สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได
สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ไรอัน จอห์นสัน |
เขียนบท | ไรอัน จอห์นสัน |
สร้างจาก | ตัวละคร โดย จอร์จ ลูคัส |
อำนวยการสร้าง | |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | สตีฟ เยดลิน |
ตัดต่อ | บ็อบ ดัคเซ่ |
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์[1] |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | วอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส |
วันฉาย | |
ความยาว | 152 นาที[2] |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 200–317 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4] |
ทำเงิน | 1,333 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
ก่อนหน้านี้ | เอพพิโซด 7: อุบัติการณ์แห่งพลัง |
ต่อจากนี้ | เอพพิโซด 9:กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ |
สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได (อังกฤษ: Star Wars: The Last Jedi) หรือ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 8: ปัจฉิมบทแห่งเจได (Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi[6]) เป็นภาพยนตร์มหากาพย์เทพนิยายอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยไรอัน จอห์นสัน เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในไตรภาคต่อของภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง (พ.ศ. 2558) ผลิตโดยบริษัทลูคัสฟิล์ม จัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส นำแสดงโดย มาร์ก แฮมิลล์, แคร์รี ฟิชเชอร์, อดัม ไดรฟ์เวอร์, เดซี ริดลีย์, จอห์น โบเยกา, ออสการ์ ไอแซ็ค, ลูพีตา ญองอ, ดอมห์แนล กลีสัน, แอนโธนี แดเนียลส์, เกวนโดลีน คริสตี้, แอนดี เซอร์คิส, เบนีเซียว เดล โตโร, ลอร่า เดิร์น และเคลลี่ แมรี่ แทรน และเป็นผลงานการแสดงครั้งสุดท้ายของแคร์รี่ ฟิชเชอร์ ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยภาพยนตร์ได้ลงคำอุทิศให้ เนื้อเรื่องเล่าเรื่องของเรย์ที่ไปฝึกวิชาเจไดกับลุค สกายวอล์คเกอร์ เพื่อช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านที่ยังต่อสู้กับไคโล เร็น และปฐมภาคี
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการประกาศการผลิตตั้งแต่ตอนที่บริษัทดิสนีย์เข้าซื้อบริษัทลูคัสฟิล์มเมื่อ พ.ศ. 2555 อำนวยการสร้างโดยแคธลีน เคนเนดี ซึ่งเป็นประธานบริษัทลูคัสฟิล์ม และ แรม เบิร์กแมน ร่วมกับเจ เจ แอบรัมส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ อุบัติการณ์แห่งพลัง ในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร นักประพันธ์เพลงจอห์น วิลเลียมส์ กลับมาทำหน้าที่ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์อีกครั้ง หลังจากเคยทำเพลงประกอบให้ภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ภาคหลักมาแล้วทั้ง 7 ภาค การถ่ายทำเริ่มต้นตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นช่วงการเตรียมการถ่ายทำ โดยเป็นการถ่ายทำฉากที่ต้องถ่ายที่เกาะสเกลลิกไมเคิล ประเทศไอร์แลนด์ ส่วนการถ่ายทำหลักเริ่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่ไพน์วูดสตูดิโอ ประเทศอังกฤษ และสิ้นสุดลงเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ส่วนขั้นตอนหลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2560[7]
