ข้ามไปเนื้อหา

ลิงคินพาร์ก

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Linkin Park)

ลิงคินพาร์ก
ลิงคินพาร์กใน ค.ศ. 2024: (จากซ้าย) เดฟ ฟาร์เรล, แบรด เดลสัน, โจ ฮาห์น, เอมิลี อาร์มสตรอง, โคลิน บริตเตน, และไมก์ ชิโนดะ
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อ
  • ซีโร (1996–1999)
  • ไฮบริดทีโอรี (1999–2000)
ที่เกิดอะกูราฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
แนวเพลง
ช่วงปี1996–2017 (พักวง), 2024–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์linkinpark.com

ลิงคินพาร์ก (อังกฤษ: Linkin Park) เป็นวงดนตรีร็อกชาวอเมริกันจากอะกูราฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เป็นศิลปินแนวนูเมทัล ประกอบไปด้วยบทเพลงที่น่าสนใจ และเต็มไปด้วยความหลากหลายของดนตรี ได้แก่ เมทัล ฮิปฮอป อิเล็กทรอนิกส์ อินดัสเตรียล มีกลิ่นอายของฮิปฮอป และมีความเป็นป็อปอยู่ด้วย[1][2][3] ประสบความสำเร็จกับอัลบั้มเปิดตัวของวง ไฮบริดทีโอรี ทำให้วงมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ด้วยยอดจำหน่าย 24 ล้านแผ่น โดยอัลบั้มชุดแรกนี้ได้รับการรับรองระดับเพชรโดย อาร์ไอเอเอ ในปี พ.ศ. 2548 และในระดับทองคำขาวในอีกหลายประเทศ[4] สตูดิโออัลบั้มชุดต่อมา เมทีโอรา ที่ประสบความสำเร็จ ด้วยการติดอันดับ 1 ในชาร์ต บิลบอร์ด 200 ในปี พ.ศ. 2546 และตามด้วยการออกงานแสดงคอนเสิร์ตทัวร์และการกุศลทั่วโลก[5] ในปี พ.ศ. 2546 เอ็มทีวี 2 ได้จัดให้ลิงคินพาร์กเป็นหนึ่งในหกวงดนตรีที่ดีที่สุดของยุคมิวสิกวิดีโอ และเป็นหนึ่งในสามวงดนตรียอดเยี่ยมแห่งสหัสวรรษใหม่[6] บิลบอร์ด จัดอันดับให้ลิงคินพาร์กอยู่ในอันดับที่ 19 ในชาร์ตศิลปินยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ[7] ลิงคินพาร์กได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินที่ดีที่สุดในยุคปี 2543 ของแบรกเกตแมดเนสโพลล์ในวีเอชวัน[8] ในปี พ.ศ. 2557 ลิงคินพาร์กได้รับการประกาศโดย เคอร์แรง! ว่าเป็น วงดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้[9][10]

ลิงคินพาร์กได้ทดลองแนวเพลงในแบบอื่นในสตูดิโออัลบั้มชุดถัดมา มินิตส์ทูมิดไนต์ ในปี พ.ศ. 2550[11][12] อัลบั้มนี้ได้อันดับหนึ่งในชาร์ต บิลบอร์ด และเป็นอัลบั้มยอดเยี่ยมที่เปิดตัวในสัปดาห์แรกในปีนั้น[13][14] และได้ทดลองเปลี่ยนแปลงแนวเพลงในการสร้างเสียงรูปแบบใหม่ ๆ ในอัลบั้มชุดที่สี่ อะเทาซันด์ซันส์ ในปี พ.ศ. 2553 ด้วยเสียงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่มากขึ้น ในอัลบั้มชุดที่ห้า ลิฟวิงทิงส์ ในปี พ.ศ. 2555 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างจากอัลบั้มที่ผ่านมาทั้งหมด และอัลบั้มชุดที่หก ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดล่าสุด เดอะฮันติงปาร์ตี ในปี พ.ศ. 2557 ได้กลับมาทำผลงานที่มีแนวเพลงแบบฮาร์ดร็อก และได้ทำงานร่วมกับศิลปินรับเชิญหลายท่าน ที่โดดเด่นที่สุดคือการทำผลงานกับนักร้องแร็ป เจย์-ซี เมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยการนำเพลงมาผสมกันในอีพี คอลลิชันคอร์ส และมีผลงานรีมิกซ์อัลบั้ม ได้แก่ รีแอนิเมชัน และ รีชาจด์[2] ลิงคินพาร์กได้คว้ารางวัลแกรมมีมาแล้วสองครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2549 และทำยอดจำหน่ายอัลบั้มได้มากกว่า 68 ล้านชุดทั่วโลก[15][16][17] รวมทั้งยังก่อตั้งองค์กรมิวสิกฟอร์รีลีฟ ร่วมกับสภากาชาดสากลเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 และต่อต้านภาวะโลกร้อน

ประวัติ

[แก้]

ช่วงแรกของวง (2539–2543)

[แก้]

ไมก์ ชิโนดะ ได้ชมคอนเสิร์ตของวงแอนแทรกซ์และพับลิกเอเนมี ในช่วง พ.ศ. 2532-2533 และการแสดงในช่วงที่แฟนเพลงเรียกร้องให้ขึ้นเวทีอีกครั้ง ทั้งสองวงลุกขึ้นมาแสดงดนตรีร่วมกันในบทเพลง "บริงเดอะนอยส์" ซึ่งเป็นการจุดประกายให้ไมค์อยากทำงานในทิศทางเพลงนูเมทัล ลิงคินพาร์กจึงเริ่มต้นจากไมก์ ชิโนดะ ผู้คลั่งไคล้ในวัฒนธรรมดนตรีฮิปฮอป กับแบรด เดลสัน มือกีตาร์สมัครเล่น ทั้งสองคนเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่เกรด 7 (ประมาณ 13 ปี) ที่โรงเรียนมัธยมอะกูราฮิลส์ ในเมืองอะกูราฮิลส์ ชานเมืองของลอสแอนเจลิส[18] โดยในช่วงแรก ไมค์รับหน้าที่ทำจังหวะบีทให้วงฮิปฮอป หลังจากนั้นจึงได้พบกับร็อบ บัวร์ดอน มือกลองในโรงเรียนใกล้ ๆ ในแถบซานเฟอร์นานโดวัลเลย์ และได้โจ ฮาห์น ดีเจผู้รู้จักกับไมค์ขณะศึกษาที่อาร์ตเซ็นเตอร์คอลเลจในแพซาดีนา รวมถึงเดฟ ฟีนิกซ์ ฟาร์เรล และมาร์ก เวกฟีลด์ มาเป็นหนึ่งในสมาชิกด้วย แล้วร่วมตั้งวงดนตรีชื่อ ซีโร (Xero) ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการแสดงดนตรีเล็ก ๆ สร้างความครื้นเครงและความสนุกสนาน ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่บ้านเพื่อน และเริ่มบันทึกผลงานเพลงด้วยสตูดิโอชั่วคราวเล็ก ๆ ในห้องนอนของไมค์ในปี พ.ศ. 2539 ด้วยผลงานเทปเดโมที่มีชื่อว่า ซีโร[18][19] ในเวลานั้นนักร้องนำของวง มาร์ก เวกฟีลด์ ได้ออกจากวงเพื่อหาโครงการอื่นทำ[18][19] และเดฟ ฟาร์เรลก็ได้ออกจากวงเพื่อออกทัวร์กับวงอื่น ๆ[20][21]

เมื่อซีโรมีโอกาสได้ไปแสดงดนตรีที่วิสกีอะโกโก คลับดังของลอสแอนเจลิส และด้วยฝีมือการแสดงดนตรีอันโดดเด่น จึงเป็นที่ถูกใจ เจฟฟ์ บลู แห่งซอมบามิวสิกพับลิชชิง[22][23] และได้เซ็นสัญญาในที่สุด ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญและผลักดันให้ซีโรมีโอกาสในวงการดนตรีมากขึ้น เนื่องจากเจฟฟ์มีส่วนผลักดันให้ผลงานเพลงตัวอย่างของซีโร ให้เป็นที่รู้จักของผู้คนในวงการเพลงมากขึ้น[22] ต่อมาซีโรได้เซ็นสัญญากับวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์อย่างเป็นทางการ ภายหลังจากนั้นไม่นาน เจฟฟ์ได้ย้ายตามไปทำงานร่วมกันโดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการผลิตด้วย ขณะนั้นซีโรต้องการสมาชิกเพิ่มในตำแหน่งนักร้องนำ เชสเตอร์ เบนนิงตัน จากรัฐแอริโซนาจึงเข้ามาเป็นสมาชิกคนต่อไปในฐานะนักร้องนำ โดยเชสเตอร์ได้รับเทปตัวอย่างที่ซีโรทำขึ้นจากสตูดิโอในห้องนอนของไมค์ นอกจากนี้ทั้งเชสเตอร์และไมค์รู้จักกันผ่านทางสำนักทนาย ไมเนียตเฟลปส์แอนด์เฟลปส์ ที่ทั้งคู่ใช้บริการ เชสเตอร์สนใจที่จะร่วมงานกับซีโรมาก จนถึงกับแอบหนีงานเลี้ยงฉลองวันเกิดครบรอบ 23 ปีของตนไปอย่างหน้าตาเฉย เพื่อรีบไปบันทึกเสียงร้องของตนลงเทปตัวอย่างกลางดึก จากนั้นได้โทรศัพท์เปิดเทปตัวอย่างให้กับทางวงฟัง ซึ่งทุกคนชอบมาก จึงรับเชสเตอร์เป็นสมาชิกใหม่ทันที[20]

