เจิน จื่อตัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เจิน จื่อตัน หรือ ดอนนี่ เยน (จีน: 甄子丹 ; อังกฤษ: Donnie Yen) เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 ที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นนักแสดง , ผู้ออกแบบฉากต่อสู้ , กำกับคิวบู๊ , โปรดิวเซอร์ , ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้าง ของเกาะฮ่องกง ผู้นำศิลปะการต่อสู้แบบ Mixed Martial Arts (MMA) สู่โลกภาพยนตร์จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
ในวัยเด็ก เจิน จื่อตัน ร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้จากแม่ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาไท่เก๊กตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เรียนและฝึกฝนวิชาเทควันโดชั้นสูง จากนั้นก็กลับมาเรียนวิชาวูซู ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กับอาจาย์อู๋ปิน สำนักเดียวกันกับหลี่ เหลียนเจี๋ย (เจ็ท ลี) ทั้งสองคนเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเรียนมาด้วยกัน ต่อมาได้ไปร่วมงานกับผู้กำกับหยวน เหอผิง เป็นหนึ่งในทีมงานของ หยวน เหอผิง เริ่มมีชื่อเสียงในการออกแบบการต่อสู้ ควบคุมคิวบู๊ กำกับคิวบู๊ และนักแสดงในเวลาต่อมา เยนเป็นนักแสดงที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาศิลปะการต่อสู้หลายแขนง อาทิเช่น มวยสากล, มวยเตะ, เทควันโด้, คาราเต้, ยูโด เป็นต้น จนได้รับยกย่องว่าเป็น "Martial Arts Star" หรือ ดาราแห่งศิลปะการต่อสู้
เยน ได้รับรางวัลสาขาออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม (Best Action Choreography) จากหลายเวที ได้แก่ รางวัลตุ๊กตาทอง จากเวทีฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด (Hong Kong Film Awards) จำนวน 4 ครั้ง , รางวัลม้าทองคำ จากเวทีไต้หวัน โกลเด้น ฮอร์ซ อวอร์ด (Golden Horse Awards) จำนวน 4 ครั้ง และรางวัลเกี่ยวกับการต่อสู้อื่นๆ อาทิเช่น ฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม (Best Fight) , นักแสดงแอ๊คชั่นหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Action in a Foreign Language Film) จากหลายเวที อาทิเช่น Golden Bauhinia Awards ฯลฯ รวมกันทั้งหมดถึง 17 ครั้ง
ภาพยนตร์
[แก้]เยน ก้าวสู่โลกภาพยนตร์ครั้งแรก ด้วยการเป็นคนอยู่เบื้องหลังในภาพยนตร์เรื่อง Miracle Fighters 2 (1982) แสดงบทนำครั้งแรก คือ ภาพยนตร์เรื่อง Drunken Tai Chi (1984) ของผู้กำกับหยวน เหอผิง ภาพยนตร์เรื่อง Mismatched Couples (1985) หรือชื่อไทย ท่านตี๋มีระดับ ทำให้เยนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วเอเชีย ภาพยนตร์ที่ทำให้เยนเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก คือ Once Upon a Time in China II (1992) หรือชื่อไทย หวง เฟยหง ภาค 2 ตอน ถล่มมารยุทธจักร โดยเยนรับบทเป็นตัวร้ายต้องต่อสู้กับหลี่ เหลียนเจี๋ย (รับบท หวง เฟยหง) ทำให้คนทั่วโลกจดจำฝีมือการต่อสู้ของเขาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะฉากประทะกันของทั้งคู่ ได้รับยกย่องเป็นฉากต่อสู้ที่ดีที่สุดติด 1 ใน 10 ของหนังศิลปะการต่อสู้ ประเภทกังฟู
ภาพยนตร์ที่ทำให้เยน เป็นดาราแอ๊คชั่นที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ Iron Monkey (1993) หรือชื่อไทย มังกรเหล็กตัน เยนรับบทนำแสดง (ในบท หวง ฉีอิง บิดาของ หวง เฟยหง) สร้างออกฉายในปี 1993 ที่ฮ่องกงไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักแต่โด่งดังมากมายทั่วเอเชีย ได้ไปฉายในสหรัฐอเมริกาในปี 2001 กวาดรายได้กว่า 16 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นหนังภาษาต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศ(box office)ในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ต่อมามีภาพยนตร์เรื่อง SPL (Sha Po Lang)- Kill Zone ,2005 หรือชื่อไทย ทีมล่าเฉียดนรก และ Flash Point (2007) หรือชื่อไทย ลุยบ้าเลือด ทั้งสองเรื่องนี้โด่งดังไปทั่วโลก นักวิจารณ์ภาพยนตร์ยกย่องให้เป็น หนังแอ๊คชั่นดีที่สุด 1 ใน 10 ของโลกประจำปี 2005 และ 2007 ต่อมาในปี 2008 เยนได้รับบทอาจารย์หยิปหมั่น ในภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ เรื่อง Ip Man (2008) หรือชื่อไทย ยิปมัน เจ้ากังฟูสู้ยิบตา ทำให้เยนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพลุแตก
ในประเทศไทย เยนมาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Crystal Hunt (1991) หรือ ซือเจ๊ตัดเหลี่ยมเพชร ที่จังหวัดขอนแก่น เยนยังได้แสดงนำและกำกับคิวบู๊ในหนังแนวอีโรติก เรื่อง The Holy Virgin Vs the Evil Dead (1991) หรือชื่อไทย ผีปอบมารจันทรา อีกด้วย
ละครโทรทัศน์
[แก้]เยน ไม่เพียงแต่เป็นดาราในจอใหญ่เท่านั้น แต่เขายังเคยนำแสดงละครจอแก้วที่ฮ่องกงมากมายต่อหลายเรื่อง แต่เรื่องที่คนจดจำเขาได้มากที่สุด คือ งานที่สร้างจากหนังเก่าของ บรู๊ซ ลี เรื่อง Fist of Fury (TV) (1995) โดยออกอากาศทางช่อง ATV มีความยาวถึง 20 ตอน โดยเนื้อหาในหนังชุดเรื่องนี้ว่าด้วย เรื่องราวความขัดแย้งของชาวจีนกับชาวญี่ปุ่น โดยเยน รับบทเป็น เฉินเจิ้น พระเอกของเรื่องที่ต้องต่อสู้กับคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคนฆ่าอาจารย์ ฮั่ว หยวนเจี๋ย โดยต่อสู้ด้วยวิชากังฟู เพื่อล้างแค้นให้กับอาจารย์ของเขา คำวิจารณ์ในหนังชุดนี้มีทั้งบวกและลบ นอกจากเยนจะรับบทนำแล้ว เขายังเป็นผู้ออกแบบคิวบู๊ในหนังชุดนี้อีกด้วย
ผู้กำกับภาพยนตร์
[แก้]เยน มีผลงานกำกับภาพยนตร์ครั้งแรก คือ Legend of the Wolf (1997) หรือชื่อไทย ตำนานเจ้าหมาป่า โดยเยน รับหน้าที่ทั้งแสดงนำ, เขียนบท, อำนวยการสร้าง, กำกับฉากต่อสู้ และกำกับภาพยนตร์ โดยเรื่องนี้ได้รับการขนานนามว่า เป็นหนังแอ๊คชั่นทุนต่ำ ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของเกาะฮ่องกง ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติมากมาย โดยมีดาราสาวอย่าง หลี่ ยั่วถง ร่วมแสดงด้วย
จากนั้นอีกปีถัดมา เยนก็กำกับภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นระทึกขวัญ เรื่อง Ballistic Kiss (1998) โดยเขารับหน้าที่ทั้งแสดงนำ , อำนวยการสร้าง , กำกับคิวบู๊ และกำกับภาพยนตร์ เรื่องราวของมือปืนที่ไปหลงรักตำรวจสาว หนังเรื่องนี้ได้ฉายในเทศกาลหนังต่างๆทั่วโลก เยนยังได้รางวัล "ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่" ในเทศกาลภาพยนตร์ของฮ่องกง(Hong Kong Film Awards - ฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด) ต่อมาเยนได้กำกับภาพยนตร์ เรื่อง Shanghai Affairs (1998) หรือชื่อไทย หมัดพิฆาตมังกรโหด โดยเยนรับหน้าที่กำกับ, กำกับฉากต่อสู้ และนำแสดงเอง เป็นผลงานรีเมคหนังเก่าของบรูซ ลี เรื่อง The Big Boss (1971)
