ยาซูจิโร โอซุ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ยาซูจิโร โอซุ | |
---|---|
ผู้กำกับ - ยาซูจิโร โอซุ | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1903 |
เสียชีวิต | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963 |
คู่สมรส | none |
ผลงานเด่น | Tokyo Story (1953) |
ยาซูจิโร โอซุ (ญี่ปุ่น: 小津 安二郎; โรมาจิ: Ozu Yasujirō; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1903 - 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963) เป็นผู้กำกับชาวญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สุดคนหนึ่ง เนื้อเรื่องในหนังของเขามักจะเกี่ยวข้องกับการแต่งงาน สังคมชนชั้นกลางในเมือง ความห่างเหินระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท การมองโลกที่แตกต่างระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่-คนชรา
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]โอซุเกิดที่ย่านฟูกางาวะในกรุงโตเกียว เมื่ออายุได้ 10 ปี เขาถูกส่งไปอาศัยอยู่ที่บ้านของพ่อของเขาพร้อมกับแม่และพี่น้องของเขาที่เมืองมัตสึซากะ ซึ่งเป็นเมืองที่เขาใช้ชีวิตช่วงวัยเยาว์เป็นส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาในโรงเรียนกินนอน แต่เขากลับเอาเวลาว่างส่วนใหญ่ไปดูหนังที่โรงหนังแถวบ้านแทนที่จะไปเรียน โอซุไปเป็นอาจารย์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับโตเกียวในปี ค.ศ. 1923 และเข้าทำงานกับบริษัทโชจิกุ
ช่วงแรกของการทำงาน
[แก้]ตอนที่โอซุได้เข้าไปที่โชจิกุช่วงแรกนั้นได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพ หลังจากนั้นอีก 3 ปีก็ได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ และได้กำกับหนังเรื่องแรก ชื่อ Zange no Yaiba ("The Sword of Penitence") ในปี 1927 หลังจากนั้นโอซุก็กำกับหนังต่อมาเรื่อย ๆ ถึง 53 เรื่อง
ช่วงแรกของการกำกับหนังจะเป็นภาพยนตร์สั้นแนวตลกขำขันเสียส่วนใหญ่ แต่หลังจาก ค.ศ.1930 หนังของเขาก็เริ่มมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น หนังเรื่อง His Umarete wa mita keredo ("I Was Born, But…", 1932) เป็นหนังตลกที่แฝงเนื้อหาเอาไว้เกี่ยวกับความคิดอ่านของเด็ก ๆ ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง เป็นหนังเรื่องแรกที่ได้รับเสียงตอบรับทั้งรายได้ และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในขณะนั้น
หนังมีเสียงในฟิล์มเรื่องแรกของโอซุคือเรื่อง Hitori Musuko (Only Son)
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1937 บริษัทภาพยนตร์โชจิกุเริ่มไม่พอใจกับผลงานของโอซุเนื่องจากหนังของเขาทำรายได้ไม่ดีนัก ถึงแม้หนังจะได้รางวัลและรับเสียงตอบรับทางบวกจากนักวิจารณ์มากมาย เมื่อโอซุอายุ 34 ปี เข้าได้ไปเป็นทหารรับใช้องค์จักรพรรดิ และได้ไปประจำการเป็นทหารราบที่ประเทศจีนในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
หลังจากปลดประจำการแล้ว โอซุกลับมากำกับหนังใหม่เรื่อง Toda-ke no Kyodai("Brothers and Sisters of the Toda Family", 1941) ซึ่งเป็นหนังทำเงินและได้เสียงตอบรับในทางบวก เนื้อเรื่องในหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อพ่อกับลูกที่จากกันไปเป็นเวลานาน
ในปี ค.ศ. 1943 โอซุเริ่มเขียนเกี่ยวกับหนังแนวทหารเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อในพม่า แต่เขากลับถูกส่งไปที่สิงคโปร์ ซึ่งช่วงเวลานั้นเอง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูหนังฝั่งอเมริกา ซึ่งในตอนนั้นหนังอเมริกันถูกแบนในญี่ปุ่นหมด จากหนังสือชีวประวัติโอซุของ Donald Richie หนังอเมริกันที่โอซุชอบมากคือเรื่อง ซิติเซน เคน ของ ออร์สัน เวลส์
หลังสงครามโลก
