พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ | |
---|---|
เกิด | พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | DEA. (Electronics) และ D. Ing จาก Institut National Polytechniquede Grenoble (INPG) ประเทศฝรั่งเศส |
อาชีพ | ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
องค์การ | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[1] อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อดีตอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการศึกษา
[แก้]พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ หรือ ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับสอง) และปริญญาโท สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,สำเร็จการศึกษา DEA. (Electronics) และ D. Ing จาก Institut National Polytechniquede Grenoble (INPG) ประเทศฝรั่งเศส[2]
ประวัติการทำงาน
[แก้]ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เริ่มต้นการทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2535) รับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2536 และปี พ.ศ. 2545 มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) และ นายกสมาคมคนแรกของสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)
ปัจจุบัน ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังจากดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (นับแต่ปี พ.ศ. 2549-2557) ต่อจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (ก่อตั้ง-พ.ศ. 2541) และ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2549)
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการร่วมวางนโยบายและ แผนการจัดตั้งและการพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากการเป็นกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษาในหลายโครงการ อาทิเช่น แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556, โครงการพัฒนากำลังคน ด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, โครงการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT 2020), โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์ เป็นต้น
ในปี 2553 ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลางในการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด GT200[3] เพื่อดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด GT200 ตามการมอบหมายของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการจัดการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักสากลที่เป็นที่ยอมรับ
ผลงานวิจัย
[แก้]มีความสนใจและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยียานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded technology)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลที่ 2 จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ บริษัท โตชิบา ประเทศไทยจำกัด จากผลงาน "เครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด" และ รางวัลชมเชย การประกวดสิ่งประดิษฐ์ สภาวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน "เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิท" รวมถึงรางวัลนักวิจัยดีเด่น ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ. 2535
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/285/2.PDF
- ↑ [1] เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติจากเว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- ↑ [2] ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๕๑, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