ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลกาลิลี

พิกัด: 32°50′N 35°35′E / 32.833°N 35.583°E / 32.833; 35.583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sea of Galilee)
ทะเลกาลิลี
Location of the Sea of Galilee.
Location of the Sea of Galilee.
ทะเลกาลิลี
Location of the Sea of Galilee.
Location of the Sea of Galilee.
ทะเลกาลิลี
พิกัด32°50′N 35°35′E / 32.833°N 35.583°E / 32.833; 35.583
ชนิดของทะเลสาบโมโนมิกติก
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำจอร์แดนตอนบนและน้ำไหลผ่านในท้องถิ่น[1]
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำจอร์แดนตอนล่าง, การระเหย
พื้นที่รับน้ำ2,730 ตารางกิโลเมตร (1,050 ตารางไมล์)[2]
ประเทศในลุ่มน้ำอิสราเอล, ซีเรีย, เลบานอน
ช่วงยาวที่สุด21 กิโลเมตร (13 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ166 ตารางกิโลเมตร (64 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย25.6 เมตร (84 ฟุต) (มีความผันผวน)
ความลึกสูงสุด43 เมตร (141 ฟุต) (มีความผันผวน)
ปริมาณน้ำ4 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.96 ลูกบาศก์ไมล์)
เวลาพักน้ำ5 ปี
ความยาวชายฝั่ง153 กิโลเมตร (33 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่−214.66 เมตร (704.3 ฟุต) (มีความผันผวน)
เมืองทิเบเรียส (อิสราเอล)
อ้างอิง[1][2]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ทะเลกาลิลี (อังกฤษ: Sea of Galilee; ฮีบรู: יָם כִּנֶּרֶת, แอราเมอิกของชาวยิว: יַמּא דטבריא, גִּנֵּיסַר, อาหรับ: بحيرة طبريا) หรือ ทะเลสาบทิเบเรียส (อังกฤษ: Lake Tiberias) หรือ คินเนเรท (อังกฤษ: Kinneret) เป็นทะเลสาบน้ำจืดในประเทศอิสราเอล เป็นทะเลสาบน้ำจืดซึ่งอยู่ต่ำที่สุดในโลก และเป็นทะเลสาบซึ่งอยู่ต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากทะเลเดดซีซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม)[3][4] อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 215 และ 209 เมตร (705 และ 686 ฟุต)[5] ทะเลสาบมีความยาวโดยรอบทะเลสาบประมาณ 53 กิโลเมตร (33 ไมล์) มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) และความกว้างประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) มีพื้นที่ 166.7 ตารางกิโลเมตร (64.4 ตารางไมล์) และมีความลึกสูงสุดประมาณ 43 เมตร (141 ฟุต)[6] ทะเลสาบกาลิลีรับน้ำบางส่วนจากน้ำพุใต้ดิน แต่แหล่งที่มาหลักคือแม่น้ำจอร์แดนซึ่งไหลผ่านทะเลสาบจากเหนือลงใต้และออกจากทะเลสาบที่เขื่อนเดกาเนีย

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ทะเลกาลิลีเชื่อมต่อกับทะเลเดดซีผ่านแม่น้ำจอร์แดน

ทะเลกาลิลีตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิสราเอล ระหว่างที่ราบสูงโกลันและภูมิภาคกาลิลีในหุบเขาทรุดจอร์แดน[7] เกิดจากการแยกออกของแผ่นเปลือกโลกแอฟริกาและแผ่นเปลือกโลกอาระเบีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จะมักเกิดแผ่นดินไหว และในอดีตเคยเกิดภูเขาไฟระเบิด[8] มีหลักฐานจากหินบะซอลต์และหินอัคนีชนิดอื่น ๆ จำนวนมาก ซึ่งบ่งบอกถึงธรณีวิทยาของกาลิลี[9][10]

ชื่อ

[แก้]

ทะเลสาบแห่งนี้ถูกเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไปตลอดประวัติศาสตร์ โดยปกติแล้วชื่อจะขึ้นกับการตั้งถิ่นฐานอาศัยที่เด่น ๆ บนชายฝั่ง และเมื่อชะตากรรมของเมืองต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ชื่อของทะเลสาบก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ชื่อในภาษาฮีบรูสมัยใหม่คือ คินเนเรท มาจากคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งปรากฏในชื่อ "ทะเลคินเนเรท" ในกันดารวิถี 34:11 และโยชูวา 13:27 และสะกดว่า כנרות "Kinerot" ในภาษาฮีบรู ใน โยชูวา 11:2 ชื่อนี้ยังพบในเอกสารต้นฉบับของยูการิตในมหากาพย์ Aqhat ชื่อ "คินเนเรท" ถูกระบุในฐานะชื่อเมืองในรายชื่อของ "เมืองที่มีกำแพงล้อม" ในโยชูวา 19:35 ศัพทมูลซึ่งเป็นที่เชื่อถืออย่างแพร่หลายสันนิษฐานว่าชื่อ คินเนเรท อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาฮีบรูว่า kinnor ("พิณ") เพราะทะเลสาบมีรูปร่างเหมือนพิณ[11] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการเห็นพ้องว่าต้นกำเนิดของชื่อทะเลสาบคินเนเรทนั้นมาจากชื่อเมืองคินเนเรทซึ่งเป็นเมืองสำคัญในยุคสัมฤทธิ์และยุคเหล็ก และมีการขุดพบที่ Tell el-'Oreimeh[12] แต่ในทางกลับกัน เมืองคินเนเรทก็อาจจะถูกตั้งชื่อตามแหล่งน้ำ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ที่มาของชื่อเมือง[13]

นักเขียนทั้งหมดของพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ใช้คำเรียกว่า "ทะเล" (ฮีบรู יָם yam, กรีก θάλασσα) ยกเว้นพระวรสารนักบุญลูกาที่เรียกว่า "ทะเลสาบเยนเนซาเรท" (ลูกา 5:1 ) จากคำภาษากรีกว่า λίμνη Γεννησαρέτ (limnē Gennēsaret) "รูปคำภาษากรีกของ Chinnereth"[14] ทาลมุดของบาบิโลนรวมถึงโยเซพุสระบุถึงทะเลสาบแห่งนี้ในชื่อ "ทะเลกิโนซาร์" ตามชื่อกิโนซาร์ซึ่งที่ราบขนาดเล็กอันอุดมสมบูรณ์ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ[15] กิโนซาร์ยังเป็นอีกชื่อหนึ่งที่มาจากคำว่า "คินเนเรท"[12]

คำว่า กาลิลี มาจากคำภาษาฮีบรูว่า Haggalil (הַגָלִיל) ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า "เขต" เป็นรูปย่อของ Gelil Haggoyim "เขตของบรรดาประชาชาติ" (อิสยาห์ 9:1) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ทะเลกาลิลีเป็นที่รู้จักแพร่หลายในชื่อ ทะเลสาบทิเบเรียส ตามชื่อเมืองทิเบเรียสซึ่งก่อตั้งขึ้นบนชายฝั่งด้านตะวันตกเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิติแบริอุส จักรพรรดิลำดับที่ 2 ของโรมัน ในพันธสัญญาใหม่ ชื่อ "ทะเลกาลิลี" (กรีก: θάλασσαν τῆς Γαλιλαίας, thalassan tēs Galilaias) ถูกใช้ในพระวรสารนักบุญมัทธิว 4:18; 15:29, พระวรสารนักบุญมาระโก 1:16; 7:31 และพระวรสารนักบุญยอห์น 6:1 ในชื่อว่า "ทะเลกาลิลี คือทะเลทิเบเรียส" (θαλάσσης τῆς Γαλιλαίας τῆς Τιβεριάδος, thalassēs tēs Galilaias tēs Tiberiados) ซึ่งเป็นชื่อในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1[16] ทะเลทิเบเรียสยังเป็นที่ถูกกล่าวถึงในเอกสารของโรมันและในทาลมุดเยรูซาเล็ม และได้รับการดัดแปลงเป็นชื่อในภาษาอาหรับว่า Buḥayret Ṭabariyyā (بحيرة طبريا), "ทะเลสาบทิเบเรียส"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Aaron T. Wolf, Hydropolitics along the Jordan River เก็บถาวร 28 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, United Nations University Press, 1995
  2. 2.0 2.1 "Exact-me.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  3. "Sea of Galilee Geographic Information". International Lake Environment Committee (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-18.
  4. ทะเลสาบวอสตอคซึ่งเป็นทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็งที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1996 ได้ขึ้นมาท้าทายสถิติของทะเลสาบทั้งสองแห่ง มีการประมาณการว่าทะเลสาบวอสตอคอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลระหว่าง 200 เมตร (660 ฟุต) ถึง 600 เมตร (2,000 ฟุต)
  5. "Kinneret – General" (ภาษาฮิบรู). Israel Oceanographic & Limnological Research Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-13.
  6. Data Summary: Lake Kinneret (Sea of Galilee) เก็บถาวร 3 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "Sea of Galilee | Israel, Fishing, Map, & History | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 2023-11-29.
  8. Horowitz, Aharon; הורוביץ, א' (1977). "הסטראטיגראפיה של הפלייסטוקן בעמק-הירדן / the Pleistocene Stratigraphy of the Jordan Valley". Eretz-Israel: Archaeological, Historical and Geographical Studies / ארץ-ישראל: מחקרים בידיעת הארץ ועתיקותיה. יג: 14*–22*. ISSN 0071-108X. JSTOR 23618737.
  9. Harash, A.; Bar, Y. (1988-02-01). "Faults, landslides and seismic hazards along the Jordan River gorge, Northern Israel". Engineering Geology. 25 (1): 1–15. Bibcode:1988EngGe..25....1H. doi:10.1016/0013-7952(88)90015-4. ISSN 0013-7952.
  10. Lu, Yin; Wetzler, Nadav; Waldmann, Nicolas; Agnon, Amotz; Biasi, Glenn P.; Marco, Shmuel (2020-11-27). "A 220,000-year-long continuous large earthquake record on a slow-slipping plate boundary". Science Advances. 6 (48): eaba4170. Bibcode:2020SciA....6.4170L. doi:10.1126/sciadv.aba4170. ISSN 2375-2548. PMC 7695470. PMID 33246948.
  11. Easton's Revised Bible Dictionary, "Chinnereth". Another speculation is that the name comes from a fruit called in Biblical Hebrew kinar, which is thought to be the fruit of Ziziphus spina-christi.
  12. 12.0 12.1 Negev, Avraham; Gibson, Shimon, บ.ก. (2001). "Kinneret". Archaeological Encyclopedia of the Holy Land. New York and London: Continuum. p. 285. ISBN 978-0-8264-1316-1. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021.
  13. McKenzie, John L. (1995). Dictionary of the Bible (1st Touchstone ed.). New York: Simon & Schuster. p. 130. ISBN 978-0-684-81913-6. OCLC 34111634.
  14. Easton, Gennesaret.
  15. Israel and You (28 February 2019). "Sea of Galilee – Aerial View *". Israel and You (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
  16. Easton, Tiberias

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]