[แก้]หนังของโอซุช่วงหลังสงครามโลกได้รับการตอบรับค่อนข้างดีแทบทุกเรื่อง อาทิ Banshun ("Late Spring", 1949) ,Tokyo Monogatari ("Tokyo Story", 1953) (ซึ่ง Tokyo Story นักวิจารณ์และผู้ที่ชื่นชอบดูหนังหลายคน ยกย่องให้เป็นหนัง masterpiece ของเขา) , และเรื่องต่อ ๆ มา Ochazuke no Aji ("The Flavour of Green Tea Over Rice", 1952), Soshun ("Early Spring", 1956), Higanbana ("Equinox Flower", 1958 ), Ukikusa ("Floating Weeds", 1959) and Akibiyori ("Late Autumn", 1960)
หนังของโอซุส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างครอบครัวญี่ปุ่นสมัยเก่ากับครอบครัวยุคใหม่ และความกดดันในครอบครัว หนังของโอซุในยุคหลังจะเน้นธีมแนวนี้แทบทุกเรื่อง ซึ่งปรากฏได้เด่นชัดในหนังเรื่อง Tokyo Story ของเขา สังเกตได้ว่าในหนังเรื่องนี้จะพูดถึงความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในครอบครัว และความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในเมืองกับชนบท การละทิ้งคนชราเพื่อมาปักหลักสร้างครอบครัวในเมืองหลวง
โอซุชอบใช้นักแสดงหน้าเดิมๆ อย่าง Chishu Ryu เซ็ตซึโกะ ฮาระเรียกได้ว่าหนังของเขามีนักแสดงเดิมอยู่แทบทุกเรื่อง เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของนักแสดงเท่านั้นเอง และมักร่วมงานกับผู้กำกับภาพคู่หูยูฮารุ อัตสึตะ ส่วนเรื่องการเขียนบทนั้นในระยะหลัง เมื่องานของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว โอซุก็ร่วมงานกับ Kogo Noda มาตลอด และแทบไม่เคยร่วมเขียนบทกับคนอื่นเลย
หนังเรื่องสุดท้ายที่เขากำกับคือ Sanma no aji ("An Autumn Afternoon", 1962) ซึ่งเป็นภาพยนตร์สีเพียงไม่กี่เรื่องที่เขาถ่ายทำ และตายจากไปด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ 60 ปี ในวันเกิดของเขาพอดี สุสานของโอซุอยู่ที่วัดเอ็งงากูจิ คามากูระ (Engaku-ji , Kamakura)
สไตล์ของโอซุ
[แก้]หนังของเขามีเทคนิคการถ่ายแนว minimalist ในระยะหลังที่มีเสียงในฟิล์ม โอซุมักจะวางกล้องไว้นิ่งๆ ขนาบกับพื้นเสื่อ (ภาษาภาพยนตร์เรียกว่า Tatami shot) และใช้เลนส์ความยาวมาตรฐานอยู่เสมอ ทิ้งกฎการแพนกล้อง 180 องศา และจะไม่ขยับกล้องไปไหนเลย โอซุปฏิเสธเทคนิคการซูมเข้าออก การเฟดภาพและทรานซิชั่นต่าง ๆ ซึ่งหนังในสมัยนั้นนิยมใช้กันมาก และในระหว่างที่ตัวละครมีบทสนทนาจะถ่ายไปที่ตัวละครตรง ๆ แทนที่จะใช้การถ่ายผ่านไหล่ผู้ฟัง(Over the shoulder shot)
รายชื่อหนังของโอซุ
[แก้]ปัจจุบันนี้มีหนังเพียงแค่ 33 เรื่อง เท่านั้นที่ยังหลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ จากทั้งหมด 53 เรื่อง
- Days of Youth (1929,学生ロマンス 若き日)
- Walk Cheerfully (1930,朗かに歩め)
- I Flunked But... (1930,落第はしたけれど)
- That Night's Wife (1930,その夜の妻)
- The Lady and The Beard (1931)
- Tokyo Chorus (1931,東京の合唱)
- I Was Born, But... (1932,大人の見る繪本 生れてはみたけれど)
- Where Now Are The Dreams Of Youth (1932,靑春の夢いまいづこ)
- Woman of Tokyo (1933,東京の女)
- Dragnet Girl (1933)
- Passing Fancy (1933)
- A Mother Should be Loved (1934) (no complete prints known to exist)
- A Story of Floating Weeds (1934, 浮草物語)
- An Inn in Tokyo (1935)
- The Only Son (1936, ひとり息子)
- What Did the Lady Forget? (1937,淑女は何を忘れたか)
- Brothers and Sisters of the Toda Family (1941,戸田家の兄妹)
- There Was a Father (1942, 父ありき)
- Record of a Tenement Gentleman (1947,長屋紳士録)
- A Hen in the Wind (1948,風の中の牝鶏)
- Late Spring (1949, 晩春)
- The Munakata Sisters (1950, 宗方姉妹)
- Early Summer (1951,麥秋)
- Tea Over Rice (1952,お茶漬けの味)
- Tokyo Story (1953, 東京物語)
- Early Spring (1956, 早春)
- Tokyo Twilight (1957, 東京慕色)
- Equinox Flower (1958, 彼岸花)
- Good Morning (1959, お早よう)
- Floating Weeds (1959, 浮草)
- Late Autumn (1960), 秋日和)
- The End of Summer (1961, 小早川家の秋)
- An Autumn Afternoon (1962, 秋刀魚の味)