ข้ามไปเนื้อหา

กรมชลประทาน (ประเทศไทย)

พิกัด: 13°53′47″N 100°30′24″E / 13.89646°N 100.50663°E / 13.89646; 100.50663
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมคลอง)
กรมชลประทาน
Royal Irrigation Department
ตราพระวรุณทรงพระขรรค์
สัญลักษณ์ประจำกรมชลประทาน

ท่าเรือกรมชลประทาน สามเสน
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2445; 122 ปีก่อน (2445-06-13)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรมก่อนหน้า
  • กรมคลอง (พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2457)
  • กรมทดน้ำ (พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2470)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่
บุคลากร17,737 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี84,081,721,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • สุริยพล นุชอนงค์, อธิบดี
  • เดช เล็กวิชัย, รองอธิบดี
  • ฐนันดร์ สุทธิพิศาล, รองอธิบดี
  • วิทยา แก้วมี, รองอธิบดี
  • วรพจน์ เพชรนรชาติ, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมชลประทาน (อังกฤษ: Royal Irrigation Department) เป็นหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่จัดหาน้ำเพื่อกักเก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน้ำ เพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และหมายรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน

ประวัติ

[แก้]

งานชลประทานในประเทศไทยเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดลอกคลอง และขุดคลองขึ้นใหม่ในบริเวณที่ราบภาคกลางจำนวนมาก ดำเนินการโดยเอกชน คือบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (Siam Canals, Lands and Irrigation Company) ได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พ.ศ. 2431 เริ่มขุดคลองเมื่อ พ.ศ. 2433 มีระยะเวลาดำเนินการ ตามสัมปทาน 25 ปี

ใน พ.ศ. 2445 ได้ว่าจ้างนายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา มาดำเนินงานชลประทานประเทศไทย และทรงแต่งตั้งให้ นายเย โฮมัน เข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2445 พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมคลอง" และทรงแต่งตั้งนาย เย โฮมัน เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก เพื่อทำหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงคลองต่างๆ ไม่ให้ตื้นเขิน

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "กรมทดน้ำ" ขึ้นแทนกรมคลอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2457 และทรงแต่งตั้ง นายอาร์ ซี อาร์ วิล สัน เป็นเจ้ากรมทดน้ำ

จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า หน้าที่ของกรมทดน้ำมิได้ปฏิบัติงานอยู่เฉพาะแต่การทดน้ำเพียงอย่างเดียว งานที่กรมทดน้ำปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั้นมีทั้งการขุดคลอง การทดน้ำ รวมทั้งการส่งน้ำตามคลองต่างๆ อีกทั้งการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก กรมทดน้ำ เป็น กรมชลประทาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2470 โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ำ การส่งน้ำ และการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง

อำนาจและหน้าที่

[แก้]
  1. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เพียงพอ
  2. จัดการน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภทอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
  3. เสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้การและบริหารจัดการน้ำ ทุกระดับอย่างบูรณาการ
  4. ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยทางน้ำ

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

โครงสร้างและหน่วยงานในสังกัดกรมชลประทาน แบ่งส่วนราชการตาม กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557[3] ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°53′47″N 100°30′24″E / 13.89646°N 100.50663°E / 13.89646; 100.50663