ข้ามไปเนื้อหา

นกโมอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Moa)

นกโมอา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนสมัยโฮโลซีน, 17–0.0006Ma
โครงกระดูกโมอายักษ์เกาะเหนือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
ชั้นฐาน: Palaeognathae
เคลด: Notopalaeognathae
อันดับ: Dinornithiformes

Bonaparte, 1853[1]
ชนิดต้นแบบ
Dinornis novaezealandiae
Owen, 1843
กลุ่มย่อย

ดูข้อความ

ความหลากหลาย[2]
6 สกุล, 9 ชนิด
ชื่อพ้อง[3]
  • Dinornithes Gadow, 1893
  • Immanes Newton, 1884

นกโมอา (อังกฤษ: moa) เป็นกลุ่มนกที่บินไม่ได้สูญพันธุ์แล้วที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์[4]ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย-สมัยโฮโลซีน มี 9 ชนิด (ใน 6 สกุล) โดย Dinornis robustus และ Dinornis novaezelandiae 2 ชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีความสูงถึงประมาณ 3.6 เมตร (12 ฟุต) (ยืดคอแล้ว) และหนักประมาณ 230 กิโลกรัม (510 ปอนด์)[5] ส่วนนกโมอาพุ่มไม้ (Anomalopteryx didiformis) ชนิดที่เล็กที่สุด มีขนาดประมาณเท่ากับไก่งวง[6] ประชากรนกโมอาทั้งหมดในช่วงที่ชาวพอลินีเชียเข้าตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ประมาณ ค.ศ. 1300 มีหลากหลาย ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 58,000[7] ถึงประมาณ 2.5 ล้านตัว[8]

นกโมอาเดิมจัดอยู่ในกลุ่ม ratite[4] อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่าญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของนกโมอาคือ tinamou จากทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มพี่น้องกับ ratites.[9] นกโมอา 9 ชนิดบินไม่ได้ โดยเป็นสัตว์บนพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสัตว์กินพืชชั้นสูงสุดในระบบนิเวศป่า ไม้พุ่ม และใต้เทือกเขาของนิวซีแลนด์ จนกระทั่งการเข้ามาของชาวมาวรี และพวกมันถูกล่าเฉพาะจากอินทรีฮาสท์ นกโมอาสูญพันธุ์หลังการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในนิวซีแลนด์ภายใน 100 ปี โดยหลักเนื่องจากการล่าสัตว์มากเกินไป[7]

รายละเอียด

[แก้]
เปรียบเทียบขนาดระหว่างนหโมอา 4 ชนิดกับมนุษย์
1. Dinornis novaezealandiae
2. Emeus crassus
3. Anomalopteryx didiformis
4. Dinornis robustus

เดิมทีมีการจัดโครงกระดูกโมอาในแบบตั้งตรง เพื่อสร้างความสูงที่น่าประทับใจ แต่การวิเคราะห์ข้อต่อกระดูกสันหลังแสดงให้เห็นว่าพวกมันอาจยกศีรษะไปข้างหน้า[10] คล้ายกับนกกีวี กระดูกสันหลังติดอยู่ที่หลังศีรษะมากกว่าฐาน แสดงถึงการจัดตำแหน่งในแนวนอน สิ่งนี้จะทำให้พวกมันกินหญ้าบนพืชเตี้ย แล้วสามารถเงยหน้าขึ้น และเดินดูต้นไม้ได้เมื่อจำเป็น ส่งผลให้มีการพิจารณาความสูงของโมอาที่ใหญ่กว่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ศิลปะบนหินของชาวมาวรีแสดงภาพโมอาหรือนกคล้ายโมอา (น่าจะเป็นห่านหรือadzebill) ที่มีคอตั้งตรง แสดงว่าโมอาสามารถยกคอเกินกว่าทั้งสองแบบได้[11][12]

การจัดอันดับ

[แก้]

อนุกรมวิธาน

[แก้]
โครงกระดูกของ Anomalopteryx didiformis
ฟอสซิลโครงกระดูกนกโมอาตีนหนัก (Pachyornis elephantopus)

สกุลและชนิดที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน มีดังนี้:[5]

มีนกโมอาชนิดที่ไม่ได้รับการตั้งชื่อ 2 ชนิดจาก Saint Bathans Fauna.[13]

ลักษณะ

[แก้]

นกโมอาเป็นนกที่มีขนาดใหญ่กว่านกปกติทั่วไป บินไม่ได้และมีรูปร่างคล้ายกับนกกระจอกเทศในปัจจุบันแต่ตัวใหญ่กว่า มีส่วนหัวที่ยาวกว่าเอาไว้กินพืชเตี้ย ๆ และตามต้นไม้สูง ๆ ขนาดและรูปร่างนกโมอานั้นเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากนกโมอาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพมาโดยตลอดซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม

การเปล่งเสียง

[แก้]

ถึงแม้ว่าจะไม่มีการอัดเสียงของนกโมอาไว้ แต่จากการศึกษาดูกระดูกส่วนหัวและลำคอของนกโมอา ได้ทำให้พอจะรู้ว่าเสียงของนกโมอาเป็นยังไง กล่องเสียงของนกโมอานั้นมีวงแหวนอยู่หลายวง ซึ่งมีชื่อว่า Tracheal rings วงแหวนหนึ่งอันนั้น พอคลี่ออกมาแล้วจะมีความยาวถึงประมาณ 1 เมตร เพราะวงแหวนตัวนี้ทำให้เสียงของนกโมอานั้นมีความใกล้เคียงกับหงส์, นกกระเรียน และ ไก่ขนดำจุดขาวในวงศ์ Numididae และนกกระทานิวกินี เสียงนกโมอาสามารถไปได้ไกลมาก

อาหาร

[แก้]

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเคยเห็นนกโมอาอย่างแท้จริง แต่โดยการวิเคราะห์จากซากฟอสซิลของนกโมอา ได้ทำให้รู้ว่ามันกินพืชส่วนใหญ่และกิ่งไม้เล็ก ๆ จากต้นไม้ที่ไม่สูงมาก ตรงปากของนกโมอานั้นแข็งแรงมากและถูกใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวจากสัตว์อื่นได้

การขยายและสืบพันธุ์

[แก้]

จากการศึกษากระดูกของนกโมอา ทำให้รู้ได้ว่านกโมอามีการเจริญเติบโตที่ยาวนานมาก มันใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อที่จะพัฒนาจากเป็นเด็กสู่ตัวผู้ใหญ่เต็มตัว

ไข่

[แก้]

ชิ้นส่วนของไข่ ของนกโมอาถูกค้นพบอยู่เป็นประจำในแหล่งต่างๆที่ฟอสซิลถูกค้นพบและตามบริเวณทรายรอบๆชายฝั่งนิวซีแลนด์ในปัจจุบันมีไข่ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ รอบ ๆ นิวซีแลนด์เป็นจำนวน 36 ใบ แต่ละอันมีขนาดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 120 – 124 มิลลิเมตร ไปจนถึง 91 – 178 มิลลิเมตร เปลือกนอกของไข่จะมีเอกลักษณ์อยู่ที่มีรูเล็ก ๆ ไข่ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่ยกเว้นชนิด Megalapteryx didinus จะมีไข่เป็นสีน้ำเงินรึเขียว

รัง

[แก้]

ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าโมอาเป็นนกที่อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ส่วนใหญ่จะถูกพบเป็นย่อม ๆ ตามถ้ำต่าง ๆ การสำรวจถ้ำต่าง ๆ ในเกาะเหนือ รังของนกโมอานั้นส่วนใหญ่จะถูกกดลงไปในดิน ส่วนที่แห้งและนิ่มในเขตพื้นที่ตอนกลางโอตาโก ของเกาะใต้ อากาศค่อนข้างแห้งจึงทำให้ใบไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่นกโมอาใช้ในการทำรัง ยังคงอยู่ในสภาพใกล้เคียงเดิม เมล็ดของต้นไม้ต่าง ๆ ที่ถูกพบตามแหล่งเหล่านี้เป็นหลักฐานได้ว่าส่วนใหญ่นกโมอาจะทำรังในช่วงฤดูร้อน

การสูญพันธุ์

[แก้]
ภาพจำลองการล่านกโมอาของชาวมาวรี

ศัตรูหลักของนกโมอาคือนกอินทรีฮาสท์จนกระทั่งมนุษย์ได้เข้ามาบนเกาะนิวซีแลนด์ ชาวมาวรีได้เริ่มเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1300 และได้เริ่มการล่านกโมอาจนเริ่มสูญพันธุ์ ประมาณ ค.ศ. 1400 นกโมอาได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วรวมไปถึงนกอินทรีฮาสท์ซึ่งสูญพันธุ์ไปด้วยเนื่องจากไม่มีนกโมอาให้กิน

การสูญพันธุ์ของนกโมอานั้นเกิดขึ้นภายในไม่ถึง 100 ปี ซึ่งผิดไปจากการสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงแรกที่บอกว่านกโมอาใช้เวลาหลายร้อยปีในการค่อย ๆ สูญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1800 มีการอ้างว่าพบเห็นนกโมอาในหลาย ๆ แถบของประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชัดเจนที่บ่งบอกว่านกโมอายังมีชีวิตอยู่จริง ในยุคปัจจุบันมีรายงานการพบเห็นนกโมอาในแถบฟยอร์ดแลนด์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะใต้ รวมถึงทางตอนเหนือของฟยอร์ดแลนด์ โดยบอกเล่ากันว่านกโมอาเป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว มีความสูง 12 ฟุต มีขนสีสดใส ในปากเต็มไปด้วยฟันแหลมคม แต่ไม่มีปีก มีผู้อ้างว่าพบเห็นนกโมอาขณะที่กำลังปีนเขาอยู่ และได้ถ่ายรูปได้ แต่ทว่าเป็นรูปมัว ๆ และได้มีรายการโทรทัศน์ลงพื้นที่ไปตามหา พบรอยเท้าที่มีนิ้วเท้าสามนิ้วขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่รอยเท้าของนกแก้วคาคาโป นกแก้วขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้และหากินในเวลากลางคืน เพราะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ทว่าก็ไม่น่าจะใช่ของนกโมอา เพราะนิ้วเท้ากลางนั้นใหญ่ยาวกว่านิ้วอื่น[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brands, S. (2008)
  2. 2.0 2.1 Stephenson, Brent (2009)
  3. Brodkob, Pierce (1963). "Catalogue of fossil birds 1. Archaeopterygiformes through Ardeiformes". Biological Sciences, Bulletin of the Florida State Museum. 7 (4): 180–293. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  4. 4.0 4.1 OSNZ (2009)
  5. 5.0 5.1 Davies, S.J.J.F. (2003)
  6. "Little bush moa | New Zealand Birds Online". nzbirdsonline.org.nz. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
  7. 7.0 7.1 Perry, George L.W.; Wheeler, Andrew B.; Wood, Jamie R.; Wilmshurst, Janet M. (1 December 2014). "A high-precision chronology for the rapid extinction of New Zealand moa (Aves, Dinornithiformes)". Quaternary Science Reviews. 105: 126–135. Bibcode:2014QSRv..105..126P. doi:10.1016/j.quascirev.2014.09.025. สืบค้นเมื่อ 22 December 2014.
  8. Latham, A. David M.; Latham, M. Cecilia; Wilmshurst, Janet M.; Forsyth, David M.; Gormley, Andrew M.; Pech, Roger P.; Perry, George L. W.; Wood, Jamie R. (March 2020). "A refined model of body mass and population density in flightless birds reconciles extreme bimodal population estimates for extinct moa". Ecography (ภาษาอังกฤษ). 43 (3): 353–364. doi:10.1111/ecog.04917. ISSN 0906-7590.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Phillips
  10. Worthy & Holdaway (2002)
  11. Schoon, Theo. "Cave drawing of a moa". Te Ara Encyclopedia of New Zealand. Te Ara.
  12. "Te Manunui Rock Art Site". Heritage New Zealand.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ReferenceA
  14. ChannelHub (2016-05-01). "Destination Truth S03E15 Spirits of Easter Island & The Moa". Destination Truth. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]