ข้ามไปเนื้อหา

เพาะกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


นักเพาะกายขณะอยู่บนเวทีแข่งขัน

เพาะกาย เป็นหนึ่งในกีฬาชนิดหนึ่งที่เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อโดยการฝึกน้ำหนัก, การเพิ่มปริมาณอาหาร, และการพักผ่อน ผู้ที่เล่นกีฬาหรือชื่นชอบการเพาะกายนี้จะเรียกว่านักเพาะกาย

ในด้านการแข่งขัน นักเพาะกายจะแสดงร่างกายให้คณะกรรมการได้เห็น โดยคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสวยงามของกล้ามเนื้อของนักเพาะกายแต่ละคน โดยมีนักเพาะกายชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงได้แก่ Larry Scott, อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์, Lou Ferrigno, Steve Reeves, Serge Nubret, Ronnie Coleman, Jay Cutler,Kai Greene,Phil Heath ส่วนนักเพาะกายไทยที่มีชื่อเสียงได้แก่ สิทธิ เจริญฤทธิ์ และคนอื่นๆ อีกมากมาย

ประวัติกีฬาเพาะกาย

[แก้]

ยุคแรก

[แก้]
ยูจีน แซนดาว ในปีค.ศ. 1894

ยุคแรกของกีฬาเพาะกายจะอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1880 ถึง 1930

เพาะกาย เป็นกีฬาที่เริ่มต้นประมาณปลายศตวรรษที่ 19 โดยได้รับการสนับสนุนจากชายชาวเยอรมันชื่อ ยูจีน แซนดาว (Eugene Sandow) ผู้ที่ในปัจจุบันเรียกว่า “บิดาแห่งกีฬาเพาะกายยุคใหม่” เขาได้บุกเบิกกีฬาชนิดและได้ความช่วยเหลือในการสร้างเวทีแสดงจาก Florenz Ziegfeld ซึ่งเป็นผู้จัดการของเขา นายแซนดาว ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก หลังจากนั้นเขาก็ทำธุรกิจหลายอย่างทำให้เขามีชื่อเสียง และเขาก็ได้ทำการตลาดโดยใช้ชื่อของเขาเอง ทำให้เขายิ่งโด่งดังมากขึ้น และเขาก็ได้รับความนิยมจากเครื่องออกกำลังกายที่เขาทำขึ้นมาเองอีกด้วย

ยูจีน แซนดาว ได้จัดการแข่งขันเพาะกายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 1901 โดยเรียกการแข่งครั้งนั้นว่า “Great Competition” โดยจัดการแข่งขันที่ Royal Albert Hall ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีกรรมการตัดสินคือ Sandow, Sir Charles Lawes, และ Sir Arthur Conan Doyle โดยการแข่งครั้งนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก รางวัลในครั้งนั้นจะเป็นรูปหล่อสีทองแดงของนายแซนดาวเอง แกะสลักโดย Frederick Pomeroy โดยผู้ชนะในครั้งนั้นคือ William L. Murray จาก Nottingham ประเทศอังกฤษ โดยในปัจจุบันการแข่งขันที่มีเกียรติมากที่สุดคือ Mr. Olympia และตั้งแต่ปี 1977 ผู้ชนะจะได้รับรางวัลรูปหล่อสีทองแดงของนายแซนดาวเช่นเดียวกัน

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 1904 ได้มีการแข่งเพาะกายครั้งใหญ่ที่ Madison Square Garden ในนครนิวยอร์ก โดยมีผู้ชนะคือนาย Al Treloar และเขาได้ถูกประกาศว่าเป็นคนที่พัฒนาร่างกายดีที่สุดในโลก และยังได้รับรางวัล 1,000 ดอลลาร์อีกด้วย ต่อมา 2 สัปดาห์หลังจากนั้น โทมัส เอดิสันก็ได้สร้างหนังเกี่ยวกับการโพสของ Al Treloar และยังทำหนังอีก 2 เรื่องเกี่ยวกับนายแซนดาวในไม่กี่ปีก่อน ทำให้นั่นเป็นครั้งแรกที่มีการนำนักเพาะกายเข้าไปในภาพยนตร์ ในช่วงต้นศตวรรษ 20 นาย Bernarr Macfadden และ Charles Atlas เริ่มต้นที่จะส่งเสริมกีฬาเพาะกายไปทั่วโลก นาย Alois P. Swoboda ได้บุกเบิกในอเมริกาและเป็นคนที่นาย Charles Atlas กล่าวถึงความประสบความสำเร็จของเขาว่า “ทุกๆ สิ่งที่ผมรู้ ผมรู้มาจาก A. P. (Alois) Swoboda”

