ข้ามไปเนื้อหา

เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน
ภาพปริซึมที่หักเหแสงสีขาวเป็นสีรุ้งบนพื้นหลังสีดำ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด1 มีนาคม ค.ศ. 1973 (1973-03-01)
บันทึกเสียง31 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973[1]
สตูดิโอแอบบีโรดสตูดิโอ ลอนดอน
แนวเพลงโพรเกรสซิฟร็อก
ความยาว43:09
ค่ายเพลงฮาเวสต์
โปรดิวเซอร์พิงก์ฟลอยด์
ลำดับอัลบั้มของพิงก์ฟลอยด์
ออฟสเคียวด์บายเคลาด์
(1972)
เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน
(1973)
วิชยูเวอร์เฮียร์
(1975)
ซิงเกิลจากเดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน
  1. "Money" / "Any Colour You Like"
    จำหน่าย: 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1973
  2. "Us and Them" / "Time"
    จำหน่าย: 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974

เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน (อังกฤษ: The Dark Side of the Moon) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 8 ของวงโพรเกรสซีฟร็อคสัญชาติอังกฤษ พิงก์ ฟลอยด์ อัลบั้มได้วางจำหน่ายในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1973 ผ่านทางค่ายฮาร์เวสต์เรเคิดส์ ประกอบด้วยซิงเกิลทั้งหมด 10 แทร็ค ใช้เวลาทั้งหมด 43 นาที โดยสมาชิก 4 คนได้แก่ ได้แก่ เดวิด กิลมอร์ ทำหน้าที่ร้องนำ มือกีตาร์ และโปรดิวเซอร์, นิค เมสัน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเทคนิค แต่งเสียงเพลง, โรเจอร์ วอเทอร์ส มือเบสกีตาร์ นักร้องประสานเสียง และริชาร์ด ไรท์ มือคีย์บอร์ด/ร้องประสานเสียง อัลบั้มได้ถ่ายทอดธีมเกี่ยวกับการพิพาท (Conflict), ความโลภ (Greed), ช่วงเวลา (Time) และปัญหาทางสภาพจิต (Mental illness) โดยได้รับแนวความคิดขึ้นจากช่วงบันทึกเสียงแรกๆของวง รวมถึงการแสดงสดต่างๆที่ผ่านมา ซึ่งโดยหลักแล้วมาจาก ซิด บาร์เร็ตต์[2][3] หัวหน้าวง ที่ได้ป่วยทางสภาพจิตจนออกจากวงไปในปี ค.ศ. 1968 อัลบั้มได้นำเสนอรูปแบบทางดนตรึใหม่คือลดช่วงบรรเลงขยายทางดนตรีลง ซึ่งแตกต่างจากอัลบั้มนี้ที่เน้นนำเสนอท่อนขยาย

การบันทึกเสียงของวงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ระหว่างช่วงแสดงสด โดยในเวอร์ชันแรก ๆ ได้ทำไว้ก่อนหน้านั้นหลายเดือน ก่อนการบันทึกเสียงที่สตูดิโอจะเริ่มขึ้น ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือในปี ค.ศ. 1972 และในปี ค.ศ. 1973 ที่แอบบีโรดสตูดิโอ ณ กรุงลอนดอน[4][5] วงได้นำเทคโนโลยีทางดนตรีที่นับว่าทันสมัยที่สุดในขณะนั้นเข้ามาใช้ในการบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็น การบันทึกระบบมัลติแทร็ก (MTR) และการใช้ม้วนเทป รวมไปถึงการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงระบบอนาล็อกเข้าไปสอดแทรกในหลายท่อนของอัลบั้ม และการนำเสนอปรัชญาเข้าสู่งานดนตรี สำหรับส่วนของหน้าปกของอัลบั้ม ได้รับการออกแบบโดย สตอร์ม ทอร์เกอร์สัน (Storm Thorgerson) เป็นรูปภาพของปริซึมที่รับแสงแล้วกระจายแสงออกเป็นแสงสีรุ้ง ซึ่งมีความหมายแทนถึงแสงสีบนเวทีอีกด้วยรวมไปถึงการเข้าถึงธีมในเนื้อเพลง อ้างจากริชาร์ท ไรท์ ที่เขาต้องการการออกแบบที่ "เรียบง่ายและชัดเจน"

เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน ได้กลายเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวงและในวงการดนตรีโปรเกรสซีฟร็อค[6] เป็นอัลบั้มที่ทำรายได้กว่า 45 ล้านชุดทั่วโลกหรือสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ตามหลังอัลบั้ม ทริลเลอร์ ของไมเคิล แจ็กสัน และเคียงคู่กับอัลบั้ม แบ็กอินแบล็ก ของ เอซี/ดีซี อัลบั้มได้ไต่ขึ้นไปอยู่อันดับ 1 ของ บิลบอร์ด 200 สามารถคงอยู่ได้ภายในอาทิตย์เดียว แต่ก็ยังคงยืนหยัดบนชาร์ทต่อเนื่องกว่า 741 สัปดาห์[7] ซึ่งก็คือระหว่างปี ค.ศ. 1973-1988 นับเป็นอัลบั้มที่ยืนหยัดอยู่บนชาร์ดได้ยาวนานที่สุดในประวัติศาตร์อัลบั้มทั่วโลก อัลบั้มยังได้รับการทำใหม่อีก 2 ครั้ง และได้รับการโคเวอร์อีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในซิงเกิล "Money" และ "Us and Them" เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน ยังได้กลายเป็นอัลบั้มที่ยอดนิยมที่สุดของวง โดยได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกจากหลายสำนักและได้จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลอีกด้วย[8]

รายชื่อเพลง

[แก้]

เนื้อเพลงทั้งหมดประพันธ์โดยโรเจอร์ วอเทอรส์

แผ่นที่หนึ่ง
ลำดับชื่อเพลงทำนองเสียงร้องยาว
1."Speak to Me"นิค เมสันทำนองดนตรี1:30
2."Breathe"วอเทอรส์, เดวิด กิลมอร์, ริชาร์ด ไรท์กิลมอร์2:43
3."On the Run"กิลมอร์, วอเทอรส์ทำนองดนตรี3:30
4."Time" (ประกอบ "Breathe (Reprise)")เมสัน, วอเทอรส์, ไรท์, กิลมอร์กิลมอร์, ไรท์6:53
5."The Great Gig in the Sky"ไรท์, แคลร์ โทร์รีแคลร์ โทร์รี4:15
แผ่นที่สอง
ลำดับชื่อเพลงทำนองเสียงร้องยาว
1."Money"วอเทอรส์กิลมอร์6:30
2."Us and Them"วอเทอรส์,ไรท์กิลมอร์,ไรท์7:51
3."Any Colour You Like"กิลมอร์, เมสัน,ไรท์ทำนองดนตรี3:24
4."Brain Damage"วอเทอรส์วอเทอรส์3:50
5."Eclipse"วอเทอรส์วอเทอรส์2:03

อ้างอิง

[แก้]
  1. Guesdon, Jean-Michel (2017). Pink Floyd All The Songs. Running Press. ISBN 9780316439237.
  2. Mason 2005, p. 165
  3. Harris, John (12 March 2003), 'Dark Side' at 30: Roger Waters, rollingstone.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2009, สืบค้นเมื่อ 8 June 2011
  4. Mason 2005, p. 171
  5. Richardson, Ken (May 2003), Another Phase of the Moon page 1, soundandvisionmag.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14, สืบค้นเมื่อ 20 March 2012
  6. Werde, Bill (13 May 2006), Floyd's 'Dark Side' Celebrates Chart Milestone, Billboard, p. 12, สืบค้นเมื่อ 17 March 2009
  7. Unterberger, Richie, Pink Floyd Biography, allmusic.com, สืบค้นเมื่อ 2 August 2009
  8. Pink Floyd, Acclaimed Music, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-22, สืบค้นเมื่อ 29 August 2015