มาเรีย ชาราโปวา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มาเรีย ชาราโปวาใน 2015 มูตัวมาดริดโอเพน | |
ชื่อเต็ม | Maria Yuryevna Sharapova |
---|---|
ชื่อจริง | Мари́я Ю́рьевна Шара́пова |
ประเทศ (กีฬา) | รัสเซีย |
ถิ่นพำนัก | บราเดนตัน รัฐฟลอริดา สหรัฐ |
วันเกิด | เนียกุน สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต | 19 เมษายน ค.ศ. 1987
ส่วนสูง | 1.88 m (6 ft 2 in)[1] |
เทิร์นโปร | April 19, 2001[1] |
การเล่น | มือขวา (แบ็กแฮนด์สองมือ)[1] |
ผู้ฝึกสอน | Yuri Sharapov Michael Joyce (2008–10) Thomas Högstedt (2010–13)[2] จิมมี คอนเนอส์ (2013) Sven Groeneveld (2013–present) |
เงินรางวัล | US$ 36,766,149[3] |
เดี่ยว | |
สถิติอาชีพ | 592–142 (80.7%)[1] |
รายการอาชีพที่ชนะ | 35 WTA, 4 ITF |
อันดับสูงสุด | No. 1 (August 22, 2005)[1] |
อันดับปัจจุบัน | No. 7 (February 29, 2016)[1] |
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |
ออสเตรเลียนโอเพน | W (2008) |
เฟรนช์โอเพน | W (2012, 2014) |
วิมเบิลดัน | W (2004) |
ยูเอสโอเพน | W (2006) |
การแข่งขันอื่น ๆ | |
Tour Finals | W (2004) |
คู่ | |
สถิติอาชีพ | 23–17[1] |
รายการอาชีพที่ชนะ | 3 WTA[1] |
อันดับสูงสุด | No. 41 (June 14, 2004)[1] |
ผลแกรนด์สแลมคู่ | |
ออสเตรเลียนโอเพน | 2R (2003, 2004) |
ยูเอสโอเพน | 2R (2003) |
คู่ผสม | |
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม | |
US Open | QF (2004) |
การแข่งขันแบบทีม | |
Fed Cup | W (2008), สถิติ 7–1 |
รายการเหรียญรางวัล | |
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 1 กันยายน 2558 |
มาเรีย ยูรืยเอฟนา ชาราโปวา (อังกฤษ: Maria Yuryevna Sharapova; รัสเซีย: Мари́я Ю́рьевна Шара́пова; เกิด 19 เมษายน 2530) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวรัสเซีย ซึ่งสมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิงจัดให้อยู่ในอันดับ 7 ของโลก เป็นผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐตั้งแต่ปี 2537[4] แข่งขันดับเบิลยูทีเอทัวร์ตั้งแต่ปี 2544 เธอเคยถูกจัดอยู่อันดับ 1 ของโลกโดยดับเบิลยูทีเอในห้าโอกาส รวม 21 สัปดาห์ เธอเป็นหญิงหนึ่งในสิบคนและชาวรัสเซียคนเดียวที่ครองแกรนด์สแลมอาชีพ เธอยังได้เหรียญโอลิมปิก โดยคว้าเหรียญเงินให้ประเทศรัสเซียในประเภทหญิงเดี่ยวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในกรุงลอนดอน
ชาราโปวาเป็นหมายเลข 1 ของโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 สิงหาคม 2548 ขณะอายุ 18 ปี และครั้งสุดท้ายครองตำแหน่งเป็นครั้งที่ห้าเป็นเวลาสี่สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ถึง 8 กรกฎาคม 2555[5][6] การชนะเลิศประเภทเดี่ยวของเธอ 35 ครั้ง และแกรนด์สแลม 5 ครั้ง สองครั้งทีเฟรนช์โอเพนและที่ออสเตรเลียนโอเพน วิมเบิลดันและยูเอสโอเพนอีกที่ละครั้ง อยู่ในอันดับสามในบรรดานักกีฬาที่ยังแข่งขันอยู่ ตามหลังเซเรนาและวีนัส วิลเลียมส์ เธอชนะรอบสุดท้ายดับเบิลยูทีเอสิ้นปีในการเปิดตัวเธอในปี 2547 เธอยังชนะเลิศประเภทคู่สามครั้ง
แม้เป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ แต่ชาราโปวามีช่วงเวลาระดับที่หาได้ยากในกีฬาหญิง เธอชนะเลิศประเภทเดี่ยวอย่างน้อยหนึ่งรายการต่อปีตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2558 เป็นสถิติต่อเนื่องที่เป็นรองเพียงสเตฟฟี กราฟ, มาร์ตินา นาฟราติโลวา, และคริส เอเวิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเทนนิสหลายคนและอดีตนักกีฬาเรียกชาราโปวาว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันเทนนิสยอดเยี่ยมคนหนึ่ง โดยจอห์น แม็กเอ็นโรเรียกเธอว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งที่กีฬาเทนนิสเคยเห็น[7]
