ข้ามไปเนื้อหา

กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ตั้งของหมู่เกาะเซ็งกากุ.
น้ำเงิน: อูโอ็ตสึรื-ชิมะ (魚釣島) / เตียวหยู เตา (釣魚島)
เหลือง: คูบะ-ชิมะ (久場島) / ฮวางเว่ย หยู (黃尾嶼)
แดง: ไทโช-โท (大正島) / ชือเว่ย หยู (赤尾嶼)
อูโอ็ตสึริ-ชิมะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะเซ็งกากุ โดยมีขนาด 4.3 km2 (1.7 sq mi) ภาพถ่ายทางอากาศโดย กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และท่องเที่ยวของญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1978
แผนที่ World Atlas ตีพิมพ์ในจีน เมื่อ ค.ศ. 1960

กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ ว่าด้วยกรณีพิพาทดินแดนเหนือกลุ่มเกาะร้าง ซึ่งเรียกว่าหมู่เกาะเซ็งกากุในญี่ปุ่น เตียวหยูในจีนแผ่นดินใหญ่[1] หรือ หมู่เกาะเตียวหยูไท ในไต้หวัน[2] ประเทศญี่ปุ่นปกครองกลุ่มเกาะดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ. 1895[3] นอกเหนือจากระหว่าง ค.ศ. 1945 ถึง 1972 ที่สหรัฐอเมริกาปกครองหมู่เกาะดังกล่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) โต้แย้งการเสนอการส่งมอบอธิปไตยคืนให้แก่ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1971[4] และได้อ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะมานับแต่นั้น[5] สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เองก็คัดค้านเช่นกัน ดินแดนดังกล่าวอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือสำคัญ แหล่งประมงอันอุดมสมบูรณ์ และอาจมีน้ำมันสำรองอยู่ในพื้นที่[6]

แผนที่วาดโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่น แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยูเป็นของจีน

จีนได้กล่าวอ้างถึงความเป็นเจ้าของหมู่เกาะดังกล่าว โดยมีจุดยืนดังนี้ [7]

  1. จีนได้ค้นพบและบันทึกหมู่เกาะดังกล่าวไว้ในแผนที่การเดินทางไว้ก่อน หมู่เกาะดังกล่าวเป็นชายแดนนอกชายฝั่งของจีนเพื่อใช้ในการป้องกันโจรสลัดญี่ปุ่น (Wokou) ในระหว่างปีพ.ศ. 1911 – 2454 (ค.ศ. 1368-1911) ซึ่งอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ทั้งนี้ แผนที่แสดงภูมิภาคเอเชียของจีน รวมถึงแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่นในช่วงคริสศตวรรษที่ 18 แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (ขณะที่ ก่อนปี พ.ศ. 2427 ไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงหมู่เกาะดังกล่าวในเอกสารทางการของญี่ปุ่น) ต่อมาญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะดังกล่าวในปี พ.ศ. 2438 ตามการลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 อย่างไรก็ตาม จดหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการตอบสนองของจีน หากญี่ปุ่นแสดงท่าทีการยึดครองหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู อย่างเป็นทางการ ซึ่งบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นรู้ว่าหมู่เกาะดังกล่าวไม่ใช่ดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ (Terra Nullius) อย่างที่ญี่ปุ่นได้กล่าวอ้างไว้
  1. ปฏิญญาพ็อทซ์ดัมระบุว่า "อำนาจอธิปไตยญี่ปุ่นจะจำกัด อยู่ที่เกาะฮนชู เกาะฮกไกโด เกาะคีวชู เกาะชิโกกุและเกาะเล็กอื่น ๆ ที่เรากำหนด ซึ่ง "เรา" หมายถึงผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองที่ประชุมกันที่เมืองพ็อทซ์ดัม (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยญี่ปุ่นได้ยอมรับเงื่อนไขของประกาศดังกล่าว
  1. จีนออกมาประท้วงการโอนอำนาจการครอบครองหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู ของสหรัฐฯ เป็นของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ทั้งนี้ จีนอ้างว่า นายเจียง ไคเชก หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ล้มเหลวในการต่อต้านการตัดสินใจของสหรัฐฯ ในการให้สิทธิการครอบครองหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยูแก่ญี่ปุ่น เนื่องจากในช่วงดังกล่าว นายเชียงไคเช็กต้องการการสนับสนุนจากทางการสหรัฐฯนอกจากนี้ ในเดือน เมษายน 2555 ไต้หวันปฏิเสธคำเชิญจากจีนที่จะร่วมกันแก้ไขข้อพิพาทดินแดนกับญี่ปุ่น โดยจีนยังคงยืนยันในสิทธิการครอบครองหมู่เกาะดังกล่าว แม้ว่าจะเกิดกรณีพิพาทกับไต้หวัน

ญี่ปุ่นกล่าวอ้างว่า ได้สำรวจหมู่เกาะดังกล่าวช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และพบว่าเป็นดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ (terra nullius) และต่อมาจีนก็มิได้คัดค้านอธิปไตยของญี่ปุ่นบนหมู่เกาะดังกล่าวจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันอ้างถึงหลักฐานเอกสารก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ซึ่งระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของจีน ดินแดนดังกล่าวจึงควรคืนแก่จีนเช่นเดียวกับดินแดนอื่นที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งมอบคืนเมื่อ ค.ศ. 1945

แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่มีท่าทีอย่างเป็นทางการกับกรณีพิพาทนี้[8] หมู่เกาะดังกล่าวปรากฏอยู่ใน U.S. Japan Security Treaty ซึ่งญี่ปุ่นอาจได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐอเมริกาเพื่อปกป้องดินแดนดังกล่าว[9]

เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ซื้อเกาะที่เหลือสามเกาะในหมู่เกาะดังกล่าวจากผู้ครอบครองเอกชน จนทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นครั้งใหญ่ในจีน[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ogura, Junko (2010-10-14). "Japanese party urges Google to drop Chinese name for disputed islands". CNN World. US. CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-09-21.
  2. Kristof, Nicholas (September 10, 2010). "Look Out for the Diaoyu Islands". New York Times. สืบค้นเมื่อ August 15, 2012.
  3. By JOHN W. FINNEYSpecial to The New York Times (1971-11-11). "SENATE ENDORSES OKINAWA TREATY - Votes 84 to 6 for Island's Return to Japan - Rioters There Kill a Policeman Senate, in 84 to 6 Vote, Approves the Treaty Returning Okinawa to Japan - Front Page - NYTimes.com". Select.nytimes.com. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  4. Netherlands Institute for the Law of the Sea (NILOS). (2000). International Organizations and the Law of the Sea, pp. 107-108., p. 107, ที่กูเกิล หนังสือ
  5. Lee, Seokwoo et al. (2002). Territorial disputes among Japan, Taiwan and China concerning the Senkaku Islands, pp. 11-12., p. 11, ที่กูเกิล หนังสือ
  6. "Q&A: China-Japan islands row" BBC News 11 September 2012
  7. MACROECONOMIC ANALYSIS BRIEFING สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  8. Philip J. Crowley, Remarks to the Press United States Department of State, 23 September 2010
  9. "U.S. says Senkaku Islands fall within scope of Japan-U.S. security treaty". Kyodo News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  10. "Anti-Japan protesters rally in Beijing". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.