แบล็กเมทัล
แบล็กเมทัล | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | แทรชเมทัล ฮาร์ดคอร์พังก์ เดธเมทัล |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ช่วงแรก: ในช่วงกลางศตวรรษ 1980, ยูโรเปียนเอ็กซ์ตรีมเมทัลซีน ช่วงที่ 2: ต้นศตวรรษ 1990, สแกนดิเนเวียนเอ็กซ์ตรีมเมทัลซีน |
เครื่องบรรเลงสามัญ | กีตาร์ไฟฟ้า - กีตาร์เบส - กลอง - เสียงร้อง |
แนวย่อย | |
แอมบิเอินท์แบล็คเมทัล - ซิมโฟนิกแบล็คเมทัล - วอร์เมทัล | |
แนวประสาน | |
แบล็ก-ดูม - แบล็กเคนด์เดธเมทัล - เพกันเมทัล - ไวกิ้งเมทัล | |
ทัศนียภาพในระดับภูมิภาค | |
ฝรั่งเศส - นอร์เวย์ |
แบล็กเมทัล (อังกฤษ: Black metal) เป็นหนึ่งในแนวเพลงย่อยของแนวเพลงเฮฟวีเมทัล ในช่วงทศวรรษที่ 80 - 90 มีลักษณะเด่นคือการเล่นจังหวะเร็ว โดยเฉพาะการริฟฟ์กีตาร์ที่ผิดเพี้ยนไม่เป็นจังหวะแน่นอน การทำเสียงแหบเบาเหมือนเสียงภูตผีปีศาจ[1][2][3] การเพนท์หน้าสีดำบริเวณขอบตาและริมฝีปาก เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะอิงไปถึงการต่อต้านศาสนาคริสต์ การรังเกียจมนุษย์ ลัทธินิยมภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะลัทธิซาตาน จนถูกขนานนามว่าเป็น "ซาตานิกเมทัล" (Satanic metal)[4]
แบล็กเมทัล ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ 80 ในประเทศแถบยุโรป แนวเพลงนี้ได้รับองค์ประกอบหลักมาจากแนวแทรชเมทัล และ เดธเมทัล วงที่ถือเป็นผู้บุกเบิกแนวนี้ในยุคแรกเช่น เวนอม, บาโธรี, เมอร์ซีฟูลเฟต, เฮลแฮมเมอร์ และเชลติกฟรอสต์[5] และในยุคที่สอง (ศตวรรษ 1990) ซึ่งส่วนใหญ่ถือกำเนิดในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะในประเทศนอร์เวย์ วงซึ่งนับว่าเป็นแนวแบล็กเมทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น เมย์เฮม, ดาร์กโทรน, อิมมอร์ทัล และเอมเพอเรอร์
คำว่า "แบล็กเมทัล" มาจากชื่ออัลบั้มของ เวนอม ปี 1982 จนถือว่าเป็นการนำคำว่าแบล็กเมทัลมาใช้เป็นครั้งแรกอีกด้วย
ภาพลักษณ์ศิลปิน
[แก้]การไว้ผมยาวและเพนท์หน้าสีดำ รวมถึงริมฝีปาก ซึ่งในแต่ละวงก็จะมีรูปแบบการเพนท์หน้าที่ต่างกันออกไป การถ่ายรูปหมู่สมาชิกมักจะให้สมาชิกสวมชุดนักรบยุคกลาง และถืออาวุธยุคกลาง โดยเฉพาะอาวุธของไวกิ้ง เช่น ค้อน ขวาน เป็นต้น การสร้างภาพลักษณ์ให้ดูน่าสะพรึงกลัวในขณะเล่นคอนเสิร์ตด้วยการพ่นเลือดสีแดงทั่วปากและร่างกาย นอกจากนี้ศิลปินส่วนใหญ่มักจะใช้นามสมมุติเป็นชื่อที่เกียวข้องกับปีศาจอิงจากตำนานนอร์ส เช่น หรือชื่อที่มีความหมายเชิงลบ แม้กระทั่งชื่อที่มาจากภาษาของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เช่นชื่อวงเบอร์ซัม (Burzum) วงกอร์กอรอท (Gorgoroth) เป็นต้น
