Thismia kobensis
หน้าตา
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Thismia kobensis | |
---|---|
ตัวอย่างต้นแบบแรกหลังผ่าแยกในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1992 | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | อันดับกลอย |
วงศ์: | วงศ์หญ้าข้าวก่ำ Griffith, 1844[2][3] |
สกุล: | สกุลพิศวง Suetsugu et al., 2018[1] |
สปีชีส์: | Thismia kobensis |
ชื่อทวินาม | |
Thismia kobensis Suetsugu et al., 2018[1] |
Thismia kobensis เป็นชนิดของพืชดอกจากสกุล Thismia ในวงศ์ Burmanniaceae
พืชชนิดนี้เคยเป็นตัวอย่างชนิดเดียวที่ค้นพบใน ค.ศ. 1992 ที่โคเบะ ประเทศญี่ปุ่น และเก็บรักษาไว้โดยไม่มีการระบุตัวตน แม้ว่าเดิมจะกำหนดให้เป็นสกุล Oxygyne ก็ตาม ในการสำรวจช่วง ค.ศ. 1993 ถึง 1999 ไม่มีตัวอย่างชนิดใหม่ที่พบเลย และที่อยู่อาศัยเดิมของพืชชนิดนี้ถูกทำลายจากการพัฒนาที่ดินใน ค.ศ. 1999 T. kobensis ได้รับการประกาศว่าสูญพันธุ์ใน ค.ศ. 2010 เนื่องจากการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและการทำลายป่า[4] ภายหลังได้รับการระบุเป็นพืชในสกุล Thismia ใน ค.ศ. 2018[1]
ต่อมาใน ค.ศ. 2021 มีผู้ค้นพบพืชชนิดนี้อีกครั้งห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 30 กิโลเมตร โดยตัวอย่างพืชชนิดนี้ 20 ต้นพบในสวนต้นสน[5] จากนั้นมีการตีพิมพ์ข่าวการค้นพบใหม่ใน ค.ศ. 2023[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Suetsugu, Kenji; Nakanishi, Osamu; Kobayashi, Tomiki; Kurosaki, Nobuhira (2018). "Thismia kobensis (Burmanniaceae), a new and presumably extinct species from Hyogo Prefecture, Japan". Phytotaxa. 369 (2): 121. doi:10.11646/phytotaxa.369.2.6.
- ↑ Griffith W. (1844). "On the root parasites referred by authors to Rhizantheae and their allies". Proceedings of the Linnean Society of London 1: 216-221. page 221.
- ↑ "Genus: Thismia Griff". Germplasm Resources Information Network (GRIN). United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Area. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "New plant species discovered in museum is probably extinct". Phys.org. 12 กันยายน 2018.
- ↑ "Japanische »Feen-Laterne« lebt doch noch". Spectrum.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ Suetsugu, Kenji; Yamana, Kohei; Okada, Hidehito (2023). "Rediscovery of the presumably extinct fairy lantern Thismia kobensis (Thismiaceae) in Hyogo Prefecture, Japan, with discussions on its taxonomy, evolutionary history, and conservation". Phytotaxa. 585 (2). doi:10.11646/phytotaxa.585.2.2. S2CID 257227946.