จากนั้นสมาชิกซีโรทั้งหมดตกลงใจเปลี่ยนชื่อวงเป็น ไฮบริดทีโอรี (Hybrid Theory)[24] แต่บังเอิญไปซ้ำกับชื่อวงดนตรีของศิลปินกลุ่มอื่น จนในที่สุดจำต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็นวง ลิงคินพาร์ก (Linkin Park) ซึ่งเป็นชื่อที่แผลงตัวสะกดมาจาก ลินคอล์นพาร์ก (Lincoln Park) ซึ่งมีที่มาที่ไปจากการมองการณ์ไกลไปถึงการสร้างเว็บไซต์ประจำวง เนื่องจากมีการจดทะเบียนซื้อขายชื่อโดเมน ลินคอล์นพาร์ก.คอม (lincolnpark.com) ก่อนที่ทางวงจะไปขึ้นทะเบียนวงดนตรีของพวกตนไปเรียบร้อยแล้ว และหากยังคงต้องการใช้ชื่อนั้น ก็ต้องเตรียมจ่ายเงินจำนวนมหาศาลแน่นอน[25] นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกามีสวนสาธารณะชื่อลินคอล์นพาร์กอยู่หลายแห่ง ดังนั้นหากไปเปิดการแสดงดนตรีที่ใดก็ตาม จะกลายเป็นเหมือนกับวงดนตรีท้องถิ่นทั่วไป ที่สำคัญคือทุกคนชอบชื่อ ลินคอล์นพาร์ก และยังเป็นสถานที่ที่เชสเตอร์ขับรถผ่านภายหลังจากซ้อมดนตรีเสร็จเป็นประจำ ลินคอล์นพาร์กเป็นสถานที่แห่งหนึ่งของชนชั้นกลาง และคนจรจัดของเมืองแซนตามอนิกา และต่อมาลิงคินพาร์กได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ชื่อดังอย่างดอน กิลมอร์ ผู้เคยร่วมงานกับศิลปินชื่อดังมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพิร์ล แจม, เอเพ็กซ์ ทีโอรี, ชูการ์ เรย์

อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และ รีแอนิเมชัน (2543–2545)

[แก้]
สัญลักษณ์ของวงในสมัยอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี จนถึงก่อน มินิตส์ทูมิดไนต์

ลิงคินพาร์กออกจำหน่ายผลงานอัลบั้มชุดแรกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2543[26][27] จะใช้ชื่ออะไรไปไม่ได้นอกจากชื่อที่ยังคาใจทุกคนอยู่ นั่นก็คือ ไฮบริดทีโอรี (Hybrid Theory) ทุกคนยอมรับว่าเป็นวลีที่สรุปจุดมุ่งหมายของวงได้ดีที่สุด และต้องมีการใส่วงเล็บเพิ่มลงไปด้วย ซึ่งอัลบั้มนี้แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการทำผลงานของวงมาครึ่งทศวรรษ ไฮบริดทีโอรี ได้ประสบความสำเร็จในเชิงการค้าอย่างมาก โดยออกจำหน่ายได้มากกว่า 4.8 ล้านแผ่นภายในปีแรกที่ออกวางขาย จัดอยู่ในอันดับอัลบั้มเพลงที่มียอดขายสูงสุดในปี พ.ศ. 2544 ซิงเกิลในอัลบั้มนี้ เช่น "ครอว์ลิง" (Crawling) และ "วันสเต็ปโคลเซอร์" (One Step Closer) ได้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเพลงเด่นของนักจัดรายการวิทยุเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกทั่วโลกในปีนั้น[20] นอกจากนี้ ซิงเกิลอื่น ๆ จากอัลบั้มนี้ได้นำไปเป็นเพลงประกอบให้กับภาพยนตร์ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น Dracula 2000, Little Nicky, และ Valentine[20] ไฮบริดทีโอรี ได้ชนะรางวัลแกรมมีในผลงานเพลง "ครอว์ลิง" และได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงอีก 2 รายการ คือ ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และอัลบั้มเพลงร็อกยอดเยี่ยม[28] เอ็มทีวีได้มอบรางวัลให้กับลิงคินพาร์ก ในสาขาวิดีโอเพลงร็อกยอดเยี่ยม และรางวัลงานกำกับยอดเยี่ยมในผลงานเพลง "อินดิเอ็นด์"[18] และผ่านเข้าไปเป็นผู้ชนะรางวัลแกรมมีในสาขาการแสดงดนตรีฮาร์ดร็อกยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2544 ความสำเร็จโดยรวมของอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี ได้ทำให้ลิงคินพาร์กเป็นวงดนตรีที่หลาย ๆ คนรู้จัก

ในช่วงเวลานี้ ลิงคินพาร์กได้รับเชิญให้ไปแสดงดนตรีอีกมากมาย และออกทัวร์ในเทศกาลดนตรี แฟมิลีแวลูส์ (Family Values) ออซเฟสต์ (Ozzfest) และออลโมสต์อะคูสติกคริสต์มาส (KROQ Almost Acoustic Christmas)[20][29] วงได้ทำงานด้วยกันกับ เจสซิกา สกลาร์ เพื่อก่อตั้งกลุ่มแฟนคลับของวงอย่างเป็นทางการ "ลิงคินพาร์กอันเดอร์กราวด์" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544[30][31] ลิงคินพาร์กยังได้ก่อตั้งทัวร์ของวงเอง พรอเจกต์เรโวลูชัน (Projekt Revolution) ซึ่งร่วมกับศิลปินที่โดดเด่นอื่น ๆ เช่น ไซเพรสส์ฮิลล์ (Cypress Hill) อะดีมา (Adema) และสนูป ด็อกก์ (Snoop Dogg)[22] ลิงคินพาร์กได้ออกแสดงทัวร์คอนเสิร์ตมากกว่า 320 คอนเสิร์ต[18] ประสบการณ์และการแสดงของวงนี้ได้บันทึกลงในผลงานดีวีดีแรก แฟรตปาร์ตีแอตเดอะแพนเค้กเฟสติวัล ซึ่งเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และได้ชักชวนให้ฟีนิกซ์ (Pheonix) มือกีตาร์เบสของวงกลับเข้าร่วมงานด้วยกันอีกครั้ง ในฐานะสมาชิกคนที่ 6 ของลิงคินพาร์ก[20][21] (แต่ในปกผลงานชุด ไฮบริดทีโอรี ลงเครดิตเพียงแค่ 5 คนเท่านั้น) ลิงคินพาร์กได้เริ่มทำผลงานอัลบั้มรีมิกซ์ชุดแรก ชื่อว่า รีแอนิเมชัน ซึ่งจะรวมผลงานเพลงรวมถึงโบนัสแทร็กจากอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี มารีมิกซ์[20] รีแอนิเมชัน ออกจำหน่ายในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ร่วมกับศิลปินรับเชิญ ได้แก่ แบล็ก ทอต โจนาธาน เดวิส แอรอน ลูอิส และอื่น ๆ อีกมากมาย[32] รีแอนิเมชัน เข้าสู่อันดับสองใน บิลบอร์ด 200 และมียอดจำหน่ายได้เกือบ 270,000 แผ่นภายในสัปดาห์แรก[33] ไฮบริดทีโอรี ยังได้ถูกจัดอันดับใน ยอดอัลบั้ม 100 อันดับ ของสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา อีกด้วย[34]

อัลบั้ม เมทีโอรา (2545–2547)

[แก้]

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และ รีแอนิเมชัน ลิงคินพาร์กได้ใช้เวลาออกแสดงคอนเสิร์ตทัวร์รอบสหรัฐอเมริกา สมาชิกวงได้เริ่มทำงานโดยใช้เวลาว่างที่อยู่ในสตูดิโอของรถบัสทัวร์คอนเสิร์ตในการทำผลงานอัลบั้มใหม่[35] และประกาศอย่างเป็นทางการที่จะมีสตูดิโออัลบั้มใหม่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 แสดงให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่มาจากยอดเขาเมทีโอราในประเทศกรีซ ซึ่งมีวัดหรืออารามจำนวนมากที่ตั้งอยู่บนยอดของภูเขาหิน เปรียบเหมือนเพลงร็อกในอัลบั้ม เมทีโอรา[36] โดยมีการผสมผสานของแนวเพลงนูเมทัล และแร็ป ด้วยเสียงใหม่ ๆ รวมถึงเสียงจากเครื่องดนตรีที่ชื่อว่าชากุฮะชิ (ฟลุตญี่ปุ่นทำมาจากไม่ไผ่) และอื่น ๆ[18] อัลบั้มที่สองของลิงคินพาร์กนี้ได้ออกจำหน่ายในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 และได้รับการยอมรับจากผู้ฟังทั่วโลก[18] เข้าสู่อันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร และอันดับ 2 ในออสเตรเลีย[19]

เมทีโอรา จำหน่ายได้มากกว่า 800,000 แผ่นภายในสัปดาห์แรก และถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในชาร์ตบิลบอร์ดในเวลานั้น[37] ซิงเกิลในอัลบั้มนี้ ประกอบด้วย "ซัมแวร์ไอบีลอง", "เฟนต์", "นัมบ์", "ฟรอมดิอินไซด์" และ "เบรกกิงเดอะแฮบิต"[38] โดยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เมทีโอรา ใกล้จำหน่ายได้ 3 ล้านชุด[39] ลิงคินพาร์กจึงจัดพรอเจกต์เรโวลูชัน หรืองานเทศกาลดนตรีของลิงคินพาร์ก ซึ่งรวมวงดนตรีและศิลปินอื่นมาในงานนี้ด้วย ได้แก่ มัดเวน, ไบลนด์ไซด์ และเอกซ์ซิบิต[18] นอกจากนี้ เมทัลลิกาได้เชิญลิงคินพาร์กมาเล่นที่งานซัมเมอร์แซนนิเทเรียมทัวร์ ในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งรวมการแสดงจากศิลปินที่เป็นที่รู้จักอย่าง ลิมป์บิซกิต, มัดเวน และเดฟโทนส์[40] ลิงคินพาร์กออกจำหน่ายอัลบั้มบันทึกการแสดงสดชื่อว่า ไลฟ์อินเท็กซัส ซึ่งประกอบด้วยแทร็กออดิโอและวิดีโอจากการแสดงดนตรีบางส่วนของวงที่เท็กซัสระหว่างการออกทัวร์[18] ในต้นปี พ.ศ. 2547 ลิงคินพาร์กได้เริ่มทัวร์ที่มีชื่อว่า เมทีโอราเวิลด์ทัวร์ รวมถึงวงดนตรีที่สนับสนุนการทัวร์ครั้งนี้ ได้แก่ ฮูบาสแตงก์, พี.โอ.ดี., สตอรีออฟเดอะเยียร์ และวงเพีย[41]

เมทีโอรา ทำให้วงได้รับรางวัลในหลายรายการ โดยได้ชนะในรางวัลเอ็มทีวีในสาขาวิดีโอเพลงร็อกยอดเยี่ยมสำหรับเพลง "ซัมแวร์ไอบีลอง" และสาขาวิดีโอขวัญใจผู้ชมสำหรับเพลง "เบรกกิงเดอะแฮบิต"[42] ลิงคินพาร์กยังได้รับการยอมรับในงานเรดิโอมิวสิกอะวอดส์ในปี พ.ศ. 2547 ชนะรางวัลศิลปินแห่งปีและรางวัลเพลงแห่งปีสำหรับเพลง "นัมบ์"[42] ถึงแม้ว่า เมทีโอรา จะไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับ ไฮบริดทีโอรี แต่ก็ได้เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอันดับสามในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี พ.ศ. 2546[20] ลิงคินพาร์กใช้เวลาสองสามเดือนแรกในปี พ.ศ. 2547 ในการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก โดยครั้งแรกได้จัดทัวร์พรอเจกต์เรโวลูชันครั้งที่ 3 และอีกหลายคอนเสิร์ตต่อมาในยุโรป[20] ในเวลาเดียวกัน ความสัมพันธ์ของวงกับวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ได้เสื่อมถอยลงด้วยปัญหาทางการเงิน[43] หลังจากปัญหาที่เกิดขึ้น วงก็ได้เจรจาต่อรองข้อตกลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548

ร่วมงานกับศิลปินอื่น (2547–2549)

[แก้]

หลังจากความสำเร็จของอัลบั้ม เมทีโอรา ลิงคินพาร์กได้เลื่อนการทำผลงานอัลบั้มใหม่ และเริ่มงานไซด์พรอเจกต์[44] เชสเตอร์ได้ร่วมงานกับดีเจลีทัล (DJ Lethal) ในผลงานเพลง "สเตตออฟเดอะอาร์ต" และร่วมงานกับวงเดดบายซันไรส์ ส่วนไมค์ได้ร่วมงานกับดีเพชเชโมด[20] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ลิงคินพาร์กได้ทำอัลบั้ม คอลลิชันคอร์ส ที่นำเพลงจากอัลบั้มเก่ามาผสมร่วมกับผลงานเพลงของเจย์-ซี นอกจากนี้ ไมค์ยังได้ก่อตั้งไซด์พรอเจกต์ใหม่ของเขา ฟอร์ตไมเนอร์ (Fort Minor) พร้อมกับออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรก เดอะไรซิงไทด์[45][46]

ลิงคินพาร์กยังได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการกุศลเป็นจำนวนมาก โดยที่โดดเด่นที่สุดคือการบริจาคเงินเพื่อผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนชาร์ลีย์ ในปี พ.ศ. 2547 และเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ซึ่งเกิดขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2548[20] ลิงคินพาร์กทำเงินบริจาคได้ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐให้กับมูลนิธิหน่วยรบปฏิบัติการพิเศษ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547[47] และยังได้ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 โดยการจัดคอนเสิร์ตเพื่อการกุศล และจัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า มิวสิกฟอร์รีลีฟ อย่างไรก็ตามวงก็ได้มีส่วนร่วมในงานคอนเสิร์ตไลฟ์เอท ชุดการแสดงคอนเสิร์ตเพื่อการกุศลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับโลก[48] ซึ่งได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตไลฟ์เอทด้วยกันกับเจย์-ซี ที่ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย[48] ต่อมาวงได้กลับมารวมตัวกับเจย์-ซีที่งานมอบรางวัลแกรมมีปี พ.ศ. 2549 ในการแสดงในผลงานเพลง "นัมบ์/อานคอร์" ซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลในสาขาแร็ป/ร้องยอดเยี่ยม[49] และได้ร่วมขึ้นแสดงกับพอล แม็กคาร์ตนีย์ ซึ่งได้เพิ่มเนื้อร้องจากเพลง "เยสเตอร์เดย์" ต่อมาพวกเขาก็ได้ไปแสดงคอนเสิร์ตที่งานเทศกาลดนตรีซัมเมอร์โซนิกในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งจัดโดยเมทัลลิกาที่ประเทศญี่ปุ่น[50]

อัลบั้ม มินิตส์ทูมิดไนต์ (2549–2551)

[แก้]
สัญลักษณ์ของวงตั้งแต่สมัยอัลบั้ม มินิตส์ทูมิดไนต์ จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2549 ลิงคินพาร์กได้กลับเข้าสตูดิโออีกครั้ง และเปลี่ยนแนวเพลง สำหรับโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มนี้ คือ ริก รูบิน ถึงแม้จะมีการกล่าวว่าอัลบั้มใหม่จะออกในปี พ.ศ. 2549 แต่ก็ได้เลื่อนไปจนถึงปี พ.ศ. 2550[11] ไมค์ได้กล่าวว่าอัลบั้มเสร็จไปแล้วครึ่งทาง ในขณะที่ลิงคินพาร์กบันทึกเพลงได้สามสิบถึงห้าสิบเพลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549[51] ต่อมาเชสเตอร์ได้กล่าวเพิ่มว่าอัลบั้มใหม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างออกไปจากอัลบั้มที่แล้วที่เป็นแนวนูเมทัล[52] วอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของลิงคินพาร์ก จะมีชื่อว่า มินิตส์ทูมิดไนต์ และจะออกจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[53] หลังจากที่ใช้เวลาไปสิบสี่เดือนในการทำผลงานอัลบั้ม สมาชิกในวงได้ปรับอัลบั้มโดยการคัดเลือกเพลงออกให้เหลือเพียงสิบสองเพลงจากเดิมที่มีอยู่สิบเจ็ดเพลง ชื่ออัลบั้มนั้นได้แนวคิดมาจากนาฬิกาโลกาวินาศซึ่งมาจากนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสิ้นสุดลง แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาในเพลงในรูปแบบใหม่ของวง[54] มินิตส์ทูมิดไนต์ มียอดจำหน่ายมากกว่า 625,000 แผ่นภายในสัปดาห์แรก ทำให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่เปิดตัวในสัปดาห์แรกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งปี นอกจากนี้อัลบั้มนี้ยังติดอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดอีกด้วย[14]

ซิงเกิลแรกของอัลบั้ม "วอตไอฟ์ดัน" ออกจำหน่ายในวันที่ 2 เมษายน และออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในเอ็มทีวีและฟิวส์ทีวีภายในสัปดาห์เดียวกัน[55] ซิงเกิลนี้ได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง และเป็นเพลงที่อยู่ในอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลงอัลเทอร์เนทีฟและเพลงเมนสตรีมร็อกของบิลบอร์ด[56] เพลงนี้ยังได้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2550 ในเรื่อง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติจักรกลสังหารถล่มจักรวาล ไมก์ ชิโนดะยังได้เป็นศิลปินรับเชิญให้กับวงสไตลส์ออฟบียอนด์ ในผลงานเพลง "เซคันด์ทูนัน" ซึ่งได้รวมเป็นเพลงประกอบของภาพยนตร์นี้อีกด้วย ในปีต่อมา ลิงคินพาร์กได้ชนะในรางวัล "ศิลปินแนวอัลเทอร์เนทีฟร็อกยอดเยี่ยม" ในงานอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด[57] ลิงคินพาร์กได้ประสบความสำเร็จจากซิงเกิลที่เหลือในอัลบั้ม ได้แก่ "บลีดอิตเอาต์" "แชโดว์ออฟเดอะเดย์" "กิฟเวนอัป" และ "ลีฟเอาต์ออลเดอะเรสต์" ซึ่งได้ออกจำหน่ายในช่วงปี พ.ศ. 2550 และต้นปี พ.ศ. 2551 และยังได้ทำงานเป็นศิลปินรับเชิญร่วมกับบัสตา ไรมส์ ในซิงเกิล "วีเมดอิต" ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 29 เมษายน[58]

ลิงคินพาร์กได้เริ่มจัดงานคอนเสิร์ตทัวร์รอบโลก ในชื่อว่า "มินิตส์ทูมิดไนต์เวิลด์ทัวร์" ได้โปรโมตการออกจำหน่ายของอัลบั้มนี้โดยจัดทัวร์พรอเจกต์เรโวลูชันครั้งที่สี่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รวมการแสดงจากนักดนตรีและวงดนตรีหลาย ๆ ท่านด้วยกันอย่าง มายเคมิคอลโรแมนซ์ เทกกิงแบ็กซันเดย์ ฮิม พลาซีโบ และอื่น ๆ อีกมากมาย และยังได้เล่นในโชว์เป็นจำนวนมากในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย ซึ่งรวมการแสดงที่ไลฟ์เอิร์ทเจแปนในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[59] และงานดาวน์โหลดเฟสติวัล ในดอนิงตันพาร์ก ประเทศอังกฤษ และงานเอดจ์เฟสต์ ในดาวส์วิวพาร์ก ที่โทรอนโต ประเทศแคนาดา ลิงคินพาร์กเสร็จสิ้นการทัวร์ในพรอเจกต์เรโวลูชันครั้งที่สี่ ก่อนที่จะจัดงานทัวร์รอบสหราชอาณาจักรในเมืองต่าง ๆ ได้แก่ นอตทิงแฮม เชฟฟีลด์ และแมนเชสเตอร์ ก่อนที่จะเสร็จงานที่จัดสองคืนที่ดิโอทูอาเรนาในลอนดอน เชสเตอร์ได้กล่าวว่าลิงคินพาร์กวางแผนที่จะออกผลงานชุดต่อมาจาก มินิตส์ทูมิดไนต์[60] อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้กล่าวว่าวงจะเริ่มจัดทัวร์ที่สหรัฐอเมริกาเพื่อรวบรวมแรงบันดาลใจที่จะทำอัลบั้ม[60] ลิงคินพาร์กเริ่มจัดทัวร์พรอเจกต์เรโวลูชันอีกในปี พ.ศ. 2551 เป็นทัวร์ครั้งแรกของพรอเจกต์เรโวลูชันที่จัดขึ้นในยุโรปด้วยการแสดงสามครั้งที่เยอรมนีและหนึ่งครั้งที่สหราชอาณาจักร โปรเจ็คต์เรโวลูชันทัวร์ยังได้จัดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ซึ่งร่วมกับ คริส คอร์เนลล์, เดอะเบรเวอรี, แอชเชสดิไวด์, สตรีตดรัมคอปส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ลิงคินพาร์กได้สำเร็จการออกทัวร์ด้วยการแสดงครั้งสุดท้ายที่เท็กซัส ไมก์ ชิโนดะได้ประกาศออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด ชื่อว่า โรดทูเรโวลูชัน: ไลฟ์แอตมิลตันคีนส์ ซึ่งเป็นวิดีโอบันทึกการแสดงสดจากพรอเจกต์เรโวลูชันที่จัดขึ้นในมิลตันคีนส์ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ซึ่งออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[61]

อัลบั้ม อะเทาซันด์ซันส์ (2551–2554)

[แก้]
เชสเตอร์ เบนนิงตัน แสดงคอนเสิร์ตในงานเทศกาลโซนิสเพียร์ ประเทศฟินแลนด์

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ลิงคินพาร์กได้ประกาศว่ากำลังทำผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ ซึ่งวางแผนว่าจะออกจำหน่ายภายในปี พ.ศ. 2553 ไมค์ได้บอกกับไอจีเอ็นว่าอัลบั้มใหม่จะเป็นการดัดแปลงแนวเพลง โดยองค์ประกอบโดยรวมของเพลงยังคงคล้าย ๆ กับอัลบั้ม มินิตส์ทูมิดไมต์[62] นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าอัลบั้มนี้จะเป็นการทดลองที่ทำให้เพลงมีลักษณะที่ทันสมัยมากขึ้นและ[63] เชสเตอร์ยังได้พูดถึงสื่อที่จะยืนยันว่า ริก รูบิน จะกลับเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับอัลบั้มใหม่นี้ด้วย ต่อมาลิงคินพาร์กได้ประกาศว่าอัลบั้มนี้จะมีชื่อว่า อะเทาซันด์ซันส์[64] ขณะกำลังทำผลงานอัลบั้มใหม่ ลิงคินพาร์กก็ได้ทำงานกับนักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ ฮันส์ ซิมเมอร์ เพื่อที่จะผลิตดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์เรื่อง ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส อภิมหาสงครามแค้น และออกซิงเกิล "นิวดิไวด์" ประกอบภาพยนตร์นี้อีกด้วย อีกทั้งโจ ฮาห์น ก็ได้กำกับมิวสิกวิดีโอให้กับเพลงนี้อีกด้วย ซึ่งจะมีภาพจากภาพยนตร์ปรากฏอยู่ในมิวสิกวิดีโอ[65] ในวันที่ 22 มิถุนายน หลังจากที่ภาพยนตร์นี้ออกฉายครั้งแรกแล้ว ลิงคินพาร์กได้แสดงดนตรีเล็ก ๆ ที่เวสต์วูดวิลเลจ ลอสแอนเจลิส[66] และหลังจากนั้นลิงคินพาร์กก็กลับมาทำผลงานอัลบั้มต่อจนเสร็จ[67]

ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ลิงคินพาร์กได้ออกเกม "8-บิตรีเบลเลียน!" (8-Bit Rebellion!) สำหรับไอพอด ไอโฟน และไอแพด จุดเด่นของเกมคือมีตัวละครในเกมเป็นสมาชิกในวง ภายในเกมประกอบด้วยเพลง "แบล็กเบิร์ดส" จะถูกปลดล็อกเมื่อผู้เล่นเล่นเกมจบ ต่อมาเพลงนี้ได้รวมอยู่ในโบนัสแทร็กในอัลบั้ม อะเทาซันด์ซันส์ อีกด้วย และในวันที่ 6 มิถุนายน ลิงคินพาร์กเปิดเผยว่าอัลบั้มใหม่ใกล้เสร็จแล้ว จนในวันที่ 8 กรกฎาคม ลิงคินพาร์กประกาศกำหนดวันออกอัลบั้มอย่างเป็นทางการ รวมทั้งประกาศรายชื่อเพลงในอัลบั้ม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดการจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกของปี พ.ศ. 2553 ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน

อะเทาซันด์ซันส์ ออกจำหน่ายในวันที่ 8 กันยายน และออกซิงเกิลแรก "เดอะแคทาลิสต์" ในวันที่ 2 สิงหาคม ลิงคินพาร์กได้โปรโมตอัลบั้มใหม่โดยการเปิดตัวทัวร์คอนเสิร์ต ซึ่งได้เริ่มในลอสแอนเจลิสในวันที่ 7 กันยายน[68][69][70] ลิงคินพาร์กยังได้ใช้มายสเปซในการโปรโมตอัลบั้ม และได้ออกเพลงอีกสองเพลง ได้แก่ "เวตติงฟอร์ดิเอ็นด์" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่สองของอัลบั้ม และ "แบล็กเอาต์" ในวันที่ 8 กันยายน[71][72][73][74] นอกจากนี้ ยังได้ทำสารคดีเกี่ยวกับการผลิตอัลบั้มนี้ มีชื่อว่า เดอะมีตติงออฟอะเทาซันด์ซันส์ อยู่ในหน้ามายสเปซของลิงคินพาร์ก โดยในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการประกาศว่าลิงคินพาร์กจะทำการแสดงสดซิงเกิลในอัลบั้มเป็นครั้งแรกที่งานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010 ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553[75] สถานที่จัดงานของการเปิดตัวการแสดงสดนี้อยู่ที่หอดูดาวกริฟฟิท สถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ของภาพยนตร์ฮอลลีวูด[76][77][78]

ลิงคินพาร์กได้เข้าสู่อันดับ 8 ใน บิลบอร์ด โซเชียล 50 ซึ่งเป็นอันดับชาร์ตของศิลปินที่ทำผลงานอย่างต่อเนื่องในเครือข่ายสังคมชั้นนำของโลก[79] ลิงคินพาร์กได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบิลบอร์ดหกรางวัลในปี พ.ศ. 2554 ได้แก่ ยอดกลุ่มดนตรี อัลบั้มเพลงร็อกยอดเยี่ยมสำหรับอัลบั้ม อะเทาซันด์ซันส์ ยอดศิลปินร็อก ยอดศิลปินอัลเทอร์เนทีฟ ยอดเพลงอัลเทอร์เนทีฟสำหรับเพลง "เวตติงฟอร์ดิเอ็นด์" และยอดอัลบั้มเพลงอัลเทอร์เนทีฟสำหรับอัลบั้ม อะเทาซันด์ซันส์ แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชนะรางวัล[80]

อัลบั้ม ลิฟวิงทิงส์ และ รีชาจด์ (2554–2556)

[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 เชสเตอร์บอกกับ โรลลิงสโตน ว่าลิงคินพาร์กตั้งเป้าหมายที่จะผลิตอัลบั้มใหม่ในทุก 18 เดือน และเขาจะตกใจถ้าอัลบั้มใหม่ไม่ได้ออกในปี พ.ศ. 2555 หลังจากที่เขาเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์อื่น ๆ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ว่าวงยังคงอยู่ในช่วงเริ่มทำผลงานอัลบั้ม เขาบอกว่า "เราเพิ่งจะเริ่มต้น เราอยากจะเก็บสิ่งสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เราคิด เราจึงพยายามที่จะเก็บมันซึ่งมันจะหายไปจากความคิดเราตลอดเวลา...เราจะไปในทิศทางที่เรากำลังจะไป"[81] ต่อมา ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 ไมค์ได้ยืนยันว่าวงกำลังถ่ายทำมิวสิกวิดีโอของเพลง "เบิร์นอิตดาวน์"[82][83] โดยมี โจ ฮาห์น เป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ[84] ไมค์บอกกับ โค.ครีเอต เกี่ยวกับภาพหน้าปกอัลบั้ม เขาบอกว่า "มันจะทำให้แฟนคลับประทับใจ...ในแบบที่คนทั่วไปจะไม่สามารถทำได้แค่มองดูภาพแล้วก็ไป ผมเข้าใจว่ามันเพิ่งเสร็จสมบูรณ์ มันจะไม่เป็นเพียงแค่รูป แต่การสร้างรูปนี้ขึ้นมามันจะเป็นวิธีที่ใหม่โดยสิ้นเชิง มันจะเป็นแบบนั้น"[85]

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555 ไมค์ได้ประกาศว่า ลิฟวิงทิงส์ จะเป็นชื่อของอัลบั้มที่ห้าของลิงคินพาร์ก[86] ไมค์ได้กล่าวว่าพวกเขาเลือกชื่อ ลิฟวิงทิงส์ ก็เพราะว่าเป็นอัลบั้มที่เกี่ยวกับเรื่องราว ความสัมพันธ์ของบุคคล และใช้บุคคลมากกว่าอัลบั้มที่แล้ว[87] ลิงคินพาร์กได้โปรโมตอัลบั้มนี้ในงาน ฮอนด้าซีวิกทัวร์ ด้วยกันกับวงอินคูบัส โดยเล่นเพลง "เบิร์นอิตดาวน์" ที่งานประกาศผลรางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอะวอร์ดประจำปี 2555 โดยในวันที่ 24 พฤษภาคม ได้ออกเผยแพร่มิวสิกวิดีโอของเพลง "เบิร์นอิตดาวน์" และเปิดตัวเพลง "ไลส์กรีดมิสเซอรี" อีกเพลงจาก ลิฟวิงทิงส์ ออกทางบีบีซีเรดิโอ 1 และเพลง "พาวเวอร์เลส" เพลงลำดับที่สิบสองและลำดับสุดท้ายของอัลบั้ม ได้นำไปเป็นเพลงปิดของภาพยนตร์ อับราฮัม ลินคอล์น: แวมไพร์ฮันเตอร์[88]

ลิฟวิงทิงส์ ออกจำหน่ายได้มากกว่า 220,000 แผ่นภายในสัปดาห์แรก ติดอันดับ 1 ในชาร์ตอัลบั้มสหรัฐอเมริกา[89] ซิงเกิลของลิงคินพาร์ก "คาสเซิลออฟกลาส" ได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงใน 'เพลงประกอบเกมยอดเยี่ยม' ในงานประกาศผลรางวัลสไปก์วิดีโอเกมอะวอร์ดประจำปี 2555 และยังแสดงดนตรีในงานมอบรางวัลในวันที่ 7 ธันวาคม อีกด้วย แต่ได้พลาดรางวัล และผู้ชนะคือเบ็ก ในผลงานเพลง "ซิตีส์"[90] ลิงคินพาร์กยังได้เล่นเพลงที่งานซาวด์เวฟ (Soundwave) เทศกาลดนตรีในออสเตรเลีย โดยได้ร่วมเวทีกับเมทัลลิกา, พาร์อะมอร์, สเลเยอร์ และซัม 41[91]

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ลิงคินพาร์กได้ร่วมงานกับนักดนตรีชาวอเมริกัน สตีฟ อะโอะกิ ในผลงานเพลง "อะไลต์แดตเนเวอร์คัมส์" ประกอบเกมออนไลน์แนวปริศนาผจญภัยของลิงคินพาร์ก แอลพีรีชาร์จ (LP Recharge, ย่อมาจาก Linkin Park Recharge) ซึ่งเปิดตัวให้เล่นในเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ แอลพีรีชาร์จ ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 ในวันที่เกมนี้ออก ลิงคินพาร์กก็ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กว่าเพลงที่ใช้ในเกมนี้จะรวมอยู่ในอัลบั้มรีมิกซ์ชุดใหม่ของวง มีชื่อว่า รีชาจด์ ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ในรูปแบบแผ่นซีดี, ไวนิล และดิจิตอลดาวน์โหลด คล้ายกันกับ รีแอนิเมชัน โดยอัลบั้ม รีชาจด์ นี้จะใช้ผลงานเพลงจากอัลบั้ม ลิฟวิงทิงส์ นำมารีมิกซ์ และได้ทำงานร่วมกับศิลปินอื่น เช่น ริว จากสไตลส์ออฟบียอนด์, พุชาที, แดตซิก, คิลล์โซนิก, บันบี, มันนีมาร์ก และริก รูบิน[92][93] ลิงคินพาร์กยังได้ทำผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ มอลล์ (Mall) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่กำกับโดยโจ ฮาห์น[94]

