โตเกียวสตอรี
โตเกียวสตอรี | |
---|---|
โปสเตอร์เปิดตัวภาษาญี่ปุ่น | |
กำกับ | ยาซูจิโร โอซุ |
เขียนบท | โคโงะ โนดะ ยาซูจิโร โอซุ |
อำนวยการสร้าง | ทาเคชิ ยะมะโมโตะ |
นักแสดงนำ | ชิซู รีว ชิเอโกะ ฮิกาชิยะมะ เซ็ตสึโกะ ฮาระ |
กำกับภาพ | Yūharu Atsuta |
ตัดต่อ | Yoshiyasu Hamamura |
ดนตรีประกอบ | Kojun Saitō |
บริษัทผู้สร้าง | |
วันฉาย |
|
ความยาว | 136 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ภาษาญี่ปุ่น |
โตเกียวสตอรี (อังกฤษ: Tokyo Story; ญี่ปุ่น: 東京物語; โรมาจิ: Tōkyō Monogatari) เป็นภาพยนตร์ดรามาภาษาญี่ปุ่นจากปี 1953 ซึ่งกำกับโดยยาซูจิโร โอซุ และนำแสดงโดยชิซู รีว กับ ชิเอโกะ ฮิกาชิยามะ เนื้อเรื่องบอกเล่าเรื่องราวของคู่รักสูงวันที่เดินทางไปนครโตเกียวเพื่อเยี่ยมลูกของตนที่โตแล้ว ภาพยนตร์แสดงให้เห็นความแตกต่างของลูกซึ่งยุ่งเกินกว่าจะดูแลพ่อแม่ของตน ในขณะที่สะใภ้หม้ายที่แต่งงานกับลูกชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตในสงครามนั้นกลับดูแลทั้งสองเป็นอย่างดี
โอซุและผู้เขียนยทภาพยนตร์ โคโงะ โนดะ เขียนบทเสร็จภายใน 103 วัน โดยมีแบบอย่างกลาย ๆ มาจากภาพยนตร์อเมริกันจากปี 1937 เรื่อง เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว์ ที่กำกับโดยลีโอ แม็คคารีย์ โนดะเสนอให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวมาดัดแปลง ในขณะที่โอซุเองยังไม่เคยชมภาพยนตร์เรื่องนั้น โอซุเลือกทีมงานและนักแสดงชุดเดิมกับที่เขาเคยทำงานมาด้วยเป็นเวลาหลายปี ภาพยนตร์เปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1953 ที่ซึ่งไม่ได้รับความสนใจระดับนานาชาติในตอนแรก และถูกเรียกขานว่าเป็นภาพยนตร์ที่ "เป็นญี่ปุ่นเกินไป" กว่าที่จะถูกนำไปส่งออกขายในต่างประเทศได้ ต่อมาในปี 1957 ภาพยนตร์ได้ไปฉายที่ลอนดอน ที่ซึ่งได้รับรางวัล Sutherland Trophy ในปีถัดมาจากลอนดอน และได้รับการชื่นชมจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวอเมริกันหลังนำไปฉายในนิวยอร์กซิตีเมื่อปี 1972 สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ ในเดือนสิงหาคม 2020
โตเกียวสตอรี ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโอซุ และถูกเรียกขานว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาลหลายครั้ง ในปี 2012 ในผลสำรวจที่สำรวจในกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์โดยนิตยสาร Sight & Sound ภาพยนตร์นี้ได้รับการลงคะแนนให้เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล
นักแสดง
[แก้]- จิซู รีว เป็น Shūkichi Hirayama (平山 周吉 Hirayama Shukichi)
- ชิเอโกะ ฮิกาชิยามะ เป็น Tomi Hirayama (平山 とみ Hirayama Tomi)
- เซ็ตสึโกะ ฮาระ เป็น Noriko Hirayama (平山 紀子 Hirayama Noriko)
- ฮารูโกะ ซูงิมูระ เป็น Shige Kaneko (金子 志げ Kaneko Shige)
- โซะ ยามามูระ เป็น Kōichi Hirayama (平山 幸一 Hirayama Koichi)
- คูนิโกะ มิยาเกะ เป็น Fumiko Hirayama (平山 文子 Hirayama Fumiko)
- เคียวโกะ คางาวะ เป็น Kyōko Hirayama (平山 京子 Hirayama Kyoko)
- เอจิโร โทโนะ เป็น Sanpei Numata (沼田 三平 Numata Sanpei)
- โนบูโอะ นากามูระ เป็น Kurazō Kaneko (金子 庫造 Kaneko Kurazo)
การผลิต
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โตเกียวสตอรี ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์อเมริกันจากปี 1937 เรื่อง เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว์ ที่กำกับโดยลีโอ แม็คคารีย์ โนดะเริ่มแรกเสนอพล็อตเรื่อง ในขณะที่โอซุเองยังไม่เคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้มาก่อน[1][2] ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องของผู้สูงวัยที่ประสบปัญหาในการเข้ากับคนรุ่นใหม่[3] และล้วนแสดงให้เห็นการเดินทางเยี่ยมลูกหลานของพ่อแม่[4] ความแตกต่างอยู่ที่ เมดเวย์ฟอร์ทูมอโรว มีฉากหลังเป็นยุคดีเพรสชั่นของสหรัฐอเมริกา ที่คู่แต่งงานนี้ประสบปรัญหาทางการเงิน ในขณะที่ โตเกียวสตอรี มีฉากหลังเป็นประเทศญี่ปุ่นหลังสงคราม ที่ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เป็นในเชิงวัฒนธรรมและเชิงอารมณ์มากกว่า[5] The two films also end differently.[6]
สครปต์นั้นผลิตโดยยาซูจิโร โอซุ และคู่ขาคนสำคัญของเขา โคโงะ โนดะ ภายในเวลา 103 วัน ที่เรียวกังแห่งหนึ่งที่ชื่อ ชิงาซากิกัง ในเมืองชิงาซากิ จังหวัดคานางาวะ[7] โอซุ, โนดะ และนัก cinematographer Yūharu Atsuta ลงพื้นที่สำรวจสถานที่ถ่ายทำในโตเกียว และโอโนมิจิ เป็นเวลาอีกหนึ่งเดือนก่อนเริ่มการถ่ายทำ การถ่ายทำจนถึงตัดต่อกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม 1953 โดยมีสถานที่ถ่ายทำได้แก่ในโตเกียว (อาดาจิ ชูโอ ไทโต และชิโยดะ), โอโนมิจิ, อาตามิ และโอซากะ ฉากที่เป็นภายในอาคารทั้งหมดถ่ายทำในสตูดิโอ Shochiku Ōfuna ที่คามากูระ จังหวัดคานางาวะ ยกเว้นเพียงฉากภายในพื้นที่พักคอยของสถานีโตเกียว และในขบวนรถไฟ โอซุเลือกใช้ทีมงานและนักแสดงชุดเดิมที่เขาเคยทำงานด้วยมาเป็นเวลานาน[8][9] นักแสดง ชิชู รีว ระบุว่าโอซุจะมีความสุขที่สุดตอนที่ไฟนอลดราฟต์ของสคริปต์เสร็จ และไม่เคยมีการเปลี่ยนอะไรในไฟนอลดราฟต์อีก[10]
สไตล์และธีม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์เสียงทุกชิ้นของโอซุ โตเกียวสตอรี' มีความเร็วในการดำเนินเรื่องแบบเนิบช้า[11] เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มักไม่ได้ถูกแสดงออกมา แต่จะถูกเปิดเผยตามบทสนทนาในเรื่อง เช่น ไม่เคยมีฉากไหนที่แสดงให้เห็นระหว่างการเดินทางบนรถไฟไปและกลับจากโตเกียว[12] มีการใช้รูปแบบกล้องพิเศษเฉพาะที่ซึ่งความสูงของกล้องนั้นต่ำและแทบไม่ขยับเลย นักวิจารณ์ภาพยนตร์ รอเจอร์ เอเบอร์ท (Roger Ebert) พบว่าทั้งภาพยนตร์มีการเคลื่อนของกล้องหนึ่งครั้ง ซึ่งเขาถือว่า "มากผิดปกติ" ในภาพยนตร์ของโอซุ[13] การตั้งกล้องต่ำนั้นยังเป็นการชวนระลึกถึงการนั่งบนเสื่อทาทามิแบบญี่ปุ่น[14] โอซุแทบไม่ได้ถ่ายมาสเตอร็ช็อต (master shot) เลย[15] และมักไม่ทำตามกฎ 180 องศา (180-degree rule) ของการทำภาพยนตร์และทิศทางของหน้าจอ
