ข้ามไปเนื้อหา

กระดูกสะบ้าหัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Patella fracture)
กระดูกสะบ้าหัก
ชื่ออื่นลูกสะบ้าหัก, ลูกสะบ้าแตก
กระดูกสะบ้าหัก ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์มุมมองลาเทอรอล (lateral view)
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์
อาการหน้าข้อเข่าปวด, บวม, ฟกช้ำ[1]
ภาวะแทรกซ้อนการบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2]
ประเภทStable, displaced, comminuted, open[1]
สาเหตุการบาดเจ็บเข้าที่ด้านหน้าของเข่า[1]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, ยืนยันโดยใช้เอ็กซ์เรย์[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันกระดูกสะบ้าแบ่งเป็นสองส่วน[3]
การรักษาคาสต์, สปลินท์, ผ่าตัด[2]
พยากรณ์โรคโดยทั่วไปดีหากได้รับการรักษา[2]
ความชุก~ 1% ของกรดดูกหักทั้งหมด[3]

กระดูกสะบ้าหัก (อังกฤษ: patella fracture) เป็นการหักของลูกสะบ้า[1] อาการอาจรวมถึงการเจ็บ, บวม และฟกช้ำ ที่บริเวณหน้าข้อเข่า[1] ในบางรายอาจเดินไม่ได้[1] อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงการบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2]

โดยทั่วไปกระดูกสะบ้าหักมักเกิดจากการการกระทบกระทั่งอย่างรุนแรงเข้าที่หน้าเข่า หรือการล้มเอาเข่าลง[1] กระดูกสะบ้ายังสามารถแตกได้โดยอ้อม เช่น การหดรัดโดยฉับพลันของ กล้ามเนื้อคว็อดไดรเส็ปส์ในเขาสามารถดึงรั้งกระดูกสะบ้าให้แตกได้[1] การวินิจฉัยทำได้จากอาการแสดงและยืนยันโดยใช้เอ็กซ์เรย์[3] ส่วนในเด็กอาจจำเป็นต้องใช่เอ็มอาร์ไอ[3]

การรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัดหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการหัก[2] การหักที่ไม่มีการเลื่อน (Undisplaced fracture) มักใช้การรักษาโดยทำคาสต์[2] แม้ในบางรายที่มีการเลื่อน (displaced fractures) ก็สามารุรักษาด้วยการทำคาสต์ตราบใดก็ตามที่ผู้ป่วยสามารถยืนขาออกได้โดยไม่ต้องมีผู้ให้ความช่วยเหลือ[2] โดยปกติแล้วจะทำการบังคับให้ขาไม่ขยับ (immobilized) และคาอยู่ในท่าขาตรงเป็นเวลาสามสัปดาห์แรก จากนั้นจึงอนุญาตให้สามารถงอข้อเข่าเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มองศาไปเรื่อย ๆ[2] การหักรูปแบบอื่นโดยทั่วไปมักต้องผ่าตัด[2][4]

กระดูกสะบ้าหักคิดเป็นราว 1% ของกรณีกระดูกหักทั้งหมด[3] พบในเพศขายมากกว่าเพศหญิง[3] และในวัยกลางคนมากที่สุด[3] พยากรณ์โรคหลังได้รับการรักษาโดยทั่วไปดี[2]

อาการและอาการแสดง

[แก้]

กระดูกสะบ้าหักมักเกิดขึ้นจามหลังประวัติการบาดเจ็บและมักมาด้วยอาการบวม ปวด หรือฟกช้ำของเข่า และมักไม่สามารถทั้งงอและยืดข้อเข่าได้[5] อาการเจ็บปวดจะเป็นหนักขึ้นเมื่อผู้ป่วยพยายามยืน และบางรายอาจไม่สามารถเดินได้ อาการปวดยังเป็นหนักขึ้นได้จากการนั่งต่อกันเป็นเวลานาน[1][5] สามารรู้สึกได้ถึงความเสียหายในลูกสะบ้าที่รู้สึกเจ็บร่วม (painful defect) และสามารถมีเลือดคั่งในข้อร่วมได้[6]

อาการแทรกซ้อน

[แก้]

อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงการบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2] ในระยะยาว เข่าอาจไม่ฟื้นคืนระยะการเคลื่อนไหวได้เท่าปกติ อาการเจ็บอาจคงอยู่ต่อไป และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขข้อกระดูกอักเสบที่ข้อเข่า[7] ในกรณีที่มีแผลเปิด เช่นใน กระดูกหักแบบเปิด อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงความเสี่ยงติดเชื้อ, กระดูกที่หักไม่สามารถเชื่อมกันได้ หรือเกิดออสทีโอเน็กครอสิส[7]

ประเภท

[แก้]

กระดูกสะบ้าสามารถหักได้หลายทางขึ้นอยู่กับรูปแบบการบาดเจ็บ และสามารถหัออกเป็นสองชิ้นหรือมากกว่า[1] รูปแบบการแตกรวมถึง แบบทรานสเวิร์ส (transverse) ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด มีลักษณะรอยแตกเส้นเดียว[5] แบบอื่น ๆ คือ มาร์จินอล (marginal), ออสทีโอคอนดรอล (osteochondral) และแบบ เวอร์ทิคอล (vertical) ซึ่งพบได้น้อย หรือ สเตลเลต (stellate) ที่ซึ่งมีการบีบอัดโดยตรงทำให้เกิดแบบแผนเฉาพะของกระดูกที่แตกละเอียด [5][7] การแตกของกระดูกสะบ้ายังสามารถจัดประเภทอีกเป็นแบบที่มีการเคลื่อน (displaced) ที่ซึ่งปลายที่แตกของกระดูกไม่อยู่ในร่องในรอยและมีการแยกออกมากกว่า 2 เซนติเมตร กับแบบไม่มีการเคลื่อน (undisplaced) และแบบอยู่กับที่ (stable) ที่ซึ่งชิ้นของกระดูกยังคงอยู่ติดกัน[1][7] ในกรรีที่ชิ้นส่วนกระดูกสะบ้ายื่นออกมาจากผิวหนัง จะเรียกว่าการหักแบบเปิด (open patella fracture) ส่วนแบบที่ผิวหนังยังคงอยู่ปกติจะเรียกว่าแบบปิด[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 "Patellar (Kneecap) Fractures". OrthoInfo - AAOS. January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Kakazu R, Archdeacon MT (January 2016). "Surgical Management of Patellar Fractures". The Orthopedic Clinics of North America. 47 (1): 77–83. doi:10.1016/j.ocl.2015.08.010. PMID 26614923.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Abbasi D. "Patella Fracture - Trauma". Orthobullets.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  4. Melvin JS, Mehta S (April 2011). "Patellar fractures in adults". The Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. 19 (4): 198–207. doi:10.5435/00124635-201104000-00004. PMID 21464213. S2CID 34028631.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Lee D, Li B, Grannis S (2010). "Chapter 11: Knee". ใน Sueki D, Brechter J (บ.ก.). Orthopedic Rehabilitation Clinical Advisor. Mosby Elsevier. p. 592. ISBN 978-0-323-05710-3.
  6. Bedi A, Karunakar MA (2010). "52. Patella fractures and extensor mechanism injuries". ใน Rockwood CA, Bucholz RW, Court-Brown CM, Heckman JD, Tornetta P (บ.ก.). Rockwood and Green's Fractures in Adults (ภาษาอังกฤษ) (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1752–1765. ISBN 978-1-60547-677-3.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Patella Fractures". Emergency Care Institute (ECI) (ภาษาอังกฤษ). Emergency Care Institute new South Wales. 1 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-19. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก