ปีแยร์ กัสลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปีแยร์ กัสลี | |
---|---|
กัสลีที่เฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 2022 | |
เกิด | ปีแยร์ ฌ็อง-ฌัก กัสลี 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 รูอ็อง แซน-มารีตีม ฝรั่งเศส |
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก | |
สัญชาติ | ฝรั่งเศส |
ทีมในปี 2025 | อาลปีน-เรอโนลต์[1] |
หมายเลขรถ | 10 |
แข่ง | 154 (เริ่มต้น 153) |
ชนะเลิศ | 0 |
ชนะ | 1 |
โพเดียม | 5 |
คะแนน | 436 |
ตำแหน่งโพล | 0 |
ทำรอบได้เร็วที่สุด | 3 |
แข่งครั้งแรก | มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์ 2017 |
ชนะครั้งแรก | อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 2020 |
แข่งครั้งล่าสุด | อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024 |
อันดับในปี 2024 | 10 (42 คะแนน) |
รายการที่แล้ว | |
ตำแหน่งแชมป์ | |
เว็บไซต์ | pierregasly |
ลายมือชื่อ | |
ปีแยร์ ฌ็อง-ฌัก กัสลี (ฝรั่งเศส: Pierre Jean-Jacques Gasly, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [pjɛʁ ɡasli]; เกิด 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996) เป็นนักแข่งรถชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันแข่งรถในการแข่งขันฟอร์มูลาวันให้แก่อาลปีน กัสลีคว้าชัยชนะมาได้ที่อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 2020 กับอัลฟาทอรี
กัสลีเกิดและเติบโตที่แคว้นนอร์ม็องดี เขาเริ่มแข่งรถโกคาร์ตตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จนเลื่อนขั้นสู่รายการฟอร์มูลาระดับรองใน ค.ศ. 2011[2] กัสลีจบอันดับสามในการแข่งขันเฟรนช์ เอฟ4 แชมเปียนชิป ในปีเดียวกันกับแอ็ฟแอ็ฟแอ็สอา อะแคเดมี[3] เขาชนะรายการแชมเปียนชิปแรกที่ฟอร์มูลาเรอโนลต์ยูโรคัพ ฤดูกาล 2013 กับเทค 1[4] จากนั้นกัสลีได้ผ่านเข้าสู่รายการจีพี2 ซีรีส์ และคว้าแชมป์ฤดูกาล 2016 กับพรีมา หลังจากชิงตำแหน่งอย่างสูสีกับอันโตนีโอ โจวีนัซซี[5] เขาย้ายไปแข่งซูเปอร์ฟอร์มูลาในปีต่อมา และได้อันดับรองชนะเลิศกับมูเก็ง โดยเป็นรองเพียงฮิโรอากิ อิชิอูระ[6]
เนื่องด้วยการเป็นสมาชิกเร็ดบุลจูเนียร์ทีมตั้งแต่ ค.ศ. 2014 กัสลีจึงได้เปิดตัวในการแข่งขันฟอร์มูลาวันกับโตโรรอสโซที่มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์ 2017 เพื่อแทนที่ดานีอิล คเวียต ในช่วงเวลาที่เหลือของฤดูกาล 2017[7] เขาแข่งให้กับทีมอย่างเต็มตัวในฤดูกาล 2018 ก่อนที่จะได้เลื่อนขั้นสู่ทีมหลักนั่นคือเร็ดบุลในฤดูกาล 2019[8][9] กัสลีถูกลดขั้นไปอยู่โตโรรอสโซเหมือนเดิมหลังฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์ และถูกแทนที่ด้วยอเล็กซานเดอร์ อัลบอน[10] อย่างไรก็ตามเขาก็ได้โพเดียมแรกของเขาที่บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ในปีเดียวกันกับโตโรรอสโซ[11] สำหรับฤดูกาล 2020 กัสลีได้คว้าชัยชนะแรกของเขาที่อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ ขณะแข่งให้กับทีมที่เปลี่ยนชื่อเป็นอัลฟาทอรี[12] เขายังได้โพเดียมที่สามให้แก่ทีมที่อาเซอร์ไบจานกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 2021[13] กัสลีย้ายมาอยู่กับอาลปีนสำหรับฤดูกาล 2023[14] และคว้าโพเดียมแรกของเขาให้แก่ทีมที่ดัตช์กรังด์ปรีซ์[15] ก่อนที่เขาจะคว้ามาได้อีกครั้งในการแข่งขันภายใต้สภาพอากาศชื้นที่เซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 2024[16]
ณ อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024 กัสลีมีผลงานชนะการแข่งขัน 1 ครั้ง ทำรอบได้เร็วที่สุด 3 ครั้ง และโพเดียม 5 ครั้งในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน กัสลีจะยังคงอยู่กับอาลปีนอย่างน้อยจนจบฤดูกาล 2026[1]
สถิติการแข่งรถโกคาร์ต
[แก้]ฤดูกาล | รายการ | ทีม | อันดับ |
---|---|---|---|
2005 | กุปเดอฟร็องส์ – รุ่นมีนีม | 21 | |
2006 | ช็องปียอนาเดอฟร็องส์ – รุ่นมีนีม | 15 | |
2007 | ช็องปียอนาเดอฟร็องส์ – รุ่นมีนีม | 6 | |
2008 | บริดจสโตนคัพ – รุ่นคาเดต | NC | |
ช็องปียอนาเดอฟร็องส์ – รุ่นคาเดต | 4 | ||
2009 | เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 | ซอดิการ์ต | NC |
ช็องปียอนาเดอฟร็องส์ – รุ่นเคเอฟ3 | 3 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอ ยูโรเปียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ3 | 23 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอ เวิลด์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 | 3 | ||
โมนาโกคาร์ตคัพ – รุ่นเคเอฟ3 | 16 | ||
กรังด์ปรีซ์โอเพนคาร์ตติง – รุ่นเคเอฟ3 | 3 | ||
ซูเปอร์คาร์ตส์ยูเอสเอ ซูเปอร์เนชั่นแนลส์ – รุ่นทัชแอนด์โกจูเนียร์ | 3 | ||
2010 | เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 | ซอดิการ์ต | 10 |
ดับเบิลยูเอสเค ยูโรซีรีส์ – รุ่นเคเอฟ3 | 15 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอ ยูโรเปียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ3 | 2 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอ เวิลด์คัพ – รุ่นเคเอฟ3 | 4 | ||
โมนาโกคาร์ตคัพ – รุ่นเคเอฟ3 | 3 | ||
กรังด์ปรีซ์โอเพนคาร์ตติง – รุ่นเคเอฟ3 | 1 | ||
แหล่งที่มา:[17][18] |
สถิติการแข่งรถ
[แก้]สรุปอาชีพนักแข่งรถ
[แก้]ผลการแข่งขันฟอร์มูลาวัน
[แก้]- (คำสำคัญ) (การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือตำแหน่งโพล; การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวเอียง คือทำรอบเร็วที่สุด)
- หมายเหตุ
- † ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน
- ‡ คะแนนเพียงครึ่งหนึ่งถูกมอบให้ เนื่องจากการแข่งขันเสร็จสิ้นน้อยกว่าร้อยละ 75 ของระยะทางการแข่งขัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Barretto, Lawrence (27 June 2024). "Gasly commits future to Alpine after agreeing multi-year extension". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- ↑ David, Gruz (20 September 2013). "Leading the new French generation: Pierre Gasly". Formula Scout. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2013.
- ↑ Allen, Peter (30 October 2011). "Weekend Review: Bortolotti closes F2 season in dominant fashion". Formula Scout. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 October 2013.
- ↑ Musker, Ant (20 October 2013). "Gasly crowned champion as Ocon wins final race". Formula Scout. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 October 2013.
- ↑ Hensby, Paul (8 December 2016). "2016 GP2 Series Review – Gasly takes crown as Prema make Impact". The Checkered Flag. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.
- ↑ Thukral, Rachit (21 October 2017). "Gasly denied Super Formula title shot as finale cancelled". Motorsport. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ Noble, Jonathan (26 September 2017). "Toro Rosso confirms Gasly for next races". Motorsport. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2017.
- ↑ "Toro Rosso confirm Gasly and Hartley for 2018". Formula One. 16 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2024. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.
- ↑ Gill, Pete (6 December 2018). "Pierre Gasly joins Red Bull for 2019". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2024.
- ↑ "Red Bull: Alexander Albon to replace Pierre Gasly". BBC Sport. BBC. 12 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2019. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
- ↑ "'This is the best day of my life' says Gasly after stunning Brazil podium". Formula One. 17 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 5 January 2020.
- ↑ Duncan, Phil; Slater, Luke (6 September 2020). "Pierre Gasly holds off Carlos Sainz to take astonishing win in chaotic and thrilling Italian Grand Prix". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2020. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ "Perez beats Vettel to Baku victory after Verstappen crashes out from lead late on". Formula One. 6 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
- ↑ Genon, Lucy (7 October 2022). "Pierre Gasly completes 2023 BWT Alpine F1 Team driver line up". Alpine. Renault Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 October 2022.
- ↑ "Gasly hails 'massive motivation boost' for overhauled Alpine after 'insane' run to P3 at Zandvoort". Formula One. 27 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "'No one can understand' – Ocon and Gasly reflect on their 'ups and downs' together after sharing Sao Paulo podium". Formula One. 7 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 17.0 17.1 "Pierre Gasly". Driver Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2024. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
- ↑ "Gasly, Pierre". Kartcom (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2023. สืบค้นเมื่อ 30 November 2021.
- ↑ "Pierre Gasly | Results". Motorsport Stats. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Pierre Gasly | Involvement". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- ปีแยร์ กัสลี สรุปอาชีพนักแข่งรถที่ไดร์เวอร์ดีบี.คอม