ข้ามไปเนื้อหา

หนองในแท้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Gonorrhea)
โรคหนองใน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A54
ICD-9098
MedlinePlus007267
eMedicinearticle/782913
MeSHD006069
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐฯใช้โปสเตอร์เพื่อเตือนกำลังพลทหารให้ระวังอันตรายของโรคหนองในและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคหนองใน (อังกฤษ: gonorrhoea or gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก และเยื่อบุมดลูก, ท่อรังไข่, ทวารหนัก, คอ และเยื่อบุตา อาการที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ชายคือ ปวดแสบขณะปัสสาวะ และมีหนองสีเหลือง สำหรับผู้หญิง ครึ่งหนึ่งมักไม่มีอาการ หรือ มีตกขาว หรือเลือดผิดปกติ และปวดอุ้งเชิงกราน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงถ้าเป็นโรคหนองในแท้โดยที่ไม่ได้รักษา มันสามารถแพร่กระจายเฉพาะที่เกิดเป็นโรค epididymitis หรือ pelvic inflammatory disease หรือ แพร่กระจายตามส่วนต่าง ๆ มีผลต่อข้อและลิ้นหัวใจ

การรักษามักใช้ยา Ceftriaxone เป็นยาหลักร่วมกับการใช้ยารักษาโรคหนองในเทียมร่วมด้วย เนื่องจากเชื้อโรคหนองในมีการพัฒนาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) หลายตัวที่ใช้กันก่อนหน้านี้ โดยทั่วไปแล้วมักใช้ร่วมกับ Azithromycin หรือ Doxycycline มีเชื้อ gonorrhea บางสายพันธุ์ ดื้อต่อยา Ceftriaxone

อาการ

[แก้]

ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยหญิงมักไม่มีอาการ หรืออาจมีอาการตกขาว หรือเลือดผิดปกติ ปวดท้องน้อย หรือปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ป่วยชายจะมีอาการท่อปัสสาวะอักเสบ โดยมีอาการปวดแสบขณะปัสสาวะและมีหนองสีเหลืองไหลออกจากองคชาต การมีเพศสัมพันธ์ทางปากทำให้ได้รับเชื้อจากคนที่เป็นโรค โดยมักจะเป็นเพศชาย 90% ไม่มีอาการทางปาก 10% มีอาการเจ็บคอ ระยะฟักตัว 2 - 14 วัน โดยมักมีอาการเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 6 วันหลังจากติดเชื้อ ในผู้ป่วยส่วนน้อยบางคนอาจมีโรคบริเวณผิวหนังและปวดบวมที่ข้อหลังจากที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด มีผู้ป่วยไม่กี่รายที่มีอาการที่หัวใจทำให้เป็นโรค endocarditis หรือที่ไขสันหลังทำให้เป็นโรค meningitis(ทั้งสองโรคมักเกิดในผู้ป่วยที่ถูกกดระบบภูมิคุ้มกัน)

การติดต่อ

[แก้]

ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก การมีเพศสัมพันธ์ทางปากจะทำให้เชื้อติดต่อทั้งจากอวัยวะเพศไปปาก และจากปากไปอวัยวะเพศ ในกรณีที่ช่องคลอดหรืออวัยวะเพศปนเปื้อนหนองที่มีเชื้อก็สามารถติดเชื้อนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องร่วมเพศ และยิ่งมีเพศสัมพันธ์กับคู่ขามากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น การนั่งฝาโถส้วมหรือสัมผัสมือกันไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อนี้

สาเหตุ

[แก้]

โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae การติดเชื้อติดต่อจากคนหนึ่งไปคนหนึ่งผ่านทาง ช่องคลอด ปาก หรือ ทวารหนัก ผู้ชายมีโอกาส 20% ที่ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดของผู้ป่วยหญิงใน 1 ครั้ง โอกาสได้รับเชื้อจากผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมีมากขึ้น ผู้หญิงมีโอกาส 60 - 80% ที่จะได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดกับผู้ป่วยชายใน 1 ครั้ง มารดาสามารถแพร่เชื้อหนองในแท้ไปยังลูกอ่อนขณะคลอดได้ ทำให้เป็นโรคตาที่ชื่อว่า ophthalmia neonatorum เชื้อโรคนี้ไม่สามารถแพร่กระจายโดยการใช้ห้องส้วมหรือห้องน้ำร่วมกัน

การวินิจฉัย

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัยเบื้องต้นจากการย้อมเชื้อ (gram stain) และการเพาะเชื้อ (culture) อย่างไรก็ตาม การทดสอบแบบใหม่ polymerase chain reaction (PCR) เป็นที่นิยมมากขึ้น ผู้ป่วยทุกคนที่ทดสอบแล้วได้ผลบวกต่อเชื้อโรคหนองใน ควรจะทดสอบตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวี

การตรวจคัดกรอง

[แก้]

สำหรับประเทศสหรัฐฯ United States Preventive Services Task Force แนะนำให้ตรวจคัดกรองเชื้อโรคหนองในในผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง คือ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองในผู้ชายที่ไม่มีอาการหรือผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงน้อย

การตรวจคัดกรองโรคหนองในในผู้หญิงที่จะตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง แนะนำให้ทำ prenatal care ในประเทศสหรัฐฯ

การป้องกัน

[แก้]

การป้องกันจากเชื้อหนองในแท้จากการงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ สามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโดยการใช้ถุงยางอนามัยและมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองคนเดียวที่ไม่เป็นโรค

การรักษา

[แก้]

ในปี 2010 ยา ceftriaxone แบบฉีด เป็นยาหนึ่งในยา antibiotics ที่ได้ผล โดยทั่วไปแล้วให้ร่วมกับยา azithromycin หรือ doxycycline

ยา antibiotics หลายตัวที่เคยได้ผลประกอบด้วย penicillin, tetracycline และ fluoroquinolone ไม่ได้รับการรับรองเพราะมีอัตราการดื้อยาสูง การดื้อต่อยา cefixime ถึงระดับที่ไม่สามารถรับรองเป็นยา first line ในประเทศสหรัฐอเมริกา และถ้ายาชนิดนี้ถูกใช้ในคน ควรจะทดสอบอีกครั้งหลัง 1 สัปดาห์ เพื่อตัดสินใจถ้ามีการติดเชื้อยังคงอยู่ ผู้ป่วยรายที่มีการดื้อยาต่อ ceftriaxone ถูกประกาศแต่ยังมีน้อย

มีการแนะนำให้ผู้ที่ร่วมเพศด้วยได้รับการตรวจและรักษา

การพยากรณ์โรค

[แก้]

โรคหนองในแท้ ถ้าไม่ได้รักษาเป็นระยะเวลาสัปดาห์หรือเดือนจะยิ่งมีความเสี่ยงที่มีผลแทรกซ้อนสูง หนึ่งในผลแทรกซ้อนของหนองในแท้คือ systemic dissemination มีผลต่อผิวหนังเป็นตุ่มหนองหรือจุดเลือดออก, septic arthritis, meningitis, endocarditis โรคเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่าง 0.6 - 3.0% สำหรับผู้หญิง และ 0.4 - 0.7% สำหรับผู้ชาย

ในผู้ป่วยชาย การอักเสบของ epididymis(epididymitis), ต่อมลูกหมาก(prostatitis) และ urethral stricture(urethritis) สามารถเป็นผลจากการไม่ได้รักษาโรคหนองในแท้ ในผู้ป่วยหญิง ผลจากการไม่ได้รักษาที่พบบ่อยที่สุดคือ pelvic inflammatory disease ผลแทรกซ้อนอื่นได้แก่ perihepatitis ผลแทรกซ้อนที่พบยากได้แก่ Fitz-Hugh-Curtis syndrome; septic arthritis ที่นิ้ว ข้อมือ เท้า และข้อเท้า; septic abortion; chorioamnionitis during pregnancy; neonatal or adult blindness from conjunctivitis; และเป็นหมัน

ทารกแรกเกิดที่คลอดออกมาจะให้ erythromycin ointment ที่ตาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันตาบอดจากการติดเชื้อ โรคหนองในแท้แฝงต้องได้รับการรักษา ถ้าทำได้อย่างนี้มักจะพยากรณ์โรคดี

ในประเทศสหรัฐฯประชากรอายุระหว่าง 14 - 39 ปี 46% ของผู้ป่วยที่เป็นหนองในแท้มักจะเป็นโรคติดเชื้อ chlamydia ร่วมด้วย

ระบาดวิทยา

[แก้]

Gonorrhea เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย WHO ประมาณการว่ามี 62 ล้านผู้ป่วยที่เป็น gonorrhea ปรากฏแต่ละปี

ในประเทศอังกฤษ จำนวนผู้ชาย 196 คนต่อ 100,000 คน อายุ 20 ถึง 24 ปี และจำนวนผู้หญิง 133 คนต่อ 100,000 คน อายุ 16 ถึง 19 ปี ได้รับการวินิจฉัยในปี 2005 CDC ประมาณการว่ามากกว่า 700,000 คนในประเทศสหรัฐฯ ได้รับการติดเชื้อ gonorrhea แต่ละปี แค่ประมาณครึ่งของผู้ป่วยเหล่านี้ถูกประกาศต่อ CDC ในปี 2004 ผู้ป่วย gonorrhea 330,132 คน ถูกประกาศต่อ CDC หลังจากการทำให้เกิดผลของโปรแกรมการควบคุม gonorrhea แห่งชาติ ในครึ่งปี 1970, อัตราการเป็นโรค gonorrhea ลดลงจาก 1975 ถึง 1997 หลังจากมีการเพิ่มเล็กน้อยในปี 1998 อัตราการเป็นโรค gonorrhea ได้ลดลงอย่างเล็กน้อยตั้งแต่ปี 1999 ในปี 2004 อัตราการการติดเชื้อเป็น 113.5 คนต่อ 100,000 คน

ในประเทศสหรัฐฯ Gonorrhea เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยเป็นอับดับ 2 รองจาก chlamydia จาก CDC, ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเป็นโรค gonorrhea มากที่สุด ชาวผิวดำเป็นประมาณ 69% ต่อผู้ป่วย gonorrhea ทั้งหมดในปี 2010