ข้ามไปเนื้อหา

สเปซเอ็กซ์ซูเปอร์เฮฟวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SpaceX Super Heavy)
ซูเปอร์เฮฟวี
ซูเปอร์เฮฟวี บูสเตอร์ 12 กำลังเข้าใกล้หอปล่อยจรวดระหว่าง สตาร์ชิปเที่ยวบินทดสอบที่ 5 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2024
ผู้ผลิตสเปซเอ็กซ์
ประเทศต้นทางสหรัฐ
ใช้เมื่อสเปซเอ็กซ์สตาร์ชิป
ประวัติการปล่อยตัว
สถานะอยู่ระหว่างการพัฒนา
จำนวนการปล่อยตัวทั้งหมด6
ล้มเหลว1 (เที่ยวบินที่ 1)
อื่น ๆล้มเหลวหลังจากการสเตจ: 2 (เที่ยวบินที่ 2, เที่ยวบินที่ 3)
เที่ยวบินแรก20 เมษายน ค.ศ. 2023
บล็อก 1 ซูเปอร์เฮฟวี
ความยาว71 m (233 ft),[1] 69 m (226 ft) โดยไม่มีเวนต์อินเตอร์สเตจ
เส้นผ่านศูนย์กลาง9 m (30 ft)
มวลเปล่า275,000 kg (606,000 lb)
มวลรวม3,675,000 kg (8,102,000 lb)
มวลเชื้อเพลิง3,400,000 kg (7,500,000 lb)[2]
เครื่องยนต์33 × แรปเตอร์ 2
แรงส่ง73.5 MN (16,500,000 lbf)[3]
แรงดลจำเพาะSL: 327 s (3.21 km/s), Vac: 347 s (3.40 km/s)
ระยะเวลาการเผาไหม้166 วินาที
เชื้อเพลิงCH4 / LOX

สเปซเอ็กซ์ซูเปอร์เฮฟวี (อังกฤษ: SpaceX Super Heavy) เป็นยานปล่อยที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในส่วนของลำดับขั้นแรกของจรวดสเปซเอ็กซ์สตาร์ชิป ซึ่งเป็นจรวดขนส่งขนาดใหญ่แบบหนักพิเศษ โดยทำงานร่วมกับลำดับขั้นที่สองของสตาร์ชิป ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารของสเปซเอ็กซ์ บูสเตอร์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบันภายในระยะเวลากว่าทศวรรษ[4][5][6] การผลิตเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2021 โดยการบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2023 ระหว่างการทดสอบเที่ยวบินครั้งที่ 1 ของสตาร์ชิป[7][1]

บูสเตอร์ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แรปเตอร์ จำนวน 33 เครื่อง โดยใช้ออกซิเจนเหลวและมีเทนเหลวเป็นเชื้อเพลิง หลังจากส่งลำดับขั้นที่สองขึ้นสู่วงโคจรแล้ว บูสเตอร์สามารถกลับมายังจุดปล่อยและลงจอดด้วยแรงขับดัน โดยใช้หอปล่อยจับบูสเตอร์ ซึ่งช่วยให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

การออกแบบ

[แก้]

ซูเปอร์เฮฟวีมีความสูง 71 m (233 ft) และกว้าง 9 m (30 ft)[8] โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ เครื่องยนต์ ถังออกซิเจน ถังเชื้อเพลิง และอินเตอร์สเตจ[9] อีลอน มัสก์ ระบุในปี ค.ศ. 2021 ว่าการออกแบบขั้นสุดท้ายจะมีน้ำหนักแห้ง (Dry mass) อยู่ระหว่าง 160 t (350,000 lb) ถึง 200 t (440,000 lb) โดยถังเชื้อเพลิงจะมีน้ำหนัก 80 t (180,000 lb) และอินเตอร์สเตจ 20 t (44,000 lb)[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Berger, Eric (8 April 2024). "Elon Musk just gave another Mars speech—this time the vision seems tangible". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
  2. "SpaceX". SpaceX (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2011. สืบค้นเมื่อ 2023-05-31.
  3. Musk, Elon (November 19, 2024). "The chart below is due for an update". X (เดิมชื่อทวิตเตอร์).
  4. Weitering, Hanneke (27 September 2016). "SpaceX's Interplanetary Transport System for Mars Colonization in Images". Space.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 November 2023.
  5. Foust, Jeff (29 September 2017). "Musk unveils revised version of giant interplanetary launch system". SpaceNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  6. NASASpaceflight (2024-10-11). SpaceX Launches Starship for the Fifth Time (and Tries to Catch a Booster). สืบค้นเมื่อ 2024-10-13 – โดยทาง YouTube.
  7. Wattles, Jackie; Strickland, Ashley (2023-04-20). "SpaceX's Starship rocket lifts off for inaugural test flight, but explodes midair". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-21. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  8. Dvorsky, George (6 August 2021). "SpaceX Starship Stacking Produces the Tallest Rocket Ever Built". Gizmodo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
  9. 9.0 9.1 Sesnic, Trevor (11 August 2021). "Starbase Tour and Interview with Elon Musk". The Everyday Astronaut (Interview) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 12 October 2021.