สเลเยอร์
สเลเยอร์ | |
---|---|
สเลเยอร์ในเทศกาลคอนเสิร์ตเมย์แฮมเฟสติวัลปี 2009 จากซ้ายไปขวา: ทอม อารายา, เดฟ ลอมบาร์โด และ เคอร์รี คิง | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ฮันติงตันพาร์ก, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | แทรชเมทัล |
ช่วงปี | 1981–2019 |
ค่ายเพลง | เมทัลเบลด, เดฟแจม, อเมริกันเรเคิดดิง, นิวเคลียร์บราสต์ |
อดีตสมาชิก | ทอม อารายา แกรี โฮลท์ เคอร์รี คิง พอล บอสทาปพ์ เจฟฟ์ แฮนนีแมน จอน เดตต์ เดฟ ลอมบาร์โด |
เว็บไซต์ | www.slayer.net |
สเลเยอร์ (อังกฤษ: Slayer) เป็นวงแทรชเมทัลสัญชาติอเมริกัน จากฮันติงตันพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี 1981 โดยมือกีตาร์หลัก 2 คน คือเจฟฟ์ แฮนนีแมนและเคอร์รี คิง[1] สเลเยอร์ปูชื่อเสียงในระดับแถวหน้าให้กับวงการเพลงแทรชเมทัลอเมริกัน กับการออกผลงานในปี 1986 ชุด เรนอินบลัด (Reign in Blood) ที่ถูกเรียกว่า "เป็นอัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" จัดโดยนิตยสารเคอร์แรง![2] วงยังได้รับเครดิตเป็นหนึ่งใน "บิ๊กโฟร์" แห่งวงการแทรชเมทัลหลักของสหรัฐ ร่วมกับวง เมทัลลิกา, แอนแทรกซ์ และเมกาเดธ[3]
ดนตรีของพวกเขา มีลักษณะโดดเด่นคือ การริฟฟ์กีตาร์อย่างเร็ว รวมถึงการโซโลกีตาร์โดยลากเสียงครวนคราญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการกระเดื่องกลองชุดดับเบิลเบสที่ทำให้สเลเยอร์โดดเด่นในหมู่ของวงแทรชเมทัลด้วยกัน จนอดีตมือกลองของวง ลอมบาร์โด ได้รับฉายาว่าเป็น "เจ้าพ่อแห่งกลองดับเบิลเบส" (The godfather of double bass)[4] และการตะโกนร้องเสียงแหลมของอารายา เนื้อเพลงและปกอัลบั้มของสเลเยอร์สร้างความต่างด้วยการใช้ความก้าวร้าวลงในเนื้อเพลง เช่น เลือด ความตาย ความผิดปกติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความวิกลจริต ลัทธินาซี กามวิตถารร่วมเพศกับศพ ศาสนา ลัทธิซาตาน ฆาตกรต่อเนื่อง การฆ่าตัวตาย การสงคราม ซึ่งทำให้วงในระยะแรกมักถูกแบน มีปัญหาด้านกฎหมายและถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยกลุ่มศาสนาและบุคคลทั่วไป
หลังจากวงออกผลงานชุดแรกในปี 1983 ทางวงออกอัลบั้มแสดงสด 2 ชุด ,อัลบั้มเพลงเก่ามาทำใหม่ 1 ชุด, บ็อกซ์เซต 1 ชุด, ดีวีดี 3 ชุด, วิดีโอ 1 ชุด, อีพี 2 ชุด และสตูดิโออัลบั้ม 12 ชุด ซึ่งสามารถขายได้ระดับแผ่นเสียงทองคำ 4 แผ่น สเลเยอร์ยังเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 5 ครั้ง และได้รับรางวัล 2 ครั้งในปี 2007 กับเพลง "Eyes of the Insane" และเพลงในปี 2008 กับ "Final Six" ปัจจุบันสเลเยอร์สามารถทำยอดจำหน่ายได้มากกว่า 4,900,000 ชุดในสหรัฐ[5]
ประวัติอัลบั้ม
[แก้]โชว์โนเมอร์ซี
[แก้]โชว์โนเมอร์ซี (Show No Mercy) คืออัลบั้มสตูดิโอแรกสุดของวง จำหน่ายในเดือนธันวาคม 1983 ผ่านค่ายเพลงเมทัลเบลด โดยไบรอัน สลาเกล (Brian Slagel) เป็นผู้ทำสัญญาให้กับวงภายหลังชมสมาชิกวงเล่นเพลง "Phantom of the Opera" ของไอเอิร์นเมเดน[6] ถือเป็นอัลบั้มใต้ดินอย่างชัดเจน สเลเยอร์ต้องใช้เงินของตัวเองทั้งหมดเพื่อทำอัลบั้มนี้ขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้มาจากเงินเก็บของอารายา ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ทำอาชีพเป็นนักบำบัด,[7] และเงินยืมจากพ่อของเคอร์รี คิง[8]
ส่วนการทัวร์คอนเสิร์ตเพื่อโปรโมตอัลบั้ม วงต้องขอความช่วยเหลือให้เพื่อนสนิทและสมาชิกครอบครัวร่วมทริปคอนเสิร์ตไปด้วยเพื่อช่วยด้านเทคนิคแสงและเสียง แม้ว่าจะได้คำวิจารณ์ว่าเป็นอัลบั้มที่มีคุณภาพต่ำก็ตาม แต่มันก็เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดผ่านค่ายเมทัลเบลดนับตั้งแต่เปิดตัว โดยเฉพาะซิงเกิล "Die by the Sword", "The Antichrist", "Black Magic" ที่เป็นซิงเกิลได้รับความนิยมที่สุดของอัลบั้ม ซึ่งสเลเยอร์มักนำไปแสดงสดบ่อยๆ อัลบั้มสามารถทำรายได้อยู่ในช่วง 15,500 ถึง 20,000 ชุดในสหรัฐ และสามารถขายได้มากกว่า 15,000 ชุดในต่างประเทศ ด้วยลิขสิทธิ์ผ่านทางเมทัลเบลด[6]
เฮลอเวทส์
[แก้]เฮลอเวทส์ (Hell Awaits) คืออัลบั้มสตูดิโอที่ 2 ของวง จำหน่ายในเดือนมีนาคม 1985[9][10] ภายหลังประสบความสำเร็จในยอดขายของอัลบั้มแรก สามารถทำยอดจำหน่ายได้มากที่สุดของเมทัลเบลด เป็นผลให้ไบรอัน สลาเกล ตัดสินให้ทำอัลบั้มที่สองขึ้น โดยเขายังได้ช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนให้กับวงอีกด้วยและยังจัดหาโปรดิวเซอร์ที่มีประสบการณ์หลายคนมาช่วยในสตูดิโอด้วย