นักเพาะกายที่สำคัญในยุคแรกในช่วงปี 1930 คือ Earle Liederman (ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเพาะกายในยุกแรก) , Seigmund Breitbart (นักเพาะกายชาวยิวที่มีชื่อเสียง) , Georg Hackenschmidt, George F. Jowett, Maxick (ผู้บุกเบิกศิลปะในการโพสกล้ามเนื้อ) , Monte Saldo, Launceston Elliot, Sig Klein, Sgt. Alfred Moss, Joe Nordquist, Lionel Strongfort , Gustav Fristensky (แช็มป์ชาวเช็ค) , และ Alan C. Mead, ผู้ที่เป็นผู้ชนะการแข่งเพาะกายถึงแม้ว่าจะเสียขาข้างหนึ่งในสงครามโลก

ยุคทอง

[แก้]

ในช่วงเวลาประมาณปี 1940 ถึง 1970 มักจะถูกเรียกว่า ยุคทอง ของกีฬาเพาะกาย เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงในหลายอย่าง กีฬาเพาะกายก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายและมีการจัดการแข่งขันมากขึ้นอย่างมากมาย

ในยุคนี้จะมีสถานที่สำคัญคือ Muscle Beach ใน Venice, ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย วึ่งในสมัยนั้นจะมีนักเพาะกายจำนวนมากรวมกันอยู่ที่นั่น โดยนักเพาะกายที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ สตีฟ รีฟฟ์ (Steve Reeves) (นักแสดงเรื่อง เฮอร์คิวลิส) , เร็ก ปาร์ค (Reg Park) , จอห์น กริเม็ค (John Grimek) , ลารี่ สก๊อทท์ (Larry Scott) , บิลล์ เพิร์ล (Bill Pearl) , และ Irvin "Zabo" Koszewski

Amateur Athletic Union (AAU) ได้มีการใส่การแข่งขันกีฬาเพาะกายรวมกับกีฬายกน้ำหนักในปี 1939 และในปีต่อมาการแข่งขันได้เปลี่ยนชื่อเป็น AAU Mr. America และประมาณกลางทศวรรษที่ 1940 นักเพาะกายส่วนใหญ่ไม่พอใจ AAU ตั้งแต่พวกเขาสนใจกีฬายกน้ำหนักซึ่งได้เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกมากกว่า ด้วยเหตุนี้ 2 พี่น้อง เบน ไวเดอร์ (Ben Weider) และโจ ไวเดอร์ (Joe Weider) จึงได้ก่อตั้ง International Federation of BodyBuilders (IFBB) และจัดตั้งการแข่งขันขึ้นมาเองเรียกว่า IFBB Mr. America ที่เปิดนักกีฬามืออาชีพมาลงแข่งได้

ในปี 1950 ในอีกสมาพันธ์หนึ่ง คือ National Amateur Bodybuilders Association (NABBA) ได้เริ่มต้นการแข่งขัน NABBA Mr. Universe ในอังกฤษ และการแข่งขันหลักอื่นๆ Mr. Olympia ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1965 และตอนนี้เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติสูงสุด และมีงบประมาณมากที่สุดในวงการเพาะกาย

ในช่วงแรกนั้นมีการแข่งขันเฉพาะเพาะกายชายเท่านั้น ทาง NABBA จึงมีการใส่ตำแหน่ง Miss Universe ลงไปในปี 1965 (ในที่นี้หมายถึงเพาะกายหญิง) และ Ms. Olympia ซึ่งเริ่มต้นในปี 1980

หลังจากทศวรรษที่ 1970

[แก้]

ในทศวรรษที่ 1970 วงการเพาะกายต้องยกย่องให้กับอาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์และภาพยนตร์ปี 1977 เรื่อง Pumping Iron โดยในช่วงเวลานี้ IFBB เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและทำให้ AAU ต้องรั้งท้าย

National Physique Committee (NPC) ได้ถูกก่อตั้งในปี 1981 โดย Jim Manion คนที่เป็นประธานของกลุ่ม AAU Physique Committee ในช่วงนี้ NPC กลายเป็นองค์กรเพาะกายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอเมริกา และเป็นกลุ่มย่อยของ IFBB ในช่วงปลาย 1980s และช่วงต้นของ 1990s AAU เริ่มทรุดลง ในปี 1999 กรรมการของ AAU มีมติให้หยุดกิจการเกี่ยวกับกีฬาเพาะกาย

ในยุคนี้จะเริ่มเห็นการใช้ Anabolic steroid ซึ่งใช้ในทั้งเพาะกายและกีฬาอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับการใช้ยานี้ IFBB จึงจะมีการตรวจร่างกายหาสารนี้ในร่างกายรวมถึงสารอื่นๆ แต่นักเพาะกายส่วนใหญ่ยังใช้ anabolic steroid ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม Congress of the United States ได้มีการควบคุมการใช้ยาชนิดนี้ในปี 1990 และมีการจัดหมวดหมู่ให้อยู่ใน Schedule III of the Controlled Substances Act (CSA)

ในปี 1990 ผู้ก่อตั้งบริษัทมวยปล้ำ Vince McMahon ได้ก่อตั้งองค์กรเพาะกายใหม่ขึ้นมาชื่อ World Bodybuilding Federation (WBF) นาย McMahon ได้นำการแสดงแบบมวยปล้ำมาผสมกับกีฬาเพาะกาย ทำให้กีฬาเพาะกายเริ่มสั่นคลอน ส่วนการตอบโต้การกระทำของ WBF นั้น Ben Weider ประธานของ IFBB ได้ทำการขึ้นบัญชีดำกับนักเพาะกายที่ได้เซ็นสัญญากับ WBF และในปีนั้นเอง ทาง IFBB ได้ระงับการตรวจสอบสาร anabolic steroid ในนักกีฬาเนื่องมีการใช้กันเป็นจำนวนมากทำให้มีปัญหาในการตรวจสอบ ในปี 1992 นาย Vince McMahon จัดการตรวจสอบการใช้ยาในนักกีฬา WBF เนื่องจากเขาและ WWF กำลังอยู่ภายใต้การสืบสวนจากรัฐบาลกลางเนื่องจากข้อหาการค้าขาย anabolic steroid โดยผลสุดท้ายนั้นคือในการแข่งขันของ WBF ในปี 1992 โดยกรรมการผู้บริหารของ McMahon เห็นพ้องต้องกัน McMahon จึงทำการยุบ WBF ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 เหตุผลในการยุบครั้งนี้เป็นไปได้ว่ามาจากการขาดรายได้จากการ pay-per-view broadcasts จากการแข่งขันของ WBF และจากการขาดรายได้จากการขายนิตยสาร Bodybuilding Lifestyles (ในตอนหลังกลายเป็น WBF Magazine) และจากความเสียหายจากด้านอื่นๆ อีก แต่อย่างไรก็ตามการยุบ WBF ในครั้งนี้ก็มีผลต่อ IFBB เช่นกัน แต่สุดท้ายโจ ไวเดอร์ก็ยอมรับนักเพาะกายจาก WBF กลับมา IFBB อีกครั้ง

ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทาง IFBB พยายามที่จะทำให้กีฬาเพาะกายเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกให้ได้ และได้จำนวนสมาชิกของ IOC ได้เต็มที่ในปี 2000 แต่ผลสุดท้ายทางคณะกรรมการโอลิมปิกก็ไม่ได้บรรจุกีฬานี้ไว้โดยให้เหตุผลว่า “การเพาะกายนั้นขณะแข่งขันไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร นอกจากมาโพสร่างกายให้กรรมการเห็นเท่านั้น” แต่นักกีฬาก็ยังแย้งว่า”ก่อนที่พวกเขาจะมาแข่งขันนั้นจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีทั้งใจและกาย ฉะนั้นเพาะกายควรได้ถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิก”

ในปี 2003 โจ ไวเดอร์ได้ขาย Weider Publications ไปให้ American Media ซึ่งเป็นเจ้าของ The National Enquirer เบน ไวเดอร์ยังคงเป็นประธาน IFBB ในปี 2004 ผู้ส่งเสริมการแข่งขัน Wayne DeMilia ได้รับตำแหน่งในการส่งเสริม Mr. Olympia ต่อไป

สาขาของกีฬาเพาะกาย

[แก้]

การแข่งขันกีฬาเพาะกาย

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]