วัคซีนโรคอีสุกอีใส
วัคซีนโรคอีสุกอีใสจากประเทศญี่ปุ่น | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ |
ชนิด | เชื้อลดฤทธิ์ |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Varivax, Varilrix, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a607029 |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
ChemSpider |
|
UNII | |
7 (what is this?) (verify) | |
วัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันอีสุกอีใส[8] วัคซีนหนึ่งเข็มสามารถป้องกันโรคขนาดปานกลางได้ 95% และโรคขั้นรุนแรงได้ 100%[9] การให้วัคซีนสองเข็มจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพียงหนึ่งเข็ม[9] ถ้าให้แก่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคภายในห้าวันหลังจากที่ได้รับเชื้ออีสุกอีใส วัคซีนจะสามารถป้องกันเชื้อโรคในผู้ติดเชื้อได้เกือบทุกราย[9] ทั้งนี้การให้วัคซีนแก่ประชากรกลุ่มใหญ่จะสามารถป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนได้อีกด้วย[9] วิธีการให้วัคซีนคือการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง[9] ส่วนวัคซีนชนิดหนึ่งชื่อว่า วัคซีนโซสเตอร์ ใช้ป้องกันโรคที่มาจากไวรัสชนิดเดียวกัน[10]
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการให้วัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนเท่านั้นถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนของประเทศดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 80%[9] แต่ถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนเพียง 20 ถึง 80% ก็เป็นไปได้ว่าประชากรที่จะติดเชื้อโรคเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีจำนวนมากขึ้นและผลโดยรวมก็อาจแย่ลงตามไปด้วย[9] ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนในประเทศสหรัฐอยู่ที่สองเข็ม โดยเริ่มเข็มแรกเมื่อเด็กอายุสิบสองถึงสิบห้าเดือน[8] ข้อมูลเมื่อ 2017[update] มี 23 ประเทศได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคน เก้าประเทศแนะนำเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สามประเทศแนะนำเฉพาะบางส่วนของประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่นไม่มีการแนะนำ[11] แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีการจัดหาวัคซีนเนื่องจากราคาของวัคซีน[12] ในสหราชอาณาจักร มีการอนุญาตใช้งาน Varilrix วัคซีนไวรัสเชื้อเป็น[13] ให้กับเด็กที่มีอายุ 12 เดือน
วัคซีนนี้มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงเล็กน้อยอาจได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ และผื่นผิวหนัง[8] ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมากและส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มของผู้ที่มีการกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน[9] ควรต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์[9] และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่มีให้การวัคซีนในระหว่างการตั้งครภ์และไม่พบผลลัพธ์เชิงลบใด ๆ[8][9] การให้วัคซีนนี้อาจทำโดยการให้เพียงตัวเดียวหรือร่วมกับวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์วี[9] วัคซีนนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์[8]
วัคซีนไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ลดฤทธิ์ สายพันธุ์โอกะ ได้รับการพัฒนาโดยมิจิอากิ ทากาฮาชิกับเพื่อนร่วมงานในประเทศญี่ปุ่นช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[14] จากนั้นใน ค.ศ. 1981 ทีมนักวัคซีน (vaccinologist) สัญชาติอเมริกันของMaurice Hilleman พัฒนาวัคซีนโรคอีสุกอีใสในสหรัฐ ตามฐานจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ "สายพันธุ์โอกะ"[15][16][17] การจำหน่ายวัคซีนอีสุกอีใสครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1984[9] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Varicella virus vaccine (Varivax) Use During Pregnancy". Drugs.com. 6 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
- ↑ "Varilrix". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ "Varivax - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
- ↑ "Varilrix 10 3.3 PFU/0.5ml, powder and solvent for solution for injection - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ "Varivax- varicella virus vaccine live injection, powder, lyophilized, for suspension". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ "Varivax". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ "Varivax". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 22 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2017. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Chickenpox (Varicella) Vaccine Safety". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 27 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 "Varicella and herpes zoster vaccines: WHO position paper, June 2014". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 89 (25): 265–87. June 2014. hdl:10665/242227. PMID 24983077.
- ↑ "Herpes Zoster Vaccination". Centers for Disease Control and Prevention. 2015-07-31. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
- ↑ Wutzler P, Bonanni P, Burgess M, Gershon A, Sáfadi MA, Casabona G (August 2017). "Varicella vaccination - the global experience". Expert Review of Vaccines. 16 (8): 833–843. doi:10.1080/14760584.2017.1343669. PMC 5739310. PMID 28644696.
- ↑ Flatt A, Breuer J (September 2012). "Varicella vaccines". British Medical Bulletin. 103 (1): 115–27. doi:10.1093/bmb/lds019. PMID 22859715.
- ↑ "Varilrix".
- ↑ Gershon, Anne A. (2007), Arvin, Ann; Campadelli-Fiume, Gabriella; Mocarski, Edward; Moore, Patrick S. (บ.ก.), "Varicella-zoster vaccine", Human Herpesviruses: Biology, Therapy, and Immunoprophylaxis, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-82714-0, PMID 21348127, สืบค้นเมื่อ 6 February 2021
- ↑ Tulchinsky, Theodore H. (2018). "Maurice Hilleman: Creator of Vaccines That Changed the World". Case Studies in Public Health: 443–470. doi:10.1016/B978-0-12-804571-8.00003-2. ISBN 9780128045718. PMC 7150172.
- ↑ "Chickenpox (Varicella) | History of Vaccines". www.historyofvaccines.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
- ↑ "Maurice Ralph Hilleman (1919–2005) | The Embryo Project Encyclopedia". embryo.asu.edu. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
- ↑ World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- World Health Organization (May 2008). The immunological basis for immunization series : Module 10: Varicella-zoster virus. World Health Organization (WHO). hdl:10665/43906. ISBN 9789241596770.
- Ramsay M, บ.ก. (March 2013). "Chapter 34: Varicella". Immunisation against infectious disease. Public Health England.
- Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S, บ.ก. (2015). "Chapter 22: Varicella". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (13th ed.). Washington D.C.: Centers for Disease Control and Prevention (CDC). ISBN 978-0990449119.
- Roush SW, Baldy LM, Hall MA, บ.ก. (9 January 2020). "Chapter 17: Varicella". Manual for the surveillance of vaccine-preventable diseases. Atlanta GA: Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Chickenpox Vaccine Information Statement". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 10 August 2021.
- "Chickenpox (Varicella) Vaccination". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 25 February 2021.
- Chickenpox Vaccine ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)