เฮลอเวทส์เริ่มนำธีมของนรกและลัทธิซาตานเข้ามาใช้ในเนื้อหาเพลง ด้วยซิงเกิลเปิด "Hell Awaits" ที่เล่นช่วงท่อนหลังซ้ำๆว่า "join us"[11] ในด้านดนตรีถือเป็นการนำเสนอเนื้อหาและกระบวนการที่แตกต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้มาก อ้างจากคำพูดของคิงและแฮนนีแมน ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากวงแบล็กเมทัลจากเดนมาร์ก "เมอซีฟูลเฟต"[12] เป็นการนิยามอิทธิพลเพลงสู่ดนตรีเอ็กซตรีม อัลบั้มนี้ยังได้ถูกการนำไปอัดใหม่โดยศิลปินใต้ดินอีกเป็นจำนวนมากและมักเกิดอัลบั้มและศิลปินเลียนแบบ (tribute) ขึ้นมา
เรนอินบลัด
[แก้]เรนอินบลัด (Reign in Blood) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 3 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 7 ตุลาคม 1986 สังกัดค่ายเดฟ แจม โดยมี ริค รูบิน (Rick Rubin) ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงเดฟแจมเรเคิดดิงส์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ซึ่งช่วยให้ดนตรีของวงพัฒนามากขึ้น เรนอินบลัด ได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนฟังและนักวิจารณ์อย่างดี นิตยสารเคอร์แรง! จัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" เช่นเดียวกับอัลบั้มอีก 3 วง ในเครือ "บิ๊กโฟว์" (Big 4) ได้แก่ อัลบั้ม "อะมองเดอะลิฟวิง" จาก แอนแทรกซ์, อัลบั้ม "พีชเซลส์...บัทฮูส์บายอิง?" จาก เมกาเดธ และอัลบั้ม "มาสเตอร์ออฟพัพพิทส์" จาก เมทัลลิก้า อัลบั้มนี้ยังช่วยกำหนดมาตรฐานของดนตรีแนว แทรชเมทัล ในสหรัฐอเมริกา ช่วงทศวรรษที่ 1980 และสร้างอิทธิพลแก่แนวเพลงนี้เป็นอย่างมากจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้เองด้วย[13]
เป็นครั้งแรกของวงที่นำเสนอธีมของลัทธินาซี การเหยียดมนุษย์ จนถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ของประชาชนด้วยกัน
ถึงแม้อัลบั้มจะประสบความสำเร็จในเรื่องของกระแสความนิยม แต่ก็สามารถไต่ชาร์ดของบิลบอร์ด 200 ได้เพียงอันดับที่ 94[14] และจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1992 ด้วยยอดการก็อปปีมากกว่า 500,000 ชุด[15] โดยมีซิงเกิลหลัก 2 ซิงเกิล คือ "แองเจิลออฟเดธ" (เพลงเปิด) และ "เรนนิงบลัด" (เพลงปิด) ที่ได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้เล่นเกือบทุกคอนเสิร์ต
เซาท์ออฟเฮฟเวิน
[แก้]เซาท์ออฟเฮฟเวิน (South of Heaven) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 4 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 5 กรกฎาคม 1988 ถือเป็นอัลบั้มที่ 2 และเป็นอัลบั้มสุดท้ายภายใต้ชื่อค่ายเพลงเดฟ แจม โดยมี ริค รูบิน โดยมีริค รูบิน เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ซึ่งช่วยให้วงพัฒนาการขึ้นมากจนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในอัลบั้มก่อนหน้านี้
เซาท์ออฟเฮฟเวิน ก็ยังเป็นอัลบั้มที่ 2 ของวงที่ไต่ขึ้นบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับ 57[14] ในปี 1992 ก็จำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำ จากสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ[15] และยังจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงเงินในสหราชอาณาจักร ปี 1993[16]
อัลบั้มได้ลดลงความเบาลงกว่าอัลบั้มก่อนหน้านี้ ด้วยการจังหวะที่ช้าลงเกือบทุกซิงเกิลของอัลบั้ม เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้ วงได้นำเสนอการไม่รูดกีตาร์เพื่อทำเสียงครวญคราญและลดเสียงแหลมลง ทำให้นักวิจารณ์บางส่วนได้ชมเชยถึงการเปลี่ยนรูปแบบของดนตรี แต่ก็มีบางส่วนที่ตำหนิถึงสไตล์เพลงที่น่าผิดหวัง เซาท์ออฟเฮฟเวิน มีซิงเกิลหลักอย่าง "South of Heaven" "Mandatory Suicide" "Spill the Blood" ซึ่งได้ความนิยมและถูกนำไปแสดงสดบ่อยครั้ง
ซีซันส์อินดิอะบิส
[แก้]ซีซันส์อินดิอะบิส (Seasons in the Abyss) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 5 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 9 ตุลาคม 1990 ผ่านทางค่ายแรกเริ่มเดฟ แจม ก่อนจะเปลี่ยนเป็นอเมริกันเรคคอร์ดดิง ภายหลังค่ายเปลี่ยนชื่อใหม่ อัลบั้มบันทึกเสียงเพลงแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 1990 ที่ฮิตซิตีเวสต์, ฮอลลีวูดซาวด์ และในเดือนมิถุนายนที่เรคคอร์ดแพลนท์ในลอสแองเจิลลิส, แคลิฟอร์เนีย[17][18] อัลบั้มยังถือเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่มีมือกลองลอมบาร์โดร่วมวงด้วย จนมาร่วมอีกครั้งในอัลบั้มคริสต์อิลลูชันปี 2006
