ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ที่ทำการของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 กันยายน พ.ศ. 2529 |
สำนักงานใหญ่ | 112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี |
บุคลากร | บุคลากรรวม 582 คน [1] |
งบประมาณต่อปี | 869ล้านบาท [2] (พ.ศ. 2555) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | www |
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (อังกฤษ: National Electronics and Computer Technology Center) หรือ เนคเทค[3] (NECTEC) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการวิจัย ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ
ประวัติ
[แก้]ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2529[4] โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น) ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลง สถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534[4]
รายชื่อผู้บริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (ก่อตั้ง - พ.ศ. 2541)
- ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2549)
- ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ (พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557)
- ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561)
- ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย (พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
ภารกิจหลัก
[แก้]- การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ
- การดำเนินการวิจัยเอง ทั้งการวิจัยเชิงเทคนิค และวิจัยเชิงนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเร่งให้ผลงานวิจัยเกิดผลจริงในภาคอุตสาหกรรม
- การให้บริการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ
- การทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ภาระหน้าที่เดิมก่อนเกิดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ผลงาน
[แก้]- ลินุกซ์ทะเล ลินุกซ์ซิส
- ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด
- ซอฟต์แวร์รู้จำตัวอักษร
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet)
- เครือข่ายไทยสารอินเทอร์เน็ต
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย
- ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย
- แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556
- กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT2020)
- NETPIE : แพลตฟอร์ม IoT เพื่อนักพัฒนาและอุตสาหกรรมไทย
- DSRMS : ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน
- KidBright : บอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่ง
- Open-D : Open Data Service Platform เก็บถาวร 2019-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- TPMAP : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า
- Thai School Lunch : ระบบแนะนําสํารับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ ชื่อทับศัพท์ในภาษาอังกฤษของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสะกดว่า "เนคเทค" มิได้สะกดว่า "เนกเทก" ตามการถอดเสียงภาษาอังกฤษของราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ 4.0 4.1 ประวัติ เนคเทค
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (ThaiCERT) เก็บถาวร 2012-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [./Https://www.nectec.or.th/news/news-purchase/news-postdoctoral.html ข้อมูลการให้ทุนวิจัยระดับหลังปริญญาเอก]
- ฝ่ายวิจัยกลยุทธ์และดัชนีอุตสาหกรรม เนคเทค เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน