จิต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จิต (อังกฤษ: mind)[1] คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน
จิต หมายถึง จงจิตร
มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง
สุขภาพจิต
[แก้]คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ได้โดยไม่มีข้อขัดนนั่นเอง
อารมณ์
[แก้]หมายถึง การตอบสนองของจิตต่อสิ่งเร้า อาจแบ่งอารมณ์ออกเป็น 3 ประเภท
- อารมณ์ด้านบวก เช่น ดีใจ พอใจ
- อารมณ์ด้านลบ เช่น เสียใจ ผิดหวัง
- อารมณ์กลาง ๆ
ความสัมพันธ์กับร่างกาย
[แก้]ร่างกายและจิตมีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อใดที่ร่างกายตึงเครียด จะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดไหลเวียนมาเลี้ยงผิวหนังลดลง ตรงกันข้ามกับภาวะผ่อนคลายที่ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก ทำงานมากขึ้นอย่างสมดุลจะทำให้ร่างกายหายใจช้าลง ชีพจรและความดันโลหิตลดลง มือเท้าอุ่นขึ้น
เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ไตขับของเสียได้น้อยลง หัวใจเต้นเร็วและแรง เส้นเลือดในท้องและผิวหนังหดตัว อาหารจึงไม่ย่อย ภูมิต้านทานลดลง เกล็ดเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มมากขึ้น ไขมันที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อจะละลายออกมาอยู่ในสภาวะพร้อมใช้งาน ไขมันในเลือดจึงสูงขึ้น หากเครียดบ่อย ๆ จะอุดตันตามเส้นเลือด กลายเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง จิตที่เครียดติดต่อกันนาน ๆ ทำให้ฮอร์โมน คอร์ติซอล เพิ่มขึ้น มีผลลดความว่องไวของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ภูมิต้านทานที่ถูกกดไว้ ทำให้ป่วยง่าย ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากปกติ ร่างการจะสร้างเซลล์เคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่ผลจากความเครียด ร่างกายจะไม่ซ่อมแซมตัวเอง จึงเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
มีผลการวิจัยกล่าวว่า ผู้ที่มีความรู้สึกเกลียดชังหรือเป็นศัตรู ความดันจะสูงขึ้น 40 วินาที ส่วนความโกรธ ทำให้ความดันสูงขึ้น 80 วินาที
ความเจ็บป่วยที่มีผลต่อเนื่องมาจากจิต ทางการแพทย์เรียกว่า Psychosomatic illness เช่น โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ ไมเกรน หอบหืด ภูมิแพ้ โรคกระเพาะอาหาร ท้องเสีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.