สไตล์ดนตรีของอัลบั้มคล้ายคลึงและได้รับการเปรียบเทียบจากนักวิจารณ์รวมกับ 2 อัลบั้มก่อนหน้านี้ เซาท์ออฟเฮฟเวิน และเรนอินบลัด ที่มักได้รับคำชมด้านบวกเสมอ[19] โดยเฉพาะซิงเกิล "War Ensemble" "Dead Skin Mask" "Seasons in the Abyss" ที่มักถูกนำไปแสดงสดบ่อยครั้ง อัลบั้มไต่ขึ้นอันดับ 18 ในสหราชอาณาจักรและบิลบอร์ด 200 ด้วยอันดับที่ 40[20][21] สามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและแคนาดา[22][23]
ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน
[แก้]ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน (Divine Intervention) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 6 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 27 กันยายน 1994 ผ่านทางค่ายเรคคอร์ดดิง เป็นอัลบั้มแรกที่ได้มือกลองมาแทนเดฟ ลอมบาร์โด คือพอล บอสทาพป์ (Paul Bostaph) วงได้ใช้เวลาร่วมทศวรรษในการสร้างภาพลักษณ์ที่รุนแรง นับตั้งแต่อัลบั้มนี้เปิดตัวเกือบ 4 ปีภายหลังอัลบั้มซีซันส์อินดิอะบิส อารายาได้กล่าวว่ามีเวลามากขึ้นที่จะใช้ในการอัดอัลบั้มเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ หน้าปกได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบอัลบั้มแนวเฮฟวีเมทัลที่มีชื่อเสียงอย่างเวส เบนสโคเตอร์ (Wes Benscoter) ถือเป็นการพัฒนาหน้าปกอัลบั้มวงใหม่ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ทำกราฟิก เรียกว่า "Slayergram"
ในปี 1998 อัลบั้มได้ถูกแบนในเยอรมันเนื่องมาจากเนื้อหาในซิงเกิล "SS-3", "Circle of Beliefs", "Serenity in Murder", "213" และ "Mind Control" ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน ได้รับคำวิจารณ์มากมาย อัลบั้มสามารถจำหน่ายได้ 93,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[24][25] ไต่ขึ้นอันดับ 8 บนบิลบอร์ด 200 และอันดับ 15 บนชาร์ทสหราชอาณาจักร อัลบั้มยังสามารถจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและแคนาดา[26][27]
อันดิสพิวท์แอททิทูด
[แก้]อันดิสพิวท์แอททิทูด (Undisputed Attitude) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 7 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 28 พฤษภาคม 1996 อัลบั้มนำเสนอเพลงโคเวอร์ จากวงพังค์ร็อก ฮาร์ดคอร์พังค์[28][29] อาทิ Minor Threat, T.S.O.L., D.R.I., D.I., Dr. Know, The Stooges และ Verbal Abuse เป็นส่วนใหญ่ของอัลบั้ม และยังประกอบด้วยเพลงโปรเจกต์ที่แต่งโดยแฮนนีแมน ที่แต่งไว้ตั้งแต่ปี 1984 และ 1985 คือ "Pap Smear" และ "Gemini" ซึ่งเป็นซิงเกิลเดียวของสเลเยอร์ที่ได้บันทึกดั้งเดิมไว้ก่อนหน้านี้ อันดิสพิวต์แอททิทูด สามารถไต่ขึ้นอันดับที่ 34 บนบิลบอร์ด 200[30]
ไดอาโบลัสอินมิวสิกา
[แก้]ไดอาโบลัสอินมิวสิกา (Diabolus in Musica) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 8 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 9 มิถุนายน 1998 ถือเป็นอัลบั้มที่ 3 ที่ได้มือกลองพอล บอสทาพป์ มาร่วมอัดสตูดิโอ แม้ว่าอัลบั้มจะได้คำวิจารณ์หลากหลาย แต่อัลบั้มก็สามารถขายได้กว่า 46,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[31] สามารถไต่ขึ้นอันดับ 31 บนบิลบอร์ด 200[32]
เจฟฟ์ แฮนนีแมน ได้กล่าวว่าอัลบั้มมีเนื้อหาสาระที่เป็นดนตรีทดลองที่สุดของสเลเยอร์ มันยังเป็นอัลบั้มแรกของสเลเยอร์ที่ใช้คอร์ด C♯ มาใช้ คำว่า "ไดอาโบลัสอินมิวสิกา" เป็นภาษาลาติน แปลว่า "ปีศาจในดนตรี" (The Devil in Music) ช่วงรอยต่อของดนตรีมีความไม่กลมกลืนลงรอยกัน[33] อัลบั้มยังคงมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ความผิดปกติของวัฒนธรรม ความตาย วิกลจริต สงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธ์
ก็อดเฮดส์อัสออล
[แก้]ก็อดเฮดส์อัสออล (God Hates Us All) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 9 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 11 กันยายน 2001 อัลบั้มได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากหลากหลายคิดเห็นและสามารถไต่บิลบอร์ด 200 ถึงอันดับ 28 ได้[34] และได้กว่า 51,000 ก็อปปี้[35] อัลบั้มใช้เวลาในการอัด 3 เดือนที่แวร์เฮาส์สตูดิโอในแคนาดา[36] และยังรวมถึงการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลแกรมมี อย่างซิงเกิล "Disciple" ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของวงที่มีซิงเกิลเข้าชิงรางวัลนี้[37] The ceremony took place on February 27, 2002, with Tool winning the award for their song "Schism".[38] อัลบั้มนี้ยังเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่พอล บอสทาพป์ ทำหน้าที่มือกลองให้กับวงหลังร่วมสตูดิโอมามากกว่า 4 อัลบั้ม จนกระทั่งในปี 2015 ก็ได้มาร่วมวงอีกครั้งในอัลบั้ม "รีเพนท์เลส" เนื้อเพลงส่วนใหญ่แต่งโดยเคอร์รี คิง ประกอบด้วยเนื้อหาที่แตกต่างจากเดิมก่อนหน้านี้ โดยมีธีมส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา การฆาตรกรรม การแก้แค้น และการควบคุมตนเอง[39]
คริสต์อิลลูชัน
[แก้]คริสต์อิลลูชัน (Christ Illusion) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 10 ของวง ออกจำหน่ายในวันที่ 8 สิงหาคม 2006 อัลบั้มได้รับคำชมอย่างดีจากนักวิจารณ์ และสามารถไต่ขึ้นสู่อันดับ 5 บนบิลบอร์ด 200 ซึ่งเป็นการไต่อันดับดีที่สุดของวงเท่าที่เคยอัลบั้มมา ก่อนที่จะถูกอัลบั้ม "รีเพนเลส" ขึ้นแทนที่ในอันดับที่ 4 อัลบั้มสามารถขายได้กว่า 62,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรก[40] คริสต์อิลลูชัน ยังประกอบด้วยซิงเกิลที่ได้รับรางวัลแกรมมีถึง 2 ซิงเกิลคือ "Eyes of the Insane" และ "Final Six"[41][42] และเป็นครั้งแรกที่ได้มือกลองเดฟ ลอมบาร์โดมาร่วมวงอีกครั้งนับตั้งแต่อัลบั้มซีซันส์อินดิอะบิสปี 1990 และเป็นครั้งแรกที่ได้นำคอร์ด D# เข้ามาใช้นับตั้งแต่อัลบั้มดิไวน์อินเตอร์เวนชัน โดยใช้ในซิงเกิล "Jihad", "Flesh Storm", "Catalyst" และ "Consfearacy" ในขณะที่ "Catatonic", "Eyes of the Insane", "Skeleton Christ" และ "Supremist" ใช้คอร์ด B ส่วนที่เหลือใช้ C#
หน้าปกอัลบั้มได้รับการออกแบบโดยศิลปินลาร์รี คาร์โรลล์ ที่เคยออกแบบอัลบั้มเรนอินบลัดมาแล้ว ซึ่งสามารถเรียกกระแสวิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในอัลบั้มนี้ที่นำพระเยซูในสภาพแขนขาดในบ่อเลือดพร้อมกับกองหัวมนุษย์ หรือในเนื้อหาของซิงเกิล "Jihad" ที่กล่าวถึงการก่อร้าย 11 กันยายน ในมุมมองของฝั่งก่อการร้าย จนทำให้ถูกเซนเซอร์จากหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มคริสเตียนจากมุมไบ กลุ่มสงฆ์คาทอลิก ได้ออกมาตำหนิและออกมาเรียกร้องให้ทำลาย จนเป็นผลให้ทางการอินเดีย สั่งสั่งแบนและทำลาย ผ่านค่ายเพลงอีเอ็มไอทั้งหมด[43]
เวิร์ดเพนท์บลัด
[แก้]เวิร์ดเพนท์บลัด (World Painted Blood) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 11 ของวง ออกจำหน่ายผ่านค่ายอเมริกันเรคเคิร์ดดิงส์ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2009 โดยมีโปรดิวเซอร์อย่างเกรก ฟิเดลแมน (Greg Fidelman) และริค รูบิน (Rick Rubin) ถือเป็นอัลบั้มเดียวที่ฟิเดลแมนทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้ อัลบั้มได้ความหวังอย่างมากในการกลับมานับตั้งแต่ปล่อยอัลบั้มก่อนหน้านี้ในปี 2006 สมาชิกวงได้เริ่มปล่อยข้อมูลถึงอัลบั้มในช่วงต้นปี 2009 อัลบั้มประกอบด้วยหน้าปก 4 แบบ ซึ่งแต่ละอันจะรวมกันเป็นแผนที่โลกบนพื้นแดงที่เข้าคอนเซปต์ "ปาดเลือดแก่โลก" ตามชื่ออัลบั้มชัดเจน อัลบั้มประกอบด้วย 11 ซิงเกิล ซึ่งยังคงใช้เนื้อหาเดิมเกี่ยวกับความตาย การทำลายล้าง สงคราม การสังหารหมู่ บันทึกศาสนาของยิว เป็นครั้งแรกที่เล่นคอร์ด E-flat อย่างมากนับตั้งแต่ดิไวน์อินเตอร์เวนชัน เวิร์ดเพนท์บลัดถือเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่ได้รวมสมาชิกอย่างลอมบาร์โด ซึ่งถูกไล่ออกจากวง และแฮนนีแมน ที่เสียชีวิตจากโรคตับ ในปี 2013
ซิงเกิล "Hate Worldwide" และ "World Painted Blood" ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลแกรมมีครั้งที่ 54 ในหัวข้อ " Best Metal Performance" ในปี 2015 อัลบั้มสามารถจำหน่ายรวมได้ 160,000 ก็อปปี้[44] โดยนับตั้งแต่ออกอัลบั้มสามารถไต่ขึ้นอันดับ 2 บนท็อปฮาร์ดร็อกชาร์ทของสหรัฐได้ อับดับ 12 บนบิลบอร์ด 200[45][46] และอันดับ 40 ในชาร์ทอังกฤษ[47]
รีเพนท์เลส
[แก้]รีเพนท์เลส (Repentless) เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 12 ของวง ออกจำหน่ายผ่านค่ายนิวเคลียร์บลาสต์ในวันที่ 11 กันยายน 2015 พร้อมกับมือกีตาร์ใหม่แกรี โฮลท์ จากวงเอ็กโซดัสมาแทนแฮนนีแมนที่เสียชีวิตไปในปี 2013 และมือกลองพอล บอสทาพป์ อีกครั้งที่ออกไปภายหลังการกลับมาของลอมบาร์โดนับตั้งแต่ปี 2001 อัลบั้มสามารถขายได้กว่า 49,000 ก็อปปี้ในสัปดาห์แรกและไต่ขึ้นบนอันดับ 4 บิลบอร์ด 200 ถือเป็นการขึ้นอันดับดีที่สุดของสเลเยอร์[48] จนต่อมาตกลงไปสู่อันดับ 34 ในสัปดาห์ที่ 2[49]
ลักษณะเพลงและการแต่งเพลง
[แก้]ในช่วงแรกนั้นสเลเยอร์ได้รับคำชมว่า "รวดเร็วอย่างอันตรายและทักษะชั้นเลิศในเครื่องดนตรี" รวมกับโครงสร้างจังหวะของฮาร์ดคอร์พังค์และจังหวะแบบสปีดเมทัล วงได้นำเสนอเพลงที่รวดเร็วและกร้าวร้าวรุนแรง ในอัลบั้มเรนอินบลัด ถือเป็นการนำเสนอการริฟฟ์กีตาร์ที่เร็วที่สุดของวง ด้วยอัตราเฉลี่ย 220 บีตส์ต่อนาที ในอัลบั้ม "ไดอะบอลัสอินมิวสิกา" ก็เป็นครั้งแรกของวงที่นำเสนอคอร์ด C♯ ในอัลบั้ม "ก็อดเฮตส์อัสออล์" เป็นครั้งแรกที่นำเสนอคอร์ด B และสำหรับกีตาร์ 7 สายด้วยคอร์ด B♭ ออลมิวสิกได้วิจารณ์อัลบั้มไว้ว่า "สเลเยอร์ได้ละทิ้งซึ่งความฟุ้งเฟ้อและการเข้าถึงลงไปในช่วงปลายยุค 80 จนถึงต้นยุค 90 และได้ฟื้นกลับมาใหม่อย่างสมบูรณ์แบบในการเข้าถึงแนวอย่างแท้จริง"[50] ซึ่งแฟนเพลงรุ่นใหม่ได้ติดเพลงของพวกเขาเข้าสู่เมทัลยุคใหม่อย่าง "นูเมทัล"[51]
มือกีตาร์ 2 คนของวงในอดีตสมัยที่แฮนนีแมนและคิงยังร่วมวงด้วยกัน การโซโล่กีตาร์คู่ของพวกเขาได้รับอ้างถึงว่าเป็น "ความป่าเถื่อนวุ่นวาย" (wildly chaotic) และ "บิดเบือนอย่างมืออาชีพ" (twisted genius)[52] ในส่วนของอดีตมือกลองอย่างลอมบาร์โด ได้ปรับการกระเดื่องดับเบิลเบสจากเดี่ยว เป็นกระเดื่องคู่ ทำให้สามารถทำจังหวะได้รวดเร็ว รุนแรงกร้าวร้าว จนได้รับฉายาเป็น "เจ้าพ่อแห่งกลองดับเบิลเบส" (The godfather of double bass) จากนิตยสารดรัมเมอร์เวิร์ด[53] ในขณะที่ลอมบาร์โดกำลังกระเดื่องดับเบิลเบส เขาจะใช้เทคนิคคือ "การยกส้นเท้าขึ้น"[54]
ในอดีตที่สมาชิกรุ่นบุกเบิก และรุ่งเรืองของวงคือสมัยที่ แฮนนีแมน, คิง และอารายา ร่วมวงกันซึ่งพวกเขาได้ร่วมกันแต่งเพลงให้กับวงหลายเพลง โดยมีลอมบาร์โดเป็นผู้ช่วยเพิ่มเติม โดยบางครั้งทั้งอารายาและลอมบาร์โดเองก็แทบไม่เคยได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ร่วมแต่งให้กับวงสเลเยอร์ ส่วนมากเครดิตจะตกไปอยู่กับแฮนนีแมนและคิงเป็นหลัก[8]
เมื่อกล่าวถึงการแต่งเนื้อเพลงของสมาชิกวงอย่าง แฮนนีแมน, คิง และอารายา ล้วนนำเสนออิทธิพลของเนื้อที่แตกต่างกันออกไป เนื้อเพลงของแฮนนีแมนมักเกี่ยวข้องนาซี ซึ่งเขาชอบมาก เรื่องศาสนา สงคราม และเรื่องที่คล้ายๆเกี่ยวข้องกัน ส่วนคิงมักจะเกี่ยวกับ การต่อต้านศาสนา ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา ในด้านของอารายาที่เป็นคาทอลิก อาจกล่าวได้ว่าแต่งเนื้อเพลงที่เบากว่า 2 คนที่กล่าวมานี้ ส่วนมากจะเกี่ยวกับ ฆาตกรต่อเนื่อง และสงคราม
อิทธิพลของวง
[แก้]สเลเยอร์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวงที่มีอิทธิพลมากที่สุดวงหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการเมทัล สตีฟ ฮิวอี้ (Steve Huey) แห่งออลมิวสิกเชื่อว่า เนื้อหาและทำนองเพลงของสเลเยอร์เป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้โดดเด่นกว่าวงอื่นๆในเครือแทรชเมทัลของสหรัฐอย่าง "บิ๊กโฟว์" ที่ประกอบด้วย เมทัลลิกา, แอนแทรกซ์ และเมกาเดธ ซึ่งวงเหล่านี้รุ่งเรืองสุดขีดในช่วงยุค 80[55] สเลเยอร์ได้นำเสนอ การปรับจังหวะ การใช้ริฟฟ์กีตาร์ที่เหมือนการเฆี่ยน ฟาดไปที่กีตาร์อย่างแรงสมดั่งคำเรียกแนว "แทรช" (Thrash แปลว่า เฆี่ยน หวด โบย) การใช้เนื้อหาดุดัน รุนแรน กร้าวร้าว และหน้าปกอัลบั้มที่น่าสยดสยอง ซึ่งถือว่าเป็นวงที่นำเสนอแตกต่างไปจากวงเมทัลอื่นๆ สมัยนั้นมาก และดนตรีของเขาบ่งบอกได้อย่างชัดเจนถึงการกำเนิดแนวเพลงสุดขั้วอย่าง "เดทเมทัล" สเลเยอร์ได้รับการจัดอันดับจากเอ็มทีวี (MTV) ในลำดับที่ 6 จากหัวข้อ "วงเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สุดตลอดกาล"[56] อันดับที่ 50 จากวีเอชวัน (VH1) ในหัวข้อ "100 ศิลปินฮาร์ดร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่ใหญ่สุด"[57] แฮนนีแมนและคิงได้ถูกจัดอันดับที่ 10 จากนิตยสารกีตาร์เวิร์ดปี 2004 ในหัวข้อ "100 มือกีตาร์เมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[58] และยังได้รับการโหวตให้เป็น "มือกีตาร์/ทีมมือกีตาร์ ที่ดีที่สุด" จากโพลของนิยสารรีโวล์เวอร์ (Revolver) อดีตมือกลองลอมบาร์โด ก็ได้รับการโหวตให้เป็น "มือกลองที่ดีที่สุด" และวงยังได้ติด 5 อันดับแรกในหัวข้อ "วงที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา" "วงแสดงสดที่ดีที่สุด" "อัลบั้มแห่งปี" (จากอัลบั้ม "คริสต์อิลลูชัน") และ "วงแห่งปี"[59]