จากนั้น เยนก็มารับหน้าที่กำกับภาพยนตร์อีกครั้ง ในเรื่อง Protégé de la Rose Noire (2004) นำแสดงโดย สองสาวเกิร์ลกรู๊ปวง Twins และ เจิ้ง อี้เจี้ยน
ผู้กำกับฉากต่อสู้
[แก้]เยน เริ่มมีผลงานกำกับฉากต่อสู้ในต่างประเทศครั้งแรก ในหนังโทรทัศน์ (Pilot) ของประเทศเยอรมัน เรื่อง Codename : The Puma (1999 - 2000) หรือ Der Puma - Kämpfer mit Herz ภายหลังได้ทำมาในแบบซีรีส์ในช่วงปี 2000 เยนยังรับหน้าที่กำกับบางตอนให้กับซีรีส์ชุดนี้ และภาพยนตร์เรื่อง Shurayuki-Hime (หรืออีกชื่อ The Princess Blade ,2001) หรือชื่อไทย ดาบอหังการ ปราณีไม่มีเด็ดขาด หนังจากประเทศญี่ปุ่น
เยน มีผลงานกำกับฉากต่อสู้ในฮอลลีวูดเรื่องแรก คือ Highlander : Endgame (2000) หรือชื่อไทย 2 นักรบล่าข้ามศตวรรษ เรื่องอื่นๆ อาทิเช่น Blade II (2002) หรือชื่อไทย เบลด 2 นักล่าพันธุ์อมตะ โดยเยนเป็นผู้ประสานงานฉากต่อสู้ - กำกับคิวบู๊ และรับบทแสดงเล็กๆ ในหนังอีกด้วย
ในปี 2003 เยนรับบทตัวร้ายในหนังภาคต่อของเฉินหลง และโอเว่น วิลสัน เรื่อง Shanghai Knights 2 (2003) หรือชื่อไทย คู่ใหญ่ ฟัดทลายโลก และออกแบบฉากต่อสู้ในหนังแวมไพร์ของเฉินหลง ซึ่งอำนวยการสร้างและร่วมแสดง ในเรื่อง The Twins Effect (2003) หรือชื่อไทย คู่พายุฟัด นำแสดงโดย สองสาววงทวินส์ และเจิ้ง อี้เจี้ยน เยนได้รับรางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด สาขาออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยมในเรื่องนี้ อีกด้วย
ในปี 2004 เยนได้ร่วมออกแบบฉากต่อสู้และร่วมแสดงนำในหนังภาคต่อเรื่อง The Twins Effect 2 (2004) หรือชื่อไทย คู่ใหญ่พายุฟัด 2 มีฉากปะทะกันระหว่างเยนและเฉินหลง จนได้รับยกย่องว่าเป็นฉากต่อสู้ที่ดีที่สุดของโลกในปีนั้น นอกจากนี้ เยนยังได้ออกแบบฉากต่อสู้ในไตเติลของเกม Oni-musha III บนเครื่อง เพลย์สเตชัน 2
ในปี 2006 เยน เป็นผู้ประสานงานฉากต่อสู้ - กำกับคิวบู้ ในหนังฮอลลีวู้ดอีกครั้ง เรื่องราวของสายลับเด็ก เรื่อง Stormbreaker (2006) หรือชื่อไทย จารชนดับแผนล้างโลก สร้างจากนวนิยายของ แอนโธนี่ โฮโนวิตส์
ปัจจุบัน
[แก้]เยน เริ่มมีชื่อเสียงทางการแสดงอย่างโดดเด่นเป็นอย่างมากนับแต่ปี 2005 เป็นต้นมา เยนได้แสดงนำในภาพยนตร์กำลังภายใน เรื่อง Seven Swords (2005) หรือชื่อไทย เจ็ดกระบี่เทวดา ผลงานกำกับของ ฉีเคอะ ซึ่งประสบความล้มเหลวทั้งรายได้และคำวิจารณ์จากทั่วโลก แต่ในปีเดียวกันนี้ เยน ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับภาพยนตร์แอ็คชั่น - อาชญากรรม เรื่อง SPL (Sha Po Lang)- Kill Zone ,2005 หรือชื่อไทย ทีมล่าเฉียดนรก เรื่องราวสงครามระหว่างตำรวจกับเจ้าพ่อมาเฟียผู้หนึ่ง นำแสดงร่วมกับ หง จินเป่า , เยิ่น ต๊ะหัว และอู๋จิง โดยสามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนังทำเงินในฮ่องกงถึง 3 สัปดาห์ซ้อน เยนยังได้รางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด สาขาออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม อีกด้วย
