ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Depression-era)
ไมแกรนต์มาเตอร์ ภาพถ่ายโดย Dorothea Lange
ความวุ่นวายในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทล่ม

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Great Depression) เป็นภาวะช็อกทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างเห็นได้ชัดหลังจากราคาหุ้นในสหรัฐอเมริการ่วงลงอย่างมาก[1] โรคระบาดทางการเงินเริ่มขึ้นในราวเดือนกันยายนและนำไปสู่การพังทลายของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในวันที่ 24 ตุลาคม (พฤหัสทมิฬ)[2]

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็เป็นระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้เพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงการสร้างภาพแก่นักลงทุนในแต่ละปีหุ้นมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 22 ดัชนีหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจาก 100 ใน ค.ศ. 1926 เป็น 225 ใน ค.ศ. 1929 ทำให้คนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมาก เพราะหวังผลกำไรในระยะเวลาอันสั้นแต่เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเริ่มประสบปัญหาเพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง การกู้ยืมมีมากและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความต้องการในสินค้าเริ่มลดลงจนทำให้ผู้ประกอบการงดลงทุนเพราะเกรงว่าสินค้าที่ผลิตจะจำหน่ายไม่หมด

ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 เป็นต้นมา ราคาหุ้นจึงแกว่งตัวขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรุนแรง นักธุรกิจและธนาคารซึ่งไม่มั่นใจในตลาดหุ้นจึงพยายามเรียกคืนหนี้สินที่ปล่อยกู้ไปราคาหุ้นจึงดิ่งลงเรื่อย ๆ จนตลาดหุ้นที่วอลสตรีท นครนิวยอร์ก ล้มลงเมื่อวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 เหตุการณ์ดังกล่าวต่อมาเรียกว่าอังคารทมิฬ (Black Tuesday) ความเสียหายทางการเงินครั้งนี้ไม่เพียงทำให้เกิดหนี้เสียจำนวนมากจนธนาคารหลายพันแห่งต้องล้มลงและมูลค่าความเสียหายมากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ แต่ยังนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาอั้นสั้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. John A. Garraty, The Great Depression (1986)
  2. Duhigg, Charles (March 23, 2008). "Depression, You Say? Check Those Safety Nets". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2021. สืบค้นเมื่อ December 25, 2021.