยาลัยเซาต์เทิร์นแคร์ลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สมรสกับนางสิริลดา คุณปลื้ม มีบุตร - ธิดา 2 คน
การทำงาน
[แก้]วิทยา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 5 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปี พ.ศ. 2549 เขายังเป็นหนึ่งใน สส.กลุ่ม 16 ในปี พ.ศ. 2535 และเขาเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ต่อมาจึงได้หันเหมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2551 และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2555 และในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ชลบุรีอีกสมัย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘วิทยา คุณปลื้ม’ ลูกชายกำนันเป๊าะ นั่งแท่นนายกฯอบจ.ด้วยคะแนนถล่มทลาย สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ เกี่ยวกับสโมสรชลบุรี เอฟซี เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ทางการสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี
- ↑ "วิทยา คุณปลื้ม" คว้าเก้าอี้นายกอบจ.ชลบุรี อีก 1 สมัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๘, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดชลบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- สกุลคุณปลื้ม
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สโมสรฟุตบอลชลบุรี
- ประธานสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.