ยอดปรมาจารย์ "ยิปมัน"
ยอดปรมาจารย์ "ยิปมัน" | |
---|---|
กำกับ | หว่อง คาไว |
เขียนบท | หว่อง คาไว |
อำนวยการสร้าง | อู๋ ซีหยวน หว่อง คาไว |
นักแสดงนำ | เหลียง เฉาเหว่ย จาง จื่ออี๋ จาง เจิ้น ซอง เฮเคียว |
กำกับภาพ | Golden harvest |
ตัดต่อ | golden way films |
บริษัทผู้สร้าง | magnum films |
ผู้จัดจำหน่าย | เอ็ม พิคเจอร์ (ไทย) |
วันฉาย | 8 มกราคม ค.ศ. 2013 (จีน) 10 มกราคม ค.ศ. 2013 (ฮ่อง) 7 มีนาคม ค.ศ. 2013 (ไทย) |
ความยาว | 130 นาที |
ประเทศ | ประเทศจีน / ฮ่องกง |
ภาษา | จีนกลาง จีนกวางตุ้ง ญี่ปุ่น |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ยอดปรมาจารย์ "ยิปมัน" (จีน: 一代宗師; กวางตุ้ง: Jat1 Doi6 Zung1 Si1) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของยิปมัน ปรมาจารย์มวยกังฟูแบบหย่งชุน และเป็นอาจารย์ของบรูซ ลี เขียนบทและกำกับโดยหว่อง คาไว
เนื้อเรื่อง
[แก้]ฝ่อซาน ในปี ค.ศ. 1936 ยิปมัน ในวัย 40 ปี ในฐานะตัวแทนของกังฟูแดนใต้ ได้ประลองฝีมือกับสุดยอดกังฟูแดนเหนือ โดย อาจารย์กง ผู้เป็นปรมาจารย์ของ 64 ฝ่ามือสกุลกง ยิปมันสามารถเอาชนะได้ด้วยการหักชิ้นแป้งในมือของอาจารย์กง อาจารย์กงมีบุตรสาวเพียงคนเดียว คือ คุณหนูกง หรือกงเอ๋อ ผู้ซึ่งสืบทอดวิชา 64 ฝ่ามือสกุลกง กงเอ๋อ และยิปมันได้ประลองกันในหอทองคำ ซึ่งเป็นโรงน้ำชามีชื่อของฝ่อซาน ทั้งคู่ไม่อาจรู้แพ้ชนะกันได้
จนกระทั่งสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง อุบัติขึ้น กองทัพญี่ปุ่นได้บุกยึดฝ่อซาน ท่ามกลางความแร้นแค้น บุตรชายหญิงของยิปมันก็ได้ถึงแก่กรรมลง ในระหว่างนี้ หม่าชัน ศิษย์เอกของอาจารย์กง ได้ทรยศด้วยการสังหารอาจารย์กง แล้วไปสวามิภักดิ์ต่อญี่ปุ่น กงเอ๋อสาบานว่าจะแก้แค้นให้ผู้เป็นพ่อ ด้วยการไม่แต่งงาน และฝึกฝนวิชา 64 ฝ่ามือสกุลกง
จนกระทั่งหลังสงคราม ในปี ค.ศ. 1950 ยิปมันได้จากฝ่อซานไปอย่างไม่หวนกลับมาอีก โดยการไปบุกเบิกโรงเรียนสอนหย่งชุนที่ฮ่องกง ที่นั่นยิปมันได้พบกับกงเอ๋ออีกครั้ง ในคืนวันตรุษจีนของปี ค.ศ. 1940 กงเอ๋อได้ประลองกับหม่าชัน และล้างแค้นให้พ่อของตนได้สำเร็จ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ร่างกายที่บาดเจ็บของเธอทำให้เธอมิอาจฝึกกังฟูได้อีก และต้องใช้ฝิ่นบำบัดอาการเจ็บปวด ไม่นานก็เสียชีวิตลง พร้อมกับมอบของที่ระลึกของตนพร้อมกับความในใจให้แก่ยิปมัน
เนื้อเรื่องดำเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1972 ที่ยิปมันเสียชีวิตลง เพราะยิปมัน กังฟูแบบหย่งชุนจึงได้รุ่งเรืองและแพร่หลายไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
นักแสดง
[แก้]- เหลียง เฉาเหว่ย...ยิปมัน
- จาง จื่ออี๋...กงเอ๋อ
- จาง เจิ้น...มือมีดโกน
- ซอง เฮเคียว...จาง หย่งเฉิน (ภริยายิปมัน เสียชีวิตที่ฝ่อซาน)
- หยวน หวูปิง...เฉิน หว่านซุน
- เจ้า เปิ่นชาน...ติง เหลียงชาน
- หวัง ชิงซิง...กง หยูเทียน (อาจารย์กง)
การสร้าง