ชาราโปวายังได้งานเดินแบบจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงเป็นนางแบบในสปอตส์อิลละสเตรติดสวิมสูตอิชชู (Sports Illustrated Swimsuit Issue) เธอปรากฏในหลายโฆษณา ซึ่งรวมไนกี พรินซ์และแคนอน นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เธอเป็นทูตสันถวไมตรีโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยสนใจโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเชอร์โนบิลเป็นพิเศษ ในเดือนมิถุนายน 2554 เธอได้รับขนานนามเป็นหนึ่งใน "30 ตำนานเทนนิสหญิง: อดีต ปัจจุบันและอนาคต" โดยไทม์[8] และในเดือนมีนาคม 2555 เทนนิสแชนเนลยังยกให้เป็นหนึ่งใน "100 ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" จากข้อมูลของฟอบส์ เธอเป็นนักกีฬาหญิงที่มีรายได้สูงสุดในโลก 11 ปีติดต่อกัน และทำรายได้ 285 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งรวมเงินรางวัลตั้งแต่เธอเล่นอาชีพในปี 2544[9][10]
ในเดือนมีนาคม 2559 ชาราโปวาเปิดเผยว่าเธอไม่ผ่านการทดสอบสารกระตุ้นที่ออสเตรเลียนโอเพน[11]
รางวัล
[แก้]พ.ศ. 2546
[แก้]- Women's Tennis Association (WTA) Newcomer of the Year
พ.ศ. 2547
[แก้]- WTA Player of the Year
- WTA Most Improved Player of the Year
พ.ศ. 2548
[แก้]- ESPY Best Female Tennis Player
- นักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสหพันธ์เทนนิสรัสเซีย
- Master of Sports of Russia
- Prix de Citron Roland Garros
พ.ศ. 2549
[แก้]- นักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสหพันธ์เทนนิสรัสเซีย
- Whirlpool 6th Sense Player of the Year
พ.ศ. 2550
[แก้]- ESPY Best Female Tennis Player
- ESPY Best International Female Athlete
- ESPY Best Female Tennis Player
พ.ศ. 2553
[แก้]- WTA Fan Favorite Singles Player
- WTA Humanitarian Of The Year
- WTA Most Fashionable Player (On Court)
- WTA Most Fashionable Player (Off Court)
- WTA Most Dramatic Expression
พ.ศ. 2555
[แก้]- ESPY Best Female Tennis Player
- Medal of the Order For Merit to the Fatherland 2nd Class
- Medal of the Order For Merit to the Fatherland 1st Class
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อุบัติเหตุนิวเคลียร์ ที่เชอร์โนบิล ในปี ค.ศ. 1986 ทำให้พ่อแม่ของ ชาราโปวา ยูริ และ เยเลนา ต้องย้ายถิ่นฐาน จาก โกเมล เบลารุส ไปยังเมือง Nyagan ในไซบีเรีย บ้านของบิดาของเยเลนา [12] โดยเยเลนาได้ให้กำเนิดมาเรีย หลังจากนั้น 1 ปี
เมื่อชาราโปวาอายุได้ 2 ปี ครอบครัวของเธอได้ย้ายไป โซชิ ที่นั่นเพื่อนสนิทของพ่อเธอ อเล็กซานเดย์ คาเฟลนิคอฟ (Aleksandr Kafelnikov) (ลูกชายของเขา ก็คือ เยฟเจนี คาเฟลนิคอฟ นักเทนนิสอันดับ 1 โลกและชนะสองแกรนด์สแลมชายเดี่ยว ) อเล็กซานเดย์ให้ไม้เทนนิสแก่ชาราโปวาเป็นครั้งแรกตอนเธออายุ 4 ปี จากนั้นเธอก็เริ่มฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอกับพ่อของเธอที่สวนสาธารณะในเมือง เธอเข้ามาฝึกเรียนเทนนิสครั้งแรกกับโค้ชยูริ ยัตคิน (Yuri Yutkin) ซึ่งประทับใจทันทีเมื่อเขาเห็นเธอเล่น เขาบอกว่า "มือประสานงานกับตาที่โดดเด่น."