อัลบั้ม เดอะฮันติงปาร์ตี (2556–2558)

[แก้]
ลิงคินพาร์กขณะแสดงคอนเสิร์ตในปี 2557

ในระหว่างการสัมภาษณ์กับฟิวส์ ไมค์ได้ยืนยันว่าลิงคินพาร์กจะเริ่มบันทึกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557[95] และได้ออกซิงเกิลแรกจากอัลบั้มที่กำลังจะออกจำหน่าย ในผลงานเพลง "กิลตีออลเดอะเซม" ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผ่านทางชาแซม[96] ในวันต่อมาได้ออกจำหน่ายซิงเกิลโดยผ่านวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ และเข้าสู่อันดับที่ 28 ในบิลบอร์ดร็อกแอร์เพลย์ชาร์ต (Billboard Rock Airplay charts) ก่อนที่จะติดอันดับ 1 ในชาร์ตเมนสตรีมร็อก ในสัปดาห์ต่อมา[97][98] ในเวลาไม่นานหลังจากซิงเกิลนี้ได้ออกจำหน่าย ลิงคินพาร์กก็ได้ประกาศชื่ออัลบั้มใหม่ในชื่อว่า เดอะฮันติงปาร์ตี อัลบั้มนี้มีไมก์ ชิโนดะ และแบรด เดลสัน เป็นโปรดิวเซอร์ ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ประกอบทางดนตรีในสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ไฮบริดทีโอรี ซึ่งจะนำแนวเพลงจากอัลบั้มชุดแรกกลับมาอยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย[99] ไมค์ได้ออกความเห็นว่าอัลบั้มนี้เป็น "การบันทึกเพลงร็อกแบบยุค 90" เขาอธิบายว่า "มันคือการบันทึกเพลงร็อก มันเสียงดังและมันร็อก แต่มันไม่ใช่ความรู้สึกในแบบที่คุณเคยได้ยินมาก่อน ซึ่งมันจะเหมือนกับ 'ฮาร์ดคอร์-พังก์-แทรชในยุค 90' "[100] อัลบั้มนี้มีศิลปินรับเชิญมาทำงานร่วมกันกับลิงคินพาร์ก ได้แก่ ราคิม, เพจ แฮมิลตัน จากเฮลเมต, ทอม โมเรลโล จากเรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน และดารอน มาลาเคียน จากซิสเตมออฟอะดาวน์[101][102] อัลบั้ม เดอะฮันติงปาร์ตี ออกจำหน่ายในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ในประเทศส่วนใหญ่ และต่อมาได้ออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 17 มิถุนายน[103]

ลิงคินพาร์กแสดงคอนเสิร์ตที่งานดาวน์โหลดเฟสติวัล (Download Festival) ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 โดยเล่นเพลงทั้งหมดจากอัลบั้มแรกของวง ไฮบริดทีโอรี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เล่นเพลงครบทุกเพลงในอัลบั้มนี้[17][104][105][106] ลิงคินพาร์กได้ออกแสดงคอนเสิร์ตร็อกแอมริงและร็อกอิมพาร์ก (Rock am Ring and Rock im Park) ในปี พ.ศ. 2557 พร้อมกับเมทัลลิกา คิงส์ออฟลีออน และไอเอิร์นเมเดน[107][108] และจะออกคอนเสิร์ตกับไอเอิร์นเมเดนอีกครั้งในงานกรีนฟีลด์เฟสติวัล (Greenfield Festival) ในปี พ.ศ. 2557[109] ในวันที่ 22 มิถุนายน ลิงคินพาร์กได้ออกงานอย่างเงียบ ๆ และเซอร์ไพรส์ที่งานแวนส์วาปด์ทัวร์ (Vans Warped Tour) โดยเล่นกับสมาชิกวงอิสชูส์ เดอะเดวิลแวรส์พราดา อะเดย์ทูรีเมมเบอร์ เยลโล่คาร์ด เบรทแคโรลินา ฟินช์ และแมชชีน กัน เคลลี[110] ในเดือนกรกฎาคม พวกเขาได้ประกาศออกทัวร์คอนเสิร์ตว่าจะจัดในยุโรปในเดือนพฤศจิกายน และจะมีวงดนตรีเมทัลคอร์อย่างออฟไมซ์แอนด์เมนมาเป็นผู้สนับสนุนหลักของวงด้วย[111] ลิงคินพาร์กยังมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการออกทัวร์ ชื่อว่า คาร์นิวอรส์ทัวร์ (Carnivores Tour) กับวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน เทอร์ตีเซคันส์ทูมาส์ ซึ่งจะใช้เวลา 25 วันในเดือนสิงหาคมและกันยายน พ.ศ. 2557 ในอเมริกาเหนือ[112]

ลิงคินพาร์กมีการแสดงที่ เดอะวิลเทิร์น ในลอสแอนเจลิส เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการฉลองครบรอบ 50 ปีของ กีตาร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายของร้านค้าขายปลีกเครื่องดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม[113] และมีการแสดงที่งานร็อกอินริโอยูเอสเอเฟสติวัลในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ด้วยกันกับเมทัลลิกา, โนเดาต์, เทย์เลอร์ สวิฟต์, จอห์น เลเจนด์, และเดฟโทนส์[114]

อัลบั้ม วันมอร์ไลต์ และการเสียชีวิตของเบนนิงตัน (2558–2560)

[แก้]
โลโก้ของลิงคินพาร์ก ใช้หลังเบนนิงตันเสียชีวิต โลโก้ใหม่ยังคงใช้ตัวอักษร "LP" แต่รูปหกเหลี่ยมเดิมถูกแทนที่ด้วยรูปหกเหลี่ยมที่ไม่สมบูรณ์

ลิงคินพาร์กเริ่มทำงานเพลงใหม่สำหรับสตูดิโออัลบั้มที่เจ็ดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558[115] เชสเตอร์ เบนนิงตันให้ความเห็นเกี่ยวกับทิศทางดนตรีของอัลบั้มว่า "เรามีเพลงดี ๆ มากมายที่ผมหวังว่าจะท้าทายแฟนเพลงของเราและบันดาลใจพวกเขามากเท่ากับที่เพลงเหล่านั้นท้าทายและบันดาลใจพวกเรา"[116] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ลิงคินพาร์กออกวิดีโอส่งเสริมลงทางบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมของพวกเขา แสดงชิโนดะและเบนนิงตันกำลังเตรียมงานเพลงใหม่สำหรับอัลบั้มใหม่อยู่[117] ไมก์ ชิโนดะกล่าวว่าวงกำลังทำตามขั้นตอนใหม่ขณะผลิตอัลบั้ม แบรด เดลสันเสริมว่า "เราอัดเพลงไว้มากมายเหลือเกิน และเรารู้แน่ชัดว่าเราทำเพลงอย่างไร และครั้งนี้เราไม่ได้เลือกวิธีที่ง่ายเลย"[118]

ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มชื่อว่า "เฮวี" มีนักร้องรับเชิญคือ คีเอรา [119] ซึ่งเป็นครั้งแรกที่วงได้นักร้องหญิงมาร้องรับเชิญบนเพลงฉบับดั้งเดิมในสตูดิโออัลบั้ม เนื้อเพลงแต่งโดยลิงคินพาร์ก ร่วมด้วยจูเลีย ไมเคิลส์ และจัสติน แทรนเตอร์[120] ซิงเกิลออกให้ดาวน์โหลดในวันที่ 16 กุมภาพันธ์[121][122] ลิงคินพาร์กมีข้อความลับออนไลน์ที่เกี่ยวกับอัลบั้มใหม่อย่างที่เขาเคยทำในอดีต ปกอัลบั้มเปิดเผยผ่านปริศนาดิจิทัลในสื่อสังคม ปกแสดงให้เห็นเด็กหกคนกำลังเล่นน้ำในมหาสมุทร[123] ชิโนดะให้สัมภาษณ์กับรายการเดอะแซกแซงโชว์ และเผยว่าอัลบั้มใหม่มีชื่อว่า วันมอร์ไลต์ และออกจำหน่ายในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[124]

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เบนนิงตันเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอ[125][126] สาเหตุในการแขวนคอของเบนนิงตันคาดว่าน่าจะมาจากอาการ โรคซึมเศร้า ที่เบนนิงตันต่อสู้กับโรคนี้มาอย่างยาวนาน ชิโนดะยืนยันข่าวดังกล่าวผ่านทางทวิตเตอร์ว่า "รู้สึกตกใจและใจสลาย แต่มันเป็นเรื่องจริง จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในภายหลัง"[127] ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน วงออกมิวสิกวิดีโอสำหรับซิงเกิล "ทอล์กกิงทูมายเซลฟ์"[128] หลังจากเบนนิงตันเสียชีวิตได้หนึ่งวัน วงยกเลิกทัวร์วันมอร์ไลต์ทัวร์ในอเมริกาเหนือ[129]

อัลบั้ม ฟรอมซีโร (2567–)

[แก้]
เอมิลี อาร์มสตรอง เข้าร่วมลิงคินพาร์กเมื่อ ค.ศ. 2023

เดือนเมษายน พ.ศ. 2567 บิลบอร์ดรายงานว่าวงมีโอกาสกลับมารวมตัวและจัดทัวร์คอนเสิร์ตในปีถัดจากนั้น โดยประกอบด้วยสมาชิกชุดก่อตั้งและนักร้องนำหญิงคนใหม่[130] สี่เดือนถัดมาวงได้กำหนดประกาศสำคัญพร้อมจัดงานในวันที่ 5 กันยายน ซึ่งจำกัดให้เฉพาะสมาชิกลิงคินพาร์กอันเดอร์กราวด์เข้างานได้เท่านั้น[131][132][133]

ในงานดังกล่าววงได้เปิดตัวเอมิลี อาร์มสตรอง เป็นนักร้องนำร่วมคนใหม่ ซึ่งเธอเคยเป็นนักร้องนำวงเดดซารามาก่อน และโคลิน บริตเตน เป็นมือกลองแทนที่ร็อบ บัวร์ดอน[134][135][136] วงได้เปิดตัวซิงเกิล "ดิเอ็มทิเนสแมชชีน" ซึ่งอยู่ในอัลบั้มที่แปด "ฟรอมซีโร" อันมีกำหนดวางจำหน่ายในวันที่ 15 พฤศจิกายน[134][135][136] อีกทั้งประกาศทัวร์คอนเสิร์ตประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าวจำนวนหกวัน[136] ชิโนดะกล่าวว่าวงจะเริ่มการ "ทัวร์คอนเสิร์ตอย่างจริงจัง" ในปีถัดไป[134][135]

