กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)
Ministry of Industry | |
เครื่องหมายราชการ ตรานารายณ์เกษียรสมุทรและชื่อกระทรวงด้านล่าง | |
ตรานารายณ์เกษียรสมุทร | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485[1] |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
งบประมาณต่อปี | 4,994,039,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กระทรวงอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Ministry of Industry) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ประวัติ
[แก้]กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2480 ถัดมาเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
- กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
- กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)
กระทรวงการอุตสาหกรรม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2495[3]โดยมีปลัดกระทรวงคนแรก ได้แก่ พ.อ.สุวรรณ เพ็ญจันทร์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2495 และ ดร.พร ศรีจามร[4]ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2495 เป็นปลัดคนต่อมา
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ดร.ณัฐพล รังสิตพล บุตร สุขวิช รังสิตพล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย[5]
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]ส่วนราชการ
[แก้]- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
รัฐวิสาหกิจ
[แก้]- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (กำกับดูแลร่วมกับกระทรวงการคลัง)
สถาบันเครือข่าย
[แก้]- สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
- สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- สถาบันอาหาร
- สถาบันยานยนต์
- สถาบันไทย - เยอรมัน
- สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- สถาบันรับรองมาตรฐานไอ เอส โอ
- สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
- สถาบันพลาสติก
- สถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย
- สถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา
หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘
- ↑ "ประวัติกระทรวงอุตสาหกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งปลัดกระทรวงครั้งแรก
- ↑ "ที่มาของนารายณ์เกษียรสมุทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-20. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
- ↑ "เว็บไซด์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2564". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
ดูเพิ่ม
[แก้]- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย
- รายชื่อปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย
- บริษัท นารายณ์ภัณฑ์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนของกระทรวงอุตสาหกรรม ในอดีตเป็นรัฐวิสาหกิจในกำกับดูแลของกระทรวงฯ
- องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นอดีตรัฐวิสาหกิจในสังกัด ต่อมาถูกยุบเลิกเพื่อควบรวมกิจการเข้ากับองค์การเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม และจัดตั้งใหม่เป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย [หรือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน]
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)