ตารางธาตุ (ขยาย)
ตารางธาตุขยาย (อังกฤษ: Extended Periodic Table) เป็นการทำนายตำแหน่งของธาตุหลังจากออกาเนสซอน ซึ่งเป็นธาตุสุดท้ายในคาบที่ 7 ปัจจุบันธาตุในคาบที่ 7 ถูกค้นพบหมดแล้ว ถ้ามีธาตุที่มีเลขอะตอมมากกว่าถูกค้นพบ มันก็จะย้ายไปสู่คาบที่ 8 และนักวิทยาศาสตร์ได้ทำนายว่าธาตุในคาบที่ 8 อย่างน้อย 18 ตัวจะต้องอยู่ในบล็อก-g ซึ่งบล็อก-g มีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย เกลนน์ ที. ซีบอร์ก ใน ค.ศ. 1969[1][2]
นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่าธาตุในบริเวณนี้จะไม่ถูกสังเคราะห์หรือค้นพบในธรรมชาติ[3] ธาตุแรกในบล็อก-g จะมีเลขอะตอมเท่ากับ 121 และมีชื่อตามระบบการตั้งชื่อธาตุว่า อูนไบอันเนียม ธาตุในบริเวณนี้ดูเหมือนว่าจะมีความไม่เสถียรสูงมาก ทำให้พร้อมที่จะสลายตัวตลอดเวลา เนื่องด้วยครึ่งชีวิตที่สั้นมาก มีการทำนายว่าธาตุลำดับที่ 126 จะยังคงอยู่ในเกาะแห่งความเสถียรภาพ แต่ธาตุหลังจากนั้นยังเป็นที่สงสัยว่ามีอีกกี่ตัวที่ยังคงเป็นไปได้ทางฟิสิกส์ ซึ่งทำนายกันว่าอาจจะถึงสิ้นสุดคาบ 8 หรือ คาบ 9
ประวัติ
[แก้]ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าธาตุหลังจากออกาเนสซอนจะมีมากเท่าไร เกลนน์ ที. ซีบอร์ก เชื่อว่าธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 130 จะเป็นธาตุสุดท้าย[4] ถึงกระนั้น วอลเตอร์ เกรน์เนอร์ได้คาดว่าธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 130 จะยังไม่ใช่ธาตุสุดท้ายในตารางธาตุ[5]
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | H | He | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | Li | Be | B | C | N | O | F | Ne | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | Na | Mg | Al | Si | P | S | Cl | Ar | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | K | Ca | Sc | Ti | V | Cr | Mn | Fe | Co | Ni | Cu | Zn | Ga | Ge | As | Se | Br | Kr | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | Rb | Sr | Y | Zr | Nb | Mo | Tc | Ru | Rh | Pd | Ag | Cd | In | Sn | Sb | Te | I | Xe | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | Cs | Ba | La | Ce | Pr | Nd | Pm | Sm | Eu | Gd | Tb | Dy | Ho | Er | Tm | Yb | Lu | Hf | Ta | W | Re | Os | Ir | Pt | Au | Hg | Tl | Pb | Bi | Po | At | Rn | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | Fr | Ra | Ac | Th | Pa | U | Np | Pu | Am | Cm | Bk | Cf | Es | Fm | Md | No | Lr | Rf | Db | Sg | Bh | Hs | Mt | Ds | Rg | Cn | Nh | Fl | Mc | Lv | Ts | Og | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | 119 | 120 | * | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ** | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
* | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
** | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | ∙ ∙ ∙ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขนาดใหญ่ |
ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบและเป็นเพียงการทำนายนี้ถูกตั้งชื่อโดยระบบการตั้งชื่อธาตุของสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) แต่มักจะไม่ถูกเรียก เช่นธาตุอูนเฮกซ์ควอเดียม เป็นชื่อที่ได้จากระบบการตั้งชื่อ แต่นักวิทยาศาสตร์จะเรียกมันว่า ธาตุที่ 164
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ระบบการตั้งชื่อได้รับรองแค่ธาตุอูนอูนเอนเนียม อูนไบนิลเลียม อูนไบเบียม อูนไบควอเดียม อูนไบเฮกเซียม และอูนไบเซปเทียมเท่านั้น (เลขอะตอม = 119 120 122 124 126 127)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Seaborg, Glenn T. (August 26, 1996). "An Early History of LBNL". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-15. สืบค้นเมื่อ 2015-04-28.
- ↑ Frazier, K. (1978). "Superheavy Elements". Science News. 113 (15): 236–238. doi:10.2307/3963006. JSTOR 3963006.
- ↑ Element 122 was claimed to exist naturally in April 2008, but this claim was widely believed to be erroneous. "Heaviest element claim criticised". Rsc.org. 2008-05-02. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEB
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อrsc