ข้ามไปเนื้อหา

ซุคฮอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sukhoi)
ซุคฮอย คอมพานี
ประเภทบริษัทหุ้นส่วน
อุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกัน
ก่อตั้งเป็นโอเคบี-51 ในปีพ.ศ. 2482
ผู้ก่อตั้งPavel Sukhoi Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่มอสโก ประเทศรัสเซีย
บุคลากรหลักพาเวล ซุคฮอยเป็นผู้ก่อตั้ง
ผลิตภัณฑ์อากาศยานทางการทหาร
อากาศยานพลเรือน
รายได้108,016,999,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2559) Edit this on Wikidata
รายได้จากการดำเนินงาน
5,095,317,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2559) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
2,352,957,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2559) Edit this on Wikidata
สินทรัพย์412,517,107,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2559) Edit this on Wikidata
พนักงาน
26,000 Edit this on Wikidata
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
Sukhoi Superjet 100 (Campeche, Mexico) 2015

ซุคฮอย (อังกฤษ: Sukhoi, รัสเซีย: Сухой) เป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของรัสเซียมีที่มีชื่อเสียงจากเครื่องบินขับไล่ มันถูกก่อตั้งโดยพาเวล ซุคฮอยเมื่อปีพ.ศ. 2482 โดยใช้ชื่อว่าสำนักงานออกแบบซุคฮอย (Sukhoi Design Bureau, OKB-51 ใช้ชื่อย่อว่าซู) มันได้กลายมาเป็นบริษัทหุ้นประกอบด้วยสำนักงานออกแบบซุคฮอยในมอสโคว์ สมาคมผลิตการบินโนโวซิเบิร์สกหรือเอ็นเอพีโอ (Novosibirsk Aviation Production Association, NAPO) สมาคมผลิตการบินคอมโซมอล์สกหรือเคเอ็นเอเอพีโอ (Komsomolsk-on-Amur Aircraft Production Association, KnAAPO) และอิรคุท สำนักงานใหญ่ของซุคฮอยตั้งอยู่ในมอสโคว์ ฟินเมกคานิก้าเป็นเจ้าของ 25% ของซุคฮอย[1] รัฐบาลรัสเซียกำลังวางแผนที่จะรวมซุคฮอยเข้ากับมิโคยัน อิลยูชิน อิรคุท ตูโปเลฟ และยาโกเลฟเพื่อสร้างบริษัทใหม่ชื่อยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ บิลดิง คอร์เปอร์เรชั่น[2] ในปัจจุบันซู-24 ซู-25 ซู-27 ซู-30 ซู-34 และซู-33 เข้าประจำการในกองทัพเรือและกองทัพเรือรัสเซีย เครื่องบินโจมตีซุคฮอยหรือเครื่องบินขับไล่ถูกใช้โดยอาร์มาเนีย อินเดีย จีน โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลวะเกีย ฮังการี จอร์เจีย เยอรมนีตะวันออก ซีเรีย แอลจีเรีย เกาหลีเหนือ เวียดนาม มาเลเซีย อัฟกานิสถาน เยเมน อียิปต์ ลิเบีย อิหร่าน แองโกลา เอธิโอเปีย เปรู และอินโดนีเซีย เวเนซุเอลาได้ทำสัญญาในการซื้อซู-30 สามสิบลำในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เครื่องบินของซุคฮอยอีกกว่า 2,000 ลำถูกใช้โดยประเทศอื่นๆ ในการส่งออก ด้วยซู-26 ซู-29 และซู-31 ทำให้มันเป็นบริษัทผู้ผลิตที่มีเครื่องบินผาดโผนในแนวหน้า

สำนักงานออกแบบซุคฮอย

ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2549 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้หมายโทษของซุคฮอยในการกล่าวอ้างที่ว่ามันได้ส่งเสริมให้อิหร่านเข้าแสดงความรุนแรงต่อสหรัฐฯ ซุคฮอยจึงถูกห้ามให้ทำธุรกิจกับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Finmeccanica Will Buy 25% of Sukhoi Civil Aircraft." Bloomberg.com. February 21, 2006.
  2. "Russian Aircraft Industry Seeks Revival Through Merger." เดอะนิวยอร์กไทมส์. 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549.
  3. "Russia slams U.S. sanctions on Russian arms companies". People's Daily Online. 2006-08-05.