เมื่ออายุ 6 ปี ชาราโปวา ได้เข้าร่วมคลินิกเทนนิสในมอสโก ซึ่งสอนโดย มาร์ตินา นาฟราติโลวา เธอได้รับคำแนะนำจากนาฟราติโลวาเกี่ยวกับ วิทยาลัยเทนนิส นิค บอลเลทเทอรี (Nick Bollettieri Tennis Academy) สถาบันสอนเทนนิสในฟลอริดา ซึ่งผู้ได้รับการฝึกอบรมก่อนหน้านี้ เช่น อานเดร แอกัสซี
พ่อของ ชาราโปวา พาเธอมายังสหรัฐอเมริกาเมื่อเธออายุได้ 7 ปี เพื่อเข้าฝึกที่ วิทยาลัยเทนนิส นิค บอลเลทเทอรี ในเมืองแบลดเดนตัน [13][14][15] แม่ของเธอ เยเลนา ไม่สามารถเดินทางมาด้วย เนื่องจากปัญหาด้านวีซ่า ได้ตามมาหลังจากนั้น 2 ปี [12] ชาราโปวาอาศัยอยู่ที่ สหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นมา แต่ยังคงสัญชาติ รัสเซียไว้[15] เธอมีบ้านอยู่ในเมืองแมนแฮตตันบีช ในรัฐแคลิฟอร์เนีย[16]
สถิติการแข่งขันอาชีพ
[แก้]แกรนด์สแลม
[แก้]รอบชิงชนะเลิศ: 10 (ชนะเลิศ 5, รองชนะเลิศ 5)
ผลลัพธ์ | ปี | รายการ | พื้นผิว | คู่แข่งในรอบชิง | ผลการแข่งขัน |
ชนะเลิศ | 2547 | วิมเบิลดัน | หญ้า | เซเรนา วิลเลียมส์ | 6–1, 6–4 |
ชนะเลิศ | 2549 | ยูเอสโอเพน | คอนกรีต | จัสติน เอแนง | 6–4, 6–4 |
รองชนะเลิศ | 2550 | ออสเตรเลียนโอเพน | คอนกรีต | เซเรนา วิลเลียมส์ | 1–6, 2–6 |
ชนะเลิศ | 2551 | ออสเตรเลียนโอเพน | คอนกรีต | อนา อิวาโนวิช | 7–5, 6–3 |
รองชนะเลิศ | 2554 | วิมเบิลดัน | หญ้า | เปตรา ควิโตวา | 3–6, 4–6 |
รองชนะเลิศ | 2555 | ออสเตรเลียนโอเพน | คอนกรีต | วิคตอเรีย อซาเรนกา | 3–6, 0–6 |
ชนะเลิศ | 2555 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | ซารา เออร์รานี | 6–3, 6–2 |
รองชนะเลิศ | 2556 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | เซเรนา วิลเลียมส์ | 4–6, 4–6 |
ชนะเลิศ | 2557 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | ซิโมนา ฮาเล็ป | 6–4, 6–7, 6–4 |
รองชนะเลิศ | 2558 | ออสเตรเลียนโอเพน | คอนกรีต | เซเรนา วิลเลียมส์ | 3–6, 6–7 |
ชิงแชมป์ปลายปี
[แก้]รอบชิงชนะเลิศ: 3 (ชนะเลิศ 1, รองชนะเลิศ 2)
[แก้]ผลลัพธ์ | ปี | รายการ | พื้นผิว | คู่แข่งในรอบชิง | ผลการแข่งขัน |
ชนะเลิศ | 2547 | ลอสแอนเจลิส | คอนกรีต | เซเรนา วิลเลียมส์ | 4–6, 6–2, 6–4 |
รองชนะเลิศ | 2550 | มาดริด | คอนกรีต | จัสติน เอแนง | 7–5, 5–7, 3–6 |
รองชนะเลิศ | 2555 | อิสตันบูล | คอนกรีต | เซเรนา วิลเลียมส์ | 4–6, 3–6 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Maria Sharapova". WTA. สืบค้นเมื่อ September 1, 2015.
- ↑ Maria Sharapova splits with coach – Beyond the Baseline – SI.com
- ↑ "MILLION DOLLAR CLUB" (PDF). WTAtennis.com.
- ↑ Simon Briggs (August 28, 2013). "US Open 2011: Elena Baltacha warns Heather Watson of the extreme intensity of Maria Sharapova". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ May 4, 2013.
- ↑ "Notes& Netcords" (PDF). WTA. July 16, 2012. สืบค้นเมื่อ May 19, 2013.
- ↑ "Maria Sharapova reclaims world number one ranking". 3News. MediaWorks TV. June 8, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ May 4, 2013.
- ↑ "McEnroe Insights: Maria Sharapova". 3News. YouTube. January 26, 2011. สืบค้นเมื่อ January 11, 2015.
- ↑ William Lee Adams (June 22, 2011). "30 Legends of Women's Tennis: Past, Present and Future – Maria Sharapova". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-28. สืบค้นเมื่อ August 19, 2011.
- ↑ "The World's Highest-Paid Female Athletes 2015". Forbes. สืบค้นเมื่อ August 12, 2015.
- ↑ Kurt Badenhausen. "How Maria Sharapova Earned $285 Million During Her Tennis Career". Forbes. สืบค้นเมื่อ March 8, 2016.
- ↑ "Maria Sharapova failed drugs test at Australian Open". BBC. 8 March 2016.
- ↑ 12.0 12.1 Associated Press (2007-08-13). "Maria Sharapova plans 1st trip back to Chernobyl since family fled". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
- ↑ "Maria Sharapova Inc". Sydney Morning Herald (Australia). 2008-01-20.
- ↑ "Tennis academy where stars are born". British Broadcasting Corporation.
- ↑ 15.0 15.1 Dennis Campbell (2004-11-28). "Love match turns to hate as Russian stars attack Maria". The Guardian (United Kingdom).
- ↑ Kathy Ehrich-Dowd (2006-04-17). "Celebrity Q & A - Maria Sharapova". People Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.