ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์ปลาอินทรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Scombrinae)
วงศ์ปลาอินทรี
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Scombroidei
วงศ์: Scombridae
วงศ์ย่อยและสกุล
ชื่อพ้อง
  • Cybiidae
  • Thunnidae

วงศ์ปลาอินทรี (อังกฤษ: Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง

มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1]

คีล ของปลาทูน่าตาโต (Thunnus obesus)
ภาพโดย ดร.โทนี อายลิ่ง

โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย

ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Johnson, G.D. & Gill, A.C. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N.. ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 190. ISBN 0-12-547665-5
  2. ปลาทูน่า (เอกสารดาวน์โหลด)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]