เฉิน ยฺหวิน
เฉิน ยฺหวิน | |
---|---|
陈云 | |
เฉิน ยฺหวิน ในปี พ.ศ. 2502 | |
ประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (4 ปี 345 วัน) | |
เลขาธิการใหญ่ | จ้าว จื่อหยาง เจียง เจ๋อหมิน |
ก่อนหน้า | เติ้ง เสี่ยวผิง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
เลขาธิการลำดับที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางตรวจสอบวินัย คนที่ 6 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2530 (8 ปี 313 วัน) | |
เลขาธิการใหญ่ | หู เย่าปัง จ้าว จื่อหยาง |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง (ต่ง ปี้อู่ ในปี 2511) |
ถัดไป | เฉียว ฉือ (เลขาธิการ) |
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509 (9 ปี 307 วัน) | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – 12 กันยายน พ.ศ. 2525 (3 ปี 268 วัน) | |
ประธาน | ฮั่ว กั๋วเฟิง หู เย่าปัง |
รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (10 ปี 97 วัน) | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล |
ถัดไป | หลิน เปียว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ชิงผู่, จักรวรรดิชิง (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเซี่ยงไฮ้, สาธารณรัฐประชาชนจีน) |
เสียชีวิต | 10 เมษายน พ.ศ. 2538 (89 ปี) ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2467–2535) |
คู่สมรส | หยู รั่วมู่ (2481–2538) |
เฉิน ยฺหวิน (จีนตัวย่อ: 陈云; จีนตัวเต็ม: 陳雲; พินอิน: Chén Yún; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – 10 เมษายน พ.ศ. 2538)[1] เป็นหนึ่งในผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดของจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายสำคัญสำหรับการปฏิรูปและการเปิดประเทศร่วมกับเติ้ง เสี่ยวผิง เขายังเป็นที่รู้จักในชื่อ เลี่ยว เฉินยฺหวิน (廖陈云) เนื่องจากลุงของเขา เลี่ยว เหวินกวาง (廖文光) ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมหลังจากบิดามารดาเสียชีวิต
เฉินเป็นบุคคลสําคัญทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อนการก่อตั้งประเทศ เขาเข้าร่วมคณะกรรมการกลางพรรคในปี 2474 และเข้าร่วมคณะกรมการเมืองในปี 2477 ต่อมาในปี 2480 เขาได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกลายเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาใกล้ชิดของเหมา เจ๋อตง ผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขามีบทบาทสำคัญในขบวนการแก้ไขเหยียนอันในปี 2485 และเริ่มรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจในปีเดียวกัน และท้ายที่สุดก็ได้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการการเงินและเศรษฐกิจกลางตั้งแต่ปี 2492
หลังจากการก่อตั้งประเทศ เฉินเป็นบุคคลสําคัญในการบรรเทาความคิดทางเศรษฐกิจที่รุนแรงของเหมา และมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีนหลังจากหายนะของนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (2501–03) ร่วมกับเติ้ง เสี่ยวผิง และโจว เอินไหล และหันไปสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ "กรงนก" (อนุญาตให้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมีบทบาท แต่ยังต้องถูกควบคุมเหมือน "นกในกรง") เฉินถูกลดทอนตำแหน่งในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แม้ว่าเขาจะกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี 2519
หลังจากการฟื้นอำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิง เฉินได้ออกคําวิจารณ์นโยบายลัทธิเหมา ประณามการขาดนโยบายเศรษฐกิจของจีน และต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนของเติ้ง ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เฉินได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีอํานาจมากเป็นอันดับสองของจีนรองจากเติ้ง และต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในตอนแรก เฉินเป็นผู้สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเขาเริ่มมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมต่อการปฏิรูปมากขึ้นในขณะที่นโยบายกำลังคืบหน้า เขากลายเป็นบุคคลสำคัญในการชะลอการปฏิรูปต่าง ๆ และกลายเป็นผู้นำของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในพรรค เฉินลาออกจากคณะกรรมการกลางในปี 2530 แต่ยังคงอิทธิพลของเขาในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากลาง และถอนตัวจากเวทีการเมืองโดยสมบูรณ์ในปี 2535[2]
ช่วงต้น
[แก้]เฉินเกิดในปี พ.ศ. 2448 ที่อำเภอชิงผู่ มณฑลเจียงซู (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเซี่ยงไฮ้) ทำงานเป็นผู้พิมพ์ดีดให้กับสำนักพิมพ์ชื่อดังของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งพิมพ์หนังสือปฏิวัติและแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลโปรเตสแตนต์[3][4] เฉินเริ่มมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้เลื่อนไหวในขบวนการแรงงานรุ่นเยาว์ในช่วงต้นและกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2467 หลังขบวนการวันที่ 30 พฤษภาคม 2468 เฉินได้ทำงานร่วมกับโจว เอินไหล และหลิว เช่าฉีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประท้วง การตั้งสหภาพแรงงาน และการเผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์ และช่วงหนึ่งโจวและเฉินอาศัยอยู่ที่โบสถ์คริสเตียนในจางติง ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะกรรมการปฏิวัติ[5] หลังจากเจียง ไคเชกหันมาต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2470 เฉินก็หลบหนีไปยังบ้านเกิด แต่ในไม่ช้าเขากลับมายังเซี่ยงไฮ้และทำงานอย่างลับ ๆ ต่อไปในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงาน
เฉินเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพียงไม่กี่คนที่มาจากชนชั้นแรงงานในเมือง เขาทำงานอย่างลับ ๆ ในฐานะผู้นำสหภาพแรงงานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เข้าร่วมการเดินทัพทางไกล และดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการกลางพรรคตั้งแต่ปี 2474 ถึง 2530[6] ถึงแม้จะไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการหลังจากจบชั้นประถมศึกษาเท่านั้น แต่เฉินก็ยังคงทำผลงานโดดเด่นในด้านเศรษฐศาสตร์มาตลอดชีวิตการงานของเขา
อาชีพคอมมิวนิสต์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคเหมา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปฏิรูปประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตบั้นปลาย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มรดก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Patrick E. Tyler (April 12, 1995). "Chen Yun, Who Slowed China's Shift to Market, Dies at 89". The New York Times.
- ↑ Stefan Landsberger. "Chen Yun". chineseposters.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
- ↑ Lin, Pei-yin; Tsai, Weipin (6 February 2014). Print, Profit, and Perception: Ideas, Information and Knowledge in Chinese Societies, 1895-1949. BRILL. ISBN 9789004259119.
- ↑ Leung, Edwin Pak-Wah; Leung, Pak-Wah (2002). Political Leaders of Modern China: A Biographical Dictionary. Greenwood Publishing. ISBN 9780313302169.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]