จิตเวชศาสตร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จิตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ บางคนอาจจะมีอาการทางจิตที่ผิดปกติชัดเจน เช่น อาการหูแว่ว หวาดระแวง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าท้อแท้ จนรบกวนต่อการใช้ชีวิต ขณะที่บางคน อาจมีภาวะเครียด นอนไม่หลับ หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตบางอย่าง[1]
อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยีน และสภาพแวดล้อม
ประวัติ
[แก้]ในสมัยโบราณ ประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว อาการบกพร่องทางจิตหรือประสาท ถูกมองว่าเกิดจากปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ คำอธิบายลักษณะนี้เกิดขึ้นในกรีกโบราณและอาณาจักรโรมัน และอาจรวมถึงในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก งานเขียนชิ้นแรก ๆ ที่มีการบันทึกเกี่ยวกับอาการบกพร่องทางจิต ถูกเขียนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดย ฮิปโปเครติส ได้อธิบายไว้ว่าอาการบกพร่องทางจิตอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนในทางศาสนามีคำอธิบายว่าเป็นการทำงานของสิ่งชั่วร้ายที่อยู่ภายในจิตใจของผู้มีอาการบกพร่องทางจิต
สาขาทางจิตเวชศาสตร์
[แก้]- จิตเวชศาสตร์ทั่วไป คือ ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชที่พบในผู้ใหญ่ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคจิต
- จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชในเด็ก และ วัยรุ่น เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก
การศึกษาสาขาทางจิตเวชศาสตร์
[แก้]- จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ต้องศึกษาให้จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปีเสียก่อน จากนั้น จึงค่อยศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ทั่วไปอีก 3 ปี
- จิตเวชศาสตร์เด็ก และ วัยรุ่น ต้องศึกษาให้จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปีเสียก่อน จากนั้น จึงค่อยศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์เด็ก และ วัยรุ่น อีก 4 ปี
- การรักษาด้วยยา ซึ่งมีหลายชนิด และยังมีการพัฒนาองค์ความรู้ในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง
- การทำจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเป็นจิตแพทย์ คือ กระบวนการพูดคุยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทำความเข้าใจถึงตัวตน ปัญหาและที่มา ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามหนทางที่ผู้ป่วยต้องการ