ข้ามไปเนื้อหา

กระดูกสันหลังคด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Scoliosis)
กระดูกสันหลังคด
scoliosis
การออกเสียง
สาขาวิชาศัลยกรรมออร์โทพีดิกส์
อาการหลังโค้งออกด้านข้าง[2]
การตั้งต้น10–20 ปี[2]
สาเหตุปกติไม่ทราบ[3]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, อัมพาตสมองใหญ่, กลุ่มอาการมาร์แฟน, เนื้องอกอย่างนิวโรไฟโบรมาโตซิส[2]
วิธีวินิจฉัยรังสีเอ็กซ์[2]
การรักษาติดตามอาหาร, การโอบพยุงหลัง, การออกกำลังกาย, การผ่าตัด[2][4]
ความชุก3%[5]

กระดูกสันหลังคด (อังกฤษ: scoliosis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่กระดูกสันหลังของบุคคลมีวงโค้งไปทางด้านข้าง[2] วงโค้งนั้นปกติมีรูปทรงเป็นตัว "S" หรือ "C" ในสามมิติ[2][6] ในผู้ป่วยบางคน ระดับของส่วนโค้งมีความเสถียร แต่ก็มีบางคนที่ส่วนโค้งจะเพิ่มขึ้นตามเวลา กระดูกสันหลังคดแบบไม่รุนแรงตรงแบบไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด แต่ผู้ป่วยรุนแรงภาวะดังกล่าวอาจรบกวนการหายใจ[3][7] และตรงแบบผู้ป่วยจะไม่เจ็บ[8]

สาเหตุส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเกิดร่วมกัน ปัจจัยเสี่ยงได้แก่สมาชิกครอบครัวอื่นที่เป็น นอกจากนี้ยังอาจเกิดเนื่องจากภาวะอื่นเช่นกล้ามเนื้อหดเกร็ง อัมพาตสมองใหญ่ กลุ่มอาการมาร์แฟน และเนื้องอกอย่างนิวโรไฟโบรมาโตซิส การวินิจฉัยยืนยันได้จากรังสีเอ็กซ์ กระดูกสันหลังคดตรงแบบจำแนกเป็นเชิงโครงสร้างซึ่งส่วนโค้งนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา และเชิงหน้าที่ซึ่งกระดูกสันหลังพื้นเดิมยังปกติดี[2]

การรักษาขึ้นอยู่กับระดับความโค้ง ตำแหน่งและสาเหตุ ส่วนโค้งเล็กน้อยอาจติดตามอาการได้เป็นระยะ การรักษาอาจรวมการโอบพยุง การออกกำลังกายบางชนิดและการผ่าตัด[2][4] การโอบพยุงจะต้องพอดีกับบุคคลและใช้ทุกวันจนกว่าจะหยุดเจริญเติบโต อาจใช้การออกกำลังกายบางชนิดเพื่อลดความเสี่ยงอาการทรุดลง[4] ซึ่งอาจใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาอื่นเช่นการโอบพยุง[9][10] หลักฐานว่าการจัดกระดูกสันหลัง (chiropractic manipulation) การเสริมอาหารหรือการออกกำลังกายช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวทรุดลงนั้นมีน้อยและไม่ชัดเจน[2][11] อย่างไรก็ดี ยังแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพราะประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างอื่น

กระดูกสันหลังคดพบในประมาณ 3% ของประชากร[5] พบมากที่สุดในช่วงอายุ 10–20 ปี ตรงแบบหญิงมีอาการรุนแรงกว่าชาย[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "scoliosis". Merriam Webster. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 "Questions and Answers about Scoliosis in Children and Adolescents". NIAMS. December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 "adolescent idiopathic scoliosis". Genetics Home Reference. September 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 Negrini S, Donzelli S, Aulisa AG, Czaprowski D, Schreiber S, de Mauroy JC, และคณะ (2018). "2016 SOSORT guidelines: orthopaedic and rehabilitation treatment of idiopathic scoliosis during growth". Scoliosis and Spinal Disorders. 13: 3. doi:10.1186/s13013-017-0145-8. PMC 5795289. PMID 29435499.
  5. 5.0 5.1 Shakil H, Iqbal ZA, Al-Ghadir AH (2014). "Scoliosis: review of types of curves, etiological theories and conservative treatment". Journal of Back and Musculoskeletal Rehabilitation. 27 (2): 111–15. doi:10.3233/bmr-130438. PMID 24284269.
  6. Illés TS, Lavaste F, Dubousset JF (April 2019). "The third dimension of scoliosis: The forgotten axial plane". Orthopaedics & Traumatology, Surgery & Research. 105 (2): 351–59. doi:10.1016/j.otsr.2018.10.021. PMID 30665877.
  7. Yang S, Andras LM, Redding GJ, Skaggs DL (January 2016). "Early-Onset Scoliosis: A Review of History, Current Treatment, and Future Directions". Pediatrics. 137 (1): e20150709. doi:10.1542/peds.2015-0709. PMID 26644484.
  8. Agabegi SS, Kazemi N, Sturm PF, Mehlman CT (December 2015). "Natural History of Adolescent Idiopathic Scoliosis in Skeletally Mature Patients: A Critical Review". The Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. 23 (12): 714–23. doi:10.5435/jaaos-d-14-00037. PMID 26510624.
  9. Berdishevsky H, Lebel VA, Bettany-Saltikov J, Rigo M, Lebel A, Hennes A, Romano M, Białek M, M'hango A, Betts T, de Mauroy JC, Durmala J (2016). "Physiotherapy scoliosis-specific exercises – a comprehensive review of seven major schools". Scoliosis and Spinal Disorders. 11: 20. doi:10.1186/s13013-016-0076-9. PMC 4973373. PMID 27525315.
  10. Park JH, Jeon HS, Park HW (June 2018). "Effects of the Schroth exercise on idiopathic scoliosis: a meta-analysis". European Journal of Physical and Rehabilitation Medicine. 54 (3): 440–49. doi:10.23736/S1973-9087.17.04461-6. PMID 28976171.
  11. Thompson, JY; Williamson, EM; Williams, MA; Heine, PJ; Lamb, SE; ACTIvATeS Study, Group. (27 October 2018). "Effectiveness of scoliosis-specific exercises for adolescent idiopathic scoliosis compared with other non-surgical interventions: a systematic review and meta-analysis". Physiotherapy. 105 (2): 214–34. doi:10.1016/j.physio.2018.10.004. PMID 30824243.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก