หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น
หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น 海上保安庁 Kaijō Hoan-chō | |
---|---|
เครื่องหมายเอส | |
ธงเรือหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น | |
อักษรย่อ | JCG |
คำขวัญ | 正義仁愛 ความเมตตากรุณาที่ชอบธรรม |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 1948 เมษายน 2000 (ฐานะ หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น) | (ฐานะ หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเล)
เจ้าหน้าที่ | 13,744[1] |
งบประมาณรายปี | 210,601,000,000 เยน[1] |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานแห่งชาติ (เขตอำนาจในการปฏิบัติการ) | ประเทศญี่ปุ่น |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศญี่ปุ่น |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | อาณาเขตทางทะเลของญี่ปุ่น EEZ |
ส่วนปกครอง | กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว |
สำนักงานใหญ่ | 2-1-3, คาซูมิงาเซกิ เขตชิโยดะ โตเกียว 100-8976 ประเทศญี่ปุ่น 35°40′33″N 139°45′00″E / 35.67583°N 139.75000°E |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยรอง |
|
สิ่งอำนวยความสะดวก | |
จำนวนภูมิภาค | 11 |
เรือ | 379 |
ปีกคงที่ | 25 |
ปีกหมุน | 46 |
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น) เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอังกฤษ) |
หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 海上保安庁) เป็นหน่วยยามฝั่งของประเทศญี่ปุ่น
หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นประกอบด้วยกำลังพลประมาณ 13,700 คน และรับผิดชอบในการปกป้องแนวชายฝั่งของญี่ปุ่นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1948 ในฐานะหน่วยงานความปลอดภัยทางทะเล และได้รับชื่อภาษาอังกฤษดังปัจจุบันใน ค.ศ. 2000
คำขวัญของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นคือ "ความเมตตากรุณาที่ชอบธรรม" (正義仁愛)
ประวัติ
[แก้]ในจักรวรรดิญี่ปุ่น การปฏิบัติการป้องกันชายฝั่งได้รับคำสั่งจากกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่กองทัพเรือถูกยุบไปพร้อมกับการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และความสามารถในการรักษาระเบียบการเดินเรือก็ลดลงอย่างมาก การค้าและการลักลอบขนส่งของเถื่อนได้เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งแม้แต่โจรสลัดก็ยังมาปรากฏตัว การปรึกษาหารือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการฟื้นฟูความสามารถในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะโดยเร็วที่สุดและฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องการรักษาการปลดอาวุธของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่ใน ค.ศ. 1946 ได้มีการจัดตั้ง "กองบัญชาการควบคุมการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย" ในกระทรวงคมนาคม เนื่องจากมีการแพร่เชื้ออหิวาตกโรคไปยังเกาะคีวชูโดยผู้ลักลอบเข้าเมืองจากคาบสมุทรเกาหลีและกังวลว่าจะทำให้เกิดการปะทุของการติดเชื้ออย่างรุนแรง[3][4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Japan Coast Guard Justice and Humanity" (PDF). Japan Coast Guard. สืบค้นเมื่อ January 3, 2024.
- ↑ "JCG Organization". kaiho.mlit.go.jp. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
- ↑ Maritime Safety Agency 1979, pp. 5–6.
- ↑ Hasegawa 2010.
หนังสือ
[แก้]- Asanaga, Youichirou; Ōtsuka, Yukitaka (1995). Japan Maritime Safety Agency - their vessels and aviation. Seizando-shoten publishing co.,ltd. ISBN 4-425-77041-2.
- Maritime Safety Agency (1979). 30 years history of Japan Coast Guard. Maritime Safety Agency Foundation. ASIN B000J8HCXQ.
- Komine, Takao (2005). SST - the Japan Coast Guard Special Forces. Namiki Shobo. ISBN 4-89063-193-3.
บทความ
[แก้]- Hasegawa, Hiroyasu (2010). "The Difference of Speculation in Japan-U.S.Government Around Establishment of the Japan Coast Guard" (PDF). Crisis & risk management review. Crisis & Risk Management Society of Japan (18): 11–20.
- Nakanomyo, Masami (October 2015). "History of shipboard guns on JCG's patrol vessels". Ships of the World. Kaijin-sha (825): 168–173.
- Miyake, Norio (November 2009). "Japan Coast Guard: Past, present, and future". Ships of the World. Kaijin-sha (714): 97–105.
- Yoneda, Kenji (July 2016). "JCG's special teams facing a new phase". Ships of the World. Kaijin-sha (840): 152–157.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการ
- JCG Academy Official Site (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Details of vessels on Thomasphoto (ในภาษาญี่ปุ่น)
- Details of vessels on VSPG (ในภาษาญี่ปุ่น)