การกุศล

[แก้]

ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ลิงคินพาร์กได้ออกซิงเกิลใหม่ในชื่อว่า "นอตอะโลน" เป็นส่วนหนึ่งของอัลบั้มรวมเพลงโดยองค์การมิวสิกฟอร์รีลีฟ ซึ่งมีชื่ออัลบั้มว่า ดาวน์โหลดทูโดเนตฟอร์เฮติ เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเฮติ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ลิงคินพาร์กได้ออกเผยแพร่มิวสิกวิดีโออย่างเป็นทางการของเพลงนี้ที่หน้าแรกของเว็บลิงคินพาร์ก ซิงเกิลนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มที่เป็นภาคต่อของ ดาวน์โหลดทูโดเนตฟอร์เฮติ ในชื่อว่า ดาวน์โหลดทูโดเนตฟอร์เฮติ เวอร์ชัน 2.0 ด้วยเพลงที่มากขึ้น และลิงคินพาร์กได้รวมผลงานรีมิกซ์ของเพลง "เดอะแคทาลิสต์" ซึ่งรีมิกซ์โดย คีตัน ฮะชิโมะโตะ จากการประกวด "ลิงคินพาร์กฟีเจอร์ริงยู" (Linkin Park featuring YOU) รวมเข้าไปในอัลบั้มรวมเพลงฉบับปรับปรุงใหม่นี้ด้วย[137]

ไมก์ ชิโนดะได้ออกแบบเสื้อเชิ้ตจำหน่าย ซึ่งเงินที่ได้นำไปให้กับองค์กรมิวสิกฟอร์รีลีฟ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554[138][139] มิวสิกฟอร์รีลีฟได้ออกจำหน่ายอัลบั้มรวมเพลง ดาวน์โหลดทูโดเนต: สึนามิรีลีฟเจแปน ซึ่งเงินที่ได้นำไปบริจาคให้กับมูลนิธิเซฟเดอะชิลเดรน (Save the Children)[140] และลิงคินพาร์กได้ออกเพลงที่มีชื่อว่า "Issho Ni" ซึ่งมีความหมายว่า "เราอยู่ด้วยกันที่นี่" ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 รวมอยู่ในอัลบั้ม ดาวน์โหลดทูโดเนต: สึนามิรีลีฟ

หลังจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่พัดเข้าโจมตีฟิลิปปินส์ ลิงคินพาร์กได้แสดงคอนเสิร์ต "Music for Relief: Concert for the Philippines" ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อนำยอดบริจาคไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยคอนเสิร์ตได้ออกอากาศในช่องแอกเซสทีวี (AXS TV) ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และมีศิลปินอื่นเข้ามาร่วมคอนเสิร์ตในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ ดิออฟสปริง (The Offspring), Bad Religion, ฮาร์ต (Heart) และ The Filharmonic[141][142]

แนวเพลงและอิทธิพลดนตรี

[แก้]

อัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี และ เมทีโอรา ทั้งคู่เป็นแนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟเมทัล[3][143] นูเมทัล[144][145][146] แร็ปร็อก[147][148] และมีกลิ่นอายของป็อป ฮิปฮอป อัลเทอร์เนทีฟ[149] และอิเล็กทรอนิกา และเพิ่มโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่งเสียงและใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงช่วยเพิ่มรูปแบบเสียงที่มีความแปลกใหม่และสนุกยิ่งขึ้น ทำให้เป็นแนวเพลงที่ไม่ซ้ำแบบใครและมีสไตล์เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย[150][151]

อัลบั้ม มินิตส์ทูมิดไนต์ ได้ทดสอบเสียงหลายรูปแบบและค้นหารูปแบบเสียงเพลงแบบใหม่ ๆ และได้รับอิทธิพลจากผลงานเพลงของศิลปินวงยูทู[12] และในผลงานชิ้นนี้มีจังหวะเพลงส่วนใหญ่ที่เป็นเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟร็อก มากกว่าที่จะเป็นแนวเพลงนูเมทัลและแร็ปร็อก ซึ่งมีเพียงสองเพลงเท่านั้นที่มีท่อนแร็ป และในผลงานชิ้นนี้เป็นอัลบั้มแรกที่มีจังหวะโซโลกีต้าซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอัลบั้มอื่น ๆ[152][153] เอ็นเอ็มอี นิตยสารดนตรีที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับแนวทางของวงได้บอกว่า "เสียงของวงนั้นกำลังพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ใหม่"[154]

การร้องเพลงประสานเสียงคู่กันระหว่างเชสเตอร์ เบนนิงตัน และไมก์ ชิโนดะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในดนตรีของลิงคินพาร์ก ด้วยเชสเตอร์เป็นนักร้องนำ และไมค์เป็นนักร้องแร็ป โดยในอัลบั้มที่สามของลิงคินพาร์ก มินิตส์ทูมิดไนต์ ไมค์ได้ทำหน้าที่เป็นนักร้องนำแทนเชสเตอร์ในเพลง "อินบีทวีน", "แฮนส์เฮลด์ไฮ" และเพลงบีไซด์ "โนโรดส์เลฟต์" ในหลายเพลงจากอัลบั้มที่สี่ของวง อะเทาซันด์ซันส์ เช่น ซิงเกิลทั้งสี่ของอัลบั้มนี้ที่ทั้งคู่ได้ร้อง โดยเพลงส่วนใหญ่ที่อยู่ในอัลบั้มนั้น มีจุดเด่นคือการใช้จังหวะกลองอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีความคิดเห็นโดยนักวิจาร์ณที่มีชื่อเสียงว่าอัลบั้มนี้เป็นจุดหักเหแนวดนตรีของวง และอธิบายว่าเป็นอัลบั้มแบบอิเล็กทรอนิกส์ร็อก[155][156] เจมส์ มอนต์กอเมอรี จากเอ็มทีวี ได้เปรียบเทียบผลงานอัลบั้มชุดนี้ว่าคล้ายคลึงกับอัลบั้ม คิดเอ ของเรดิโอเฮด[157] ในขณะที่จอร์ดี คาสโก จาก รีวิว, รินส์, รีพีต ได้เปรียบเทียบอัลบั้มว่าคล้ายกับ คิดเอ และอัลบั้ม เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูนของพิงก์ ฟลอยด์[158] ไมค์กล่าวว่าเขาและสมาชิกวงคนอื่น ๆ ได้รับอิทธิพลอย่างแท้จริงจากชักดี และพับลิกเอเนมี โดยที่แนวเพลงในอัลบั้นนี้ได้ทำแนวเพลงที่ต่างไปจากอัลบั้มก่อน ๆ เนื้อหาเพลงและจังหวะดนตรียังมีความเป็นนูเมทัล และมีเนื้อหาด้านการเมืองอยู่ในหลาย ๆ เพลงของอัลบั้ม[159] ซึ่งมีเพลงหนึ่งในผลงานที่มีเนื้อหาด้านการเมืองมีคำกล่าวสุนทรพจน์โดยนักการเมืองชาวอเมริกันด้วย[160]

อัลบั้มชุดที่ห้า ลิฟวิงทิงส์ เป็นอัลบั้มแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์ร็อก ที่รวมแนวเพลงจากองค์ประกอบหลายอย่างจากอัลบั้มที่ผ่านมาทั้งหมดในการสร้างเสียงรูปแบบใหม่ ๆ[161][162] และได้กลับไปสร้างแนวเพลงที่หนักหน่วงอีกครั้ง เมื่อเทียบกับอัลบั้มสามชุดที่แล้ว ในผลงานอัลบั้ม เดอะฮันติงปาร์ตี ซึ่งในอัลบั้มชุดนี้มีแนวเพลงเป็นแบบอัลเทอร์เนทีฟเมทัลและฮาร์ดร็อก[163][164]

ลิงคินพาร์กยอมรับว่าได้รับอิทธิพลดนตรีมาจากเดฟโทนส์, ไนน์อินช์เนลส์, เอเฟ็กซ์ ทวิน และเดอะรูตส์[165]

ลิงคินพาร์กเป็นวงดนตรีร็อกวงแรกที่ประสบความสำเร็จจากยอดการเข้าชมที่มากกว่าหนึ่งพันล้านในยูทูบ[166] นอกจากนี้ ลิงคินพาร์กยังเป็นหนึ่งในสิบห้าหน้าในเฟซบุ๊กที่มีการกดถูกใจมากที่สุด ตามหลัง เลดี้ กาก้า และนำหน้าวง แบล็กอายด์พีส์[167]

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
  • มาร์ก เวกฟีลด์ (Mark Wakefield) – ร้องนำ (พ.ศ. 2539–2541)
  • ไคล์ คริสเทเนอร์ (Kyle Christener) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 25412543)
  • เชสเตอร์ เบนนิงตัน (Chester Bennington) – ร้องนำ (พ.ศ. 2542–2560; เสียชีวิต พ.ศ. 2560)
  • ร็อบ บัวร์ดอน (Rob Bourdon) – กลอง, เพอร์คัชชัน (พ.ศ. 2539–2560)
สมาชิกระหว่างบันทึกและออกทัวร์
  • เอียน ฮอร์นเบ็ก (Ian Hornbeck) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2543)
  • สกอตต์ โคซิโอล (Scott Koziol) – กีตาร์เบส (พ.ศ. 2543–2544)
  • เบนจามิน เชนเลอร์ (Benjamin Chandler) – กีตาร์นำ, จังหวะกีตาร์ (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)
เส้นเวลา

ผลงาน

[แก้]

รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sinclair, Tom (March 28, 2003). "Meteora (2003)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-15. สืบค้นเมื่อ October 19, 2007.
  2. 2.0 2.1 MSN Music, Linkin Park: Biography เก็บถาวร 2008-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved June 14, 2007
  3. 3.0 3.1 MacKenzie Wilson. "allmusic ((( Linkin Park > Overview )))". Allmusic. สืบค้นเมื่อ October 28, 2008.
  4. Recording Industry Association of America, RIAA Record Sales. Retrieved June 13, 2007
  5. "Soundspike: Album Chart: Linkin Park's 'Meteora' shoots to the top". Wayback.archive.org. 2009-05-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Negri, Andrea (October 10, 2003). "22 greatest bands? Something 2 argue about". Houston Chronicle.
  7. Billboard Artists Of The Decade, [1]. Retrieved August 15, 2011
  8. "BRACKET MADNESS: Linkin Park Is The Greatest Artist Of The 00s". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012.
  9. Emily The 60 Biggest Rock Band in the World Right Now Kerrang October 5, 2014. Retrieved October 20, 2014.
  10. Linkin Park Are the 'Biggest Rock Band in the World Right Now' Ultimate Guitar August 28, 2014. Retrieved October 20, 2014.
  11. 11.0 11.1 MTV.com, Mike Shinoda Says 'No New Linkin Park Album In 2006 After All'. Retrieved June 9, 2007
  12. 12.0 12.1 "Linkin Park | Remember where you're from - Los Angeles Times". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. Billboard.com, M2M holds the top slot for the current week. Retrieved May 28, 2007
  14. 14.0 14.1 Billboard.com, Linkin Park Scores Year's Best Debut With 'Midnight'. Retrieved May 28, 2007
  15. "Linkin Park bringing rock 'brotherhood' to Indianapolis". สืบค้นเมื่อ January 18, 2015.
  16. "Mike Shinoda - Celebrating Achievement Through Technology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-13. สืบค้นเมื่อ July 12, 2013.
  17. 17.0 17.1 "LINKIN PARK Announced as Saturday Headliner". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ November 6, 2013.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 18.7 18.8 AskMen.com, Linkin Park – Biography Retrieved March 20, 2007
  19. 19.0 19.1 19.2 "Linkin Park — band history and biography". สืบค้นเมื่อ December 23, 2007.
  20. 20.00 20.01 20.02 20.03 20.04 20.05 20.06 20.07 20.08 20.09 20.10 MusicMight.com, Linkin Park – MusicMight Biography Retrieved March 20, 2007
  21. 21.0 21.1 Livedaily.com, "LiveDaily Interview: Linkin Park's Dave 'Phoenix' Farrell". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-12. สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) Retrieved March 20, 2007
  22. 22.0 22.1 22.2 Lptimes.com, Band History Retrieved March 20, 2007
  23. Bryant, Tom (January 23, 2008). "Linkin Park, Kerrang!". Kerrang!. สืบค้นเมื่อ November 28, 2012.
  24. Saulmon, Greg (2006). Linkin Park; Contemporary musicians and their music. The Rosen Publishing Group. pp. 19–20. ISBN 9781404207134. สืบค้นเมื่อ December 28, 2009.
  25. Ragogna, Mike (July 25, 2012). "A Conversation With Linkin Park's Mike Shinoda, Plus Chatting With VideofyMe's Oskar Glauser and The Villains and Ben Arthur Exclusives". The Huffington Post. AOL. สืบค้นเมื่อ January 31, 2013.
  26. "Linkin Park – Hybrid Theory released October 24, 2000". สืบค้นเมื่อ December 23, 2007.
  27. "Linkin Park fansite — Album release date". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ December 23, 2007.
  28. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  29. MTV.com, Linkin Park, P.O.D., Nickelback, More To Play LA’s KROQ Fest Retrieved March 26, 2007
  30. "Interview with Adam Ruehmer". Wretches And Kings. 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28.
  31. "LINKIN PARK UNDERGROUND - WHAT IS LPU?". Linkin Park. linkinpark.com. 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28. The LINKIN PARK Underground (LPU) was founded in 2001 as a way for LINKIN PARK to connect directly with the people who support the band, and cultivate a central meeting-place for the LINKIN PARK community. Each and every year LPU members are given access to members only exclusives including Meet & Greet opportunities with the band, access to pre-sale tickets, a brand new merchandise package, music, and much more.
  32. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  33. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. "RIAA – Gold & Platinum – April 3, 2011". Riaa.com. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  35. Warner Bros. Records, "The Making of Meteora" (2003) DVD, Released on March 25, 2003.
  36. MTV.com, Linkin Park Get Their Tempers Under Control To Complete New LP Retrieved June 10, 2006
  37. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  38. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  39. "Linkin Park News - Yahoo! Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. VH1.com, Linkin Park: Biography เก็บถาวร 2010-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on April 8, 2007
  41. "Life goes on after Linkin Park :: 네이버 뉴스". News.naver.com. November 12, 2003. สืบค้นเมื่อ June 11, 2012.
  42. 42.0 42.1 "Linkin Park - Rap Music - Hot California Band". Wayback.archive.org. 2008-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  43. BILL WERDEPosted Jun 02, 2005 12:00 AM (2005-06-02). "Linkin, Warner Feud Rages : Rolling Stone". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
  44. Moss, Corey (2005-09-01). "Mike Shinoda Respects Jay-Z's Retirement, Says Linkin Park Not On Hiatus". MTV.com. สืบค้นเมื่อ 2014-10-25. “I would have never done this record if I didn’t have the blessing of the rest of the guys,” Shinoda said. “We’re not, like, on hiatus. We’re working. We’re very serious about our records, and I know the guys are at home right now writing. Hopefully we are looking at next year for a record.”
  45. Semansky, Matt (February 13, 2006). "Mike Shinoda's Fort Minor Rise To The Occasion". Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ November 17, 2008.
  46. "Machine Shop". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. joe at specialops dot org. "Special Operations Warrior Foundation: News and Events Archive". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  48. 48.0 48.1 The Linkin Park Times, Live 8 Philadelphia 2005 Retrieved May 12, 2007
  49. About.com, Jay-Z and Linkin Park to Mash-Up Onstage at the Grammys เก็บถาวร 2006-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved June 9, 2007
  50. Join Now. "Linkin Park". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  51. MTV.com, Mike Shinoda Says Linkin Park Halfway Done With New Album. Retrieved June 9, 2007
  52. MTV.com, Linkin Park Say Nu-Metal Sound Is 'Completely Gone' On Next LP. Retrieved June 9, 2007
  53. "Fans Counting the 'Minutes' as Linkin Park Reveal Album Name and Release Date". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-23. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. MTV.com, Linkin Park Finish Apocalyptic Album, Revive Projekt Revolution Tour. Retrieved June 9, 2007
  55. "Video Static: Music Video News: March 25, 2007 - March 31, 2007". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-14. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  56. Billboard.com, Artist Chart History – Singles Retrieved on June 9, 2007
  57. ShowBuzz.com, American Music Awards – Winners List เก็บถาวร 2008-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved March 21, 2008.
  58. – "We Made It" Music Charts (Canada), aCharts. Retrieved May 12, 2008
  59. Billboard.com, Linkin Park, Local Stars Kickstart Live Earth Japan. Retrieved July 12, 2007
  60. 60.0 60.1 Billboard.com, Linkin Park Plans Quick 'Midnight' Follow Up. Retrieved February 13, 2008.
  61. Christina Fuoco-Karasinski. "Chester Bennington Talks New Band Dead by Sunrise, Next Linkin Park Album : Rolling Stone : Rock and Roll Daily". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
  62. Carle, Chris (May 22, 2009). "Linkin Park's Mike Shinoda". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-25. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
  63. Chris Harris (2009-05-26). "Linkin Park Cooking Up Genre-Busting Album for 2010 | Rolling Stone Music". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
  64. Brownlow, Ron (July 7, 2009). "Pedal to the metal". The Taipei Times. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
  65. Sciretta, Peter (May 18, 2009). "Linkin Park's New Divide from Transformers 2". SlashFilm.com. สืบค้นเมื่อ May 9, 2011.
  66. "Linkin Park Hits 'Transformers: Revenge Of The Fallen' LA Premiere". Access Hollywood. June 22, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2010. สืบค้นเมื่อ May 9, 2011.
  67. [2] เก็บถาวร 2014-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved June 16, 2010
  68. "Linkin Park Official Tour Dates". Linkinpark.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-25. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  69. Stickler, Jon (June 15, 2010). "Linkin Park Announce Return To UK". stereoboard. สืบค้นเมื่อ July 4, 2010.
  70. First 2010 Linkin Park Tour Dates เก็บถาวร 2010-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on June 6, 2010
  71. Shinoda, Mike (July 8, 2010). "NEW ALBUM, "A THOUSAND SUNS," OUT SEPTEMBER 14". LinkinPark.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-06. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  72. "BLABBERMOUTH.NET – Linkin Park: New Album Title, Release Date Announced". Blabbermouth.net. Roadrunner Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-21. สืบค้นเมื่อ July 8, 2010.
  73. "Linkin Park to Release New Album, 'A Thousand Suns,' Sept. 14". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 13, 2010.
  74. "Linkin Park, 'Waiting for the End' and 'Blackout' – New Songs". September 12, 2010. สืบค้นเมื่อ September 12, 2010.
  75. Montgomery, James (August 31, 2010). "Linkin Park Will Perform 'The Catalyst' At 2010 VMAs". MTV. สืบค้นเมื่อ August 31, 2010.
  76. "Linkin Park's Surprise VMA Location: Story Behind Griffith Park Observatory". September 12, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ September 12, 2010.
  77. "Linkin Park Get Cosmic For VMA Performance". September 12, 2010. สืบค้นเมื่อ September 12, 2010.
  78. "Live Review Go Inside Linkin Park's Secret VMA Rehearsal!". August 31, 2010. สืบค้นเมื่อ September 12, 2010.
  79. "Current Billboard Social 50". Billboard. October 29, 2011. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  80. "Full list of 2011 Billboard Awards nominees". Billboard. May 23, 2011. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  81. Montgomery, James and WhiteWolf, Vanessa (September 2, 2011). "Linkin Park 'Getting The Wheels Rolling' On Next Album". MTV.com. MTV. สืบค้นเมื่อ December 20, 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  82. Shinoda, Mike (March 28, 2012). "Mike Shinoda tweet". Twitter. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
  83. "Video at Viddy.com: Mike Shinoda announces New Single "Burn It Down"". สืบค้นเมื่อ March 28, 2012.
  84. Farrell, Dave (March 27, 2012). "Dave "Phoenix" Farrell tweet". Twitter. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  85. Karpel, Ari (April 2, 2012). "Linkin Park's Mike Shinoda On Scoring "The Raid: Redemption," And How it Will Shape the Band's next album". Co.Create. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
  86. "Mike Shinoda reveals fifth album name". April 15, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-16. สืบค้นเมื่อ April 15, 2012.
  87. "Linkin Park: 'Our new record is far more personal'". NME. April 20, 2012. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
  88. "Linkin Park Score 'Abe Lincoln' End Credits". Billboard.com. September 14, 2009. สืบค้นเมื่อ August 20, 2012.
  89. Martens, Todd (2012-07-04). "Linkin Park has America's No. 1 album this Fourth of July". Los Angeles Times. articles.latimes.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-26.
  90. "Best Song in a Game | "Castle of Glass" by Linkin Park, "Cities" by Beck, "I Was Born for This" by Austin Wintory, "Tears" by Health | Video Game Awards 2012". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-03. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  91. "Soundwave Sidewave Concerts". September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2013-01-20.
  92. "Linkin Park post info about LP Recharge and upcoming album". Facebook. Linkin Park. สืบค้นเมื่อ 12 September 2013.
  93. "RECHARGED track list:". Facebook. Linkin Park. September 13, 2013. สืบค้นเมื่อ September 13, 2013.
  94. Wiederhorn, Jon (2013-08-16). "Linkin Park Continue Working on 'Mall' Soundtrack and New Studio Album". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
  95. Linkin Park's Mike Shinoda on Band's New Album ที่ยูทูบ
  96. James, Montgomery (2014-03-06). "Surprise! Linkin Park Drop New Single 'Guilty All The Same'". MTV.com. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
  97. Gary, Trust (2014-03-10). "Chart Highlights: One Direction, Katy Perry, U2 Score New No. 1s". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
  98. "Mainstream Rock Songs". Billboard.com. 10 May 2014. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014.
  99. Joe, Bosso (2014-03-18). "Brad Delson talks Linkin Park's upcoming, guitar-heavy new album". Music Radar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
  100. Kathy, Iandoli (2014-03-18). "Mike Shinoda of Linkin Park Talks Rakim Collaboration, Says He's On The "Kendrick Got Robbed" Team From The Grammy's". HipHop DX. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
  101. "Mike Shinoda Says New Linkin Park Album Will Be Loud and Aggressive". ABC News Radio. 2014-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.
  102. Miriam, Coleman (2014-06-01). "Linkin Park Unleash Apocalyptic New Track 'Wastelands'". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  103. Graham Hartmann (2014-04-09). "Linkin Park Reveal Title, Art + Release Date for 2014 Album". Loudwire.com. สืบค้นเมื่อ 2014-05-02.
  104. "Linkin Park to headline Download 2014, playing Hybrid Theory in full". GIGWISE.com. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  105. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.
  106. "LINKIN PARK To Perform Entire 'Hybrid Theory' Album At U.K.'s DOWNLOAD Festival". Blabbermouth.net.
  107. "Metallica, Kings Of Leon, Linkin Park for Rock Am Ring 2014". GIGWISE.com. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  108. "Rock am Ring 2014". Songkick. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  109. Basti Fruehwirth. "Greenfield Festival: Intro". สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  110. Carter, Emily (2014-06-23). "LINKIN PARK JOINED BY SPECIAL GUESTS AT VANS WARPED TOUR". Kerrang!. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28.
  111. "Linkin Park + Of Mice & Men team up for European arena tour". Rocksound.tv. Rocksound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-29. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  112. "Linkin Park, 30 Seconds to Mars Announce Carnivores Tour". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ April 19, 2014.
  113. "Guitar Center celebrates 50th Anniversary with Linkin Park concert premiering exclusively on DirectTV". สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  114. Grudaemmim. "Line Up". Rock in Rio USA. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  115. Weingarten, Christopher (2016-01-20). "New Linkin Park LP Expected This Year". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-30.
  116. Childers, Chad (2016-09-02). "Chester Bennington on Upcoming Linkin Park Album: 'The New Songs Are Amazing'". Loudwire. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  117. Wicks, Amanda (2017-02-08). "Linkin Park Tease Lyrics for New Single". KROQ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  118. "LINKIN PARK Is Trying To Make An Album With 'Stellar Songs'". Blabbermouth. 2017-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  119. "Heavy Linkin Park เนื้อเพลง คอร์ด - Lamucal". lamucal.com. 2024-05-21.
  120. "Linkin Park's Mike Shinoda Talks 'Heavy' New Single & Hooking up With Kiiara". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2017-02-16.
  121. Mench, Chris (February 13, 2017). "Linkin Park Premieres The Lyrics To New Single "Heavy" Featuring Kiiara". Genius. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
  122. "Linkin Park – Heavy Lyrics". Genius. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
  123. "LINKIN PARK Unveils New Album Art, 'Heavy' Single Lyrics". Blabbermouth.net. February 13, 2017. สืบค้นเมื่อ February 15, 2017.
  124. Moia, Marina (2016-02-16). "Linkin Park revela nome do novo álbum e data de lançamento". Nacao Da Musica (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-26. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
  125. "Linkin Park Singer Chester Bennington Dead, Commits Suicide by Hanging". TMZ. July 20, 2017. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
  126. "ช็อกวงการ! เชสเตอร์ นักร้องนำ วงลินคิน พาร์ค แขวนคอตาย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ July 21, 2017.
  127. Cirisano, Tatiana. "Mike Shinoda 'Shocked & Heartbroken' by Death of Linkin Park Bandmate Chester Bennington". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 20, 2017.
  128. Rubin, Rebecca. "Linkin Park Releases New Music Video on the Morning of Chester Bennington's Death". Variety. สืบค้นเมื่อ 22 July 2017.
  129. Kreps, Daniel. "Linkin Park Cancel Tour After Chester Bennington's Death". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 22 July 2017.
  130. Brooks, Dave (April 30, 2024). "Linkin Park Considering 2025 Reunion Tour With New Vocalist". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 1, 2024.
  131. Peters, Mitchell (August 24, 2024). "Linkin Park Launches Mysterious 100-Hour Countdown Timer Amid New Vocalist Rumors". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2024. สืบค้นเมื่อ August 26, 2024.
  132. Carter, Emily (August 28, 2024). "Linkin Park's countdown ends, band tease that "It's only a matter of time…"". Kerrang!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2024. สืบค้นเมื่อ September 4, 2024.
  133. Carter, Emily (August 29, 2024). "Linkin Park confirm official announcement date: "Be part of something"". Kerrang!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2024. สืบค้นเมื่อ September 4, 2024.
  134. 134.0 134.1 134.2 Sherman, Maria (September 5, 2024). "Linkin Park reunite 7 years after Chester Bennington's death, with new music". AP News. สืบค้นเมื่อ September 5, 2024.
  135. 135.0 135.1 135.2 Lipshutz, Jason (September 5, 2024). "Inside Linkin Park's Secret Comeback". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 5, 2024.
  136. 136.0 136.1 136.2 Garcia, Thania (September 5, 2024). "Linkin Park Selects Emily Armstrong From Rock Band Dead Sara as New Singer, Reveals Tour and Album 'From Zero'". Variety. สืบค้นเมื่อ September 5, 2024.
  137. ""The Catalyst," featuring Keaton Hashimoto, added to Download to Donate". Linkinpark.com. January 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  138. "T-Shirts Designed By Mike Shinoda To Benefit Tsunami Relief". Musicforrelief.org. March 14, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  139. Kaufman, Gil (March 14, 2011). "Lady Gaga, Linkin Park Urge Fans To Help Japan Earthquake Victims". MTV. MTV. สืบค้นเมื่อ March 21, 2011.
  140. "Funds Raised For Japan Relief Effort To Support Save The Children". Musicforrelief.org. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-14. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  141. "Concert for the Philippines featuring Linkin Park @ Club Nokia – 01/11/2014". SoCalMusicToday.com. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  142. "[Setlist, Pictures & Video] Linkin Park Live in Los Angeles (Concert for the Philippines) - Mike Shinoda Clan". Mike Shinoda Clan. สืบค้นเมื่อ October 27, 2014.
  143. "Linkin Park hits the X in January". Star Tribune. 2010-11-15. สืบค้นเมื่อ 2013-08-14.
  144. Dickison, Stephanie. "Linkin Park review at Popmatters". Popmatters.com. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.[ลิงก์เสีย]
  145. Spence D. (April 16, 2003). "Linkin Park review at IGN music". Uk.music.ign.com. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  146. Unterberger, Andrew (September 10, 2004). "Top Ten Nu-Metal Bands". Stylus magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2004. สืบค้นเมื่อ September 25, 2014.
  147. "Linkin Park at about.com". Rock.about.com. July 11, 2010. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  148. Leahey, Andrew. "Linkin Park at Allmusic". Allmusic.com. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
  149. "Linkin Park Biography on Yahoo! Music". Wayback.archive.org. 2008-12-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  150. Ruhlmann, William. Allmusic.com allmusic (((Hybrid Theory > Overview))):. Retrieved May 30, 2007
  151. (Posted: Apr 4, 2003) (2003-04-04). "Linkin Park: Meteora : Music Reviews : Rolling Stone". Wayback.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
  152. IGN, Linkin Park – Minutes To Midnight. Retrieved January 27, 2008.
  153. Metacritic, Minutes To Midnight. Retrieved January 27, 2008.
  154. Silver, Dan. Review: Minutes to Midnight. NME. Retrieved November 8, 2009.
  155. "Linkin Park – A Thousand Suns". Reflectionsofdarkness.com. September 17, 2010. สืบค้นเมื่อ January 2, 2012.
  156. "Linkin Park – A Thousand Suns | Reviews". Kill Your Stereo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ January 2, 2012.
  157. Montgomery, James (September 6, 2010). "Linkin Park's A Thousand Suns: Kid A, All Grown Up?". สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
  158. Kasko, Jordy (September 10, 2010). "Linkin Park – A Thousand Suns". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-12. สืบค้นเมื่อ September 11, 2010.
  159. "Linkin Park pay homage to Public Enemy on new album". NME. UK. September 6, 2010. สืบค้นเมื่อ September 7, 2010.
  160. Montgomery, James (September 1, 2010). "Linkin Park's A Thousand Suns: Kid A, All Grown Up?". MTV. สืบค้นเมื่อ September 7, 2010.
  161. Sergio PereiraMore Posts - Website. "Review: Linkin Park – LIVING THINGS". MusicReview. สืบค้นเมื่อ 2013-06-02.
  162. "Linkin Park: 'Our last album was bonkers' | News". Nme.Com. 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2013-06-02.
  163. Roffman, Michael (June 19, 2014). "Linkin Park – The Hunting Party | Album Reviews". Consequence of Sound. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
  164. Childers, Chad. "Linkin Park, 'The Hunting Party' - Album review". Loudwire. สืบค้นเมื่อ June 24, 2014.
  165. "Linkin Park Biography | Bio | Faint | Hybrid Theory | Meteora | Picture | Pic | Reanimation | Crawling". Kidzworld.com. สืบค้นเมื่อ June 11, 2012.
  166. Hamill, Jasper (September 21, 2012). "Linkin Park: 1 Billion on YouTube – 1 Big Issue columnist". The Big Issue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  167. Linkin Park - Likes Facebook. Retrieved September 24, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]