โอซุชื่นชอบการตั้งกล้องนิ่ง ๆ โดยไม่ขยับเลยเป็นอย่างมาก[16] และเชื่ออย่างแรงกล้าในแนวคิดมินิมอลิสม์[17] เดวิด เดรสเซอร์ (David Dresser) เปรียบเทียบรูปแบบของภาพยนตร์ของและพล็อตเรื่องแบบ "ทำให้ไม่เน้น“ (de-emphasized plot) ของโอซุว่าเหมือนกับศาสนาพุทธแบบเซน และความตื่นเต้นต่อมูลค่าเปลือกนอกและวัตถุนิยมของโลกสมัยใหม่[18]
ผลตอบรับเชิงวิจารณ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การให้คะแนนบนเว็บไซต์รีวิวภาพยนตร์ รอตเทนโทเมโทส์ ให้คะแนนไปในทิศทางเดียวกันคือ 100% "Fresh" จากการรีวิวของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ 43 รีวิว และคะแนนเฉลี่ยที่ 9.66/10 ของรีวิวทั่วไป มติของเว็บระบุว่า: "โตเกียวสตอรีเป็นผลงานชิ้นเอกของโอซุ ที่ซึ่งความซับซ้อนอันคุ้มค่านั้นไม่เคยลดถอยพลังลงไปเลยแม้ภาพยนตร์จะผ่านระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม"[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tokyo Story". TCM. สืบค้นเมื่อ May 30, 2011.
- ↑ Desser, David, บ.ก. (1997). Ozu's Tokyo Story. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 26. ISBN 0-521-48435-9.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editorlink=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor-link=
) (help) - ↑ Dresser.1997.p. 28.
- ↑ Dresser. 1997. p. 69.
- ↑ Dresser. 1997. p. 28.
- ↑ Dresser. 1997. p. 46.
- ↑ Dresser. 1997. p. 20.
- ↑ Dresser.1997. pp. 20-21.
- ↑ Eleftheriotis, Dimitris; Gary Needham (May 2006). Asian cinemas: a reader and guide. University of Hawaii Press. pp. 17–26. ISBN 978-0-8248-3085-4.
- ↑ Dresser. 1997.p. 152.
- ↑ David Bordwell; Kristin Thompson (2003). Film History: An Introduction (2nd ed.). McGraw-Hill. p. 396.
- ↑ David Desser (2005). "The Space of Ambivalence". ใน Jeffrey Geiger (บ.ก.). Film Analysis. Norton. pp. 462–3.
- ↑ Ebert, Roger (November 9, 2003). "Tokyo Story Movie Review & Film Summary (1953)". สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
- ↑ Desser. 1997.p. 4.
- ↑ Desser. 1997. p. 15.
- ↑ Desser. 1997. p. 41.
- ↑ Desser. 1997. p. 157.
- ↑ Dresser. 1997. p. 5.
- ↑ "Tokyo Story (Tôkyô monogatari)". rottentomatoes.com. 3 November 1953. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bordwell, David & Thompson, Kristin (2003). Film History: An Introduction (2nd ed.). McGraw-Hill. ISBN 9780070384293.
- Desser, David, บ.ก. (1997). Ozu's Tokyo Story. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-48435-9.
- Desser, David (2005). "The Space of Ambivalence". ใน Geiger, Jeffrey (บ.ก.). Film Analysis. Norton.
- Eleftheriotis, Dimitris & Needham, Gary (May 2006). Asian Cinemas: A Reader and Guide. University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-3085-4.