ในปี 2006 เยนได้ร่วมงานกับวิลสัน ยิป ในหนังแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ 2 เรื่อง คือ Dragon Tiger Gate (2006) หรือชื่อไทย ปะฉะดะ คนเหนือยุทธ โดยสร้างจากหนังสือการ์ตูนจีนของฮ่องกง ร่วมแสดงกับเซียะ ถิงฟง , หยู เหวินเล่อ และหนังแอ๊คชั่น - อาชญากรรม เรื่อง Flash Point (2007) หรือชื่อไทย ลุยบ้าเลือด ร่วมแสดงกับกู่ เทียนเล่อ , หลี่ เหลียงเหว่ย , คอลลิน โชว , ฟ่าน ปิงปิง และเรื่องนี้ เยน ยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด สาขาออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม อีกด้วย
ในปี 2008 เยนกลายเป็นดาราแอ็คชั่นที่โด่งดังมากที่สุดด้วยผลงานทำเงินมหาศาลถึง 2 เรื่องในปีเดียว ในภาพยนตร์กำลังภายใน - แฟนตาซี - สยองขวัญ เรื่อง Painted Skin (2008) หรือชื่อไทย พลิกตำนาน โปเยโปโลเย งานรีเมคของผู้กำกับ คิงฮู ในชื่อเดียวกัน โดยทำเงินในจีนแผ่นดินใหญ่กว่า 230 ล้านหยวน และภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ เรื่อง Ip Man (2008) หรือชื่อไทย ยิปมัน เจ้ากังฟูสู้ยิบตา หนังแอ็คชั่น - กังฟู โดยอิงจากชีวิตจริงของอาจารย์ ยิปมัน ครูมวยหย่งชุนชื่อดังในตำนาน ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายไปทั่วโลก ทำเงินในฮ่องกง ทั่วเอเชีย และจีนแผ่นดินใหญ่อย่างมหาศาล[1] ล่าสุดในปี 2013 เยนได้รับรางวัลตุ๊กตาทองฮ่องกง ฟิล์ม อวอร์ด สาขาออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยมอีกครั้ง จากภาพยนตร์เรื่อง Kung Fu Jungle ,2013 (หรืออีกชื่อ Kung Fu Killer) หรือชื่อไทย คนเดือดหมัดดิบ
ปัจจุบัน เยน มีผลงานทั้งในจีนฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ และฮอลลีวูด มีบริษัทผลิตภาพยนตร์เป็นของตัวเอง ในนาม A Donnie Yen Film กลายเป็นดาราแอ๊คชั่นที่โด่งดังไปทั่วโลก และดังที่สุดในทศวรรษนี้
ผลงานที่ผ่านมา
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]ปี | เรื่อง | รับบท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1982 | Miracle Fighters 2 | ||
1984 | Drunken Tai Chi | ||
1985 | The Mismatched Couple : ท่านตี๋มีระดับ | ||
1988 | Tiger Cage : แสบเผาขน | ||
1989 | In the Line of Duty 4 : เชือด เชือด เชือด | ||
1990 | Tiger Cage 2 : พยัคฆ์หักเขี้ยวพยัคฆ์ | ||
1991 | Crystal Hunt : ซือเจ๊ตัดเหลี่ยมเพชร | ||
The Holy Virgin Vs the Evil Dead : ผีปอบมารจันทรา | |||
1992 | Once Upon a Time in China II : หวงเฟยหง 2 ถล่มมารยุทธจักร | นายพลหลาน | |
Cheetah on Fire | |||
Dragon Inn : เดชคัมภีร์แดนพยัคฆ์ | เฉา กงกง | ||
1993 | Iron Monkey มังกรเหล็กตัน | ||
Butterfly and Sword : กระบี่ผีเสื้อบารมีสะท้านภพ | ยิป | ||
Heroes Among Heroes : ประกาศิตยาจกซู (หรือ หวงเฟยหง จอมยุทธสะท้านภพ) | |||
1994 | Circus Kids : เหวี่ยงใหญ่ให้ติดดิน | ||
Wing Chun หย่งชุน หมัดสั้นสะท้านบู๊ลิ้ม / พยัคฆ์สาวหมัดหย่งชุน | เหลียงปอกเชา | ออกแบบคิวบู๊ | |
Saint of Gamblers : คนตัดเซียน 3 | |||
1996 | Iron Monkey 2 | ||
Satan Returns : เฉียดนรก 6 อาถรรพ์ | |||
1997 | The Black Rose | ||
Legend of the Wolf : ตำนานเจ้าหมาป่า | |||
1998 | Ballistic Kiss | ||
Shanghai Affairs : หมัดพิฆาตมังกรโหด | |||
City of Darkness | |||
1999 | Black City | ||
2000 | Highlander: Endgame : 2 นักรบล่าข้ามศตวรรษ | รับเชิญ - ออกแบบคิวบู๊ | |
2002 | Blade ll : นักล่าพันธุ์อมตะ | รับเชิญ - ออกแบบคิวบู๊ | |
Hero : ฮีโร่ | เวหา | ||
2003 | Shanghai Knights : คู่ใหญ่ฟัดทลายโลก | ||
2004 | Love on the Rocks : รักซื่อๆ ของนายเซ่อซ่า | (รับเชิญ) | |
The Twins Effect II : คู่ใหญ่พายุฟัด 2 | หวู่ชาน | ||
2005 | Seven Swords : 7 กระบี่เทวดา | ฉู่ | |
SPL : ทีมล่าเฉียดนรก | ร่วมกำกับคิวบู๊ | ||
2006 | Dragon Tiger Gate : ปะฉะดะ คนเหนือยุทธ | ดราก้อน วู | ร่วมอำนวยการสร้าง - คิวบู๊ |
2007 | Flash Point : ลุยบ้าเลือด | ร่วมโปรดิวเซอร์ - คิวบู๊ | |
2008 | An Empress and the Warriors : จอมใจบัลลังก์เลือด | นายทหารผู้ภักดี | |
Painted Skin : พลิกตำนาน โปเยโปโลเย | ปั่งหยง | ||
Ip Man : ยิปมัน เจ้ากังฟูสู้ยิบตา | อาจารย์ยิปมัน | ||
2009 | The Founding of a Republic : มังกรสร้างชาติ | ||
Bodyguards and Assassins : 5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น | เสิ่นฉงหยาง | ||
2010 | Ip Man 2 : ยิปมัน 2 อาจารย์บรู๊ซ ลี | อาจารย์ยิปมัน | |
14 Blades : 8 ดาบทรมาน 6 ดาบสังหาร | ชิงหลง | ||
Legend of the Fist: The Return of Chen Zhen : เฉินเจิน หน้ากากฮีโร่ | เฉินเจิน | ||
2011 | The Lost Bladesman : สามก๊ก เทพเจ้ากวนอู | กวนอู | |
All's Well, Ends Well 2011 : ยิปมัน แอ๊บแมน | |||
Wuxia : นักฆ่าเทวดาแขนเดียว | หลิวจินซี | ||
2012 | All's Well, Ends Well 2012 : ยิปมัน แอ๊บแมน | ||
2013 | Together | ||
Special ID | |||
2014 | Golden Chicken 3 | ||
The Monkey King :ไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร | ซุนหงอคง | ||
Iceman : ล่าทะลุศตวรรษ | เหอหยิง | ||
Kung Fu Jungle : คนเดือดหมัดดิบ | |||
2015 | An Inspector Calls | ||
Ip Man 3 | อาจารย์ยิปมัน | ||
2016 | Crouching Tiger, Hidden Dragon II-The Green Destiny พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก 2 ชะตาเขียว | เมิ่งซือเจ้า (หมาป่าเงียบ) | |
โรกวัน: ตำนานสตาร์วอร์ส | เชอร์รุท อิมเว | ||
2017 | XXx: Return of Xander Cage : ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ 3 ทลายแผนยึดโลก | เซียง | |
Chasing the Dragon | |||
Gong Shou Dao | |||
2018 | Big Brother | ||
Iceman: The Time Traveller : ไอซ์แมน 2 | เหอหยิง | ||
2019 | Ip Man 4: The Finale : ยิปมัน เจ้ากังฟูสู้ยิปตา | อาจารย์ยิปมัน | ผู้อำนวยการสร้าง |
2020 | Enter the Fat Dragon | ผู้อำนวยการสร้าง | |
Mulan : มู่หลาน | แม่ทัพถัง | ||
Raging Fire | |||
TBA | Sleeping Dogs |
ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
[แก้]- The Last Conflict (1987)
- Mo Min Kap Sin Fung (1988)
- Flying Tiger SWAT Team (1989)
- A New Life (1991)
- Crime File (1991)
- The Kung Fu Master (1994)
- Fist of Fury เฉินเจิน มังกรผงาดฟ้า (1995)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hong Kong Cinema Today เรื่อง > อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.