ข้ามไปเนื้อหา

มาสด้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mazda)
มาสด้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น
ชื่อท้องถิ่น
マツダ株式会社
ISINJP3868400007 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์
ก่อตั้งมกราคม ค.ศ. 1920
ผู้ก่อตั้งJujiro Matsuda Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่เมืองฟูจู จังหวัดฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลักจูจิโร่ มัทสึดะ (ผู้ก่อตั้ง)
คาซูฮิเดะ วาตานาเบะ (ประธานบริษัท)
ฮิซาคาสุ อิมากิ (ซีอีโอ)
ผลิตภัณฑ์Mazda 2 , Mazda 3 , Mazda 6 , CX-3 , CX-30 , CX-5 , CX-60 , CX-8 , MX-5 , BT-50 Pro
รายได้ 2,919.8 พันล้านเยน (2005)
รายได้จากการดำเนินงาน
141,969,000,000 เยน (พ.ศ. 2566) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
66.7 พันล้านเยน (2005)
สินทรัพย์3,259,251,000,000 เยน (พ.ศ. 2566) Edit this on Wikidata
พนักงาน
36,626
เว็บไซต์www.mazda.com

มาสด้า (ญี่ปุ่น: マツダ株式会社โรมาจิMatsuda Kabushiki-gaisha) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองฟูจู จังหวัดฮิโรชิมะ ข้อมูลปี ค.ศ. 2005 มาสด้ามีกำลังผลิตรถยนต์ประมาณ 800,000 คันต่อปี และเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 17 ของโลก โดยวางขายในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ

ประวัติ

[แก้]

มาสด้าก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1920 ในชื่อบริษัท Toyo Cork Kogyo โดยช่วงแรกทำธุรกิจเครื่องจักรกลส่วนประกอบยานพาหนะ และผลิตอาวุธให้กองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น "มาสด้า" เมื่อ ค.ศ. 1984 แต่ได้ผลิตรถยนต์มาสด้าคันแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 รถยนต์สี่ล้อรุ่นแรกคือรุ่น มาสด้า R360

ในวันที่ 6 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1945 ตรงกับวันที่เครื่องบินบี 29 “อีโนร่า เกย์” ได้ทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิม่า เมืองที่ตั้งของโรงงานมาสด้าในปัจจุบัน ในวันนั้นก็ตรงกับวันเกิดของ จูจิโร่ มัตซึดะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งมาสด้าพอดิบพอดี“ ฮานส์ ไกลเมลล์ บรรณาธิการฝ่ายเอเชีย ของ ออโตโมทีฟ นิวส์ เขียนบทความไว้น่าสนใจ โดยกล่าวว่า “มาสด้า รอดพ้นจากระเบิดนิวเคลียร์ เพียงเพราะเส้นผม” โดยเขาได้รับรู้จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ผ่านการบอกเล่าของผู้เชี่ยวชาญ โดยมาสด้าเองก็ไม่ได้เล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังมากนัก เรื่องมีอยู่ว่าในวันที่ 6 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1945 ตรงกับวันที่เครื่องบินบี 29 “อีโนร่า เกย์” ได้ทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิม่า เมืองที่ตั้งของโรงงานมาสด้าในปัจจุบัน ในวันนั้นก็ตรงกับวันเกิดของ จูจิโร่ มัตซึดะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งมาสด้าพอดิบพอดี เวลา 07.30 น. ของเช้าวันนั้นมัตซึดะ ได้เดินทางเข้าไปในย่านใจกลางเมืองเพื่อที่จะตัดผม โดยขณะที่เขากำลังเดินเข้าใกล้ประตูร้าน ก็มีคนจะเดินเข้าไปตัดผมด้วยเช่นกัน แต่ด้วยนิสัยที่ไม่ค่อยยอมใคร เขาจึงรีบสาวเท้าและเข้าไปในร้านได้ก่อนชายคนนั้นเพียงเสี้ยววินาที โดยเขาใช้เวลาตัดผมไม่นานนักก็กลับไปขึ้นรถเพื่อเดินทางต่อ หลังจากนั้นในเวลา 08.16 น. ระเบิด “ลิตเติลบอย” ก็ได้สัมผัสกับพื้นของเมืองฮิโรชิม่าซึ่งจุดที่ระเบิดตกอยู่ห่างจากร้านตัดผมที่มัตซึดะเพิ่งใช้บริการไปเพียงแค่ 50 หลาเท่านั้น และลูกไฟขนาดมหึมาก็ได้เผาทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า ซึ่งแรงระเบิดส่งผลไปถึงรถที่มัตซึดะนั่ง ทำให้เขาและคนขับถึงกับกระเด็นออกไปนอกรถเลยทีเดียว แต่โชคดีที่เขารอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์ โดยจุดที่เขาประสบเหตุก็คือที่ตั้งของมาสด้า ซูม-ซูม สเตเดี้ยม และเป็นบ้านของทีมเบสบอล ฮิโรชิม่า โตโย คาร์ป โปรเฟสชันแนล ในปัจจุบันนั่นเอง ขณะที่โรงงาน และสำนักงานใหญ่ของ มาสด้า ซึ่งขณะนั้น มีชื่อว่า “โตโย โคเกียว คอปอเรชั่น” กลับไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากแรงระเบิดดังกล่าว ซึ่งเป็นเพราะภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขาล้อม จึงเป็นเกราะกำบังอย่างดีต่อแรงระเบิด รวมถึงอุณหภูมิความร้อนที่มีมากกว่า 10,000 องศา แต่ที่เสียหายนั้นเกิดจากการโจมตีทางอากาศในช่วงปลายสงคราม หลังจากสงครามโลกผ่านพ้นไป จูจิโร่ มัตซึดะ ยังคงดำรงตำแหน่งประธานบริหารอยู่จนถึงปี ค.ศ.1951 ก่อนส่งผ่านไปยังบุตรชายผู้ที่รอดชีวิตจากแรงระเบิดในครั้งนั้นของเขา ที่ชื่อ ทัสซูนิจิ มัตซึดะ ซึ่งอีก 7 ปีต่อมาโรงงานขนาดเล็กภายใต้การนำของทัสซูนิจิ ก็มีศักยภาพเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ได้เป็นครั้งแรก“

บริษัทฟอร์ดมอเตอร์ได้เข้าถือหุ้น 25% ในมาสด้าเมื่อ ค.ศ. 1979 ก่อนจะเพิ่มมาเป็น 33.4% เมื่อมาสด้าประสบปัญหาทางการเงินในปี ค.ศ. 1996 ในปัจจุบันมีรถยนต์หลายรุ่นที่ฟอร์ดและมาสด้าร่วมกันผลิต หรือฟอร์ดนำรถของมาสด้าไปปรับปรุงต่อเป็นรุ่นใกล้เคียง เช่น มาสด้า ทรีบิ้วกับฟอร์ด เอสเคป มาสด้า 323 โปรทีเจกับฟอร์ด เลเซอร์ เป็นต้น

มาสด้าถือว่าเป็นผู้นำด้านเครื่องยนต์โรตารีที่นำมาต่อยอดและพัฒนาจนมีชื่อเสียงทั้งด้านรถสปอร์ต และรถแข่งมอเตอร์สปอร์ต และปัจจุบันมาสด้าได้มาพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ของตนเองมาใช้ในชื่อ "Skyactiv"

เครือข่ายจำหน่ายรถยนต์ของมาสด้า

[แก้]

ในอดีต มาสด้าในญี่ปุ่นได้มีการแยกประเภทตัวแทนจำหน่ายและยี่ห้อรถยนต์เช่นเดียวกับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ ในญี่ปุ่น โดยอมาติ แองฟินิและยูโนส เป็นเครือข่ายและยี่ห้อสำหรับรถยนต์ระดับหรู ส่วนออโต้แซมนั้นเป็นเครือข่ายและยี่ห้อสำหรับรถยนต์ประเภท K-Car แต่ในปี 1996 ทางมาสด้าได้ยกเลิกยี่ห้อรถยนต์เหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน แต่ยังมีตัวแทนจำหน่ายในชื่อนั้นๆ เหลืออยู่ในญี่ปุ่น แต่ก็มีน้อยมาก

ในประเทศไทย เคยนำรถยนต์ในเครือข่ายดังกล่าวมาขายโดย โดยเป็นรถของยี่ห้อออโต้แซม โดยที่นำมาขายคือ ออโต้แซม เรวิว (Autozam Revue) ประมาณช่วงปี 1992 โดยตั้งชื่อในไทยว่า มาสด้า 121 (Mazda 121) แต่ด้วยความที่ไม่พร้อมจะทำตลาดอย่างจริงจัง จึงเลิกขายไปในปี 1995

รุ่นรถในปัจจุบัน

[แก้]

This is the current Mazda automobile listing internationally.

รุ่น ปีปฏิทิน
แนะนำตัว
รุ่นในปัจจุบัน รายละเอียดรถ
เปิดตัว ปรับปรุง/ปรับโฉม
Cars

MAZDA2
Mazda2 2002 2014 2019 Subcompact sedan and hatchback. Also marketed as the Demio in Japan until 2019.

MAZDA2 HYBRID
Mazda2 Hybrid 2021 2021 Rebadged Toyota Yaris Hybrid (XP210) for the European market.

MAZDA3
Mazda3 2003 2019 Compact sedan and hatchback. Also marketed as the Axela in Japan until 2019.

MAZDA6
Mazda6 2002 2012 2017 Mid-size sedan and station wagon. Also marketed as the Atenza in Japan until 2019.
SUVs/crossovers

CX-3
CX-3 2015 2015 2018 Subcompact crossover SUV based on the Mazda2.

CX-30
CX-30 2019 2019 Subcompact crossover SUV based on the Mazda3.

CX-4
CX-4 2016 2016 2020 Compact crossover SUV for the Chinese market. Exclusively manufactured by FAW Mazda.

CX-5
CX-5 2012 2017 2021 Compact crossover SUV based on the Mazda6.

CX-50
CX-50 2022 2022 Compact crossover SUV for the North American market.

CX-60
CX-60 2022 2022 Mid-size crossover SUV based on an RWD platform for European and Asian markets.

CX-8
CX-8 2017 2017 Mid-size crossover SUV, Mazda's flagship SUV in Japan.

CX-9
CX-9 2006 2016 Mid-size crossover SUV based on Mazda6.

MX-30
MX-30 2020 2020 All-electric and hybrid compact crossover SUV based on the CX-30.
Pickup trucks
BONGO TRUCK Bongo 1966 2020 Pickup version of the Bongo.

BT-50
BT-50 2006 2020 Compact pickup truck. รุ่นที่ 3 มาจากพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแม็กซ์.
Commercial vans
BONGO BRAWNY Bongo Brawny 1983 2019 Long-wheelbase version of the Bongo Van. Third generation is a rebadged H200-series Toyota HiAce.

BONGO VAN
Bongo 1966 2020 Cabover van. Fifth generation is a rebadged Daihatsu Gran Max.

FAMILIA VAN (XP160)
Familia Van (XP160) 2018 2018 Light commercial van. Rebadged Toyota Probox.
Commercial trucks

TITAN
Titan 1971 2007 Medium-duty truck. Fourth generation onwards is a rebadged Isuzu Elf.
Sports cars

ROADSTER/MX-5/MIATA
MX-5 1989 2015 2018 Front-engine, two-door, two-seater sports car. The best-selling two-seater convertible sports car in history.
Kei vehicles

CAROL
Carol 1962 2021 Low-roof hatchback kei car with hinged rear doors. Second generation onwards is a rebadged Suzuki Alto.

FLAIR
Flair 2012 2017 Low-roof hatchback kei car with hinged rear doors. Rebadged Suzuki Wagon R.

FLAIR CROSSOVER
Flair Crossover 2014 2020 Crossover SUV-styled kei car. Rebadged Suzuki Hustler.

FLAIR WAGON
Flair Wagon 2013 2017 Semi tall-height wagon kei car with rear sliding doors. Rebadged Suzuki Spacia.

SCRUM
Scrum 1989 2013 Cabover kei truck. Rebadged Suzuki Carry. Formerly the Autozam Scrum until 1998.

SCRUM VAN
Scrum 1989 2015 Cabover cargo microvan with rear sliding doors. Rebadged Suzuki Every cargo van. Formerly the Autozam Scrum Van until 1998.

SCRUM WAGON
Scrum 2000 2015 Cabover passenger microvan with rear sliding doors. Rebadged Suzuki Every passenger van.
Model Calendar year
introduced
Introduction Update/facelift Vehicle description
Current model

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]