นักแต่งหนังสือเกี่ยวกับดนตรีอย่างโจเอิล แม็กอิเวอร์ (Joel McIver) ได้กล่าวว่า สเลเยอร์เป็นวงที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวงการดนตรีเอกซ์ตรีม ซึ่งถือเป็นแนวย่อยหลักของเฮฟวีเมทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแตกแขนงแยกย่อยออกไปสู่แนวย่อยที่ลึกลงไปทั้ง เดทเมทัล และแบล็กเมทัล[60] อ้างจาก จอห์น คอนสเตอร์ดีน (John Consterdine) แห่งเทอร์โรริเซอร์ (Terrorizer) ว่า ถ้าปราศจากสเลเยอร์วงการดนตรีเอกซ์ตรีมที่เรารู้จักกันวันนี้คงมิอาจเกิดขึ้น[61] แคม ลี (Kam Lee) แห่งวงแมสซาเคอร์ (Massacre) และอดีตสมาชิกวงเดท ได้กล่าวว่า "มันคงจะไม่มีเดทเมทัลหรือแบล็กเมทัลหรือเอกซ์ตรีมเมทัลอื่นๆ เฉกเช่นวันนี้ ถ้าไม่มีสเลเยอร์"[62] โจฮัน ไรน์โฮลดซ์ (Johan Reinholdz ) แห่งวงแอนโดรเมดา ได้กล่าวถึงสเลเยอร์ว่า "ใช้ความก้าวร้าวในการพัฒนาวงการแทรชเมทัลซึ่งนำไปสู่การกำเนิดในแนวย่อยเมทัลย่อยมีมากมาย พวกเขาได้ให้แรงบันดาลใจแก่วงเมทัลเหล่านั้น"[62] อเล็กซ์ สโคล์นิกซ์ (Alex Skolnick) แห่งวงแทรชเมทัลเทสต์ทาเมนต์ ได้ประกาศว่า "ก่อนสเลเยอร์ เมทัลไม่เคยมีการเชื่อมกันทั้ง ความหนักแน่น และจุดสมดุลระหว่างเสียงและการหยุด สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ยังขาดการเข้าถึงอย่างสุดๆ ที่ต้องมีทั้งเนื้อหา กลอง และ [...] สำคัญอย่างยิ่งคือการริฟฟ์กีตาร์"[63]
วงอื่น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของเพลงจากสเลเยอร์อาทิเช่น บุลเลตฟอร์มายวาเลนไทน์, สลิปน็อต, กอจิรา, เฮตบรีด[64], แคนนิเบิลคอปส์[60], แพนเทอรา[65], ครีเอเตอร์[66], เมย์เฮม[67], ดาร์คโทรน[60], ซิสเตมออฟอะดาวน์[68], แลมป์ออฟกอด[69], บิฮีมอท[70], อีวิล[71] และลาคูนาคอยล์[72] สตีฟ ออเซียม (Steve Asheim) มือกลองแห่งดีไซด์ ได้ออกมากล่าวชัดเจนว่า "มันกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าจะไม่เกิดดีไซด์ขึ้น ถ้าปราศจากสิ่งที่ปรากฏทุกวันนี้คือสเลเยอร์"[60] แอนเดรส คิซเซอร์ (Andreas Kisser) มือกีตาร์แห่งเซปุลตูรา (Sepultura) กล่าวว่า "ปราศจากสเลเยอร์ เซปุลตูราคงเป็นไปไม่ได้"[73] วงวีเซอร์ (Weezer) ได้หยิบยกชื่อวงสเลเยอร์ ไอเอิร์นเมเดน และจูดาสพรีสต์ ผ่านเพลงของพวกเขา "Heart songs" จากอัลบั้มปี 2008 "เรด" ในท่อน "Iron Maiden, Judas Priest, and Slayer taught me how to shred..."
สเลเยอร์กล่าวได้ว่าได้สร้างอิทธิพลของเมทัลนับตั้งแต่ปล่อยอัลบั้มเรนอินบลัดสู่ตลาด ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดเดทเมทัล[74] จนนำไปสู่การเกิดวงเดทเมทัลรุ่นแรกๆขึ้นมาอาทิ เดท, แคนนิเบิลคอปส์, ออบิทัวรี และมอร์บิดแองเจิล[75] อัลบั้มได้การสรรเสริญให้เป็น "อัลบั้มที่หนักที่สุดตลอดกาล" จากนิยสารเคอร์แรง![76] ได้รับคำชมว่าเป็น "ผู้อธิบายความหมายของแนว" จากนิตยสารสไตลัส (Stylus magazine)[77] และค่ายออลมิวสิก (AllMusic) ได้ให้ 5 ดาวจาก 5 ดาวกับอัลบั้มโดยกล่าวว่ามันเป็น "stone-cold classic"[78] นิตยสารเมทัลแฮมเมอร์ (Metal Hammer) ขนานนามเรนอินบลัดในฐานะ "อัลบั้มเมทัลที่ดีที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา"[79] อ้างจากนีลเซนซาวน์สแกนด์ (Nielsen SoundScan) สเลเยอร์สามารถทำยอดจำหน่ายตั้งแต่ 1991-2003 ได้มากกว่า 4,900,000 ก๊อปปี้ในสหรัฐ[80]
สมาชิกวง
[แก้]
|
|
|
ไทม์ไลน์
[แก้]ผลงานอัลบั้ม
[แก้]- Show No Mercy (1983)
- Hell Awaits (1985)
- Reign in Blood (1986)
- South of Heaven (1988)
- Seasons in the Abyss (1990)
- Divine Intervention (1994)
- Undisputed Attitude (1996)
- Diabolus in Musica (1998)
- God Hates Us All (2001)
- Christ Illusion (2006)
- World Painted Blood (2009)
- "Repentless" (2015)
รางวัลและการเสนอชื่อ
[แก้]รางวัลแกรมมี
[แก้]ปี | รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2002 | "Disciple" | Best Metal Performance[82] | เสนอชื่อเข้าชิง |
2007 | "Eyes of the Insane" | Best Metal Performance[82] | ชนะ |
2008 | "Final Six" | Best Metal Performance[82] | ชนะ |
2010 | "Hate Worldwide" | Best Metal Performance[83] | เสนอชื่อเข้าชิง |
2011 | "World Painted Blood" | Best Metal Performance[84] | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลเคอร์แรง!