ศิลปินแนวแบล็กเมทัลส่วนใหญ่ในช่วงต้นของยุคที่สอง (ทศวรรษที่ 90) ซึ่งถือกำเนิดในดินแดนแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะในประเทศนอร์เวย์ มักจะเป็นกลุ่มต่อต้านศาสนาคริสต์หัวรุนแรง การนับถือลัทธิซาตาน ในปี 1996 มีการเผาโบสถ์คริสต์มากกว่า 50 โบสถ์ในนอร์เวย์ บางโบสถ์มีอายุมากกว่าร้อยปี ซึ่งถือเป็นมรดกสำคัญของชาติ โดยโบสถ์แห่งแรกที่ถูกเผาคือ โบสถฺ์แฟนทอฟต์ สเตฟ (Fantoft stave church) โดยนายวาร์จ วิเคอร์เนส (Varg Vikernes) มือเบสวงเมย์เฮม และหัวหน้าวงเบอร์ซัม ภายหลังเผาเสร็จเขาก็ได้ถ่ายซากที่เหลือของโบสถ์มาเป็นหน้าปกอัลบั้ม "อาสค์" (Aske) การฆาตกรรมเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์หลักและเพื่อนร่วมวงเมย์แฮม ในปี 1993 จนสุดท้ายวิเคอร์เนสถูกจำคุก 21 ปี[6] การฆ่าตัวตายของเปอร์ "เดด" โฮลิน (Per "Dead" Ohlin) ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่า "เดด" อดีตนักร้องนำวงเมย์แฮม ในปี 1991 ต่อมาวงเมย์แฮมออกอัลบั้ม "Dawn of the Black Hearts" ก็ได้นำภาพที่โฮลินตายมาขึ้นเป็นภาพหน้าปก ซึ่งถ่ายโดยยูโรนิมัส
สัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อแสดงความเป็นตัวตน
- วงแบล็กเมทัล จะใช้สัญลักษณ์บนหน้าปกอัลบั้มหรือเสื้อผ้า การแต่งกาย ที่เป็นสัญลักษณ์ของลัทธิบูชาซาตาน อาทิเช่น
- หมายเลข 666
- ภาพรูปหน้าแพะมีเขาแหลม ซึ่งเป็นใบหน้าสมมุติของซาตาน
- ไม้กางเขนกลับหัว
- ดาวห้าแฉกกลับหัว ที่หันปลายด้านแหลมลง
ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นเครื่องหมายการค้า ในผลิตภัณท์ที่เป็นของกลุ่มวงแบล๊กเมทัลโดยเฉพาะ
แต่สิ่งที่วงแบล็กเมทัลทางกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียแตกต่างจากที่อื่น คือการตั้งชื่อนามแฝงของสมาชิกในวงเป็นภาษาโบราณ ไม่ใช้ชื่อจริง เช่น ยูโรนิมัส เนโครบัดเชอร์ ของวงเมย์แฮม เป็นต้น ซึ่งปรากฏว่าแทบทุกวงในยุโรปทางเหนือทำแบบนี้เหมือนกันไปหมด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O'Hagar, Sammy (November 8, 2012). "Von's Satanic Blood: Black Black Black Black No. 1". MetalSucks. สืบค้นเมื่อ May 8, 2013.
- ↑ Rivadavia, Eduardo. "( I.N.R.I. > Overview )". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- ↑ Freeman, Channing (18 January 2013). "Album Review - Darkthrone: A Blaze in the Northern Sky". Sputnikmusic. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.
- ↑ McIver, Joel (2009). Justice for All - The Truth About Metallica (updated ed.). Omnibus Press. สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.
- ↑ Dunn, Sam (2005). Metal: A Headbanger's Journey (motion picture). Seville Pictures.
- ↑ http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47740