ข้ามไปเนื้อหา

สเปซเอ็กซ์สตาร์ชิป (ยานอวกาศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ชิป
สตาร์ชิปรุ่นต้นแบบ SN20 ที่พื้นที่ปล่อย; โครงสร้างสเตนเลสสตีลที่โดดเด่นสามารถมองเห็นได้ รวมถึงขอบของแผ่นป้องกันความร้อนสีเข้มที่ปกคลุมด้านตรงข้ามของยาน
ผู้ผลิตสเปซเอ็กซ์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้ดำเนินการสเปซเอ็กซ์
การใช้งาน
เว็บไซต์spacex.com/vehicles/starship
ข้อมูลจำเพาะ
ชนิดยานอวกาศนำกลับมาใช้ใหม่ได้, รองรับลูกเรือ
มวลขณะส่งยาน~1,300,000 kg (2,900,000 lb)[a]
มวลแห้ง~100,000 kg (220,000 lb)[1]
ความจุบรรทุก200,000 kg (440,000 lb) (ตามแผน)
ความจุลูกเรือสูงสุด 100 คน (ตามแผน)
ปริมาตร1,000 m3 (35,000 cu ft) (ตามแผน)
ขนาด
ความสูง50.3 m (165 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง9 m (30 ft)
ความกว้างอาเรย์แสงอาทิตย์17 m (56 ft)
การผลิต
สถานะอยู่ระหว่างการพัฒนา
การส่งยาน6
ปลดระวาง3
ล้มเหลว1 (IFT-2)
สูญหาย2 (IFT-1, IFT-3)
เที่ยวบินแรก20 เมษายน ค.ศ. 2023
ยานอวกาศที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบดัดแปลงสตาร์ชิป HLS
บินด้วยสเปซเอ็กซ์ซูเปอร์เฮฟวี
รายละเอียดทางเทคนิค
มวลเชื้อเพลิง1,200,000 kg (2,600,000 lb)
เครื่องยนต์3 × แรปเตอร์
3 × แรปเตอร์สูญญากาศ
แรงส่ง12,300 kN (2,800,000 lbf)
แรงดลจำเพาะSL: 327 s (3.21 km/s)
vac: 380 s (3.7 km/s)[2]
เชื้อเพลิงCH4 / LOX

สตาร์ชิป (อังกฤษ: Starship) เป็นยานอวกาศและขั้นที่สอง[3] ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโดยสเปซเอ็กซ์บริษัทอวกาศของสหรัฐอเมริกา เมื่อติดตั้งบนบูสเตอร์ซูเปอร์เฮฟวี ยานทั้งสองส่วนนี้รวมกันกลายเป็นจรวดขนส่งหนักพิเศษรุ่นใหม่ของสเปซเอ็กซ์ ที่เรียกว่า สตาร์ชิป ยานอวกาศนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งทั้งลูกเรือและสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางที่หลากหลาย รวมถึงวงโคจรรอบโลก, ดวงจันทร์, และดาวอังคาร โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่และลงจอดโดยใช้แรงขับเคลื่อนผ่านการยิงเครื่องยนต์เพื่อควบคุมการลงจอด[4] โดยบนโลกสามารถลงจอดในอ้อมแขนของหอปล่อยยานหรือใช้ขาลงจอดเมื่ออยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ[5] สตาร์ชิปมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการเดินทางในอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ที่ยาวนาน พร้อมลูกเรือสูงสุด 100 คน[3] และยังสามารถใช้ในการเดินทางแบบจุดต่อจุดบนโลก ทำให้สามารถเดินทางไปยังจุดหมายใดก็ได้บนโลกภายในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงให้กับยานสตาร์ชิปลำอื่น ๆ เพื่อให้สามารถเดินทางไปยังวงโคจรที่สูงขึ้นหรือจุดหมายในอวกาศอื่น ๆ อีลอน มัสก์ ซีอีโอของสเปซเอ็กซ์ ประมาณการณ์ในข้อความทวีตว่าจำเป็นต้องปล่อยยาน 8 ครั้งเพื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มให้กับสตาร์ชิปในวงโคจรรอบโลกต่ำเพื่อให้สามารถเดินทางต่อไปได้[6]

การพัฒนาเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2012 เมื่อมัสก์อธิบายแผนการสร้างระบบจรวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้พร้อมความสามารถที่มากกว่าฟอลคอน 9และฟอลคอนเฮฟวีที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ระบบจรวดนี้มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบและชื่อเรียกหลายครั้ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 รุ่นต้นแบบ สตาร์ฮอปเปอร์ ทำการบินสำเร็จเป็นครั้งแรกที่สเปซเอ็กซ์สตาร์เบส ใกล้โบคาชิกา รัฐเท็กซัส[7] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 รุ่นต้นแบบ SN15 กลายเป็นยานทดสอบขนาดเต็มลำแรกที่สามารถทะยานขึ้นและลงจอดได้สำเร็จ[8]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Gross mass คือน้ำหนักรวมของมวลเชื้อเพลิง (1,200 ตัน) และน้ำหนักยานเปล่าโดยประมาณ (100 ตัน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sesnic, Trevor (11 August 2021). "Starbase Tour and Interview with Elon Musk". The Everyday Astronaut (Interview) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 12 October 2021.
  2. "Starship : Official SpaceX Starship Page". SpaceX. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
  3. 3.0 3.1 "SpaceX – Starship". SpaceX. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2022. สืบค้นเมื่อ November 29, 2023. Starship is the fully reusable spacecraft and second stage of the Starship system.
  4. Foust, Jeff (6 มกราคม ค.ศ. 2021). "SpaceX, Blue Origin, and Dynetics Compete to Build the Next Moon Lander". IEEE Spectrum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date=, |date= และ |archive-date= (help)
  5. Weber, Ryan (31 ตุลาคม ค.ศ. 2021). "Major elements of Starship Orbital Launch Pad in place as launch readiness draws nearer". NASASpaceFlight.com. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2024. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  6. "Musk Says That Refueling Starship For Lunar Landings will Take 8 Launches (Maybe 4)". August 18, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2023. สืบค้นเมื่อ August 26, 2023.
  7. Malik, Tariq (26 กรกฎาคม ค.ศ. 2019). "SpaceX Starship Prototype Takes 1st Free-Flying Test Hop". Space.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม ค.ศ. 2022. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม ค.ศ. 2022. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date=, |date= และ |archive-date= (help)
  8. Roulette, Joey (5 พฤษภาคม ค.ศ. 2021). "SpaceX successfully landed a Starship prototype for the first time". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2021. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม ค.ศ. 2022. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date=, |date= และ |archive-date= (help)