ปัจฉิมบทแห่งเจได ออกฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่ลอสแอนเจลิสเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และออกฉายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทำรายได้กว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และได้รับเสียงวิจารณ์ในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ นักวิจารณ์ชื่นชมเนื้อเรื่อง นักแสดง ฉากแอกชัน เทคนิคภาพพิเศษ ดนตรีประกอบ และน้ำหนักทางอารมณ์ของภาพยนตร์ บ้างก็ถือว่าเป็นภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ภาคที่ดีที่สุด นับตั้งแต่ จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ[8][9][10][11][12]
ภาคต่อคือ สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ ออกฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562[13]
เนื้อเรื่อง
[แก้]นักรบฝ่ายต่อต้านนำโดยนายพลเลอา ออร์กานา หลบหนีจากฐานทัพขณะที่ทัพยานปฐมภาคีมาถึง โพ ดาเมรอน นำกองยานเข้าโจมตีตอบโต้จนได้รับชัยชนะ เปิดโอกาสให้เหล่ากองยานฝ่ายต่อต้านหลบหนีเข้าไฮเปอร์สเปซได้แต่ก็สูญเสียผู้คนและยานอวกาศไปมาก แม้กระนั้นปฐมภาคีก็ยังติดตามมาได้ผ่านอุปกรณ์ติดตามผ่านไฮเปอร์สเปซ ไคโล เรนได้นำกองยานทำลายยานรบของฝ่ายต่อต้าน แต่ยังลังเลที่จะเหนี่ยวไกปืนเพื่อทำลายยานฝ่ายต่อต้านเมื่อรับรู้ได้โดยพลังว่าเลอาแม่ของตนอยู่บนยานนั้น ยานรบไทไฟเตอร์ลำอื่นได้ทำลายหอบังคับการของยานฝ่ายต่อต้านทำให้ผู้นำหลายคนเสียชีวิตและเลอาบาดเจ็บหนัก รองผู้การโฮลโดจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่บังคับบัญชาแทน โพ ฟินน์ บีบีเอท และช่างเครื่องโรส ทิโค ไม่เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์แบบตั้งรับของโฮลโด จึงวางแผนกันเองอย่างลับ ๆ เพื่อลอบปิดการทำงานของเครื่องติดตามบนยานของปฐมภาคี
ระหว่างนั้นเรย์เดินทางพร้อมกับชิวแบคคาและอาร์ทูดีทูด้วยยาน มิลเลนเนียม ฟาลคอน ไปถึงดาวเคราะห์อัคโตอันห่างไกล เพื่อชักชวนลุค สกายวอล์คเกอร์ ให้ร่วมต่อสู้ไปกับฝ่ายต่อต้าน ลุคปฏิเสธเนื่องจากปักใจเชื่อว่าเจไดเป็นความล้มเหลว แม้จะทราบข่าวการเสียชีวิตของฮัน โซโลแล้วก็ยังคงปฏิเสธ ระหว่างนั้นเองลุคไม่รู้เลยว่าเรย์กับไคโลได้แอบติดต่อกันผ่านทางพลัง ในที่สุดด้วยความช่วยเหลือของอาร์ทูดีทู ลุคก็ได้ตัดสินใจจะสอนบทเรียนเรื่องของพลังให้กับเรย์ ลุคกับไคโลเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้ไคโลหันเข้าสู่ด้านมืดแตกต่างกัน โดยลุคเล่าว่าเขาเคยเผลอคิดจะฆ่าไคโลเมื่อสัมผัสได้ว่าผู้นำสูงสุดสโน้คได้ครอบงำจิตใจเขา ทำให้ไคโลทำลายนิกายเจไดใหม่ของลุค เรย์เชื่อว่าไคโลยังมีด้านดีหลงเหลือและยังมีโอกาสกลับใจได้ จึงเดินทางออกจากอัคโตไปเพื่อเผชิญหน้ากับไคโลโดยปราศจากลุค ลุคเตรียมตัวเผาคลังความรู้แห่งเจไดบนดาวแต่ลังเลไปชั่วครู่ ก่อนที่จะได้พบกับวิญญาณพลังของโยดา ผู้ช่วยลุคทำลายคลังความรู้และชี้แนะว่าลุคควรจะเรียนรู้จากความผิดพลาด
โฮลโดเปิดเผยว่าแผนของเธอคือแอบลำเลียงเหล่านักรบฝ่ายต่อต้านขึ้นยานอพยพลำเล็กและหลบหนี โพเห็นว่าเป็นการกระทำที่เสี่ยงและขี้ขลาดจึงก่อกบฎขึ้นบนยาน ฟินน์ โรส และบีบีเอท เดินทางไปยังแคนโต้ไบต์เพื่อขอความช่วยเหลือจากนักถอดรหัส และได้พบกับดีเจซึ่งอ้างว่าตนสามารถปลดรหัสและหยุดการทำงานของเครื่องติดตามได้ พวกเขาแทรกซึมเข้าไปบนยานของสโน้ค แต่ถูกกัปตันฟาสม่าจับตัวได้ ในขณะที่บีบีเอทหลบหนีไปได้ ขณะเดียวกันเรย์ก็มาถึงยาน ไคโลพาเธอไปพบสโน้ค สโน้คเปิดเผยว่าเขาเป็นผู้เชื่อมกระแสจิตให้เรย์กับไคโล เป็นแผนเพื่อทำลายลุค แม้สโน้คจะออกคำสั่งให้ไคโลฆ่าเรย์ แต่เรย์กลับฆ่าสโน้ค ทั้งสองร่วมกันต่อสู้กับทหารองครักษ์ของสโน้คจนได้รับชัยชนะ ไคโลชักชวนให้เรย์เข้าร่วมปกครองกาแลกซีแต่เรย์ปฏิเสธ ทั้งสองใช้พลังพยายามแย่งชิงกระบี่แสงของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ จนสุดท้ายกระบี่แสงเล่มนั้นก็แตกออกเป็นสอง
เลอาที่เพิ่งฟื้นตัวขึ้นมาใช้ปืนแสงสตันหยุดโพไว้ ทำให้การอพยพดำเนินต่อไปได้ โฮลโดอาสาอยู่กับยานเพื่อล่อหลอกกองยานของสโน้ค เปิดโอกาสให้ยานลำอื่นสามารถหลบหนีไปยังฐานทัพเก่าของพันธมิตรกบฎบนดาวเคราะห์เครตได้ ทว่าดีเจได้เปิดโปงแผนการของฝ่ายต่อต้านให้ปฐมภาคีทราบ ยานหลบหนีจึงตกเป็นเป้าโจมตีและได้รับความเสียหายอย่างมาก โฮลโดเสียสละตัวเองโดยใช้ยานขับเข้าความเร็วแสงตรงเข้าชนกองยานของปฐมภาคีจนเสียหายหนัก เรย์หลบหนีมาได้ท่ามกลางความโกลาหล ไคโลสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ ฟินน์ปราบกัปตันฟาสมาลงได้ เขากับโรสได้รับความช่วยเหลือจากบีบีเอทและหลบหนีจากยานมาสมทบกับฝ่ายต่อต้านบนเครตได้สำเร็จ เมื่อกองทัพปฐมภาคีมาถึง โพ ฟินน์ และโรส ร่วมกันนำทหารฝ่ายต่อต้านขับยานสปีดเดอร์เก่าบนฐานทัพออกต่อสู้ เรย์ขับยาน มิลเลนเนียม ฟาลคอน เข้าหลอกล่อเหล่ายานรบไทไฟเตอร์ออกไปจากการรบ ฟินน์พยายามสละชีพเพื่อทำลายปืนใหญ่แต่โรสเข้ามาช่วยเหลือเอาไว้จนทำลายปืนไม่สำเร็จ และยิงทำลายประตูใหญ่ของป้อมปราการฝ่ายต่อต้านลง
ลุคปรากฏตัวขึ้นและเผชิญหน้ากับไคโลเพียงลำพังเพื่อให้ฝ่ายต่อต้านที่ยังเหลือรอดสามารถหลบหนีได้ ไคโลออกคำสั่งให้กองทัพปฐมภาคีกระหน่ำยิงอาวุธไปยังลุคแต่ก็ไร้ผล เขาจึงลงไปต่อสู้ด้วยตัวเอง ไคโลฟาดฟันกระบี่แสงโดนตัวลุคอย่างจังถึงสองครั้งแต่ก็ไร้ผล จนค้นพบว่าลุคส่งร่างพลังมาเท่านั้น ลุคบอกไคโลว่าตัวเขาเองไม่ใช่เจไดคนสุดท้าย จังหวะเดียวกันกับที่เรย์ใช้พลังยกก้อนหินที่ถล่มขวางทางออกจากถ้ำ เปิดเป็นทางให้นักรบฝ่ายต่อต้านหลบหนีไปกับยาน มิลเลนเนียม ฟาลคอน ส่วนที่อัคโต ลุคที่หมดสิ้นแรงจากการใช้พลังส่งร่างก็ได้เสียชีวิตอย่างสงบพร้อมกับเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพลัง เลอาบอกทุกคนว่าเหล่ากบฎมีทุกสิ่งเพียงพอต่อการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งอยู่แล้ว ที่แคนโต้ไบต์ เด็กคนหนึ่งที่เคยช่วยเหลือฟินน์กับโรสให้หลบหนีไปได้ ใช้พลังหยิบไม้กวาดขึ้นมาและมองไปยังอวกาศกว้างไกลอย่างมีความหวัง
นักแสดง
[แก้]- มาร์ก แฮมิลล์ เป็น ลุค สกายวอล์คเกอร์ ปรมาจารย์เจไดผู้ทรงพลัง ซึ่งได้ปลีกตัวเองมาหลบซ่อนตัวอยู่บนดาวเคราะห์อัคโต เป็นบุตรของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ และแพดเม่ อมิดาลา เป็นอาจารย์ของเรย์
- แคร์รี ฟิชเชอร์ เป็น พลเอกเลอา ออร์กานา ผู้นำฝ่ายต่อต้าน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอได้ร่วมแสดง ก่อนที่จะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2016[14] โดยการถ่ายทำในส่วนของเธอได้เสร็จสิ้นลงก่อนที่เธอจะเสียชีวิต[15][16]
- อดัม ไดรเวอร์ เป็น ไคโล เร็น ผู้บังคับการกองทัพปฐมภาคี และสมาชิกกลุ่มอัศวินแห่งเร็น
- เดซี ริดลีย์ เป็น เรย์ คนเก็บของเก่าบนดาวแจคคู ที่ได้ฝึกเจไดรวมทั้งเป็นศิษย์คนสุดท้ายของลุค
- จอห์น โบเยกา เป็น ฟินน์ อดีตสตอร์มทรูปเปอร์แห่งกองทัพปฐมภาคี ที่แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายต่อต้าน มีความชำนาญทางด้านการใช้อาวุธระยะประชิด
- ออสการ์ ไอแซ็ค เป็น โพ ดาเมรอน นักบินรบชั้นสุดยอดของฝ่ายต่อต้าน[17]
- เคลลี่ แมรี แทรน เป็น โรส ทิโค่ คนงานฝ่ายซ่อมเครื่องของฝ่ายต่อต้าน
- ลูพีตา ญองอ เป็น มาส คานาต้า
- แอนดี เซอร์คิส เป็น ผู้นำสูงสุดสโน๊ค ประมุขแห่งกองทัพปฐมภาคี และอาจารย์ของไคโล ภายหลังโดนฆ่าตาย
- ดอมห์แนล กลีสัน เป็น นายพลฮักซ์ ผู้ควบคุมฐานปฏิบัติการสตาร์คิลเลอร์ของกองทัพปฐมภาคี
- เกวนโดลีน คริสตี้ เป็น กัปตันฟาสมา[18] สมาชิกระดับสูงของกองทัพปฐมภาคี
- แอนโธนี แดเนียลส์ เป็น ซีทรีพีโอ
- ปีเตอร์ เมย์ฮิว เป็น ชิวแบคคา
- จิมมี่ วี เป็น อาร์ทูดีทู
- แฟรงค์ ออซ[19] เป็น โยดา อดีตปรมาจารย์เจไดผู้ล่วงลับ ผู้เคยเป็นอาจารย์ของลุค ปรากฏตัวในรูปวิญญาณแห่งพลัง
- บิลลี่ แคทเธอรีน ลอร์ด เป็น ร้อยโทเคเดล คนควบคุมยานฝึกหัด
การผลิต
[แก้]การถ่ายทำ
[แก้]มีการออกกองรองเพื่อถ่ายทำตั้งแต่ช่วงการเตรียมการถ่ายทำ เพื่อไปถ่ายทำฉากที่ต้องถ่ายบนเกาะสเกลลิกไมเคิล ประเทศไอร์แลนด์ ตั้งแต่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558 เนื่องจากหากพ้นช่วงเวลาดังกล่าวการถ่ายทำบนเกาะจะยากลำบาก การถ่ายทำในช่วงนี้มีกำหนดถ่าย 4 วัน[20][21][22] แต่ถ่ายได้เพียง 1 วัน ก็ต้องยุติการถ่ายทำ เนื่องจากสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมไม่อำนวย[23] พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ไอวาน ดันลีวีย์ ประธานบริหารของไพน์วู้ดสตูดิโอให้ข่าวยืนยันว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะถ่ายทำที่สตูดิโอดังกล่าว[24] และมีการถ่ายทำบางส่วนที่เม็กซิโก[25] กันยายน พ.ศ. 2558 เดลโทโรเปิดเผยว่าการถ่ายทำหลักจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559[26] แต่เคนเนดีให้ข่าวว่าการถ่ายทำจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559[27] ทีมงานเริ่มเตรียมการสร้างที่เวที 007 ในไพน์วู้ดสตูดิโอตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[28] โดยมีริค ไฮน์ริค เป็นผู้ออกแบบงานสร้าง