[แก้]หว่อง คาไวได้เริ่มพัฒนาบทภาพยนตร์และประกาศตัวนักแสดงนำในบทยิปมัน คือ เหลียง เฉาเหว่ย มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 [1] ซึ่งตัวของเหลียง เฉาเหว่ย แม้จะไม่มีทักษะการต่อสู้ในแบบหย่งชุนมาก่อน แต่ก็ได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง จนกระทั่งกระดูกแขนหักทำให้ต้องหยุดพักไปนานถึง 2 เดือน[2]
แต่การเตรียมงานสร้างได้ล่าช้ามานานกว่า 5 ปี ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำในประเทศจีน ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 [3] จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ตัวอย่างแรกของภาพยนตร์ก็ได้ถูกเผยแพร่ออกมาเป็นครั้งแรก นับเป็นเวลานานถึง 8 ปี ด้วยกันตั้งแต่มีการประกาศสร้าง [4]
รางวัล
[แก้]The Grandmasters มีชื่อชิงรางวัลภาพยนตร์เอเชียครั้งที่ 8 รวมทั้งหมด 11 สาขารวมถึงรางวัลสำคัญ เช่น ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำชาย, นักแสดงนำหญิง, บทภาพยนตร์ และถ่ายภาพยอดเยี่ยม เป็นต้น[5] และได้รับไปถึง 7 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม และออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม[6]
และยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกงครั้งที่ 33 ไปอีก 12 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, กำกับภาพยอดเยี่ยม, ตัดต่อยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกายและแต่งหน้ายอดเยี่ยม, ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม และออกแบบเสียงยอดเยี่ยม นับว่าเป็นการได้รางวัลมากที่สุดนับจาก Comrades: Almost a Love Story ที่ได้ไป 9 รางวัล ในปี ค.ศ. 1996[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ยิปมัน เจ้ากังฟูสู้ยิบตา และ ยิปมัน 2 อาจารย์บรู๊ซ ลี ภาพยนตร์กำกับโดย วิลสัน ยิป นำแสดงโดย เจิ้น จื่อตัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Grand Master - Yip Man biopic
- ↑ "โทนี่ เหลียงฝึกมวยหวิงชุน (28/9/2009) มีภาพประกอบพร้อมคลิปข่าว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-13.
- ↑ Opening Ceremony Photos of The Grand Master
- ↑ "ตัวอย่างแรก "ยิปมัน" ฉบับ "เหลียงเฉาเหว่ย", "หว่องกาไว"". ผู้จัดการออนไลน์. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 13 February 2014.
- ↑ "The Grandmaster ชิง 11 รางวัลหนังเอเซียครั้งที่ 8 ส่วนหนังไทยหมดลุ้น". ผู้จัดการออนไลน์. 12 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 13 February 2014.
- ↑ ""หว่องกาไว" รำลึกถึงทีมงานที่จากไปกับ MH370 หลังคว้ารางวัลหนังเอเชีย". ผู้จัดการออนไลน์. 31 March 2014 2014. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Grandmaster คว้า 12 ตุ๊กตาทองฮ่องกง "น้องปอย" สวยโดดเด่นบนพรมแดง". ผู้จัดการออนไลน์. 14 April 2014 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)[ลิงก์เสีย]