คีนวา
คีนวา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Core eudicots |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Amaranthaceae |
วงศ์ย่อย: | Chenopodioideae |
สกุล: | Chenopodium |
สปีชีส์: | C. quinoa |
ชื่อทวินาม | |
Chenopodium quinoa Willd. | |
พื้นที่กำเนิดดั้งเดิม (สีแดง), พื้นที่เพาะปลูก (สีเขียว) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
คีนวา (อังกฤษ: quinoa, ออกเสียง: /ˈkiːnwɑː/; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chenopodium quinoa) เป็นพืชในวงศ์ Chenopodiaceae มีความใกล้ชิดกับผักโขมและปวยเล้ง ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว โคนต้นกลม ส่วนที่แตกใบต้นจะเป็นเหลี่ยม ต้นแก่เป็นสีเหลืองอ่อนหรือแดง ต้นอ่อนมีได้หลายสี สีแดงของพืชชนิดนี้เกิดจากเบตาไซยานิน ต้นอายุน้อยใบสีเขียวมีขนละเอียด เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง หรือม่วง ดอกช่อผลมีกลีบดอกห่อหุ้ม สามารถถูออกได้ ผลมีหลายสี เมล็ดสีขาว น้ำตาลหรือดำ ลำต้นสูง 1–2 เมตร
พืชชนิดนี้เป็นพืชที่ปลูกในแถบเทือกเขาแอนดีส และกระจายไปทั่วอเมริกาใต้ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ถือเป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง โดยชาวอินคาได้บริโภคคีนวากันมาอย่างยาวนานแล้วด้วยเป็นพืชที่มีประโยชน์ เมล็ดนำไปคั่วแล้วบดละเอียดทำเป็นแป้ง นำไปต้มใส่ในซุปหรือทำพาสตา เมล็ดรสชาติมันแต่อบแล้วไม่ขยายตัว นำไปทดแทนแป้งสาลีในการทำขนมปังได้บางส่วน ใบและลำต้นรับประทานเป็นผักได้ทั้งสดหรือนำไปต้ม หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดคีนวาให้โปรตีนโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ของน้ำหนัก มีแป้งร้อยละ 60 เม็ดแป้งขนาดเล็กมาก โดยเป็นอะมิโลสร้อยละ 20 และเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นเหนียวที่ 55 องศาเซลเซียส เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารซาโปนินที่เป็นพิษ กำจัดออกโดยการล้าง กวน และขัดถูอย่างรุนแรง พันธุ์ที่มีรสขมมีซาโปนินสูงถึงร้อยละ 4
ในปี ค.ศ. 2013 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ยกให้เป็นปีแห่งคีนวา เพื่อสนับสนุนการปลูกและบริโภคพืชนี้ รวมถึงในประเทศไทยก็มีผู้พยายามเพาะปลูกด้วยเช่นกัน โดยเมล็ดมีราคาซื้อขายที่ค่อนข้างแพง[2]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
Chenopodium quinoa -red faro- - Museum specimen
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
64 g | |
แป้ง | 52 g |
ใยอาหาร | 7 g |
6 g | |
ไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | 3.3 g |
14 g | |
ทริปโตเฟน | 0.167 g |
ทรีโอนีน | 0.421 g |
ไอโซลิวซีน | 0.504 g |
ลิวซีน | 0.840 g |
ไลซีน | 0.766 g |
เมไธโอนีน | 0.309 g |
ซิสตีน | 0.203 g |
ฟีนิลอะลานีน | 0.593 g |
ไทโรซีน | 0.267 g |
วาลีน | 0.594 g |
อาร์จินีน | 1.091 g |
ฮิสทิดีน | 0.407 g |
อะลานีน | 0.588 g |
กรดแอสปาร์ติก | 1.134 g |
กลูตาเมต | 1.865 g |
ไกลซีน | 0.694 g |
โพรลีน | 0.773 g |
ซีรีน | 0.567 g |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (31%) 0.36 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (27%) 0.32 มก. |
วิตามินบี6 | (38%) 0.5 มก. |
โฟเลต (บี9) | (46%) 184 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (4%) 36 มก. |
เหล็ก | (35%) 4.6 มก. |
แมกนีเซียม | (55%) 197 มก. |
ฟอสฟอรัส | (65%) 457 มก. |
โพแทสเซียม | (12%) 563 มก. |
สังกะสี | (33%) 3.1 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 13 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
- ↑ หน้า 8 ทัศนะ, 'ธัญพืชโบราณ' และ 'Thailand 4.0' . "อาหารสมอง" โดย วรากรณ์ สามโกเศศ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10421: วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10: ธัญพืช. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 100 – 103
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chenopodium quinoa ที่วิกิสปีชีส์