มกราคม พ.ศ. 2559 มีการเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ จึงต้องเลื่อนกำหนดการถ่ายทำออกไปเป็นกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[29] นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกเลื่อนออกไปอีกจากการประท้วงระหว่าง สหพันธ์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ (PACT) กับสหภาพแรงงานการกระจายเสียง การบันเทิง การภาพยนตร์ และการละคร (BECTU)[30] 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ซีอีโอของดิสนีย์ บ็อบ ไอเกอร์ ออกข่าวยืนยันว่าการถ่ายทำได้เริ่มขึ้นแล้ว[31]ภายใต้ชื่อรหัสการถ่ายทำ หมีอวกาศ (Space Bear)[32] การถ่ายทำเพิ่มเติมมีขึ้นที่เมืองดูบรอฟนิกในช่วงวันที่ 9-16 มีนาคม พ.ศ. 2559[33][34] และที่ประเทศไอร์แลนด์ในเดือนพฤษภาคม[35] สถานที่ถ่ายทำเพิ่มเติมได้แก่แหลมมาลินในเทศมณฑลโดเนกัล และเนินเขาบนแหลมอีกแห่งหนึ่งใน Ceann Sibeal เทศมณฑลเคอร์รี่[36] ฉากรบบนดาวเคราะห์เครตถ่ายทำที่ทะเลเกลือซาลาร์ เดอ อูยูนี ประเทศโบลิเวีย[37]
การถ่ายทำหลักเสร็จสิ้นลงเมื่อ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[38] แม้ญองอจะยังไม่ได้ถ่ายทำฉากของเธอเลยจนถึงกันยายน พ.ศ. 2559 ก็ตาม[39] กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มีการประกาศว่าบางฉากในเรื่องได้รับการถ่ายทำด้วยกล้องไอแม็กซ์[40] ผู้ออกแบบงานสร้างริค ไฮน์ริคให้สัมภาษณ์ว่าบทดั้งเดิมจำเป็นจะต้องใช้ฉากในการถ่ายทำถึง 160 ฉาก ซึ่งมากกว่าที่เขาคาดไว้ถึงสองเท่า แต่ผู้กำกับจอห์นสันได้ตัดเล็มลงจนเหลือ 125 ฉาก ซึ่งใช้เวทีฉากจำนวน 14 เวทีที่ไพน์วู้ดสตูดิโอในการสร้าง[41]
นีล สแกนแลน รับหน้าที่ผู้ออกแบบสัตว์ประหลาดในเรื่อง ให้สัมภาษณ์ว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการใช้เทคนิคพิเศษที่ทำจากวัสดุจริง มากกว่าภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ทุก ๆ ภาคที่ผ่านมา" โดยมีการสร้างสัตว์ประหลาดจากเทคนิคพิเศษวัสดุจริงรวมแล้ว 180-200 ตัว ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในฉากที่ถูกตัดออก[42] ฉากการปรากฏตัวของโยดาในรูปของวิญญาณพลังถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคการเชิดหุ่น ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่เคยใช้สร้างตัวละครนี้ใน จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ และ การกลับมาของเจได[43] โดยมีแฟรงค์ ออซซึ่งเคยเชิดหุ่นโยดาในภาคก่อน กลับมาทำหน้าที่นี้อีกครั้ง[19]
รางวัล
[แก้]- เอมไพร์อะวอดส์ - Best Film (Star Wars: The Last Jedi), Best Director (Rian Johnson), Best Actress (Daisy Ridley), Best Visual Effects (Star Wars: The Last Jedi), Best Costume Design (Michael Kaplan)[44]
- รางวัลแซทเทิร์น - Best Actor (Mark Hamill), Best Screenplay (Rian Johnson), Best Editing (Bob Ducsay)[45]
- ทีนชอยส์อะวอดส์ - Choice Fantasy Actress (Carrie Fisher)[46]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hewitt, Chris (July 27, 2013). "John Williams To Score Star Wars Episodes VII-IX". Empire Online. สืบค้นเมื่อ March 21, 2016.
- ↑ "Star Wars: The Last Jedi". British Board of Film Classification. สืบค้นเมื่อ November 28, 2017.
- ↑ "OK, We Need to Talk About This Controversy with Star Wars: The Last Jedi". Wired. December 18, 2017. สืบค้นเมื่อ December 19, 2017.
- ↑ "2017 Feature Film Study" (PDF). FilmL.A. August 2018: 24. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2018. สืบค้นเมื่อ August 9, 2018.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Star Wars: The Last Jedi (2017)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 30, 2018.
- ↑ "The Last Jedi director Rian Johnson reveals first look at Star Wars Episode VIII's opening crawl". Radio Times. January 25, 2017. สืบค้นเมื่อ January 25, 2017.
Star Wars Episode VIII: the Last Jedi will be released in UK cinemas on the 15th December
- ↑ McMillan, Graeme (September 22, 2017). "'Star Wars: The Last Jedi' Wraps Postproduction, Says Rian Johnson". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ September 22, 2017.
- ↑ "Star Wars: The Last Jedi Reviews: Critics Say Episode VIII Is Hugely Satisfying" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 13, 2017.
- ↑ "Star Wars: The Last Jedi Review". Slashfilm (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). December 12, 2017. สืบค้นเมื่อ December 13, 2017.
- ↑ Seitz, Matt Zoller. "Star Wars: The Last Jedi Movie Review (2017) | Roger Ebert". www.rogerebert.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 13, 2017.
- ↑ "Star Wars: The Last Jedi, the best by a distance". Mail Online. สืบค้นเมื่อ December 13, 2017.
- ↑ Adams, Sam. "The Last Jedi Brings Fresh Ideas Not Just to Star Wars but to the Whole Universe of Movies". Slate Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 13, 2017.
- ↑ Anthony D'Alessandro (September 12, 2017). " ‘Star Wars: Episode IX’ Moves To Dec. 2019, Disney’s Christopher Robin Project Opens Next August". Deadline Hollywood สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2560.
- ↑ Desta, Yohana (December 28, 2016). "These Will Be Carrie Fisher's Final TV and Movie Roles". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ December 29, 2016.
- ↑ Schladebeck, Jessica (December 27, 2016). "Future of 'Star Wars' sequel trilogy unclear after Carrie Fisher's death". NY Daily News. สืบค้นเมื่อ December 27, 2016.
- ↑ Itzkoff, Dave (December 27, 2016). "Carrie Fisher, Child of Hollywood and 'Star Wars' Royalty, Dies at 60". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 27, 2016.
- ↑ "Oscar Isaac Talks 'Star Wars: The Force Awakens' and Going After X-Men's Apocalypse (EXCLUSIVE)". Moviefone. March 19, 2015. สืบค้นเมื่อ May 12, 2015.
- ↑ Chitwood, Adam; Cabin, Chris (December 4, 2015). "This 'Star Wars: The Force Awakens' Character Will Be Back For 'Episode VIII'". Collider. สืบค้นเมื่อ December 5, 2015.
- ↑ 19.0 19.1 Breznican, Anthony (December 16, 2017). "The Last Jedi spoiler talk: How an old-school Star Wars character made a surprising return". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ December 17, 2017.
- ↑ Breznican, Anthony (September 9, 2015). "Updated: Star Wars: Episode VIII will shoot in Ireland this month". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ September 9, 2015.
- ↑ Clifford, Graham (September 6, 2015). "Skellig Michael: Is 6th-century rock star selling out to a galaxy far, far away?". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ September 9, 2015.
- ↑ "Marine Notice No. 44 of 2015 – Filming Activity at Sceilig Mhichíl, Co. Kerry" (PDF). Department of Transport, Tourism and Sport. September 11, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-28. สืบค้นเมื่อ September 12, 2015.
- ↑ Lucey, Anne; Pollak, Sorcha; Ruxton, Dean (September 14, 2015). "Skellig Michael 'Star Wars' filming cancelled amid high winds". Irish Times. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
- ↑ Alirjaafar (November 10, 2014). "'Star Wars' Returning To Pinewood For 'Episode VIII'". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ November 17, 2014.
- ↑ Siegel, Lucas (December 14, 2015). "Two More Actors Confirmed to Return for Star Wars Episode VIII". ComicBook.com. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015.
- ↑ White, James (September 7, 2015). "Benicio Del Toro Confirms Casting In Star Wars: Episode VIII". Empire. สืบค้นเมื่อ September 9, 2015.
- ↑ Ruby, Jennifer (December 17, 2015). "Star Wars producer Kathleen Kennedy confirms that entire cast will return for eighth film". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ December 17, 2015.
- ↑ Chitwood, Adam (May 11, 2016). "'Assassin's Creed': 35 Things to Know about the Ambitious Video Game Adaptation". Collider.com. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
- ↑ Gallagher, Brian (January 18, 2016). "'Star Wars 8' Rewrites to Include More 'Force Awakens' Characters?". MovieWeb. สืบค้นเมื่อ January 19, 2016.
- ↑ Clark, Nick (January 28, 2016). "Star Wars: Episode VIII among films facing delays as lighting technicians threaten revolt". The Independent. สืบค้นเมื่อ January 29, 2016.
- ↑ Breznican, Anthony (February 10, 2016). "Star Wars: Episode VIII has started filming". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ February 10, 2016.
- ↑ Breznican, Anthony (July 17, 2016). "Star Wars Celebration: Updates on Episode VIII and young Han Solo movie". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 18, 2016.
- ↑ "Star Wars Episode VIII Starts Shooting in Dubrovnik This Week". Croatia Week. March 8, 2016. สืบค้นเมื่อ March 8, 2016.
- ↑ Harris, David (March 26, 2016). "Star Wars: Episode VIII Filming Update: Luke in a Casino, Poe takes Charge". Dork Side of the Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2016. สืบค้นเมื่อ March 26, 2016.
- ↑ Barrett, David (March 20, 2016). "Star Wars Episode VIII returns to new locations in Ireland". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ "Star Wars: Malin Head locals feel the force of legendary film". BBC. May 13, 2016. สืบค้นเมื่อ December 28, 2016.
- ↑ "The Breathtaking Bolivian Salt Flats Play an Important Role in 'Star Wars: The Last Jedi'". Remezcla. December 15, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2017. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
- ↑ Romano, Nick (July 22, 2016). "Star Wars: Episode VIII director Rian Johnson announces end of production". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 22, 2016.
- ↑ Trumbore, Dave (September 11, 2016). "Lupita Nyong'o Hasn't Shot Her 'Star Wars: Episode 8' Role Despite Rian Johnson Wrapping Production". Collider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2016. สืบค้นเมื่อ September 12, 2016.
- ↑ Evry, Mark (February 22, 2017). "Star Wars: The Last Jedi Scene Shot in IMAX, Plus MORE Disney IMAX Releases". ComingSoon.net. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017.
- ↑ Riefe, Jordan (December 13, 2017). "Original 'Star Wars: The Last Jedi' Script Called for a 'Ridiculous Amount of Sets'". The Hollywood Reporter.
- ↑ Peter Sciretta (December 15, 2017). "'Star Wars: The Last Jedi' Has More Practical Creatures Than Any 'Star Wars' Film". /Film. สืบค้นเมื่อ December 16, 2017.
- ↑ Megan McCluskey (December 15, 2017). "An All-Time Favorite Star Wars Character Makes an Epic Cameo in The Last Jedi". TIME Magazine. สืบค้นเมื่อ December 16, 2017.
- ↑ Travis, Ben (March 18, 2018). "Star Wars: The Last Jedi Wins Big at Rakuten TV Empire Awards 2018". Empire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2018. สืบค้นเมื่อ March 20, 2018.
- ↑ "Saturn Award Nominations". www.saturnawards.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ March 16, 2018.
- ↑ "Teen Choice Awards 2018: The winners list". www.cnn.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2018. สืบค้นเมื่อ August 14, 2018.