ข้ามไปเนื้อหา

กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน
กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน
ประเทศ ไทย
บทบาทการสงครามปืนใหญ่[1][2]
สนับสนุนปฎิบัติการรบของนาวิกโยธิน[1]
ป้องกันประเทศ[1]
ป้องกันภัยทางอากาศ[1]
ปฏิบัติการยกพลขึ้นบก[1][3][4]
กองบัญชาการ909 หมู่ 3 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
เพลงหน่วยเพลงมาร์ชกรมทหารปืนใหญ่
กองพลนาวิกโยธิน
 • คำร้อง: นาวาตรี อภินันทน์ ถ้วยอิ่ม
 • ทำนอง: ร้อยโท วินัย แจ้งสุข
สัญลักษณ์นำโชคช้างดำ[5]
วันสถาปนา31 มกราคม พ.ศ. 2509[1]
ปฏิบัติการสำคัญการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย[1]
เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม[1]
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[3]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันนาวาเอก เผดิมชัย สุคนธมัต
ผบ. สำคัญนาวาเอก สมภรณ์ สุนทรเกตุ[1]
นาวาเอก โกเมศ สะอาดเอี่ยม[5]
นาวาเอก บัณฑิต สุนทรธนวัจน์[1]
นาวาเอก วุฒิไกร ปั้นดี[6]

กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน (อักษรย่อ กรม ป.พล.นย.; อังกฤษ: Artillery Regiment Marine Division) เป็นหน่วยทหารปืนใหญ่ ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[7] ซึ่งมีผู้บังคับการคนปัจจุบันคือนาวาเอก เผดิมชัย สุคนธมัต

นอกจากนี้ กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ยังเป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[3]

ประวัติ

[แก้]

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2509 กองพันทหารปืนใหญ่ กรมผสมนาวิกโยธิน (พัน.ป.ผส.นย.) ได้นำกำลังพลพร้อมอาวุธปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 2 กระบอก ออกเดินทางจากอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ไปลงเรือระบายพลขนาดกลาง (LCM) ที่จังหวัดตราด แล้วขึ้นบกที่หาดสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยจากประเทศกัมพูชา นับเป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นวีรกรรมครั้งแรกของทหารปืนใหญ่ นาวิกโยธิน ในบทบาทป้องกันประเทศ เหล่าทหารนาวิกโยธินจึงได้เปลี่ยนวันคล้ายวันสถาปนากรมทหารปืนใหญ่ มาเป็นวันทหารปืนใหญ่ จนถึงปัจจุบัน[1]

ส่วนในปี พ.ศ. 2561 กองพันทหารปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ได้เป็นหนึ่งในหน่วยที่ยกพลขึ้นบก ณ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ด้วยเรือหลวงอ่างทอง และเรือหลวงมันกลาง[4] เพื่อเข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[3]

การฝึก

[แก้]

กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ยังได้รับการกล่าวถึงในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกเวลากลางคืน ผ่านสื่อมติชน ว่ามีการจัดเต็มแสง สี เสียง ยิ่งกว่าภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส[8]

กิจกรรมเพื่อสังคม

[แก้]

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ได้มีการแข่งขันฟุตบอล 7 คน รายการช้างดำคัพต้านยาเสพติด ชิงถ้วยผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน โดยมีทีมจากภาคตะวันออกจำนวน 42 ทีมเข้าแข่งขัน[5]

ส่วนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ได้ร่วมซื้อสับปะรดจากชาวไร่จำนวน 2 ตัน หลังประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำถึงขีดสุด[9]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

ยุทโธปกรณ์

[แก้]

ปืนใหญ่สนาม

[แก้]
รุ่น ภาพ ที่มา ผู้สร้าง ประเภท จำนวน หมายเหตุ
เอทีเอ็มจี  ไทย
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์อัตตาจร 155 มม. 6 ระบบ  • พัฒนามาจากปืนใหญ่อัตตาจรแบบแอตโมส 2000
 • ประกอบและพัฒนาในประเทศไทย
 • ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทเอลบิตซิสเต็ม
แอตโมส 2000 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล โซลตัมซิสเต็ม ปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์อัตตาจร 155 มม.
จีเอชเอ็น-45 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา ฮาวอิตเซอร์  • จัดหาในปี พ.ศ. 2531
 • ประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง
ฮาวอิตเซอร์จีซี-45 ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา ฮาวอิตเซอร์  • จัดหาในปี พ.ศ. 2523
 • ประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Buraphanews.com
  2. "ปืนใหญ่ –สงครามและการค้า : Story PPTVHD36". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "นย.ทร. 487 นายผลัดกำลังหนุนภารกิจดับไฟใต้ - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  4. 4.0 4.1 นาวิกโยธินยกพลขึ้นบกที่หาดบ้านทอน สับเปลี่ยนกำลังดูแลพื้นที่นราธิวาส
  5. 5.0 5.1 5.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mgronline
  6. เทศบาลทหารเล่นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ - ข่าวชลบุรี[ลิงก์เสีย]
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ khaosod
  8. “ฉลามบก” นาวิกโยธิน ฝึกกลางความมืด จัดเต็มแสงสีเสียง ยิ่งกว่า “Star Wars”
  9. "ธารน้ำใจหลั่งไหลไม่หยุดยั้งจากนาวิกโยธินไทยสู่ชาวไร่สับปะรดหลังเจอวิกฤตหนัก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.
  10. กรมทหารปืนใหญ่คว้าชัยกีฬาฟุตบอล 7 คน ต้านยาเสพติด - ผู้จัดการ
  11. อื้อหือ! ล่ำสันกล้ามเป็นมัด นย.ไทย แข่งเพาะกาย-ยกน้ำหนัก - ไทยรัฐ
  12. "ปอดเหล็กทัพเรือคว้าชัยไตรกีฬาทัพเรือ - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]