Lowenstein-Jensen medium
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่กระชับ เหมาะสม, ไม่ปรากฏคำอ่านที่แน่ชัด หรือไม่ปรากฏคำแปลที่ใช้ในทางวิชาการ |
Lowenstein-Jensen medium หรือชื่อย่อ LJ medium เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ[1] สำหรับไมโคแบคทีเรียม โดยเฉพาะ Mycobacterium tuberculosis เมื่อเจริญบน LJ medium, M. tuberculosis จะเกิดเป็นโคโลนีสีน้ำตาล มีแกรนูล (บางครั้งเรียก สีน้ำตาล ขรุขระ) โดยต้องบ่มเชื้อไว้เป็นเวลานานประมาณ 4 สัปดาห์ เพราะ M. tuberculosis โตช้าเมื่อเทียบกับแบคทีเรียอื่น ๆ
ส่วนประกอบ
[แก้]ส่วนประกอบโดยทั่วไป[2] ที่ใช้เลี้ยง Mycobacterium tuberculosis คือ:
- มาลาไคต์กรีน
- กลีเซอรอล
- แอสพาราจีน
- แป้งมันฝรั่ง
- ไข่
- สารละลายธาตุอาหาร
อาจเติมเพนนิซิลลิน และกรดนาลิดิซิก ปริมาณเล็กน้อยเพื่อป้องกันการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก และแบคทีเรียแกรมลบ และจำกัดการเจริญของไมโคแบคทีเรียเท่านั้น การเติมสีมาลาไคต์กรีนเพื่อยับยั้งแบคทีเรียชนิดอื่น การเติมกลีเซอรอลจะเพิ่มการเจริญของ Mycobacterium tuberculosis ส่วนที่เป็นแป้งอาจจะตัดออกได้
อาหารสูตรดัดแปลง
[แก้]อาหารสูตร LJ medium เป็นที่นิยมที่สุดในการเลี้ยงไมโคแบคทีเรีย ดังที่มีคำแนะนำโดยสหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (International Union against Tuberculosis and Lung Disease, IUATLD) และได้มีการพัฒนาอาหารสูตรดัดแปลงขึ้นมา เช่น[3]
อาหารแข็ง
[แก้]- มีไข่ - Petragnini medium and Dorset medium
- Middlebrook 7H10 Agar
- Middlebrook 7H11 Agar
- มีเลือด - Tarshis medium
- มีซีรัม - Loeffler medium
- มีมันฝรั่ง - Pawlowsky medium
อาหารเหลว
[แก้]- Dubos' medium
- Middlebrook 7H9 Broth
- Proskauer and Beck's medium
- Sula's medium
- Sauton's medium
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Haitham Elbir; Abdel-Muhsin Abdel-Muhsin; Ahmed Babiker (กุมภาพันธ์ 2008). "A one-step DNA PCR-based method for the detection of Mycobacterium tuberculosis complex grown on Lowenstein-Jensen media". Am. J. Trop. Med. Hyg. 78 (2): 316–7. ISSN 0002-9637. PMID 18256436. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "BBL™ Lowenstein-Jensen Medium, BBL™ Lowenstein-Jensen Medium with 5% Sodium Chloride" (PDF). Becton, Dickinson and Company. ตุลาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 มีนาคม 2016.
- ↑ R. Ananthanarayan (2006). C.K. Jayaram Paniker (บ.ก.). Ananthanarayan and Paniker's Textbook of Microbiology (Seventh ed.). Orient Blackswan. pp. 351–364. ISBN 81-250-2808-0.