[แก้]ปี | รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2006 | สเลเยอร์ | Kerrang! Hall of Fame[85] | ชนะ |
2013 | สเลเยอร์ | Kerrang! Legend[86] | ชนะ |
เมทัลเอดจ์รีเดอรส์ชอยส์อวอร์ด
[แก้]ปี | รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2003 | War at the Warfield | DVD of the Year [87] | ชนะ |
เมทัลแฮมเมอร์โกลเดนก็อดส์อวอร์ด
[แก้]ปี | รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2004 | สเลเยอร์ | Best Live Act[88] | ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "An exclusive oral history of Slayer". Decibel Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-13. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.
- ↑ "Kerrang! Hall Of Fame". Kerrang!. 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 2006-01-10.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Lee, Cosmo (2007-05-07). "Get Thrashed: The Story of Thrash Metal". Stylus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2008-12-16.
- ↑ http://www.drummerworld.com/drummers/Dave_Lombardo.html
- ↑ "Slayer's Jeff Hanneman Dead at 49". Billboard. May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ August 17, 2015.
- ↑ 6.0 6.1 German, Eric. "Interview with Brian Slagel". Metalupdate.com. สืบค้นเมื่อ December 4, 2006.
- ↑ "Live chat with Tom Araya of Slayer". ESPguitars.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-12. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
- ↑ 8.0 8.1 "An exclusive oral history of Slayer". Decibel Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ June 2, 2009.
- ↑ "Gatefold of Best of Metal Blade, Vol. 1". Metal Blade Records. สืบค้นเมื่อ 2013-05-19.
- ↑ "In-store flyer, Monday April 1st, 1985". Slipped Disc Records. สืบค้นเมื่อ 2013-05-03.
- ↑ Gargano, Paul. "Slayer - Tom Araya - January 2007". Maximum Ink Music Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-01-24.
- ↑ "Kerry King interviewed by Metal Hammer". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
- ↑ Hess, Mike (23 July 2003). "Kerry King: Maniac. Guitar Legend. Botanist?". Nighttimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 5 January 2007.
- ↑ 14.0 14.1 "Slayer's album chart history". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2007. สืบค้นเมื่อ March 21, 2007.
- ↑ 15.0 15.1 "RIAA – Artist Slayer". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ February 14, 2007.
- ↑ "BPI – Artist Slayer". British Phonographic Industry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-10. สืบค้นเมื่อ December 13, 2007.
- ↑ "Seasons in the Abyss - Slayer". Music.aol.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2010-10-28.
- ↑ Seasons in the Abyss (CD). Slayer. Def American. 1990.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ CMJ New Music Report. November 15, 1999. p. 31
- ↑ "Seasons in the Abyss - Slayer(2002)". Billboard. Retrieved 2010-07-20.
- ↑ "UK Top 40 Hit Database". Every hit. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
- ↑ "RIAA - Gold & Platinum - Searchable Database". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
- ↑ "Canadian Recording Industry Association (CRIA): Certification Results". Canadian Recording Industry Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
- ↑ "SLAYER: 'World Painted Blood' Debuts At No. 12 On BILLBOARD Chart" เก็บถาวร 2010-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2009-11-11. Retrieved 2010-07-20.
- ↑ Harris, Chris (2006-08-16) "Rick Ross Sails Past Breaking Benjamin, Takes Port Of Miami To #1" เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "Metal/Hard Rock Album Sales In The US As Reported By SoundScan" เก็บถาวร 2011-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Blabbermouth.net. 2002-04-30. Retrieved 2010-07-20.
- ↑ "Metal/Hard Rock Album Sales In The US As Reported By Soundscan" เก็บถาวร 2002-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Blabbermouth.net. 2002-03-09. Retrieved 2010-07-20.
- ↑ "Audio interview with Kerry King Part 1 and 2". toazted.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-30. สืบค้นเมื่อ 2007-12-13.
- ↑ "Midwest Metal Magazine interview with Tom Araya". Midwestmetalmagazine.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-12-13.
- ↑ "Slayer's album chart history". Billboard.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-03-17.
- ↑ "Slayer: Christ Illusion lands at No. 5 on Billboard chart! publisher = Blabbermouth.net". 2006-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
{{cite web}}
: ไม่มี pipe ใน:|title=
(help) - ↑ "Slayer's album chart history". Billboard.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
- ↑ Rohrer, Finlo (2006-04-28). "The Devil's Music". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
- ↑ "Slayer's album chart history". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ 2006-12-01.
- ↑ "Slayer: 'Christ Illusion' Lands At No. 5 On Billboard chart". Blabbermouth.net. 2006-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-03-04.
- ↑ Luxi Lahtinen and Marko Syrjälä (2001-10-04). "Slayer interview with Kerry King". Metalrules.com. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
- ↑ Barker, Samuel (2002-02-09). "A conversation with Kerry King". Rockzone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-03.
- ↑ "44th Grammy Awards - 2002". Rockonthenet. 2002-02-27. สืบค้นเมื่อ 2006-11-29.
- ↑ "Hardcore Sounds interview with Slayer". Hardcoresounds.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
- ↑ "Slayer: 'Christ Illusion' Lands At No. 5 On Billboard Chart!". Blabbermouth.net. 2006-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-02-22.
- ↑ "49th Annual Grammy Awards Winners List". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- ↑ "Best Metal Performance". Grammy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-12-07.
- ↑ "'Offensive' album pulled in India". BBC.co.uk. BBC. October 11, 2006. สืบค้นเมื่อ November 8, 2011.
- ↑ "Upcoming Releases". Hits Daily Double. HITS Digital Ventures. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2015.
- ↑ "SLAYER: 'World Painted Blood' Debuts At No. 12 On BILLBOARD Chart". Blabbermouth.net. November 11, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ November 11, 2009.
- ↑ "World Painted Blood – Slayer". Billboard charts. สืบค้นเมื่อ June 8, 2010.
- ↑ "UK Top 40 Hit Database". Every hit. สืบค้นเมื่อ June 8, 2010.
- ↑ Kreps, Daniel (September 21, 2015). "On the Charts: Slayer Capture Best Debut With Repentless". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015.
- ↑ Brown, Matt (September 30, 2015). "Metal By Numbers 9/30: Fortune shines down on the charts". Metal Insider. สืบค้นเมื่อ September 30, 2015.
- ↑ Birchmeier, Jason. "Slayer - God Hates us all". AllMusic. สืบค้นเมื่อ January 18, 2006.
- ↑ Syrjälä, Marko (February 5, 2007). "Paul Bostaph of Exodus, ex-Slayer". Metal-Rules.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ March 7, 2007.
- ↑ Horatio. "Slayer - Reign in Blood". Kickedintheface.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ January 18, 2006.
- ↑ "Dave Lombardo". Drummerworld.com. สืบค้นเมื่อ January 30, 2007.
- ↑ Dave Lombardo Modern Drummer Festival 2000
- ↑ Lee, Cosmo (May 7, 2007). "Get Thrashed: The Story of Thrash Metal". Stylus Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ December 16, 2008.
- ↑ "Why They Rule - #6 Slayer". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-18. สืบค้นเมื่อ January 18, 2006.
- ↑ "The Greatest: 100 Greatest Artists of Hard Rock". VH1.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ March 19, 2007.
- ↑ "Guitar World's 100 Greatest Heavy Metal Guitarists Of All Time". Blabbermouth.net. January 23, 2004. สืบค้นเมื่อ January 18, 2006.
- ↑ "The fans have spoken: Slayer comes out on top in readers' polls". Blabbermouth.net. March 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ March 16, 2007.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 60.3 Joel McIver, The Bloody Reign of Slayer, Omnibus Press, 2009
- ↑ "Slayer guitarist Jeff Hanneman dies aged 49". terrorizer.com. May 3, 2013. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
- ↑ 62.0 62.1 "Tribute to Jeff Hanneman (1964-2013)". metalcrypt.com. June 8, 2013. สืบค้นเมื่อ July 14, 2013.
- ↑ "Remembering Jeff Hanneman: 1964-2013". premierguitar.com. May 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-20. สืบค้นเมื่อ September 5, 2013.
- ↑ "Hatebreed Music Influences". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-08. สืบค้นเมื่อ 2015-07-26.
- ↑ "Pantera Music Influences". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 2015-07-26.
- ↑ "Kreator – Mille Petrozza". metal-rules.com. 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.
- ↑ Pure Fucking Mayhem, dir. Stefan Rydehed, Prophecy Productions, 2008
- ↑ Nalbandian, Bob. "Interview with System of a Down". Shockwaves Online. สืบค้นเมื่อ July 21, 2007.
- ↑ "Lamb Of God Frontman: We Sound Like A Slayer Rip-Off". ultimate-guitar.com. September 2, 2012. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.
- ↑ "Behemoth Frontman Pays Tribute To SLAYER's JEFF HANNEMAN". blabbermouth.net. June 3, 2013. สืบค้นเมื่อ November 27, 2013.
- ↑ "Evile interview". lordsofmetal.nl. สืบค้นเมื่อ October 28, 2013.
- ↑ "Lacuna Coil's Andrea Ferro Talks Influences, Skateboarding, Band Origins + More". loudwire.com. May 25, 2012. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.
- ↑ "Andreas Kisser: 'Without Slayer, Sepultura Would Never Be Possible". blabbermouth.net. สืบค้นเมื่อ September 9, 2013.
- ↑ D.X. Ferris, Slayer's Reign in Blood, Continuum, 2008, p.21
- ↑ Into The Lungs of Hell Metal Hammer magazine, Written by: Enrico de Paola, Translated by: Vincenzo Chioccarelli, March 2000 ""
- ↑ "Kerrang! Hall Of Fame". Kerrang!. August 24, 2006. สืบค้นเมื่อ January 10, 2006.
- ↑ Jarvis, Clay (September 1, 2003). "Slayer". Stylus Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-11. สืบค้นเมื่อ January 19, 2006.
- ↑ Huey, Steve. "Reign in Blood". Allmusic. สืบค้นเมื่อ December 1, 2006.
- ↑ "Golden Gods Awards Winners". Metal Hammer. June 13, 2006. สืบค้นเมื่อ January 10, 2007.
- ↑ "Slayer's Jeff Hanneman Dead at 49". Billboard. May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ August 17, 2015.
- ↑ "Artists: Slayer". MusicMight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.
- ↑ 82.0 82.1 82.2 "Slayer Wins 'Best Metal' Grammy Award". Blabbermouth.net. February 10, 2008. สืบค้นเมื่อ January 31, 2014.
- ↑ "Slayer Drummer Interviewed By Chicks With Guns Magazine". Blabbermouth.net. September 8, 2010. สืบค้นเมื่อ January 31, 2014.
- ↑ "Slayer Guitarist Jeff Hanneman Dies". Grammy Awards. สืบค้นเมื่อ January 31, 2014.
- ↑ "Kerrang! Awards 2006 Blog: Kerrang! Hall Of Fame". Kerrang.typepad.com. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
- ↑ "Kerrang! Awards 2013: Kerrang! Legend". Kerrang!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-23.
- ↑ Metal Edge, June 2004
- ↑ "Metallica, Slayer, Iron Maien Among Winners At Metal Hammer Awards". Blabbermouth.net. Metal Hammer. June 7, 2004. สืบค้นเมื่อ July 12, 2014.